วันนี้(3 ก.พ.) สำนักข่าวอิศราได้เปิดเผยเนื้อหาของหนังสือจากสำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) ส่งถึง น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เกี่ยวกับการตรวจสอบโครงการรับจำนำข้าวเปลือกของรัฐบาล โดยมีเนื้อหาของหนังสือดังนี้
เรื่อง การตรวจสอบโครงการรับจำนำข้าวเปลือกของรัฐบาล
กราบเรียน นายกรัฐมนตรี
สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน ได้ตรวจสอบการดำเนินงานโครงการรับจำนำข้าวเปลือกของรัฐบาลตั้งแต่ ปีการผลิต 2554/55 เป็นต้นมา ซึ่งคณะรัฐมนตรี มีมติอนุมัติกรอบวงเงินทุนหมุนเวียนเพื่อดำเนินโครงการต้องไม่เกิน 500,000 ล้านบาท ประกอบกับการศึกษา วิเคราะห์จากผลการตรวจสอบการดำเนินงานโครงการรับจำนำข้าวเปลือกปีการผลิต 2548/49 และ 2549/50 และโครงการประกันรายได้เกษตรกร ของปีการผลิต 2552/53 และ 2553/2554 ของสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินที่ผ่านมา ข้อเสนอและความเห็นจากสถาบัน องค์กรต่างๆ เกี่ยวกับโครงการ ตลอดจนรายงานการปิดบัญชีโครงการของคณะอนุกรรมการปิดบัญชีโครงการรับจำนำข้าวเปลือกตามนโยบายรัฐบาล ซึ่งจากการตรวจสอบดังกล่าว สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน มีความเห็นและข้อเสนอแนะดังนี้
1. การดำเนินงานโครงการมีจุดอ่อนหรือความเสี่ยงในทุกขั้นตอนตั้งแต่การขึ้นทะเบียนเกษตรกรจนถึงการระบายข้าว ซึ่งเป็นช่องทางนำไปสู่การสวมสิทธิ์การจำนำและการทุจริตในโครงการ
จากการตรวจสอบที่ผ่านมา ทั้งโครงการรับจำนำข้าวเปลือกปีการผลิต 2548/49 และ 2549/50 และโครงการประกันรายได้เกษตรกร ซึ่งมีการขึ้นทะเบียนเกษตรกรผู้ปลูกข้าวเช่นเดียวกัน พบว่า การขึ้นทะเบียนเกษตรกรผู้ปลูกข้าวไม่ถูกต้อง เกินความเป็นจริง ก่อให้เกิดความเสี่ยงที่เป็นช่องทางนำไปสู่การสวมสิทธิ์เกษตรกรและการทุจริตได้ การตรวจสอบรับรองข้อมูลการขึ้นทะเบียนเกษตรกรไม่สามารถดำเนินการตรวจสอบได้อย่างทั่วถึง และการใช้การประชุมประชาคมเป็นเครื่องมือในการรับรองความถูกต้อง ความครบถ้วน ของข้อมูลการขึ้นทะเบียนเกษตรกรไม่สามารถดำเนินการได้อย่างมีประสิทธิผล
สำหรับผู้แทนเกษตรกรและตัวแทนข้าราชการซึ่งได้รับการแต่งตั้งให้ประจำจุดรับจำนำเพื่อช่วยเหลือเกษตรกร รวมทั้งเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานประจำจุดรับจำนำขององค์การคลังสินค้าและองค์การตลาดเพื่อเกษตรกรไม่สามารถทำหน้าที่ช่วยเหลือเกษตรกรให้ได้รับความเป็นธรรมทั้งด้วนคุณภาพข้าว (กรมข้าว) การหักลดความชื้นและสิ่งเจือปนเกินความเป็นจริง
เนื่องจากส่วนใหญ่ยังขาดความรู้หรือประสบการณ์เกี่ยวกับการตรวจสอบคุณภาพข้าว (กรมข้าว) ชนิดข้าวน้ำหนักข้าว นอกจากนี้ การจัดเก็บรักษาข้าวของโครงการเกิดการสูญหายหรือขาดบัญชี
สำหรับการระบายข้าวตามโครงการดำเนินการได้น้อยและล่าช้ามาก ส่งผลทำให้ข้าวสารคุณภาพเสื่อม ซึ่งสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน ได้สรุปประเด็นปัญหาและความเสี่ยงสำคัญที่พบจากการตรวจสอบการดำเนินงานโครงการรับจำนำข้าวเปลือกแจ้งให้นายกรัฐมนตรีเพื่อโปรดพิจารณาให้เป็นข้อมูลประกอบการพิจารณาปรับปรุงการดำเนินงานโครงการ ตามหนังสือที่เคยแจ้งถึงนายกรัฐมนตรี มาแล้ว 3 ฉบับ
