ในขณะที่ชาวกรุงเทพฯกำลังหวาดวิตกกับการชัทดาวน์กรุงเทพฯ วันที่ 13 มกราคมนี้ ว่าจะทำให้เศรษฐกิจเสียหาย ประชาชนเดือดร้อนกันทุกหย่อมหญ้า ก็มี The Phantom Menace ที่มาแรงแซงโค้ง เป็นภัยเงียบที่ไม่เพียงคุกคามอนาคตประเทศชาติเท่านั้น แต่ยังอาจหมายถึงการคุกคามอนาคตของอาเซียนทั้งภูมิภาคด้วย นั่นก็คือ การแสดง “ความคิดเห็นส่วนตัว” ของศาลรัฐธรรมนูญ ในประเด็นที่ว่าไทยพร้อมหรือไม่กับการทำรถไฟความเร็วสูง
พรรคประชาธิปัตย์ได้ยื่นขอให้ศาลรัฐธรรมนูญตีความว่าร่างพรบ.เงินกู้ 2 ล้านล้าน ขัดรัฐธรรมนูญหรือไม่ และเมื่อวันที่ 8 ธันวาคมที่ผ่านมา ก็มีการเรียกคุณชัชชาติ สิทธิพันธ์ รัฐมนตรีคมนาคม ไปให้การชี้แจงต่อศาล
การให้การธรรมดาๆที่ไม่มีใครสนใจมากนัก กลายเป็นประเด็นที่สร้างความฮือฮาไปทั่วโลกออนไลน์ เมื่อศาลรัฐธรรมนูญให้ “ความเห็นส่วนตัว” ที่ไม่เกี่ยวข้องใดๆกับหลักกฎหมายหรือรัฐธรรมนูญ ว่าประเทศไทยนั้น “ยังไม่พร้อม” ที่จะมีรถไฟความเร็วสูง รอให้ถนนลูกรังหมดก่อนจะดีกว่า แถมยังมีการอ้างว่าการกูเงินจำนวนมหาศาลที่คุณชัชชาติ “ตายแล้วเกิดใหม่ก็ยังใช้หนี้ไม่หมด” เป็นนโยบายที่ “ไม่พอเพียง”
เรื่องความแปลกประหลาดระหว่างการจับคู่ความพอเพียง กับนโยบายรถไฟความเร็วสูง รวมถึงคำถามที่ว่าศาลรัฐธรรมนูญมีอำนาจอะไรในการมาชั่งน้ำหนักชี้ความเหมาะสมของนโยบายพัฒนาประเทศ คงจะไม่พูดถึง เพราะคนพูดกันเต็มบ้านเต็มเมืองไปหมดแล้ว แต่ประเด็นที่อยากถามศาลรัฐรรมนูญก็คือ คุณรู้ตัวหรือไม่ว่ากำลังทำสิ่งที่จะแช่แข็งอาเซียน?
ในสายตาของบุคคลสูงอายุอย่างตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ รถไฟความเร็วสูง ดูเหมือนจะถูกมองเป็นแค่สิ่งอำนวยความสะดวกที่จะทำให้คุณไปเที่ยวได้สะดวกขึ้น หรือนั่งรถไฟที่หรูหราทันสมัย สะดวกสบายขึ้น เป็นของฟุ่มเฟือย แต่จริงๆแล้ว รถไฟคือพาหนะที่นำมาซึ่งความเจริญตลอดเส้นทางที่รถไฟวิ่งผ่าน คือเส้นเลือดที่จะเชื่อมต่อเศรษฐกิจ วัฒนธรรม และเชื่อมโยงประชาชนจากทุกพื้นที่เข้าด้วยกัน เหมือนเส้นทางรถไฟยูโรสตาร์ โอเรียนท์เอ็กซ์เพรส และทรานส์ไซบีเรีย
ในสายตาของบุคคลสูงอายุอย่างตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ รถไฟความเร็วสูงของไทยคงจะเป็นแค่โครงการหนึ่งในหลายๆโครงการประชานิยมของรัฐบาล ที่หากสำเร็จ ก็จะมีเงินโกงกินกันได้สบาย และซื้อใจประชาชนคนชนบทโง่เง่าได้อีกหลายสิบปี แต่จริงๆแล้วนี่ไม่ใช่โครงการของไทยเพียงประเทศเดียวเดี่ยวโดด แต่เป็นหนึ่งในโครงการพัฒนาโครงข่ายเชื่อมต่อจีน-อาเซียน
