ถ้ารัฐบาลมั่นใจว่า ทุกเรื่องที่จะทำช่วงนี้ เป็นเรื่องที่จำเป็น มีประโยชน์ ต้องทำ แต่ติดปัญหาที่กลุ่มต่าง ๆ ที่คัดค้าน ทำให้เดินหน้าไม่ได้เต็มตัว
ผมว่ารัฐบาลก็ปล่อยเรื่องเหล่านั้น ไม่ต้องผลักดันสักเรื่อง ปล่อยให้บ้านเมืองสงบ ๆ แล้วตั้งใจทำงานแก้ไขปัญหาที่ประเทศกำลังเผชิญตอนนี้ให้ลุล่วงไปบ้างก็ยังดี
แต่เบื้องหลัง ก็ให้คณะทำงานที่ทำทุกเรื่องอยู่ตอนนี้ ทำต่อไป เอาข้อสรุปที่ดีออกมาให้ได้
เช่นเรื่องแก้รัฐธรรมนูญ ให้เขียนรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ออกมาไว้รอเลย เอาแบบดีที่สุดที่เป็นไปได้ อาจจะมีการเผยแพร่ (หรือไม่ก็ได้ แล้วแต่ประเมินกันเองว่า ควรหรือไม่) เพื่อให้คนไปดูว่ามีอะไรผิดปกติมั้ย หรืออาจจะใช้รัฐธรรมนูญปี 40 มาเลย แก้แค่ไม่กี่มาตรา ที่จำเป็นจริง ๆ พอ
เรื่องสองล้านล้าน ก็เขียนโครงการให้เสร็จ เอาแบบทำได้ ไม่ใช่ต้องรอไปศึกษาเพิ่มเติมอีก
เรื่องนิรโทษกรรม ก็เขียนกฎหมายรอไว้เลย ว่าจะนิรโทษยังไงบ้าง
มีเรื่องไหนอยากทำอีก ก็เตรียมไว้ให้พร้อมให้หมด
เรื่องที่พูดทั้งหมดผมว่า ใช้เวลาสัก 3 เดือน ถ้าทำเต็มที่น่าจะเสร็จหมด ก็คงประมาณช่วงเปิดสภาสมัยหน้า
ซึ่งหลังจากเปิดสภาแล้ว ก็คงได้พิจารณางบประมาณปีหน้า ซึ่งถ้าเร่งก็คงเสร็จตอนต้น ๆ สมัยประชุม
เมื่องบประมาณผ่านสภาแล้ว รัฐบาลอยากทำอะไรอีก ที่คิดว่าจำเป็นก็ทำ เช่นแถลงผลงาน
หลังจากนั้น ก็ดูฤกษ์สักวัน สักเที่ยงคืนวันไหนสักวัน
หาโฆษกสักคน ประกาศคำสั่งคณะปฏิวัติฉบับที่ 1 คือทำปฏิวัติตัวเองเลย
พอสักตีหนึ่ง ก็ประกาศธรรมนูญการปกครองชั่วคราว
ตีสองก็ประกาศพวกคำสั่งต่าง ๆ นานา ที่จำเป็นต้องประกาศ (ไม่รู้มีอะไรบ้าง) อาจจะมีการตั้งนายกฯ ตั้งครม.ไป
ตีสามก็ประกาศกฎหมายนิรโทษกรรม กฎหมายสองล้านล้าน และกฎหมายอื่น ๆ ที่เตรียมไว้
ตีสี่ก็ประกาศรัฐธรรมนูญฉบับที่เตรียมไว้
หลังจากนั้น ก็ทำตามขั้นตอนที่ควรเป็น กำหนดวันเลือกตั้งช่วงปลายปีได้พอดี
เช้ามาก็เหมือนกับผ่านการยุบสภาเฉย ๆ แต่มีองค์ประกอบที่ใช้ทางลัดทำให้ทุกอย่างง่ายขึ้นเร็วขึ้น และกฎหมายที่รัฐบาลคิดว่าจำเป็น ก็ประกาศใช้เรียบร้อย
เพราะผมว่า ถ้าหากรัฐบาลคิดว่า ทุกเรื่องที่จะทำจำเป็นจริง ๆ แต่การเดินหน้าไปด้วยวิธีที่จะทำ ก็เหมือนกับการเรียกแขก เรียกม็อบ ไม่มีทางที่จะสามารถได้ทุกอย่างแบบบ้านเมืองสงบแน่ ๆ
ดังนั้น ถ้าเลือกวิธีปฏิวัติ ใช้คำว่ารัฐถาธิปัตย์ เป็นตัวผลักดันทุกอย่าง ให้จบได้ภายในคืนเดียว
หลังจากนั้น ฝ่ายคัดค้านก็คงไม่สามารถคัดค้านอะไรได้ เพราะแนวทางนี้ เป็นเส้นทางทียอมรับกันอยู่ (มั้ง) พูดมากก็คงเจอย้อนว่า สมัยคมช.ทำไมยอมรับได้
ก็แค่คิดเล่น ๆ นะครับ ไม่ได้จริงจังอะไร ไม่งั้นเดี๋ยวจะเจอข้อหายุให้ปฏิวัติ เหอ ๆๆ
แต่ผมก็คิดแล้วคิดอีก ผมว่า ถ้าบ้านเมืองต้องวุ่นวายไม่จบสิ้น จนถึงจุดสิ้นสุดที่มองเห็นว่าจะเป็นยังไง
ก็สู้ให้มันจบเร็วที่สุด อาจจะดีกว่า
ไม่ต้องเปลืองงบประมาณประเทศ ไม่ต้องเสียเวลาประเทศ
เฮ้อ........