สำหรับการตรวจสอบโครงการรับจำนำข้าวเปลือกปีการผลิต 2554/55 เป็นต้นมา สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน ได้ติดตามขอข้อมูลผลการดำเนินงานของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ องค์การคลังสินค้า องค์การตลาดเพื่อเกษตรกร กระทรวงพาณิชย์ และกระทรวงการคลัง เกี่ยวกับผลการดำเนินงานการรับฝากข้าวเปลือก การออกใบประทวน การเก็บรักษาข้าวสาร การระบายข้าวตามโครงการ และผลการตรวจสอบข้อเท็จจริงและข้อมูลปริมาณข้าวคงเหลือของโรงสี และโกดังกลางที่เข้าร่วมโครงการ ณ วันที่ 27 มิถุนายน 2556 รวมทั้งข้อมูลและรายงานผลการปิดบัญชีโครงการรับจำนำผลผลิตทางการเกษตรของคณะอนุกรรมการปิดบัญชีโครงการรับจำนำข้าวเปลือกตามนโยบายรัฐบาล
แต่ปรากฏว่าสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินได้รับข้อมูลดังกล่าวเพื่อประกอบการตรวจสอบตามอำนาจหน้าที่ล่าช้า และไม่ครบถ้วน เช่น ข้อมูลการระบายข้าวตามโครงการของกระทรวงพาณิชย์ และผลการตรวจสอบข้อเท็จจริงและข้อมูลปริมาณข้าวคงเหลือของโรงสีและโกดังกลางที่เข้าร่วมโครงการ ณ วันที่ 27 มิถุนายน 2556
จากข้อมูลรายงานผลการปิดบัญชีโครงการฯ ซึ่งจัดส่งให้สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน เมื่อวันที่ 15 มกราคม 2557 คณะอนุกรรมการปิดบัญชีฯ ได้ให้ข้อสังเกตว่า องค์การคลังสินค้าและองค์การตลาดเพื่อเกษตรกร มีการรายงานข้อมูลปริมาณข้าวสารคงเหลือในคลังสินค้าไม่ถูกต้องครบถ้วน ล่าช้าไม่เป็นไปตามระยะเวลาที่กำหนด รวมทั้งมีการแก้ไขข้อมูลบ่อยคลัง ทำให้ไม่สามารถปิดบัญชีได้ทันเหตุการณ์ อีกทั้งยังมีการขอปรับเพิ่มปริมาณข้าวสารคงเหลือ ณ วันที่ 27 มิถุนายน 2556 จำนวนสูงมากถึง 2.98 ล้านตัน แต่ไม่สามารถตรวจสอบยืนยันความถูกต้องได้
นอกจากนี้ การระบายข้าวตามโครงการ คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) มีมติแจ้งข้อกล่าวหากับผู้ที่เกี่ยวข้อง เนื่องจากพบว่าการทำสัญญาซื้อขายข้าวแบบรัฐต่อรัฐ (จีทูจี) กับสาธารณรัฐประชาชนจีนนั้น ยังไม่มีข้อเท็จจริงใดๆ สนับสนุนว่าหน่วยงานรัฐวิสาหกิจทั้งสองแห่ง ที่เข้ามาทำสัญญาซื้อขายแบบรัฐต่อรัฐได้รับมอบหมายจากสาธารณรัฐประชาชนจีน และไม่มีการส่งออกข้าวออกนอกราชอาณาจักรจริง
2.ผลกระทบจากการดำเนินโครงการก่อให้เกิดความเสียหายต่อเงินงบประมาณแผ่นดิน และเกษตรกร ความเสี่ยงต่อระบบการคลังของประเทศ และไม่เกิดการพัฒนาการผลิตข้าวอย่างยั่งยืน ดังนี้
2.1 การดำเนินโครงการมีผลขาดทุนจำนวนสูงมาก จากการรายงานผลการปิดบัญชีโครงการรับจำนำผลผลิตทางการเกษตรของรัฐบาล โดยคณะอนุกรรมการปิดบัญชีโครงการรับจำนำข้าวเลือกตามนโยบายรัฐบาล โดยพิจารณาจากผลการดำเนินงานโครงการรับจำนำข้าวเปลือกนาปี ปีการผลิต 2554/55 โครงการรับจำนำข้าวเปลือกนาปรัง ปี 2555 และโครงการรับจำนำข้าวเปลือก ปี การผลิต 2555/56 (ครั้งที่ 1 ) พบว่า สิ้นสุด วันที่ 31 พฤษภาคม 2556 มีผลขาดทุนจำนวน 332,372.32 ล้านบาท และมีผลขาดทุนสูงกว่ายอดการปิดบัญชีสิ้นสุดวันที่ 31 มกราคม 2556 (ซึ่งมีผลขาดทุนจำนวน 220,968.78 ล้านบาท) จำนวนมากถึง 111,403.54 ล้านบาท ชี้ให้เห็นแนวโน้มผลการขาดทุนสูงขึ้น