ทางรถไฟความเร็วสูงในไทย เป็นส่วนหนึ่งของโครงการ SKRL หรือ Singapore-Kunming Rail Link เมกะโปรเจ็คที่เป็นความหวังของทั้งภูมิภาค ที่จะสร้างเครือข่ายคมนาคมขนส่งเชื่อมตั้งแต่คุนหมิงของจีน ผ่านลาว ไทย ลงมาเลเซีย ไปยังสิงคโปร์ ซึ่งจะทให้ไทยเป็นศูนย์กลางการคมนาคมระหว่างประเทศของภูมิภาค เป็นฮับทั้งด้านการค้าและการท่องเที่ยว และทำให้การแลกเปลี่ยนค้าขาย เดินทางท่องเที่ยวระหว่างประเทศในอาเซียนและจีน สะดวกสบายขึ้นอย่างมหาศาล
โครงการ SKRL เริ่มเป็นรูปเป็นร่างแล้วในภาคใต้ เนื่องจากสิงคโปร์และมาเลเซียลงนามทำทางรถไฟเชื่อมต่อกันไปแล้วตั้งแต่ปีที่ผ่านมา ส่วนในภาคเหนือ จีนก็ได้เข้ามาเริ่มลงทุนสร้างทางรถไฟในภาคเหนือของลาว เพื่อรอเชื่อมต่อมายังไทยผ่านหนองคาย แต่โครงการในลาวตอนนี้ยังชะงักค้างเติ่ง เนื่องจากจีนต้องรอความชัดเจนจากทางไทย ว่าตกลงจะสร้างเส้นทางรถไฟความเร็วสูงเส้นหนองคาย-กรุงเทพฯหรือไม่ เนื่องจากประเทศไทยตั้งอยู่ตรงกลางของูมิภาค หากสร้างเส้นทางรถไฟจากทุกประเทศ แต่ขาดทางในประเทศไทย ก็เท่ากับว่าโครงข่ายรถไฟของอาเซียนล้มเหลว เพราะขาดชุมทางเชื่อมทุกเส้นทางรถไฟเข้าด้วยกัน
ความล้มเหลวที่ว่านี้ ไม่ได้เป็นที่วิตกกังวลของชาติในอาเซียนเท่านั้น แต่ยังรวมถึงนักลงทุนรายใหญ่ในประเทศไทยอย่างจีนและญี่ปุ่น ที่หวังเข้ามาลงทุนสร้างทางรถไฟ ขายรถไฟให้แก่ไทย และที่สำคัญกว่านั้น เมื่อสร้างทางรถไฟเสร็จแล้ว ก็หวังอาศัยไทยเป็นจุดกระจายสินค้าไปยังประเทศอาเซียนรอบๆ โดยผ่านเส้นทางรถไฟ เห็นได้จากการที่ตลอดช่วงแห่งความวุ่นวายทางการเมืองที่ผ่านมา สิ่งที่นักธุรกิจญี่ปุ่นและจีนถามมายังหน่วยงานรัฐเสมอ ก็คือคำถามที่ว่า หากการเมืองเปลี่ยนแปลงไป โครงการ 2 ล้านล้านจะยังอยู่หรือไม่
ถึงแม้ว่าศาลรัฐธรรมนูญจะยังไม่มีคำวินิจฉัยในคดีนี้ แต่การแสดงความคิดเห็นส่วนตัวของตุลาการแต่ละท่าน ก็พอจะบอกเงารางๆของการคว่ำร่างพรบ.เงินกู้ 2 ล้านล้านได้ ซึ่งหากเหตุการณ์เช่นนี้เกิดขึ้นจริง ก็คงจินตนาการกันได้ว่า นอกจากนี่จะเป็นการดับฝันชาวไทยทั่วประเทศ ที่อยากได้รถไฟความเร็วสูงมาแทนที่รถไฟหวานเย็น ยังเป็นการดับอนาคตของอาเซียน ทั้งภูมิภาคตั้งแต่ยังไม่ได้ทันเริ่มดีอีกด้วย
9 มกราคม 2557 เวลา 11:28 น
เครดิต
http://www.voicetv.co.th/blog/view/1721
หรือศาลรัฐธรรมนูญจะแช่แข็งอาเซียน?
