แตกประเด็นมากจาก
http://ppantip.com/topic/30525877
ท่านผู้อ่านกลับไปสนใจเรื่องบรรทัดล่าง ๆ .......ที่ว่า.....เพราะ รายย่อยไม่ใช่ผู้กำหนดตลาด อาจ 3 สัปดาห์ 3 เดือน 3 ปี หรือ 20 ปี เหมือน สมัย 1700 จุด กว่าจะมา 1600 ที่เห็นๆ กัน 20 ปีเข้าไปแล้ว........แล้วก็เกิดความเห็นเรื่องสมัยก่อน สมัยนี้หาว่ายึดติด บอกว่าสมัยเปลี่ยน เรื่องราวเปลี่ยน ฯลฯ ทำให้เข้าใจหัวข้อประเด็นหลักผิดไป เลยต้องมาย้อนรอยนิดหน่อย
.....มนุษย์มีมากี่หมื่นปี ? ชีวิต ต้องกินอาหารหรือไม่ หรือว่าวิทยาการก้าวหน้า ตอนนี้กินหลอดยาสีฟันอยู่ได้ 100 ปี ?
แม้เวลาเปลี่ยน รายละเอียดเปลี่ยน หุ้นดีมีมากขึ้นกว่าก่อน (ถ้าเป็นนั้นจริง แสดงว่า ตลท คัดสรรหุ้นไม่ดีมาให้คนค้าหุ้นเล่นเมื่อในอดีต? ) , คนค้าหุ้นเก่งขึ้น ,องค์ความรู้มีมากขึ้น ฯลฯ ......ถูกต้องครับ แต่ตรรกะการค้าหุ้นไม่เปลี่ยน ทุกท่านค้าหุ้น เพื่อกำไร (มีใครเล่นเอาสนุก เอามันส์ ขาดทุนยิ่งมากยิ่งสุขใจ ....อาจมีแต่น้อยมากๆ และเชื่อว่า กัดฟันตอบมากกว่า )
ทุกท่านเข้ามาเพื่อแสวงกำไร แต่ไม่อาจกำหนดองค์ประกอบให้ได้ตรงเป้าหมายครบถ้วนได้ เช่น อยากกำไร 100% ใน 3 เดือน ในทุกสภาวะตลาดไม่ว่าขาลงก็ต้องการ เพราะเป็นมีอาชีพค้าหุ้นเลี้ยงชีวิตแล้ว....แต่ทำได้ คือ กำไร 100% กินเวลา 5 เดือน (เมื่อตลาดขาขึ้น) พอตลาดขาลงก็เหลือ เพียง 5 % ใน 3 เดือน ฯลฯ อย่างนี้เรียกว่า
ไม่ครบองค์ประกอบของการวางแผนเป้าหมายครับ
กลับมาที่หัวข้อ
การจัดระเบียบราคา (มือใหม่อาจ ดูแล้ว งง งง) การค้าหุ้นก็เหมือนการค้าขาย มีคนซื้อ ซื้อ ขาย ขายมากขึ้น ในสินค้าจำนวนคงที่ ราคาก็ขึ้นจากการเรียกร้องของผู้ขาย แต่เมื่อ ความต้องการซื้อลดลง(ด้วยเหตุผลต่างๆ ไม่ใช่คนซื้อมีเงินน้อยนะ แต่อาจเพราะมีอารมณ์ความกลัวครอบงำ ก็ไม่อยากซื้อ ) เมื่อคนขายที่เป็นคนตั้งราคาขาย รอระยะเวลาหนึ่งคนไม่ซื้อราคาที่ตั้งขาย ก็เปลี่ยนใจ ลดราคาเสียเลย แบบนี้ ทางการค้าขายเรียก การปรับราคาขายลง เพื่อลดสต๊อกสินค้าคงคลัง เพิ่มเงินสดหมุนเวียน เสริมสภาพคล่องขึ้น เกิดแรงต่อรองในการไปซื้อสินค้ากลับมาขายใหม่อีก ระบบแบบนี้(ระบบฝั่งขาย)มักจะเป็นวงรอบ ถ้าคนดูกราฟเราจะบอกว่า เกิดสัญญาณไดเวอรเจ้น มีการกลับทิศทางราคา ในระบบค้าขายเรียก ลดราคาซื้อแล้วมีของแถม, ส่วนฝ่าย บจ ก็ออกมาในลักษณะ เพิ่มทุนแจกวอแร้นฟรี , ทางฝั่งโบรกเกอร์ก็อาจตั้งค่าคอมลดลงถ้าเทรดมากขึ้นตามเป้า ฯลฯ แล้วฝั่งผู้ค้า(คนเล่นหุ้น) การจัดระเบียบราคาคืออะไร มีสภาพเช่นไร ?