ทั้งนี้หากดำเนินการระบายข้าวคงเหลือในคลังสินค้ากลางได้ต่ำกว่ามูลค่าทางบัญชี และล่าช้าจะส่งผลทำให้ข้าวเสื่อมคุณภาพและมีมูลค่าลดลง รวมทั้งยังมีค่าใช้จ่ายในการเก็บรักษาข้าวเพิ่มขึ้นตามระยะเวลาเก็บรักษาไว้ เช่น ค่าเช่าคลังสินค้ากลาง ค่าใช้จ่ายรมยารักษาคุณภาพข้าว ทั้งนี้ ณ วันที่ 31 พฤษภาคม 2556 ตามรายงานผลการปิดบัญชีโครงการตั้งแต่ปี การผลิต 2554/55 จนถึงปีการผลิต 2555/56 (ครั้งที่ 1) มีปริมาณข้าวสารคงเหลือในคลังสินค้ากลางรวมจำนวน 13,001,470.58 ตัน ซึ่งจะส่งผลให้โครงการมีผลขาดทุนเป็นจำนวนมาก โดยรัฐบาลต้องรับผิดชอบผลขาดทุนที่เกิดขึ้นจากโครงการทั้งหมด รวมทั้งภาระเงินต้นและดอกเบี้ยจากเงินกู้
2.2 ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร จ่ายเงินให้แก่เกษตรกรที่นำใบประทวนสินค้ามาจำนำโครงการล่าช้าเพราะมีเงินทุนหมุนเวียนไม่เพียงพอ เนื่องจากรัฐบาลระบายข้าวล่าช้ามาก โดยพิจารณาจากผลการดำเนินการระบายข้าวตามแผนการระบายข้าวตามโครงการรับจำนำข้าวเปลือกปีการผลิต 2554/55 และ 2555/56 จำนวน 220,415 ล้านบาท เพียงวันที่ 30 กันยายน 2556 พบว่า สามารถระบายข้าวได้จำนวน 128,373 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 58.24 ของแผนการระบายข้าว หากรัฐบาลยังไม่สามารถระบายข้าวเพื่อนำเงินมาใช้หมุนเวียนในโครงการอาจจะต้องกู้เงินเพิ่มมากขึ้น ส่งผลให้หนี้สาธารณะของประเทศเพิ่มสูงขึ้น ก่อให้เกิดความเสี่ยงต่อระบบการคลังของประเทศ รวมทั้งก่อให้เกิดผลกระทบและความเสียหายต่อเกษตรกรที่ยังไม่ได้รับเงินจากการจำนำข้าว
2.3 เกษตรกรผู้ปลูกข้าวที่ได้รับประโยชน์จากโครงการรับจำนำข้าวเปลือกทุกเมล็ดส่วนใหญ่เป็นเกษตรกรที่มีฐานะร่ำรวยและฐานะปานกลาง ทั้งที่การดำเนินโครงการต่างๆ ของภาครัฐเพื่อช่วยเหลือเกษตรกรนั้น ควรให้ความสำคัญกับการช่วยเหลือกลุ่มเกษตรกรยากจนหรือมีรายได้น้อยเป็นลำดับแรก
จากผลงานวิจัยของสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (TDRI) โดย ดร.นิพนธ์ พัวพงศกร และคณะ พบว่า เกษตรกรผู้ปลูกข้าวที่เข้าร่วมโครงการทุกรายได้รับประโยชน์จากโครงการมีรายได้เพิ่มขึ้นจริง แต่ปรากฏว่าเกษตรกรผู้ปลูกข้าวที่มีฐานะร่ำรวย (ร้อยละ 30 ของครัวเรือนเกษตรกรผู้ปลูกข้าว) ได้รับประโยชน์จากโครงการร้อยละ 39 ของมูลค่าการจำนำ และเกษตรกรที่มีฐานะปานกลาง (ร้อยละ 40) ได้รับประโยชน์ร้อยละ 43 ขณะที่เกษตรกรที่มีฐานะยากจน (ร้อยละ 30) ได้รับประโยชน์เพียงร้อยละ 18
