..................................นายลักษณ์ วจนานวัช ผู้จัดการ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์(ธ.ก.ส.) กล่าวว่า หลังจาก ครม.อนุมัติกรอบวงเงินรับจำนำข้าวเปลือกนาปีฤดูการผลิตปี 2555/2556 วางเป้าหมาย 15 ล้านตัน วงเงิน 2.4 แสนล้านบาท กระทรวงการคลังจัดหามาให้ 150,000 ล้านบาท ขณะที่กระทรวงพาณิชย์ยืนยันจะส่งเงินจากการระบายข้าวให้ 50,000 ล้านบาท ดังนั้น เพื่อให้แผนงานการระดมเงินเพื่อรับจำนำข้าวมีความชัดเจนสอดคล้องกับแนวทางการจำนำนายกรัฐมนตรี จึงตั้งคณะอนุกรรมการดูแลจัดหาเงินทุน โดยมีปลัดกระทรวงพาณิชย์เป็นประธาน กรรมการประกอบด้วย ธ.ก.ส. สำนักบริหารหนี้สาธารณะ(สบน.) สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง(สศค.) สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร(สศก.) องค์การตลาดเพื่อเกษตรกร(อ.ต.ก.) กรมการค้าระหว่างประเทศ องค์การคลังสินค้า(อคส.) ยืนยันว่าการรับจำนำจะมีเงินทุนเพียงพอ
นายลักษณ์ กล่าวว่า ขณะนี้เกษตรกรภาคเหนือและอีสานเข้าสู่ฤดูเก็บเกี่ยวได้นำข้าวมาจำนำแล้วประมาณ 4.6 ล้านตัน เป็นเงิน 70,000 ล้านบาท และช่วงที่ข้าวจะออกสู่ตลาดจำนวนมาก คือ เดือนมกราคม - กุมภาพันธ์ จึงคาดว่าข้าวนาปี ชาวนาจะนำข้าวมาจำนำประมาณ 10 ล้านตันในปีนี้ คงไม่ถึงเป้าหมาย 15 ล้านตันตามที่รัฐบาลตั้งเป้าไว้ ดังนั้นข้าวนาปีน่าจะใช้เงินประมาณ 200,000 ล้านบาท โดยปีนี้สหกรณ์ได้ออกมารับซื้อข้าวจากสมาชิก เพื่อแปรสภาพและบรรจุถุงขาย จึงช่วยลดปริมาณนำข้าวมาจำนำกับรัฐบาล
ผู้จัดการ ธ.ก.ส. กล่าวว่า การปลูกข้าวนาปรังส่วนใหญ่จะเป็นเกษตรกรบริเวณพื้นที่ชลประทาน โดยเฉพาะภาคเหนือตอนล่าง ภาคกลาง และภาคอีสานบางส่วน ส่วนแผนการรับจำนำข้าวนาปรังนั้น คงต้องหารืออีกครั้งในช่วงเดือนมกราคม-กุมภาพันธ์ในที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายข้าวแห่งชาติ(กขช.) เพื่อประเมินเป้าหมายและเงินทุนรองรับโครงการ เนื่องจากมีบทเรียนปีที่ผ่านมา เมื่อรับจำนำข้าวทุกเมล็ด ทำให้เกษตรปลูกข้าวนอกฤดูการผลิตจนรัฐบาลต้องรับจำนำข้าวเพิ่มมากกว่า 14.6 ล้านตัน โดยการรับจำนำข้าวตั้งแต่ปี 2554/2555 ถึงปี 2555/2556 วงเงินรับจำนำข้าว 500,000 ล้านบาทตามที่นายกรัฐมนตรีกำชับไว้น่าจะเป็นวงเงินที่เหมาะสมในการควบคุมดูแลได้ แต่ถ้าหากการรับจำนำข้าวนาปรังปีนี้ต้องการงบเพิ่ม จึงเตรียมเสนอทางเลือกให้ กขช.พิจารณา เพื่อให้กระทรวงการคลังจัดหาแหล่งเงินทุนเพิ่ม หรือจะให้ ธ.ก.ส.เป็นผู้ระดมทุนเอง ซึ่งอยู่ในกรอบความสามารถของ ธ.ก.ส.ดำเนินการได้ แต่รัฐบาลต้องแยกบัญชีโครงการดังกล่าวให้ชัดเจน เพื่อชดเชยเงินต้นและดอกเบี้ยคืนให้ ธ.ก.ส. โดยการรับจำนำข้าว รัฐบาลย้ำชัดเจนว่าต้องการให้เกษตรกรจำนำกับรัฐบาลเพียงปีละ 2 ครั้ง
สำหรับผลดำเนินการรับจำนำข้าวฤดูการผลิตปี 2554/2555 เบื้องต้นยอมรับว่าขาดทุน เพราะรัฐบาลตั้งราคาสูงกว่าตลาด เพื่อมีเจตนาช่วยเหลือเกษตรกรให้มีรายได้เพิ่มนับว่าเป็นประโยชน์ต่อเกษตรกร เมื่อกระทรวงพาณิชย์ต้องระบายข้าวในสตอกรัฐบาล หากขายราคาต่ำกว่าราคาตลาด แต่ผลการปิดบัญชีที่จะครบกำหนดวันที่ 29 กุมภาพันธ์ 2556 สำหรับฤดูการผลิตปี 2554/2555 จะเป็นหน้าที่ของคณะกรรมการปิดบัญชีเป็นผู้ชี้แจงโดยมี น.ส.สุภา ปิยะจิตติ รองปลัดกระทรวงการคลัง เป็นประธาน ชี้แจงผลดำเนินงานทั้งหมด เบื้องต้นคงต้องปิดบัญชีสำรองโดยใช้ข้อมูลการระบายข้าวครั้งสุดท้ายมาใช้ในการคำนวณการปิดบัญชี เพราะคงไม่สามารถรอให้กระทรวงพาณิชย์ระบายข้าวทั้งหมดออกจากสตอกจากการรับจำนำข้าวปีที่ผ่านมา