1...หุ้นในพอร์ตขาดทุน มากกว่ากำไร
2...อยากมีหุ้นราคาถูก ต้องเพิ่มทุนตนเอง เข้ามาซื้อเพิ่ม (เติมเงินทุนในพอร์ต)เป็นการเพิ่มงบเล่นหุ้น
3...หากไม่มีเงินทุนเพิ่ม ก็ยอมถือต่อ โดยใช้เวลา
เวลา เป็นตัวละลายความเสี่ยงต่อไป ถือไปอีก 3 วัน(ตลาดขาขึ้น) อีก 3 เดือน หวังปันผล หรือ อีก 3 ปี(เมื่อเป็นขาลง) เมื่อหมดปัญญากู้ทุนคืน ก็แค่รออย่างหดหู่ (ทุกยุคทุกสมัยมีแบบนี้ ไม่ว่ายุคนั้น นี้ โน้น จะมีหุ้นดีให้เลือกหรือผู้ค้าเก่งขึ้น ฉลาดเป็นกรดขึ้น ..... แต่มีอย่างหนึ่งที่ไม่เคยมีเท่ากันเลยและสอนเท่าใดก็ไม่เท่ากัน คือ สถานะ(เงินหนาเงินเย็น) และที่เป็นส่วนผสมสำคัญ ที่คนมีความรู้ ไม่เคยที่จะยอมรับเลย(เพราะเชื่อว่า ระบบค้าหุ้นคือวิทยาศาสตร์ ล้วน ๆ) คือ ...โชคช่วย โชคช่วย โชคช่วย แต่ เราหาองค์ความรู้แสวงหาโชคไม่ได้เลย เพราะมาเองตามธรรมชาติ ถ้าแม้นเราไม่มีเงิน ก็อาจหลอกล่อยืมเงินผู้อื่นจนสำเร็จ แต่หลอกล่อให้มีโชคมาช่วย รวยเร็ว ๆ ใน เวลาสั้น ๆ ไม่ได้ (ความเชื่อที่ว่า กำไรตลาดเป็นผู้ให้ ในนั้นมีส่วนผสมของ ศาสตรและศิลป)
4...เกิดการยืมหุ้นตนเอง ออกมาหมุนใหม่ วิธีนี้ ต้องคนเก่งจริง ๆ
กล้า มั่นใจ มีประสบการณ์ ถึงทำได้ เหมือนการแปลงสินทรัพย์ให้เป็นทุน การประกันทุนที่ติดคุก(ติดดอย) ออกมาก่อนเพื่อไปแสวงโอกาสเพิ่มมูลค่ากับหุ้นตัวอื่นต่อไป วิธีนี้จึงเสี่ยงและอาจขาดทุน เพิ่ม แต่คนรู้วิธีจะเป็นเรื่อง หมู ๆ ทำ 10 ครั้ง ถูก 8 ครั้ง ก็อาจลดทุนติดดอยลงมาได้ กลับเป็นกำไร
5...วิธีอื่น ๆ ที่ไม่สามารถ เผยในที่แจ้งได้ (ต้องบอกเป็นความลับ) ฯลฯ
การเล่นหุ้น ต้องรู้เรื่องการจัดระเบียบราคา คนส่วนใหญ่ก้ดูจากกราฟ แต่ถ้าเป็นข้อมูลปัจจัยพื้นฐานก็ต้องหาราคาตามมูลค่าแท้จริงให้ได้ก่อน เมื่อราคาหุ้นถึงราคามูลค่าแท้จริง ก็เพื่อให้ราคา over load สัก 5 -10 % แล้วขาย (เมื่อตลาดเป็นขาขึ้น) แต่อาจไม่ต้องถึงมูลค่าก็ขายก่อน(เมื่อตลาดเป็นขาลง) ส่วนนักเก็งกำไรคุณค่า (ที่ไม่ใช่นักเสี่ยงโชคไร้เหตุผล) ก็จะอาศัยการจัดพอร์ตที่รู้กันว่า port-management ซึ่งต้องอาศัยทั้งประสบการณ์และเครื่องมือสถิติเป็นตัวช่วย (เช่น ในโปรแกรม nowya method ก็จะมีตาราง หยินหยาง เป็นตัวช่วย)
สิ่งที่สำคัญ คือ เราจะคาดเดาใจ รายใหญ่ว่า เมื่อไรจะทิ้งหนัก ๆ เมื่อไรจะซื้อหนัก ๆ นั้นยากมากๆ แม้ขณะนั้นจะมีข่าวดีสุด ๆ หรือข่าวร้ายจ่อคิว กระแสเงินก็ยังไม่ยอมเปลี่ยน แต่สัญญาณทางเครื่องมือ เริ่มตึงตัวมากขึ้น ใครใช้ rsi อาจเห็น 93 - 94 - 95 - หรือ 5 - 10 -12 ซ้ำๆ จนไม่กล้า ขาย ไม่กล้าซื้อ ส่วน พวก macd จะเห็นค่า ม้วนขึ้นลงที่แดนสูงๆ หรือแดนต่ำๆ ซ้ำซากไม่ยอมเปลี่ยน ในตารางหยินหยางอาจเห็น ป้วนเปี้ยนแถว 8 - 9 - 9 -10 - หรือ 0 -1 -2 -1 - 0 ซ้ำ ๆ จนเสียวไส้ ......วิธีที่ดีคือการ นิ่ง หรือ ออกจากการเฝ้าตลาด หรือ ห่าง ๆตลาด รอเกิดผลเปลี่ยนแปลงชัดเจนค่อยว่ากัน (ให้เวลาในการจัดระเบียบราคาก่อน)
ที่น่าเห็นใจ คือกลุ่มพวกที่ เสพติดการเล่นหุ้น แม้เครื่องมือจะมีสัญญาณ ก็ยังอยากซื้อ อยากขาย (ความโลภ ความกล้าบ้าบิ่น หรือความกลัวสุด ๆ ก็ได้) พวกนี้ไม่มียาดีแก้ นอกจากเตือนให้เล่นแบบ ลดพอร์ต มากที่สุด พอเล่นเอามันส์ ไปวันวันก็พอ
เล่าสู่กันฟัง
การจัดระเบียบราคาใหม่
ท่านผู้อ่านกลับไปสนใจเรื่องบรรทัดล่าง ๆ .......ที่ว่า.....เพราะ รายย่อยไม่ใช่ผู้กำหนดตลาด อาจ 3 สัปดาห์ 3 เดือน 3 ปี หรือ 20 ปี เหมือน สมัย 1700 จุด กว่าจะมา 1600 ที่เห็นๆ กัน 20 ปีเข้าไปแล้ว........แล้วก็เกิดความเห็นเรื่องสมัยก่อน สมัยนี้หาว่ายึดติด บอกว่าสมัยเปลี่ยน เรื่องราวเปลี่ยน ฯลฯ ทำให้เข้าใจหัวข้อประเด็นหลักผิดไป เลยต้องมาย้อนรอยนิดหน่อย
.....มนุษย์มีมากี่หมื่นปี ? ชีวิต ต้องกินอาหารหรือไม่ หรือว่าวิทยาการก้าวหน้า ตอนนี้กินหลอดยาสีฟันอยู่ได้ 100 ปี ?