2.4 การดำเนินโครงการไม่สามารถแก้ไขปัญหาที่แท้จริงของการผลิตข้าว และไม่ทำให้เกิดการพัฒนาการผลิตข้าวอย่างยั่งยืน ซึ่งปัญหาการผลิตข้าวที่แท้จริงคือ ปัญหาด้านการผลิตและด้านการตลาด โดยปัญหาด้านการผลิต ได้แก่ ประสิทธิภาพการผลิตต่ำ การขาดแคลนน้ำหรือปัญหาน้ำท่วม คุณภาพดิน ปัจจัยการผลิตไม่เพียงพอและราคาแพง การระบายของโรคและแมลง ทำให้ปริมาณผลผลิตข้าวเฉลี่ยต่อไร่ในอัตราที่ต่ำข้าวมีคุณภาพต่ำ และขายได้ในราคาถูก สำหรับปัญหาด้านการตลาด ได้แก่ การถูกกดราคารับซื้อ การปลอมปนข้าว ขาดมาตรฐานการรับซื้อโดยไม่ได้ซื้อตามขั้นคุณภาพ ทำให้เกษตรกรขาดแรงจูงใจในการปรับปรุงคุณภาพให้เป็นไปตามความต้องการของตลาด อีกทั้งนโยบายรับจำนำข้าวมีส่วนทำให้เกษตรกรไม่ให้ความสนใจกับการปรับปรุงคุณภาพข้าว
อีกทั้งผลงงานวิจัยของสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (TDRI) โดย ดร.นิพนธ์ พัวพงศกร และคณะยังพบว่าการดำเนินโครงการรับจำนำข้าวเปลือก ทุกเมล็ดส่งผลให้ระบบการค้าข้าวแบบแข่งขันของภาคเอกชนถูกทำลายและทดแทนด้วยระบบการค้าข้าวของรัฐ และเกิดการสูญเสียตลาดส่งออกข้าวของไทย เนื่องจากรัฐบาลไม่มีความสามารถในการขายข้าวเหมือนพ่อค้าส่งออก รวมทั้งเกิดการสูญเสียในคุณค่าข้าวไทย
จากข้อมูลดังกล่าวข้างต้นจะเห็นได้ว่า การดำเนินโครงการรับจำนำข้าวเปลือกของรัฐบาลตั้งแต่ปีการผลิต 2554/55 เป็นต้นมา มีความเสี่ยงความไม่โปร่งใสและน่าเชื่อว่ามีการทุจริตสูง และยังมีผลการดำเนินงานขาดทุนจำนวนหลายแสนล้านบาท ซึ่งรัฐบาลต้องรับผิดชอบตั้งงบประมาณชดเชยผลการขาดทุนและภาระดอกเบี้ยเงินกู้ที่เกิดขึ้นจากโครงการทั้งหมด ทำให้เกิดความเสียหายต่องบประมาณแผ่นดินและเกษตรกรความเสี่ยงต่อระบบการคลังของประเทศ และขาดความยั่งยืนในการพัฒนาการผลิตข้าว อีกทั้งการดำเนินโครงการรับจำนำข้าวเปลือกถือเป็นนโยบายแทรกแซงตลาดและสร้างภาระต่อเนื่องให้รัฐบาลต้องจัดเก็บรักษาข้าวสารไว้ในคลังสินค้ากลางและกลายเป็นพ่อค้าขายข้าวแข่งขันกับเอกชน ซึ่งนำไปสู่ช่องทางการทุจริตในขั้นตอนดังกล่าวข้างต้น
เพื่อให้การดำเนินโครงการเพื่อช่วยเหลือหรือแก้ไขความเดือดร้อนของเกษตรกรผู้ปลูกข้าวเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล และตรงกลุ่มเป้าหมาย รวมทั้งไม่ก่อให้เกิดความเสียหายต่อเงินงบประมาณแผ่นดิน
สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน จึงมีข้อเสนอแนะขอให้นายกรัฐมนตรีในฐานะประธานกรรมการนโยบายข้าวแห่งชาติโปรดพิจารณาดำเนินการดังนี้
1. พิจารณาทบทวนและยุติการดำเนินโครงการรับจำนำข้าวเปลือกในฤดูกาลต่อไป โดยอาจพิจารณาใช้มาตรการหรือแนวทางการช่วยเหลือในลักษณะอื่นแทน เช่นการสนับสนุนปัจจัยการผลิต และให้ความสำคัญกับการช่วยเหลือกลุ่มเกษตรกรยากจนหรือมีรายได้น้อยเป็นลำดับแรก รวมทั้งให้มีการจัดทำฐานข้อมูลที่มีความครบถ้วน ถูกต้อง ครอบคลุมทุกกิจกรรมสำคัญที่ต้องดำเนินการและเป็นฐานข้อมูลเดียวกัน ในแต่ละหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และมีกระบวนการติดตาม ประเมินผลการปฏิบัติงานตามโครงการอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ ทั้งในระดับจังหวัดและระดับภาพรวมของโครงการทั้งประเทศเพื่อสามารถนำไปสู่การวางแผนการดำเนินงานตามโครงการในระยะต่อไปให้บรรลุเป้าหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพ
/////// อ่านเต็มๆ สตง. แจ้งผลสอบโครงการจำนำข้าว เละ ทุกขั้นตอน ชี้เป็นโครงการที่ทำให้ประเทศเสียหายเป็นอย่างมาก.
