นายวราเทพ รัตนากร รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ให้ข้อมูลว่า
ข้อมูลของคณะอนุกรรมการปิดบัญชีฯ ระบุถึง ข้าวนาปี ปีการผลิต 2554 /2555 และข้าวนาปรัง ปี 2555 ขาดทุนทั้งสิ้น 136,917 ล้านบาท
เป็นข้าวเปลือก 21.78 ล้านตัน ข้าวสาร 13.42 ล้านตัน
ทั้งนี้ จำนวนเงินที่จ่ายให้เกษตรกรไปแล้วกว่า 337,321.98 ล้านบาท โดยมีค่าใช้จ่ายในการบริหารจัดการโครงการ 14,785.66 ล้านบาท
รวมค่าใช้จ่ายที่ใช้ในโครงการจำนำข้าวปีแรก 352,107.64 ล้านบาท
ทั้งนี้ ยังมีมูลค่าข้าวคงเหลือในสต็อก 155,968.92 ล้านบาท มูลค่าข้าวที่ระบาย 59,141.31 ล้านบาท
สรุป คือ ในรอบปีแรก มีค่าใช้จ่ายทั้งหมด 352,107 ล้านบาท ขายข้าวไปได้ 59,141 ล้านบาท แต่ยังมีสต็อกข้าวสารอยู่ 155,968 ล้านบาท
คณะอนุกรรมการปิดบัญชีฯ จึงสรุปว่าขาดทุน 352,107 - ( 59,141 + 155,968 ) = 136,998 ล้านบาท
............................................................................................................
ถ้ายังจำนำข้าวต่อไป โดยไม่แก้ไข มี 2 ปัญหาใหญ่ๆ ที่ต้องอธิบาย เพราะคิดว่าหลายคนยังไม่เข้าใจ เนื่องจากทั้งฝ่ายค้านและนักวิชาการ
ไปเน้นที่การทุจริตจึงไม่ได้อธิบายในประเด็นข้าวค้างสต๊อกมากนัก
1. สต๊อกข้าวสาร 155,968 ล้านบาท เป็นราคาที่คิดจากราคาตลาดที่ ตันละ 15,000 บาท ซึ่งจะต้องขายทั้งหมดทันที
ในวันปิดบัญชีเมื่อ 31 มกราคม 2556 จึงจะได้มูลค่า 155,968 ล้านบาท แต่ความจริงสต๊อกข้าวนี้จะระบายหมดต้องใช้เวลาอย่างน้อย 4 ปี
นักบัญชีที่ดีควรประเมินสิ่งที่น่าจะเกิดขึ้นจริง เมื่อคิดค่าข้าวเสื่อมสภาพอีกปีละ 10% = 15,000 ล้านบาท ต่อปี x 4 = 60,000 ล้านบาท
ดังนั้น สต็อกข้าวสาร 155,968 ล้านบาท น่าจะขายได้จริงไม่เกิน 155,968 - 60,000 = 95,968 ล้านบาท
2. การจำนำข้าว รัฐรับซื้อข้าวเกือบทั้งหมดมาขายเอง แต่ไร้ความสามารถทำให้จากเดิมส่งออกข้าวสารได้ 9 ล้านตัน เหลือเพียง 6 ล้านตัน
ทำให้เกิดข้าวส่วนเกินที่ขายไม่ได้ ซึ่งถ้ายังทำโครงการต่อไปจะระบายไม่ได้เลยเพราะต้องรับซื้อเกินเข้ามาทุกปี
ซึ่งส่วนนี้จะเกิดการขาดทุนอีก 3 ล้านตัน x 15,000 = 45,000 ล้านบาท
จากข้อ 2 ขาดทุนเพิ่มจนเหลือ 95,968 - 45,000 = 50,968 ล้านบาท
สต็อกข้าวสาร 155,968 ล้านบาท ประมาณ 10 ล้านตัน จะระบายได้ 7 ล้านตัน ที่เหลือขายไม่ได้ จึงเหลือมูลค่าเพียง 55,968 ล้านบาท
สรุปการขาดทุนที่น่าจะเกิดจริง 352,107 - ( 59,141 + 50,968 ) = 241,998 ล้านบาท ต่อปี (ในปีแรก 54/55)
จากข้อมูลของคณะอนุกรรมการปิดบัญชีฯ
ปิดบัญชี31ม.ค.ขาดทุน2.2แสนล้าน
จำนำข้าวนาปีฤดูกาลผลิต 2554/2555 ขาดทุนจำนวน 42,963 ล้านบาท
การรับจำนำข้าวนาปรังฤดูกาลผลิต 2555 ขาดทุนจำนวน 93,933 ล้านบาท
การรับจำนำข้าวนาปีฤดูกาลผลิต 2555/2556 ขาดทุนจำนวน 84,071 ล้านบาท
สังเกตว่าใน จำนำข้าวนาปีฤดูกาลผลิต 2555/2556 ขาดทุนจำนวน 84,071 ล้านบาท เพิ่มจากนาปีฤดูกาลผลิต 2554/2555
ถึง 2 เท่า อันเนื่องจากการรับจำนำข้าวมีปริมาณเพิ่มขึ้น ซึ่งอาจส่งผลให้การขาดทุนในปี 55/56 อาจสูงถึง 480,000 ล้านบาท
ดังนั้นรัฐบาลจึงจำเป็นต้องรีบปรับลดราคาลงมากและจำกัดปริมาณการรับจำนำ แม้จะต้องกระทบกับคะแนนเสียงอย่างมากก็ตาม
จำำนำข้าว ขาดทุนและเสียหายมากกว่าที่คิดมาก จนต้องลดราคาลงมากแม้จะเสี่ยงเสียคะแนนเสียง
ข้อมูลของคณะอนุกรรมการปิดบัญชีฯ ระบุถึง ข้าวนาปี ปีการผลิต 2554 /2555 และข้าวนาปรัง ปี 2555 ขาดทุนทั้งสิ้น 136,917 ล้านบาท
เป็นข้าวเปลือก 21.78 ล้านตัน ข้าวสาร 13.42 ล้านตัน
ทั้งนี้ จำนวนเงินที่จ่ายให้เกษตรกรไปแล้วกว่า 337,321.98 ล้านบาท โดยมีค่าใช้จ่ายในการบริหารจัดการโครงการ 14,785.66 ล้านบาท
รวมค่าใช้จ่ายที่ใช้ในโครงการจำนำข้าวปีแรก 352,107.64 ล้านบาท
ทั้งนี้ ยังมีมูลค่าข้าวคงเหลือในสต็อก 155,968.92 ล้านบาท มูลค่าข้าวที่ระบาย 59,141.31 ล้านบาท
สรุป คือ ในรอบปีแรก มีค่าใช้จ่ายทั้งหมด 352,107 ล้านบาท ขายข้าวไปได้ 59,141 ล้านบาท แต่ยังมีสต็อกข้าวสารอยู่ 155,968 ล้านบาท
คณะอนุกรรมการปิดบัญชีฯ จึงสรุปว่าขาดทุน 352,107 - ( 59,141 + 155,968 ) = 136,998 ล้านบาท
............................................................................................................
