ถ้าข้อมูลในตารางนี้เป็นจริงนะครับ
กับข่าวที่สรุปมาพอสังเขป
โครงการรับจำนำผลผลิตทางการเกษตร 15 โครงการ
- ใช้งบฯ 412,000 ล้านบาท
- มีรายได้ 205,000 ล้านบาท
- ขาดทุน 206,000 ล้านบาท
- มีผลผลิตคงเหลือ ณ วันที่ 31 พฤษภาคม 2555 มูลค่า 121,000 ล้านบาท
- อาจจะมีค่าเสื่อมราคาจากผลผลิตคงเหลือ 21,000 ล้านบาท
- อาจจะมีค่าบริหารการจัดการสต็อคข้าวตลอดโครงการอีก 33,000 ล้านบาท
- รวมตัวเลขขาดทุนที่รายงานมา = 206,000+21,000+33,000 = 260,000 ล้านบาท
ประเด็นแรก ขาดทุนเฉพาะเรื่องข้าวสารเท่าไร?
รายการที่ 10-11 และ 13 สินค้า
ไม่ใช่ข้าวที่รับจำนำในความหมายการขาดทุนในครั้งนี้ มูลค่า = 9,116.64+5,982.15+1,617.68 = 16,716.47 ล้านบาท
ขาดทุนทางบัญชีเบื้องต้น = 206,718.10-16,716.47 = 187,001.63 ล้านบาท
ประเด็นที่สอง รายงานนี้นับถึงวันที่เท่าไร?
ตาม
ข่าวอ้างถึงผลผลิตคงเหลือ ณ วันที่ 31 พฤษภาคม 2555 มูลค่า 121,000 ล้านบาท และนำเอาค่าเสื่อมราคา 21,000 ล้านบาทมาคิดเพิ่มการขาดทุน
ความผิดปกติของข้อมูลกลุ่มนี้คือ รายการที่ 15 โครงการข้าวเปลือกนาปี 54/55 ครับ
ตามตารางมีค่าใช้จ่ายเพียง 36,352.71 ล้านบาท ซึ่งเป็นต้นทุนจากการดำเนินงาน เช่น มูลค่าผลิตผลที่รับจำนำ ค่าแปรสภาพ ค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานอื่นๆและต้นทุนในการจัดหาแหล่งเงินกู้(ดอกเบี้ย)เป็นต้นแล้ว ถ้ามองที่มูลค่ารับจำนำข้าวเปลือกเจ้าตันละ 15,000 บาท จะเป็นมูลค่าของข้าวเปลือกชุดนี้เพียง 2.4 ล้านตัน (ค่าประมาณการนะครับ)
แต่ข้อมูลการรับจำนำข้าวโครงการนี้ของกรมการค้าภายในรายงานอย่างนี้ครับ
1. ความคืบหน้าการดำเนินโครงการรับจำนำข้าว
1.1 ผลการดำเนินโครงการรับจำนำ
รับทราบความคืบหน้าการดำเนินโครงการรับจำนำ
ณ วันที่ 13 ธันวาคม 2554 มีโรงสีที่
เปิดรับฝากข้าวเปลือกแล้ว จำนวน 743 ราย ใน 58 จังหวัด จำแนกเป็น เปิดจุดรับจำนำ จำนวน 604 ราย
เปิดจุดรับจำนำนอกพื้นที่ จำนวน 139 ราย จำแนกเป็น อคส. 517 ราย อ.ต.ก. 226 ราย เทียบกับปี
2551/52 ซึ่งมีโรงสีเปิดจุดรับจำนำทั้งสิ้น 693 โรง ใน 59 จังหวัด เพิ่มขึ้นจำนวน 50 ราย หรือคิดเป็นร้อยละ
7.21
เกษตรกรนำข้าวเปลือกมาจำนำ จำนวน 543,242 ราย ปริมาณ 3,136,199 ตัน จำแนกเป็น
ข้าวเปลือกเจ้า จำนวน 1,595,602 ตัน ข้าวเปลือกหอมมะลิ จำนวน 1,153,289 ตัน ข้าวเปลือกหอม
จังหวัด จำนวน 279,304 ตัน ข้าวเปลือกปทุมธานี 12,759 ตัน และข้าวเปลือกเหนียว 95,245 ตัน
หมายความว่าอย่างไร?