เรื่อง การตรวจสอบโครงการรับจำนำข้าวเปลือกของรัฐบาล
กราบเรียน นายกรัฐมนตรี
สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน ได้ตรวจสอบการดำเนินงานโครงการรับจำนำข้าวเปลือกของรัฐบาลตั้งแต่ ปีการผลิต 2554/55 เป็นต้นมา ซึ่งคณะรัฐมนตรี มีมติอนุมัติกรอบวงเงินทุนหมุนเวียนเพื่อดำเนินโครงการต้องไม่เกิน 500,000 ล้านบาท ประกอบกับการศึกษา วิเคราะห์จากผลการตรวจสอบการดำเนินงานโครงการรับจำนำข้าวเปลือกปีการผลิต 2548/49 และ 2549/50 และโครงการประกันรายได้เกษตรกร ของปีการผลิต 2552/53 และ 2553/2554 ของสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินที่ผ่านมา ข้อเสนอและความเห็นจากสถาบัน องค์กรต่างๆ เกี่ยวกับโครงการ ตลอดจนรายงานการปิดบัญชีโครงการของคณะอนุกรรมการปิดบัญชีโครงการรับจำนำข้าวเปลือกตามนโยบายรัฐบาล ซึ่งจากการตรวจสอบดังกล่าว สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน มีความเห็นและข้อเสนอแนะดังนี้
1. การดำเนินงานโครงการมีจุดอ่อนหรือความเสี่ยงในทุกขั้นตอนตั้งแต่การขึ้นทะเบียนเกษตรกรจนถึงการระบายข้าว ซึ่งเป็นช่องทางนำไปสู่การสวมสิทธิ์การจำนำและการทุจริตในโครงการ
จากการตรวจสอบที่ผ่านมา ทั้งโครงการรับจำนำข้าวเปลือกปีการผลิต 2548/49 และ 2549/50 และโครงการประกันรายได้เกษตรกร ซึ่งมีการขึ้นทะเบียนเกษตรกรผู้ปลูกข้าวเช่นเดียวกัน พบว่า การขึ้นทะเบียนเกษตรกรผู้ปลูกข้าวไม่ถูกต้อง เกินความเป็นจริง ก่อให้เกิดความเสี่ยงที่เป็นช่องทางนำไปสู่การสวมสิทธิ์เกษตรกรและการทุจริตได้ การตรวจสอบรับรองข้อมูลการขึ้นทะเบียนเกษตรกรไม่สามารถดำเนินการตรวจสอบได้อย่างทั่วถึง และการใช้การประชุมประชาคมเป็นเครื่องมือในการรับรองความถูกต้อง ความครบถ้วน ของข้อมูลการขึ้นทะเบียนเกษตรกรไม่สามารถดำเนินการได้อย่างมีประสิทธิผล
สำหรับผู้แทนเกษตรกรและตัวแทนข้าราชการซึ่งได้รับการแต่งตั้งให้ประจำจุดรับจำนำเพื่อช่วยเหลือเกษตรกร รวมทั้งเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานประจำจุดรับจำนำขององค์การคลังสินค้าและองค์การตลาดเพื่อเกษตรกรไม่สามารถทำหน้าที่ช่วยเหลือเกษตรกรให้ได้รับความเป็นธรรมทั้งด้วนคุณภาพข้าว (กรมข้าว) การหักลดความชื้นและสิ่งเจือปนเกินความเป็นจริง
เนื่องจากส่วนใหญ่ยังขาดความรู้หรือประสบการณ์เกี่ยวกับการตรวจสอบคุณภาพข้าว (กรมข้าว) ชนิดข้าวน้ำหนักข้าว นอกจากนี้ การจัดเก็บรักษาข้าวของโครงการเกิดการสูญหายหรือขาดบัญชี
สำหรับการระบายข้าวตามโครงการดำเนินการได้น้อยและล่าช้ามาก ส่งผลทำให้ข้าวสารคุณภาพเสื่อม ซึ่งสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน ได้สรุปประเด็นปัญหาและความเสี่ยงสำคัญที่พบจากการตรวจสอบการดำเนินงานโครงการรับจำนำข้าวเปลือกแจ้งให้นายกรัฐมนตรีเพื่อโปรดพิจารณาให้เป็นข้อมูลประกอบการพิจารณาปรับปรุงการดำเนินงานโครงการ ตามหนังสือที่เคยแจ้งถึงนายกรัฐมนตรี มาแล้ว 3 ฉบับ
