updated: 12 มี.ค. 2557 เวลา 09:20:37 น.
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์
เมื่อวันที่ 11 มีนาคม ที่โรงเรียนนายร้อยตำรวจ อ.สามพราน จังหวัดนครปฐม นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ รมว.คมนาคม เปิดเผยถึงกรณีที่ศาลรัฐธรรมนูญจะพิจารณาว่าการกู้เงินในโครงการ 2 ล้านล้านขัดต่อรัฐธรรมนูญหรือไม่ ในวันที่ 12 มีนาคมนี้ ว่า ตนได้ทำใจไว้แล้วว่าหากศาลตัดสินใจว่ากฎหมายขัดต่อรัฐธรรมนูญ ก็จะหาวิธีการอื่นๆ ในการลงทุน เช่น กลับไปพิจารณาว่าสามารถใช้ พ.ร.บ.หนี้สาธารณะในการกู้เงินได้หรือไม่ หรืออาจใช้วิธีการขาดดุลงบประมาณเพิ่มเติมเพื่อนำเงินมาใช้ในการลงทุน
ทั้งนี้ จำเป็นต้องแยกส่วนโครงการที่สามารถเริ่มทำได้ทันที และคนส่วนใหญ่ก็ให้การยอมรับ เช่น โครงการรถไฟทางคู่ การพัฒนาท่าเรือ ปรับปรุงถนน 4 ช่องทางจราจรทั่วประเทศ โดยแผนการลงทุนส่วนนี้คิดเป็นงบประมาณ 1.1 ล้านล้านบาท ส่วนโครงการอื่นๆ ที่ใช้เงินลงทุนจำนวนมาก เช่น รถไฟความเร็วสูงมูลค่า 700,000 ล้านบาทนั้น อาจต้องชะลอการลงทุนไปก่อน
"ถ้าศาลบอกว่าขัดรัฐธรรมนูญ ส่วนตัวผมรู้สึกเสียดายโอกาสในการพัฒนาขีดความสามารถของประเทศ และโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมก็ไม่ได้มีการลงทุนมานานแล้ว ถ้าวิธีการนี้เป็นไปไม่ได้จริงๆ เราก็ต้องหาวิธีการอื่นในการดำเนินการ ยังไม่ถือว่าหมดหนทางเสียทีเดียว"
ขณะที่นายพงศ์เทพ เทพกาญจนา รองนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า รัฐบาลไม่มีความเป็นห่วงเรื่องดังกล่าว และเคารพคำตัดสินของศาลว่าจะผลการพิจารณาจะออกมาเป็นอย่างไร ทั้งนี้รัฐบาลไม่จำเป็นต้องรับผิดชอบอะไร เพราะไม่ได้จงใจที่จะฝ่าฝืนรัฐธรรมนูญอย่างร้ายแรง แต่มีความตั้งใจที่จะกู้เงินมาเพื่อใช้พัฒนาการคมนาคมของประเทศ ซึ่งอาจจะใช้วิธีการใหม่ที่ไม่คุ้นเคย ทำให้หลายฝ่ายเกิดความไม่สบายใจ ทั้งนี้หาก พ.ร.บ.ฉบับดังกล่าวไม่สามารถประกาศใช้ได้ ก็ต้องหาวิธีการอื่นๆ ที่ไม่ขัดต่อรัฐธรรมนูญเพื่อดำเนินการเรื่องนี้ต่อไป
"หากเป็นสถานการณ์ปกติในการเสนอกฎหมายแล้วมีปัญหา นายกรัฐมนตรีต้องลาออกหรือยุบสภา แต่ตอนนี้รัฐบาลยุบสภาไปแล้ว อยู่ในช่วงรักษาการ จึงไม่ต้องแสดงความรับผิดชอบใดๆ อีก"
http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1394591675
"ชัชชาติ" เตรียมแผนสำรองเดินหน้าลงทุน 1.1 ล้านล้าน หากศาลตัดสิน พ.ร.บ.2 ล้านล้านขัด รธน.
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์
เมื่อวันที่ 11 มีนาคม ที่โรงเรียนนายร้อยตำรวจ อ.สามพราน จังหวัดนครปฐม นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ รมว.คมนาคม เปิดเผยถึงกรณีที่ศาลรัฐธรรมนูญจะพิจารณาว่าการกู้เงินในโครงการ 2 ล้านล้านขัดต่อรัฐธรรมนูญหรือไม่ ในวันที่ 12 มีนาคมนี้ ว่า ตนได้ทำใจไว้แล้วว่าหากศาลตัดสินใจว่ากฎหมายขัดต่อรัฐธรรมนูญ ก็จะหาวิธีการอื่นๆ ในการลงทุน เช่น กลับไปพิจารณาว่าสามารถใช้ พ.ร.บ.หนี้สาธารณะในการกู้เงินได้หรือไม่ หรืออาจใช้วิธีการขาดดุลงบประมาณเพิ่มเติมเพื่อนำเงินมาใช้ในการลงทุน
ทั้งนี้ จำเป็นต้องแยกส่วนโครงการที่สามารถเริ่มทำได้ทันที และคนส่วนใหญ่ก็ให้การยอมรับ เช่น โครงการรถไฟทางคู่ การพัฒนาท่าเรือ ปรับปรุงถนน 4 ช่องทางจราจรทั่วประเทศ โดยแผนการลงทุนส่วนนี้คิดเป็นงบประมาณ 1.1 ล้านล้านบาท ส่วนโครงการอื่นๆ ที่ใช้เงินลงทุนจำนวนมาก เช่น รถไฟความเร็วสูงมูลค่า 700,000 ล้านบาทนั้น อาจต้องชะลอการลงทุนไปก่อน
"ถ้าศาลบอกว่าขัดรัฐธรรมนูญ ส่วนตัวผมรู้สึกเสียดายโอกาสในการพัฒนาขีดความสามารถของประเทศ และโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมก็ไม่ได้มีการลงทุนมานานแล้ว ถ้าวิธีการนี้เป็นไปไม่ได้จริงๆ เราก็ต้องหาวิธีการอื่นในการดำเนินการ ยังไม่ถือว่าหมดหนทางเสียทีเดียว"
ขณะที่นายพงศ์เทพ เทพกาญจนา รองนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า รัฐบาลไม่มีความเป็นห่วงเรื่องดังกล่าว และเคารพคำตัดสินของศาลว่าจะผลการพิจารณาจะออกมาเป็นอย่างไร ทั้งนี้รัฐบาลไม่จำเป็นต้องรับผิดชอบอะไร เพราะไม่ได้จงใจที่จะฝ่าฝืนรัฐธรรมนูญอย่างร้ายแรง แต่มีความตั้งใจที่จะกู้เงินมาเพื่อใช้พัฒนาการคมนาคมของประเทศ ซึ่งอาจจะใช้วิธีการใหม่ที่ไม่คุ้นเคย ทำให้หลายฝ่ายเกิดความไม่สบายใจ ทั้งนี้หาก พ.ร.บ.ฉบับดังกล่าวไม่สามารถประกาศใช้ได้ ก็ต้องหาวิธีการอื่นๆ ที่ไม่ขัดต่อรัฐธรรมนูญเพื่อดำเนินการเรื่องนี้ต่อไป
"หากเป็นสถานการณ์ปกติในการเสนอกฎหมายแล้วมีปัญหา นายกรัฐมนตรีต้องลาออกหรือยุบสภา แต่ตอนนี้รัฐบาลยุบสภาไปแล้ว อยู่ในช่วงรักษาการ จึงไม่ต้องแสดงความรับผิดชอบใดๆ อีก"
http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1394591675