หมายความว่าวันที่ปิดบัญชี ต้องเกิดขึ้นก่อนวันที่ 13 ธันวาคม 2554ครับ เพราะถึงวันที่นี้รับจำนำรวมข้าวหอมมะลิไปแล้ว 3.1 ล้านตัน
ความเห็นส่วนตัวนะครับ แล้วนักบัญชีจะเสนอผลผลิตคงเหลือ ณ วันที่ 31 พฤษภาคม 2555 มาหาพระแสงของ้าวอะไรครับ มันสร้างความน่าเชื่อถือของข้อมูลเพิ่มขึ้นหรือครับ และค่าเสื่อมราคาบวกค่าบริหารการจัดการที่เอามาคิดอีก 54,000 ล้านบาทก็เป็นข้อมูลตัวเลขที่ผิดเพี๊ยน ไม่ควรนำมาคิด กำไร-ขาดทุนในครั้งนี้ครับ
ประเด็นแรกผิดไป 16,700 ล้านบาท ประเด็นที่สองผิดไปอีก 54,000 ล้านบาท รวมเป็น 70,700 ล้านบาท หรือ 27.2% ของ 2.6 แสนล้านบาท
คนที่เสนอรายงานที่เป็นนักบัญชี หรือสื่อที่เสนอรายงาน ควรแสดงความรับผิดชอบอย่างไรครับ
ส่วนคนที่โมเมเอาข้อมูลไปใช้ผมไม่คิดจะถามเรื่องการแสดงความรับผิดชอบกับคนที่ไม่มีความรับผิดชอบหรอกครับ
ถ้าข้อมูลในตารางจากภาพเป็นจริงนะครับ ยังไม่จบ
รับจำนำข้าวขาดทุน 260,000 ล้านบาทเป็นเรื่องจริงหรือ? นักการบัญชี หรือนส.สุภา ควรต้องรับผิดชอบอะไรบ้าง
กับข่าวที่สรุปมาพอสังเขป
โครงการรับจำนำผลผลิตทางการเกษตร 15 โครงการ
- ใช้งบฯ 412,000 ล้านบาท
- มีรายได้ 205,000 ล้านบาท
- ขาดทุน 206,000 ล้านบาท
- มีผลผลิตคงเหลือ ณ วันที่ 31 พฤษภาคม 2555 มูลค่า 121,000 ล้านบาท
- อาจจะมีค่าเสื่อมราคาจากผลผลิตคงเหลือ 21,000 ล้านบาท
- อาจจะมีค่าบริหารการจัดการสต็อคข้าวตลอดโครงการอีก 33,000 ล้านบาท
- รวมตัวเลขขาดทุนที่รายงานมา = 206,000+21,000+33,000 = 260,000 ล้านบาท
ประเด็นแรก ขาดทุนเฉพาะเรื่องข้าวสารเท่าไร?
รายการที่ 10-11 และ 13 สินค้าไม่ใช่ข้าวที่รับจำนำในความหมายการขาดทุนในครั้งนี้ มูลค่า = 9,116.64+5,982.15+1,617.68 = 16,716.47 ล้านบาท
ขาดทุนทางบัญชีเบื้องต้น = 206,718.10-16,716.47 = 187,001.63 ล้านบาท
ประเด็นที่สอง รายงานนี้นับถึงวันที่เท่าไร?