สำหรับการตรวจสอบโครงการรับจำนำข้าวเปลือกปีการผลิต 2554/55 เป็นต้นมา สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน ได้ติดตามขอข้อมูลผลการดำเนินงานของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ องค์การคลังสินค้า องค์การตลาดเพื่อเกษตรกร กระทรวงพาณิชย์ และกระทรวงการคลัง เกี่ยวกับผลการดำเนินงานการรับฝากข้าวเปลือก การออกใบประทวน การเก็บรักษาข้าวสาร การระบายข้าวตามโครงการ และผลการตรวจสอบข้อเท็จจริงและข้อมูลปริมาณข้าวคงเหลือของโรงสี และโกดังกลางที่เข้าร่วมโครงการ ณ วันที่ 27 มิถุนายน 2556 รวมทั้งข้อมูลและรายงานผลการปิดบัญชีโครงการรับจำนำผลผลิตทางการเกษตรของคณะอนุกรรมการปิดบัญชีโครงการรับจำนำข้าวเปลือกตามนโยบายรัฐบาล
แต่ปรากฏว่าสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินได้รับข้อมูลดังกล่าวเพื่อประกอบการตรวจสอบตามอำนาจหน้าที่ล่าช้า และไม่ครบถ้วน เช่น ข้อมูลการระบายข้าวตามโครงการของกระทรวงพาณิชย์ และผลการตรวจสอบข้อเท็จจริงและข้อมูลปริมาณข้าวคงเหลือของโรงสีและโกดังกลางที่เข้าร่วมโครงการ ณ วันที่ 27 มิถุนายน 2556
จากข้อมูลรายงานผลการปิดบัญชีโครงการฯ ซึ่งจัดส่งให้สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน เมื่อวันที่ 15 มกราคม 2557 คณะอนุกรรมการปิดบัญชีฯ ได้ให้ข้อสังเกตว่า องค์การคลังสินค้าและองค์การตลาดเพื่อเกษตรกร มีการรายงานข้อมูลปริมาณข้าวสารคงเหลือในคลังสินค้าไม่ถูกต้องครบถ้วน ล่าช้าไม่เป็นไปตามระยะเวลาที่กำหนด รวมทั้งมีการแก้ไขข้อมูลบ่อยคลัง ทำให้ไม่สามารถปิดบัญชีได้ทันเหตุการณ์ อีกทั้งยังมีการขอปรับเพิ่มปริมาณข้าวสารคงเหลือ ณ วันที่ 27 มิถุนายน 2556 จำนวนสูงมากถึง 2.98 ล้านตัน แต่ไม่สามารถตรวจสอบยืนยันความถูกต้องได้
นอกจากนี้ การระบายข้าวตามโครงการ คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) มีมติแจ้งข้อกล่าวหากับผู้ที่เกี่ยวข้อง เนื่องจากพบว่าการทำสัญญาซื้อขายข้าวแบบรัฐต่อรัฐ (จีทูจี) กับสาธารณรัฐประชาชนจีนนั้น ยังไม่มีข้อเท็จจริงใดๆ สนับสนุนว่าหน่วยงานรัฐวิสาหกิจทั้งสองแห่ง ที่เข้ามาทำสัญญาซื้อขายแบบรัฐต่อรัฐได้รับมอบหมายจากสาธารณรัฐประชาชนจีน และไม่มีการส่งออกข้าวออกนอกราชอาณาจักรจริง
2.ผลกระทบจากการดำเนินโครงการก่อให้เกิดความเสียหายต่อเงินงบประมาณแผ่นดิน และเกษตรกร ความเสี่ยงต่อระบบการคลังของประเทศ และไม่เกิดการพัฒนาการผลิตข้าวอย่างยั่งยืน ดังนี้
2.1 การดำเนินโครงการมีผลขาดทุนจำนวนสูงมาก จากการรายงานผลการปิดบัญชีโครงการรับจำนำผลผลิตทางการเกษตรของรัฐบาล โดยคณะอนุกรรมการปิดบัญชีโครงการรับจำนำข้าวเลือกตามนโยบายรัฐบาล โดยพิจารณาจากผลการดำเนินงานโครงการรับจำนำข้าวเปลือกนาปี ปีการผลิต 2554/55 โครงการรับจำนำข้าวเปลือกนาปรัง ปี 2555 และโครงการรับจำนำข้าวเปลือก ปี การผลิต 2555/56 (ครั้งที่ 1 ) พบว่า สิ้นสุด วันที่ 31 พฤษภาคม 2556 มีผลขาดทุนจำนวน 332,372.32 ล้านบาท และมีผลขาดทุนสูงกว่ายอดการปิดบัญชีสิ้นสุดวันที่ 31 มกราคม 2556 (ซึ่งมีผลขาดทุนจำนวน 220,968.78 ล้านบาท) จำนวนมากถึง 111,403.54 ล้านบาท ชี้ให้เห็นแนวโน้มผลการขาดทุนสูงขึ้น