แม้เวลาเปลี่ยน รายละเอียดเปลี่ยน หุ้นดีมีมากขึ้นกว่าก่อน (ถ้าเป็นนั้นจริง แสดงว่า ตลท คัดสรรหุ้นไม่ดีมาให้คนค้าหุ้นเล่นเมื่อในอดีต? ) , คนค้าหุ้นเก่งขึ้น ,องค์ความรู้มีมากขึ้น ฯลฯ ......ถูกต้องครับ แต่ตรรกะการค้าหุ้นไม่เปลี่ยน ทุกท่านค้าหุ้น เพื่อกำไร (มีใครเล่นเอาสนุก เอามันส์ ขาดทุนยิ่งมากยิ่งสุขใจ ....อาจมีแต่น้อยมากๆ และเชื่อว่า กัดฟันตอบมากกว่า )
ทุกท่านเข้ามาเพื่อแสวงกำไร แต่ไม่อาจกำหนดองค์ประกอบให้ได้ตรงเป้าหมายครบถ้วนได้ เช่น อยากกำไร 100% ใน 3 เดือน ในทุกสภาวะตลาดไม่ว่าขาลงก็ต้องการ เพราะเป็นมีอาชีพค้าหุ้นเลี้ยงชีวิตแล้ว....แต่ทำได้ คือ กำไร 100% กินเวลา 5 เดือน (เมื่อตลาดขาขึ้น) พอตลาดขาลงก็เหลือ เพียง 5 % ใน 3 เดือน ฯลฯ อย่างนี้เรียกว่า ไม่ครบองค์ประกอบของการวางแผนเป้าหมายครับ
กลับมาที่หัวข้อ
การจัดระเบียบราคา (มือใหม่อาจ ดูแล้ว งง งง) การค้าหุ้นก็เหมือนการค้าขาย มีคนซื้อ ซื้อ ขาย ขายมากขึ้น ในสินค้าจำนวนคงที่ ราคาก็ขึ้นจากการเรียกร้องของผู้ขาย แต่เมื่อ ความต้องการซื้อลดลง(ด้วยเหตุผลต่างๆ ไม่ใช่คนซื้อมีเงินน้อยนะ แต่อาจเพราะมีอารมณ์ความกลัวครอบงำ ก็ไม่อยากซื้อ ) เมื่อคนขายที่เป็นคนตั้งราคาขาย รอระยะเวลาหนึ่งคนไม่ซื้อราคาที่ตั้งขาย ก็เปลี่ยนใจ ลดราคาเสียเลย แบบนี้ ทางการค้าขายเรียก การปรับราคาขายลง เพื่อลดสต๊อกสินค้าคงคลัง เพิ่มเงินสดหมุนเวียน เสริมสภาพคล่องขึ้น เกิดแรงต่อรองในการไปซื้อสินค้ากลับมาขายใหม่อีก ระบบแบบนี้(ระบบฝั่งขาย)มักจะเป็นวงรอบ ถ้าคนดูกราฟเราจะบอกว่า เกิดสัญญาณไดเวอรเจ้น มีการกลับทิศทางราคา ในระบบค้าขายเรียก ลดราคาซื้อแล้วมีของแถม, ส่วนฝ่าย บจ ก็ออกมาในลักษณะ เพิ่มทุนแจกวอแร้นฟรี , ทางฝั่งโบรกเกอร์ก็อาจตั้งค่าคอมลดลงถ้าเทรดมากขึ้นตามเป้า ฯลฯ แล้วฝั่งผู้ค้า(คนเล่นหุ้น) การจัดระเบียบราคาคืออะไร มีสภาพเช่นไร ?
1...หุ้นในพอร์ตขาดทุน มากกว่ากำไร
2...อยากมีหุ้นราคาถูก ต้องเพิ่มทุนตนเอง เข้ามาซื้อเพิ่ม (เติมเงินทุนในพอร์ต)เป็นการเพิ่มงบเล่นหุ้น
3...หากไม่มีเงินทุนเพิ่ม ก็ยอมถือต่อ โดยใช้เวลา เวลา เป็นตัวละลายความเสี่ยงต่อไป ถือไปอีก 3 วัน(ตลาดขาขึ้น) อีก 3 เดือน หวังปันผล หรือ อีก 3 ปี(เมื่อเป็นขาลง) เมื่อหมดปัญญากู้ทุนคืน ก็แค่รออย่างหดหู่ (ทุกยุคทุกสมัยมีแบบนี้ ไม่ว่ายุคนั้น นี้ โน้น จะมีหุ้นดีให้เลือกหรือผู้ค้าเก่งขึ้น ฉลาดเป็นกรดขึ้น ..... แต่มีอย่างหนึ่งที่ไม่เคยมีเท่ากันเลยและสอนเท่าใดก็ไม่เท่ากัน คือ สถานะ(เงินหนาเงินเย็น) และที่เป็นส่วนผสมสำคัญ ที่คนมีความรู้ ไม่เคยที่จะยอมรับเลย(เพราะเชื่อว่า ระบบค้าหุ้นคือวิทยาศาสตร์ ล้วน ๆ) คือ ...