ตามข่าวอ้างถึงผลผลิตคงเหลือ ณ วันที่ 31 พฤษภาคม 2555 มูลค่า 121,000 ล้านบาท และนำเอาค่าเสื่อมราคา 21,000 ล้านบาทมาคิดเพิ่มการขาดทุน
ความผิดปกติของข้อมูลกลุ่มนี้คือ รายการที่ 15 โครงการข้าวเปลือกนาปี 54/55 ครับ
ตามตารางมีค่าใช้จ่ายเพียง 36,352.71 ล้านบาท ซึ่งเป็นต้นทุนจากการดำเนินงาน เช่น มูลค่าผลิตผลที่รับจำนำ ค่าแปรสภาพ ค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานอื่นๆและต้นทุนในการจัดหาแหล่งเงินกู้(ดอกเบี้ย)เป็นต้นแล้ว ถ้ามองที่มูลค่ารับจำนำข้าวเปลือกเจ้าตันละ 15,000 บาท จะเป็นมูลค่าของข้าวเปลือกชุดนี้เพียง 2.4 ล้านตัน (ค่าประมาณการนะครับ)
แต่ข้อมูลการรับจำนำข้าวโครงการนี้ของกรมการค้าภายในรายงานอย่างนี้ครับ
1. ความคืบหน้าการดำเนินโครงการรับจำนำข้าว
1.1 ผลการดำเนินโครงการรับจำนำ
รับทราบความคืบหน้าการดำเนินโครงการรับจำนำ ณ วันที่ 13 ธันวาคม 2554 มีโรงสีที่
เปิดรับฝากข้าวเปลือกแล้ว จำนวน 743 ราย ใน 58 จังหวัด จำแนกเป็น เปิดจุดรับจำนำ จำนวน 604 ราย
เปิดจุดรับจำนำนอกพื้นที่ จำนวน 139 ราย จำแนกเป็น อคส. 517 ราย อ.ต.ก. 226 ราย เทียบกับปี
2551/52 ซึ่งมีโรงสีเปิดจุดรับจำนำทั้งสิ้น 693 โรง ใน 59 จังหวัด เพิ่มขึ้นจำนวน 50 ราย หรือคิดเป็นร้อยละ
7.21 เกษตรกรนำข้าวเปลือกมาจำนำ จำนวน 543,242 ราย ปริมาณ 3,136,199 ตัน จำแนกเป็น
ข้าวเปลือกเจ้า จำนวน 1,595,602 ตัน ข้าวเปลือกหอมมะลิ จำนวน 1,153,289 ตัน ข้าวเปลือกหอม
จังหวัด จำนวน 279,304 ตัน ข้าวเปลือกปทุมธานี 12,759 ตัน และข้าวเปลือกเหนียว 95,245 ตัน
หมายความว่าอย่างไร?
หมายความว่าวันที่ปิดบัญชี ต้องเกิดขึ้นก่อนวันที่ 13 ธันวาคม 2554ครับ เพราะถึงวันที่นี้รับจำนำรวมข้าวหอมมะลิไปแล้ว 3.1 ล้านตัน
ความเห็นส่วนตัวนะครับ แล้วนักบัญชีจะเสนอผลผลิตคงเหลือ ณ วันที่ 31 พฤษภาคม 2555 มาหาพระแสงของ้าวอะไรครับ มันสร้างความน่าเชื่อถือของข้อมูลเพิ่มขึ้นหรือครับ และค่าเสื่อมราคาบวกค่าบริหารการจัดการที่เอามาคิดอีก 54,000 ล้านบาทก็เป็นข้อมูลตัวเลขที่ผิดเพี๊ยน ไม่ควรนำมาคิด กำไร-ขาดทุนในครั้งนี้ครับ
ประเด็นแรกผิดไป 16,700 ล้านบาท ประเด็นที่สองผิดไปอีก 54,000 ล้านบาท รวมเป็น 70,700 ล้านบาท หรือ 27.2% ของ 2.6 แสนล้านบาท
คนที่เสนอรายงานที่เป็นนักบัญชี หรือสื่อที่เสนอรายงาน ควรแสดงความรับผิดชอบอย่างไรครับ
ส่วนคนที่โมเมเอาข้อมูลไปใช้ผมไม่คิดจะถามเรื่องการแสดงความรับผิดชอบกับคนที่ไม่มีความรับผิดชอบหรอกครับ
ถ้าข้อมูลในตารางจากภาพเป็นจริงนะครับ ยังไม่จบ