ทั้งนี้หากดำเนินการระบายข้าวคงเหลือในคลังสินค้ากลางได้ต่ำกว่ามูลค่าทางบัญชี และล่าช้าจะส่งผลทำให้ข้าวเสื่อมคุณภาพและมีมูลค่าลดลง รวมทั้งยังมีค่าใช้จ่ายในการเก็บรักษาข้าวเพิ่มขึ้นตามระยะเวลาเก็บรักษาไว้ เช่น ค่าเช่าคลังสินค้ากลาง ค่าใช้จ่ายรมยารักษาคุณภาพข้าว ทั้งนี้ ณ วันที่ 31 พฤษภาคม 2556 ตามรายงานผลการปิดบัญชีโครงการตั้งแต่ปี การผลิต 2554/55 จนถึงปีการผลิต 2555/56 (ครั้งที่ 1) มีปริมาณข้าวสารคงเหลือในคลังสินค้ากลางรวมจำนวน 13,001,470.58 ตัน ซึ่งจะส่งผลให้โครงการมีผลขาดทุนเป็นจำนวนมาก โดยรัฐบาลต้องรับผิดชอบผลขาดทุนที่เกิดขึ้นจากโครงการทั้งหมด รวมทั้งภาระเงินต้นและดอกเบี้ยจากเงินกู้
2.2 ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร จ่ายเงินให้แก่เกษตรกรที่นำใบประทวนสินค้ามาจำนำโครงการล่าช้าเพราะมีเงินทุนหมุนเวียนไม่เพียงพอ เนื่องจากรัฐบาลระบายข้าวล่าช้ามาก โดยพิจารณาจากผลการดำเนินการระบายข้าวตามแผนการระบายข้าวตามโครงการรับจำนำข้าวเปลือกปีการผลิต 2554/55 และ 2555/56 จำนวน 220,415 ล้านบาท เพียงวันที่ 30 กันยายน 2556 พบว่า สามารถระบายข้าวได้จำนวน 128,373 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 58.24 ของแผนการระบายข้าว หากรัฐบาลยังไม่สามารถระบายข้าวเพื่อนำเงินมาใช้หมุนเวียนในโครงการอาจจะต้องกู้เงินเพิ่มมากขึ้น ส่งผลให้หนี้สาธารณะของประเทศเพิ่มสูงขึ้น ก่อให้เกิดความเสี่ยงต่อระบบการคลังของประเทศ รวมทั้งก่อให้เกิดผลกระทบและความเสียหายต่อเกษตรกรที่ยังไม่ได้รับเงินจากการจำนำข้าว
2.3 เกษตรกรผู้ปลูกข้าวที่ได้รับประโยชน์จากโครงการรับจำนำข้าวเปลือกทุกเมล็ดส่วนใหญ่เป็นเกษตรกรที่มีฐานะร่ำรวยและฐานะปานกลาง ทั้งที่การดำเนินโครงการต่างๆ ของภาครัฐเพื่อช่วยเหลือเกษตรกรนั้น ควรให้ความสำคัญกับการช่วยเหลือกลุ่มเกษตรกรยากจนหรือมีรายได้น้อยเป็นลำดับแรก
จากผลงานวิจัยของสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (TDRI) โดย ดร.นิพนธ์ พัวพงศกร และคณะ พบว่า เกษตรกรผู้ปลูกข้าวที่เข้าร่วมโครงการทุกรายได้รับประโยชน์จากโครงการมีรายได้เพิ่มขึ้นจริง แต่ปรากฏว่าเกษตรกรผู้ปลูกข้าวที่มีฐานะร่ำรวย (ร้อยละ 30 ของครัวเรือนเกษตรกรผู้ปลูกข้าว) ได้รับประโยชน์จากโครงการร้อยละ 39 ของมูลค่าการจำนำ และเกษตรกรที่มีฐานะปานกลาง (ร้อยละ 40) ได้รับประโยชน์ร้อยละ 43 ขณะที่เกษตรกรที่มีฐานะยากจน (ร้อยละ 30) ได้รับประโยชน์เพียงร้อยละ 18