ที่มา
http://www.mcot.net/site/content?id=50d01ea9150ba07507000052#.UNAyA29y2k8
ธ.ก.ส.ยอมรับจำนำข้าวขาดทุน
นายลักษณ์ กล่าวว่า ขณะนี้เกษตรกรภาคเหนือและอีสานเข้าสู่ฤดูเก็บเกี่ยวได้นำข้าวมาจำนำแล้วประมาณ 4.6 ล้านตัน เป็นเงิน 70,000 ล้านบาท และช่วงที่ข้าวจะออกสู่ตลาดจำนวนมาก คือ เดือนมกราคม - กุมภาพันธ์ จึงคาดว่าข้าวนาปี ชาวนาจะนำข้าวมาจำนำประมาณ 10 ล้านตันในปีนี้ คงไม่ถึงเป้าหมาย 15 ล้านตันตามที่รัฐบาลตั้งเป้าไว้ ดังนั้นข้าวนาปีน่าจะใช้เงินประมาณ 200,000 ล้านบาท โดยปีนี้สหกรณ์ได้ออกมารับซื้อข้าวจากสมาชิก เพื่อแปรสภาพและบรรจุถุงขาย จึงช่วยลดปริมาณนำข้าวมาจำนำกับรัฐบาล
ผู้จัดการ ธ.ก.ส. กล่าวว่า การปลูกข้าวนาปรังส่วนใหญ่จะเป็นเกษตรกรบริเวณพื้นที่ชลประทาน โดยเฉพาะภาคเหนือตอนล่าง ภาคกลาง และภาคอีสานบางส่วน ส่วนแผนการรับจำนำข้าวนาปรังนั้น คงต้องหารืออีกครั้งในช่วงเดือนมกราคม-กุมภาพันธ์ในที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายข้าวแห่งชาติ(กขช.) เพื่อประเมินเป้าหมายและเงินทุนรองรับโครงการ เนื่องจากมีบทเรียนปีที่ผ่านมา เมื่อรับจำนำข้าวทุกเมล็ด ทำให้เกษตรปลูกข้าวนอกฤดูการผลิตจนรัฐบาลต้องรับจำนำข้าวเพิ่มมากกว่า 14.6 ล้านตัน โดยการรับจำนำข้าวตั้งแต่ปี 2554/2555 ถึงปี 2555/2556 วงเงินรับจำนำข้าว 500,000 ล้านบาทตามที่นายกรัฐมนตรีกำชับไว้น่าจะเป็นวงเงินที่เหมาะสมในการควบคุมดูแลได้ แต่ถ้าหากการรับจำนำข้าวนาปรังปีนี้ต้องการงบเพิ่ม จึงเตรียมเสนอทางเลือกให้ กขช.พิจารณา เพื่อให้กระทรวงการคลังจัดหาแหล่งเงินทุนเพิ่ม หรือจะให้ ธ.ก.ส.เป็นผู้ระดมทุนเอง ซึ่งอยู่ในกรอบความสามารถของ ธ.ก.ส.ดำเนินการได้ แต่รัฐบาลต้องแยกบัญชีโครงการดังกล่าวให้ชัดเจน เพื่อชดเชยเงินต้นและดอกเบี้ยคืนให้ ธ.ก.ส. โดยการรับจำนำข้าว รัฐบาลย้ำชัดเจนว่าต้องการให้เกษตรกรจำนำกับรัฐบาลเพียงปีละ 2 ครั้ง
สำหรับผลดำเนินการรับจำนำข้าวฤดูการผลิตปี 2554/2555 เบื้องต้นยอมรับว่าขาดทุน เพราะรัฐบาลตั้งราคาสูงกว่าตลาด เพื่อมีเจตนาช่วยเหลือเกษตรกรให้มีรายได้เพิ่มนับว่าเป็นประโยชน์ต่อเกษตรกร เมื่อกระทรวงพาณิชย์ต้องระบายข้าวในสตอกรัฐบาล หากขายราคาต่ำกว่าราคาตลาด แต่ผลการปิดบัญชีที่จะครบกำหนดวันที่ 29 กุมภาพันธ์ 2556 สำหรับฤดูการผลิตปี 2554/2555 จะเป็นหน้าที่ของคณะกรรมการปิดบัญชีเป็นผู้ชี้แจงโดยมี น.ส.สุภา ปิยะจิตติ รองปลัดกระทรวงการคลัง เป็นประธาน ชี้แจงผลดำเนินงานทั้งหมด เบื้องต้นคงต้องปิดบัญชีสำรองโดยใช้ข้อมูลการระบายข้าวครั้งสุดท้ายมาใช้ในการคำนวณการปิดบัญชี เพราะคงไม่สามารถรอให้กระทรวงพาณิชย์ระบายข้าวทั้งหมดออกจากสตอกจากการรับจำนำข้าวปีที่ผ่านมา
ที่มา http://www.mcot.net/site/content?id=50d01ea9150ba07507000052#.UNAyA29y2k8