ผมว่า เลือกตั้งปลายปีก็ดีเหมือนกัน
ผมว่ารัฐบาลก็ปล่อยเรื่องเหล่านั้น ไม่ต้องผลักดันสักเรื่อง ปล่อยให้บ้านเมืองสงบ ๆ แล้วตั้งใจทำงานแก้ไขปัญหาที่ประเทศกำลังเผชิญตอนนี้ให้ลุล่วงไปบ้างก็ยังดี
แต่เบื้องหลัง ก็ให้คณะทำงานที่ทำทุกเรื่องอยู่ตอนนี้ ทำต่อไป เอาข้อสรุปที่ดีออกมาให้ได้
เช่นเรื่องแก้รัฐธรรมนูญ ให้เขียนรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ออกมาไว้รอเลย เอาแบบดีที่สุดที่เป็นไปได้ อาจจะมีการเผยแพร่ (หรือไม่ก็ได้ แล้วแต่ประเมินกันเองว่า ควรหรือไม่) เพื่อให้คนไปดูว่ามีอะไรผิดปกติมั้ย หรืออาจจะใช้รัฐธรรมนูญปี 40 มาเลย แก้แค่ไม่กี่มาตรา ที่จำเป็นจริง ๆ พอ
เรื่องสองล้านล้าน ก็เขียนโครงการให้เสร็จ เอาแบบทำได้ ไม่ใช่ต้องรอไปศึกษาเพิ่มเติมอีก
เรื่องนิรโทษกรรม ก็เขียนกฎหมายรอไว้เลย ว่าจะนิรโทษยังไงบ้าง
มีเรื่องไหนอยากทำอีก ก็เตรียมไว้ให้พร้อมให้หมด
เรื่องที่พูดทั้งหมดผมว่า ใช้เวลาสัก 3 เดือน ถ้าทำเต็มที่น่าจะเสร็จหมด ก็คงประมาณช่วงเปิดสภาสมัยหน้า
ซึ่งหลังจากเปิดสภาแล้ว ก็คงได้พิจารณางบประมาณปีหน้า ซึ่งถ้าเร่งก็คงเสร็จตอนต้น ๆ สมัยประชุม
เมื่องบประมาณผ่านสภาแล้ว รัฐบาลอยากทำอะไรอีก ที่คิดว่าจำเป็นก็ทำ เช่นแถลงผลงาน
หลังจากนั้น ก็ดูฤกษ์สักวัน สักเที่ยงคืนวันไหนสักวัน
หาโฆษกสักคน ประกาศคำสั่งคณะปฏิวัติฉบับที่ 1 คือทำปฏิวัติตัวเองเลย
พอสักตีหนึ่ง ก็ประกาศธรรมนูญการปกครองชั่วคราว
ตีสองก็ประกาศพวกคำสั่งต่าง ๆ นานา ที่จำเป็นต้องประกาศ (ไม่รู้มีอะไรบ้าง) อาจจะมีการตั้งนายกฯ ตั้งครม.ไป
ตีสามก็ประกาศกฎหมายนิรโทษกรรม กฎหมายสองล้านล้าน และกฎหมายอื่น ๆ ที่เตรียมไว้
ตีสี่ก็ประกาศรัฐธรรมนูญฉบับที่เตรียมไว้
หลังจากนั้น ก็ทำตามขั้นตอนที่ควรเป็น กำหนดวันเลือกตั้งช่วงปลายปีได้พอดี
เช้ามาก็เหมือนกับผ่านการยุบสภาเฉย ๆ แต่มีองค์ประกอบที่ใช้ทางลัดทำให้ทุกอย่างง่ายขึ้นเร็วขึ้น และกฎหมายที่รัฐบาลคิดว่าจำเป็น ก็ประกาศใช้เรียบร้อย
เพราะผมว่า ถ้าหากรัฐบาลคิดว่า ทุกเรื่องที่จะทำจำเป็นจริง ๆ แต่การเดินหน้าไปด้วยวิธีที่จะทำ ก็เหมือนกับการเรียกแขก เรียกม็อบ ไม่มีทางที่จะสามารถได้ทุกอย่างแบบบ้านเมืองสงบแน่ ๆ
ดังนั้น ถ้าเลือกวิธีปฏิวัติ ใช้คำว่ารัฐถาธิปัตย์ เป็นตัวผลักดันทุกอย่าง ให้จบได้ภายในคืนเดียว
หลังจากนั้น ฝ่ายคัดค้านก็คงไม่สามารถคัดค้านอะไรได้ เพราะแนวทางนี้ เป็นเส้นทางทียอมรับกันอยู่ (มั้ง) พูดมากก็คงเจอย้อนว่า สมัยคมช.ทำไมยอมรับได้
ก็แค่คิดเล่น ๆ นะครับ ไม่ได้จริงจังอะไร ไม่งั้นเดี๋ยวจะเจอข้อหายุให้ปฏิวัติ เหอ ๆๆ
แต่ผมก็คิดแล้วคิดอีก ผมว่า ถ้าบ้านเมืองต้องวุ่นวายไม่จบสิ้น จนถึงจุดสิ้นสุดที่มองเห็นว่าจะเป็นยังไง
ก็สู้ให้มันจบเร็วที่สุด อาจจะดีกว่า
ไม่ต้องเปลืองงบประมาณประเทศ ไม่ต้องเสียเวลาประเทศ
เฮ้อ........