พรรคประชาธิปัตย์ได้ยื่นขอให้ศาลรัฐธรรมนูญตีความว่าร่างพรบ.เงินกู้ 2 ล้านล้าน ขัดรัฐธรรมนูญหรือไม่ และเมื่อวันที่ 8 ธันวาคมที่ผ่านมา ก็มีการเรียกคุณชัชชาติ สิทธิพันธ์ รัฐมนตรีคมนาคม ไปให้การชี้แจงต่อศาล
การให้การธรรมดาๆที่ไม่มีใครสนใจมากนัก กลายเป็นประเด็นที่สร้างความฮือฮาไปทั่วโลกออนไลน์ เมื่อศาลรัฐธรรมนูญให้ “ความเห็นส่วนตัว” ที่ไม่เกี่ยวข้องใดๆกับหลักกฎหมายหรือรัฐธรรมนูญ ว่าประเทศไทยนั้น “ยังไม่พร้อม” ที่จะมีรถไฟความเร็วสูง รอให้ถนนลูกรังหมดก่อนจะดีกว่า แถมยังมีการอ้างว่าการกูเงินจำนวนมหาศาลที่คุณชัชชาติ “ตายแล้วเกิดใหม่ก็ยังใช้หนี้ไม่หมด” เป็นนโยบายที่ “ไม่พอเพียง”
เรื่องความแปลกประหลาดระหว่างการจับคู่ความพอเพียง กับนโยบายรถไฟความเร็วสูง รวมถึงคำถามที่ว่าศาลรัฐธรรมนูญมีอำนาจอะไรในการมาชั่งน้ำหนักชี้ความเหมาะสมของนโยบายพัฒนาประเทศ คงจะไม่พูดถึง เพราะคนพูดกันเต็มบ้านเต็มเมืองไปหมดแล้ว แต่ประเด็นที่อยากถามศาลรัฐรรมนูญก็คือ คุณรู้ตัวหรือไม่ว่ากำลังทำสิ่งที่จะแช่แข็งอาเซียน?
ในสายตาของบุคคลสูงอายุอย่างตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ รถไฟความเร็วสูง ดูเหมือนจะถูกมองเป็นแค่สิ่งอำนวยความสะดวกที่จะทำให้คุณไปเที่ยวได้สะดวกขึ้น หรือนั่งรถไฟที่หรูหราทันสมัย สะดวกสบายขึ้น เป็นของฟุ่มเฟือย แต่จริงๆแล้ว รถไฟคือพาหนะที่นำมาซึ่งความเจริญตลอดเส้นทางที่รถไฟวิ่งผ่าน คือเส้นเลือดที่จะเชื่อมต่อเศรษฐกิจ วัฒนธรรม และเชื่อมโยงประชาชนจากทุกพื้นที่เข้าด้วยกัน เหมือนเส้นทางรถไฟยูโรสตาร์ โอเรียนท์เอ็กซ์เพรส และทรานส์ไซบีเรีย
ในสายตาของบุคคลสูงอายุอย่างตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ รถไฟความเร็วสูงของไทยคงจะเป็นแค่โครงการหนึ่งในหลายๆโครงการประชานิยมของรัฐบาล ที่หากสำเร็จ ก็จะมีเงินโกงกินกันได้สบาย และซื้อใจประชาชนคนชนบทโง่เง่าได้อีกหลายสิบปี แต่จริงๆแล้วนี่ไม่ใช่โครงการของไทยเพียงประเทศเดียวเดี่ยวโดด แต่เป็นหนึ่งในโครงการพัฒนาโครงข่ายเชื่อมต่อจีน-อาเซียน