ถ้ายังจำนำข้าวต่อไป โดยไม่แก้ไข มี 2 ปัญหาใหญ่ๆ ที่ต้องอธิบาย เพราะคิดว่าหลายคนยังไม่เข้าใจ เนื่องจากทั้งฝ่ายค้านและนักวิชาการ
ไปเน้นที่การทุจริตจึงไม่ได้อธิบายในประเด็นข้าวค้างสต๊อกมากนัก
1. สต๊อกข้าวสาร 155,968 ล้านบาท เป็นราคาที่คิดจากราคาตลาดที่ ตันละ 15,000 บาท ซึ่งจะต้องขายทั้งหมดทันที
ในวันปิดบัญชีเมื่อ 31 มกราคม 2556 จึงจะได้มูลค่า 155,968 ล้านบาท แต่ความจริงสต๊อกข้าวนี้จะระบายหมดต้องใช้เวลาอย่างน้อย 4 ปี
นักบัญชีที่ดีควรประเมินสิ่งที่น่าจะเกิดขึ้นจริง เมื่อคิดค่าข้าวเสื่อมสภาพอีกปีละ 10% = 15,000 ล้านบาท ต่อปี x 4 = 60,000 ล้านบาท
ดังนั้น สต็อกข้าวสาร 155,968 ล้านบาท น่าจะขายได้จริงไม่เกิน 155,968 - 60,000 = 95,968 ล้านบาท
2. การจำนำข้าว รัฐรับซื้อข้าวเกือบทั้งหมดมาขายเอง แต่ไร้ความสามารถทำให้จากเดิมส่งออกข้าวสารได้ 9 ล้านตัน เหลือเพียง 6 ล้านตัน
ทำให้เกิดข้าวส่วนเกินที่ขายไม่ได้ ซึ่งถ้ายังทำโครงการต่อไปจะระบายไม่ได้เลยเพราะต้องรับซื้อเกินเข้ามาทุกปี
ซึ่งส่วนนี้จะเกิดการขาดทุนอีก 3 ล้านตัน x 15,000 = 45,000 ล้านบาท
จากข้อ 2 ขาดทุนเพิ่มจนเหลือ 95,968 - 45,000 = 50,968 ล้านบาท
สต็อกข้าวสาร 155,968 ล้านบาท ประมาณ 10 ล้านตัน จะระบายได้ 7 ล้านตัน ที่เหลือขายไม่ได้ จึงเหลือมูลค่าเพียง 55,968 ล้านบาท
สรุปการขาดทุนที่น่าจะเกิดจริง 352,107 - ( 59,141 + 50,968 ) = 241,998 ล้านบาท ต่อปี (ในปีแรก 54/55)
จากข้อมูลของคณะอนุกรรมการปิดบัญชีฯ
ปิดบัญชี31ม.ค.ขาดทุน2.2แสนล้าน
จำนำข้าวนาปีฤดูกาลผลิต 2554/2555 ขาดทุนจำนวน 42,963 ล้านบาท
การรับจำนำข้าวนาปรังฤดูกาลผลิต 2555 ขาดทุนจำนวน 93,933 ล้านบาท
การรับจำนำข้าวนาปีฤดูกาลผลิต 2555/2556 ขาดทุนจำนวน 84,071 ล้านบาท
สังเกตว่าใน จำนำข้าวนาปีฤดูกาลผลิต 2555/2556 ขาดทุนจำนวน 84,071 ล้านบาท เพิ่มจากนาปีฤดูกาลผลิต 2554/2555
ถึง 2 เท่า อันเนื่องจากการรับจำนำข้าวมีปริมาณเพิ่มขึ้น ซึ่งอาจส่งผลให้การขาดทุนในปี 55/56 อาจสูงถึง 480,000 ล้านบาท
ดังนั้นรัฐบาลจึงจำเป็นต้องรีบปรับลดราคาลงมากและจำกัดปริมาณการรับจำนำ แม้จะต้องกระทบกับคะแนนเสียงอย่างมากก็ตาม