โชคช่วย โชคช่วย โชคช่วย แต่ เราหาองค์ความรู้แสวงหาโชคไม่ได้เลย เพราะมาเองตามธรรมชาติ ถ้าแม้นเราไม่มีเงิน ก็อาจหลอกล่อยืมเงินผู้อื่นจนสำเร็จ แต่หลอกล่อให้มีโชคมาช่วย รวยเร็ว ๆ ใน เวลาสั้น ๆ ไม่ได้ (ความเชื่อที่ว่า กำไรตลาดเป็นผู้ให้ ในนั้นมีส่วนผสมของ ศาสตรและศิลป)
4...เกิดการยืมหุ้นตนเอง ออกมาหมุนใหม่ วิธีนี้ ต้องคนเก่งจริง ๆ กล้า มั่นใจ มีประสบการณ์ ถึงทำได้ เหมือนการแปลงสินทรัพย์ให้เป็นทุน การประกันทุนที่ติดคุก(ติดดอย) ออกมาก่อนเพื่อไปแสวงโอกาสเพิ่มมูลค่ากับหุ้นตัวอื่นต่อไป วิธีนี้จึงเสี่ยงและอาจขาดทุน เพิ่ม แต่คนรู้วิธีจะเป็นเรื่อง หมู ๆ ทำ 10 ครั้ง ถูก 8 ครั้ง ก็อาจลดทุนติดดอยลงมาได้ กลับเป็นกำไร
5...วิธีอื่น ๆ ที่ไม่สามารถ เผยในที่แจ้งได้ (ต้องบอกเป็นความลับ) ฯลฯ
การเล่นหุ้น ต้องรู้เรื่องการจัดระเบียบราคา คนส่วนใหญ่ก้ดูจากกราฟ แต่ถ้าเป็นข้อมูลปัจจัยพื้นฐานก็ต้องหาราคาตามมูลค่าแท้จริงให้ได้ก่อน เมื่อราคาหุ้นถึงราคามูลค่าแท้จริง ก็เพื่อให้ราคา over load สัก 5 -10 % แล้วขาย (เมื่อตลาดเป็นขาขึ้น) แต่อาจไม่ต้องถึงมูลค่าก็ขายก่อน(เมื่อตลาดเป็นขาลง) ส่วนนักเก็งกำไรคุณค่า (ที่ไม่ใช่นักเสี่ยงโชคไร้เหตุผล) ก็จะอาศัยการจัดพอร์ตที่รู้กันว่า port-management ซึ่งต้องอาศัยทั้งประสบการณ์และเครื่องมือสถิติเป็นตัวช่วย (เช่น ในโปรแกรม nowya method ก็จะมีตาราง หยินหยาง เป็นตัวช่วย)
สิ่งที่สำคัญ คือ เราจะคาดเดาใจ รายใหญ่ว่า เมื่อไรจะทิ้งหนัก ๆ เมื่อไรจะซื้อหนัก ๆ นั้นยากมากๆ แม้ขณะนั้นจะมีข่าวดีสุด ๆ หรือข่าวร้ายจ่อคิว กระแสเงินก็ยังไม่ยอมเปลี่ยน แต่สัญญาณทางเครื่องมือ เริ่มตึงตัวมากขึ้น ใครใช้ rsi อาจเห็น 93 - 94 - 95 - หรือ 5 - 10 -12 ซ้ำๆ จนไม่กล้า ขาย ไม่กล้าซื้อ ส่วน พวก macd จะเห็นค่า ม้วนขึ้นลงที่แดนสูงๆ หรือแดนต่ำๆ ซ้ำซากไม่ยอมเปลี่ยน ในตารางหยินหยางอาจเห็น ป้วนเปี้ยนแถว 8 - 9 - 9 -10 - หรือ 0 -1 -2 -1 - 0 ซ้ำ ๆ จนเสียวไส้ ......วิธีที่ดีคือการ นิ่ง หรือ ออกจากการเฝ้าตลาด หรือ ห่าง ๆตลาด รอเกิดผลเปลี่ยนแปลงชัดเจนค่อยว่ากัน (ให้เวลาในการจัดระเบียบราคาก่อน)
ที่น่าเห็นใจ คือกลุ่มพวกที่ เสพติดการเล่นหุ้น แม้เครื่องมือจะมีสัญญาณ ก็ยังอยากซื้อ อยากขาย (ความโลภ ความกล้าบ้าบิ่น หรือความกลัวสุด ๆ ก็ได้) พวกนี้ไม่มียาดีแก้ นอกจากเตือนให้เล่นแบบ ลดพอร์ต มากที่สุด พอเล่นเอามันส์ ไปวันวันก็พอ
เล่าสู่กันฟัง