ทางรถไฟความเร็วสูงในไทย เป็นส่วนหนึ่งของโครงการ SKRL หรือ Singapore-Kunming Rail Link เมกะโปรเจ็คที่เป็นความหวังของทั้งภูมิภาค ที่จะสร้างเครือข่ายคมนาคมขนส่งเชื่อมตั้งแต่คุนหมิงของจีน ผ่านลาว ไทย ลงมาเลเซีย ไปยังสิงคโปร์ ซึ่งจะทให้ไทยเป็นศูนย์กลางการคมนาคมระหว่างประเทศของภูมิภาค เป็นฮับทั้งด้านการค้าและการท่องเที่ยว และทำให้การแลกเปลี่ยนค้าขาย เดินทางท่องเที่ยวระหว่างประเทศในอาเซียนและจีน สะดวกสบายขึ้นอย่างมหาศาล
โครงการ SKRL เริ่มเป็นรูปเป็นร่างแล้วในภาคใต้ เนื่องจากสิงคโปร์และมาเลเซียลงนามทำทางรถไฟเชื่อมต่อกันไปแล้วตั้งแต่ปีที่ผ่านมา ส่วนในภาคเหนือ จีนก็ได้เข้ามาเริ่มลงทุนสร้างทางรถไฟในภาคเหนือของลาว เพื่อรอเชื่อมต่อมายังไทยผ่านหนองคาย แต่โครงการในลาวตอนนี้ยังชะงักค้างเติ่ง เนื่องจากจีนต้องรอความชัดเจนจากทางไทย ว่าตกลงจะสร้างเส้นทางรถไฟความเร็วสูงเส้นหนองคาย-กรุงเทพฯหรือไม่ เนื่องจากประเทศไทยตั้งอยู่ตรงกลางของูมิภาค หากสร้างเส้นทางรถไฟจากทุกประเทศ แต่ขาดทางในประเทศไทย ก็เท่ากับว่าโครงข่ายรถไฟของอาเซียนล้มเหลว เพราะขาดชุมทางเชื่อมทุกเส้นทางรถไฟเข้าด้วยกัน
ความล้มเหลวที่ว่านี้ ไม่ได้เป็นที่วิตกกังวลของชาติในอาเซียนเท่านั้น แต่ยังรวมถึงนักลงทุนรายใหญ่ในประเทศไทยอย่างจีนและญี่ปุ่น ที่หวังเข้ามาลงทุนสร้างทางรถไฟ ขายรถไฟให้แก่ไทย และที่สำคัญกว่านั้น เมื่อสร้างทางรถไฟเสร็จแล้ว ก็หวังอาศัยไทยเป็นจุดกระจายสินค้าไปยังประเทศอาเซียนรอบๆ โดยผ่านเส้นทางรถไฟ เห็นได้จากการที่ตลอดช่วงแห่งความวุ่นวายทางการเมืองที่ผ่านมา สิ่งที่นักธุรกิจญี่ปุ่นและจีนถามมายังหน่วยงานรัฐเสมอ ก็คือคำถามที่ว่า หากการเมืองเปลี่ยนแปลงไป โครงการ 2 ล้านล้านจะยังอยู่หรือไม่
ถึงแม้ว่าศาลรัฐธรรมนูญจะยังไม่มีคำวินิจฉัยในคดีนี้ แต่การแสดงความคิดเห็นส่วนตัวของตุลาการแต่ละท่าน ก็พอจะบอกเงารางๆของการคว่ำร่างพรบ.เงินกู้ 2 ล้านล้านได้ ซึ่งหากเหตุการณ์เช่นนี้เกิดขึ้นจริง ก็คงจินตนาการกันได้ว่า นอกจากนี่จะเป็นการดับฝันชาวไทยทั่วประเทศ ที่อยากได้รถไฟความเร็วสูงมาแทนที่รถไฟหวานเย็น ยังเป็นการดับอนาคตของอาเซียน ทั้งภูมิภาคตั้งแต่ยังไม่ได้ทันเริ่มดีอีกด้วย
9 มกราคม 2557 เวลา 11:28 น
เครดิต
http://www.voicetv.co.th/blog/view/1721