ขอคำอธิบายทางวิทยาศาสตร์สำหรับอาการเมื่อยเหน็บกินเวลานั่งสมาธิ

ช่วงนี้กำลังฝึกนั่งสมาธิค่ะ พระอาจารย์บอกว่านั่งแรก ๆ ก็จะเมื่อย เหน็บกินแบบนี้แหล่ะ แต่ถ้าทำให้ใจนิ่งสงบไปสักพัก นั่งไปจนถึงจุด ๆ หนึ่ง อาการทางกายเหล่านั้นก็จะหายไป แล้วเราก็จะสามารถนั่งแบบนั้นได้ทั้งคืน

แต่จขกท.นั่งทีไร แค่สามสิบนาทีก็กลัวเลือดจะไปเลี้ยงขาไม่พอ อาจทำให้เนื้อเยื่อตายได้ และต้องตัดขาทิ้ง T^T คือต้องเข้าใจนะคะว่าไม่ได้เรียนสายวิทย์มา ก็เลยกลัวโน่นกลัวนี่ไปหมด อยากรู้ว่ามันมีความเป็นไปได้หรือเปล่าคะว่าถ้านั่งท่าขัดสมาธินาน ๆ จะทำให้เลือดไปเลี้ยงที่ขาไม่พอจนเนื้อเยื่อตาย หรือว่าจะเป็นอย่างที่พระอาจารย์บอกคือร่างกายจะปรับตัวชินได้เอง แล้วก็จะนั่งได้เรื่อย ๆ แล้วถ้าเป็นอย่างหลัง ทำไมถึงเป็นเช่นนั้น เส้นเลือดโดนทับอยู่ไม่ใช่เหรอคะ

เคยได้ยินมาเช่นกันว่าการนั่งในท่าที่งอเข่านั้นทำให้เข่าเสื่อมเร็ว ทำไมถึงเป็นอย่างนั้นคะ เส้นเอ็นโดนยืดมากไปหรืออะไร ทำไมถึงทำให้เข่าสึก แล้วเราจะบรรเทาอาการเข่าสึกแบบนั้นได้ยังไงคะ (ทานอะไรบำรุง ฯลฯ)
คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 11
เคยนั่งสมาธิ 12 ชั่วโมงต่อวัน(จากตี4ถึง4ทุ่มแบบไม่ต่อเนื่อง)เป็นเวลา 2เดือนเต็มแรกๆแค่ 30นาทีเหน็บชากินขาลุกไม่ขึ้นแต่ก็อดทนจนสามารถนั่งได้2ชั่วโมงโดยที่ไม่รู้สึกอะไรเลย(อาการเจ็บปวดไม่มี) สูงสุดที่เคยนั่งแบบไม่เปลี่ยนท่าเลย 4 ชั่วโมงอารมณ์เหมือนกับกระดูกกับเอ็นแยกออกจากกันขอบอกว่าปวดมากๆแต่เมื่อเลยช่วงนี้แล้วอาการปวดต่างๆก็จะหายเป็นปลิดทิ้งตัวจะเบาสะบายจะเป็นอย่างนี้ทุกๆคนถ้าสามารถทนถึงจุดนี้ได้ ส่วนที่ จขกท.กังวลขอให้สบายใจได้จนถึงปัจจุบันนี้ยังไม่เคยได้ยินว่าใครจะมีอาการตามที่กังวลเลย(มากกว่า100ล้านคนขึ้นไป)
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่