2.4 การดำเนินโครงการไม่สามารถแก้ไขปัญหาที่แท้จริงของการผลิตข้าว และไม่ทำให้เกิดการพัฒนาการผลิตข้าวอย่างยั่งยืน ซึ่งปัญหาการผลิตข้าวที่แท้จริงคือ ปัญหาด้านการผลิตและด้านการตลาด โดยปัญหาด้านการผลิต ได้แก่ ประสิทธิภาพการผลิตต่ำ การขาดแคลนน้ำหรือปัญหาน้ำท่วม คุณภาพดิน ปัจจัยการผลิตไม่เพียงพอและราคาแพง การระบายของโรคและแมลง ทำให้ปริมาณผลผลิตข้าวเฉลี่ยต่อไร่ในอัตราที่ต่ำข้าวมีคุณภาพต่ำ และขายได้ในราคาถูก สำหรับปัญหาด้านการตลาด ได้แก่ การถูกกดราคารับซื้อ การปลอมปนข้าว ขาดมาตรฐานการรับซื้อโดยไม่ได้ซื้อตามขั้นคุณภาพ ทำให้เกษตรกรขาดแรงจูงใจในการปรับปรุงคุณภาพให้เป็นไปตามความต้องการของตลาด อีกทั้งนโยบายรับจำนำข้าวมีส่วนทำให้เกษตรกรไม่ให้ความสนใจกับการปรับปรุงคุณภาพข้าว
อีกทั้งผลงงานวิจัยของสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (TDRI) โดย ดร.นิพนธ์ พัวพงศกร และคณะยังพบว่าการดำเนินโครงการรับจำนำข้าวเปลือก ทุกเมล็ดส่งผลให้ระบบการค้าข้าวแบบแข่งขันของภาคเอกชนถูกทำลายและทดแทนด้วยระบบการค้าข้าวของรัฐ และเกิดการสูญเสียตลาดส่งออกข้าวของไทย เนื่องจากรัฐบาลไม่มีความสามารถในการขายข้าวเหมือนพ่อค้าส่งออก รวมทั้งเกิดการสูญเสียในคุณค่าข้าวไทย
จากข้อมูลดังกล่าวข้างต้นจะเห็นได้ว่า การดำเนินโครงการรับจำนำข้าวเปลือกของรัฐบาลตั้งแต่ปีการผลิต 2554/55 เป็นต้นมา มีความเสี่ยงความไม่โปร่งใสและน่าเชื่อว่ามีการทุจริตสูง และยังมีผลการดำเนินงานขาดทุนจำนวนหลายแสนล้านบาท ซึ่งรัฐบาลต้องรับผิดชอบตั้งงบประมาณชดเชยผลการขาดทุนและภาระดอกเบี้ยเงินกู้ที่เกิดขึ้นจากโครงการทั้งหมด ทำให้เกิดความเสียหายต่องบประมาณแผ่นดินและเกษตรกรความเสี่ยงต่อระบบการคลังของประเทศ และขาดความยั่งยืนในการพัฒนาการผลิตข้าว อีกทั้งการดำเนินโครงการรับจำนำข้าวเปลือกถือเป็นนโยบายแทรกแซงตลาดและสร้างภาระต่อเนื่องให้รัฐบาลต้องจัดเก็บรักษาข้าวสารไว้ในคลังสินค้ากลางและกลายเป็นพ่อค้าขายข้าวแข่งขันกับเอกชน ซึ่งนำไปสู่ช่องทางการทุจริตในขั้นตอนดังกล่าวข้างต้น
เพื่อให้การดำเนินโครงการเพื่อช่วยเหลือหรือแก้ไขความเดือดร้อนของเกษตรกรผู้ปลูกข้าวเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล และตรงกลุ่มเป้าหมาย รวมทั้งไม่ก่อให้เกิดความเสียหายต่อเงินงบประมาณแผ่นดิน
สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน จึงมีข้อเสนอแนะขอให้นายกรัฐมนตรีในฐานะประธานกรรมการนโยบายข้าวแห่งชาติโปรดพิจารณาดำเนินการดังนี้
1. พิจารณาทบทวนและยุติการดำเนินโครงการรับจำนำข้าวเปลือกในฤดูกาลต่อไป โดยอาจพิจารณาใช้มาตรการหรือแนวทางการช่วยเหลือในลักษณะอื่นแทน เช่นการสนับสนุนปัจจัยการผลิต และให้ความสำคัญกับการช่วยเหลือกลุ่มเกษตรกรยากจนหรือมีรายได้น้อยเป็นลำดับแรก รวมทั้งให้มีการจัดทำฐานข้อมูลที่มีความครบถ้วน ถูกต้อง ครอบคลุมทุกกิจกรรมสำคัญที่ต้องดำเนินการและเป็นฐานข้อมูลเดียวกัน ในแต่ละหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และมีกระบวนการติดตาม ประเมินผลการปฏิบัติงานตามโครงการอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ ทั้งในระดับจังหวัดและระดับภาพรวมของโครงการทั้งประเทศเพื่อสามารถนำไปสู่การวางแผนการดำเนินงานตามโครงการในระยะต่อไปให้บรรลุเป้าหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพ