.
ถามตอบเรื่อง - อธิบาย “ นิพพาน” เหยียบย่ำการตรัสรู้
ต่อจากตอน ๑
Pt 26 . ท่านอาจารย์ อธิบาย " นิพพาน " เหยียบย่ำการตรัสรู้ ?
.....
คำว่า นิพพาน นี้ ตัวหนังสือแท้ ๆ แปลว่า เย็น ขอยืมเอา
ไปจากคำว่าเย็นของชาวบ้าน ไปใช้ในเรื่องของพระธรรมหรือเรื่อง
ของพระศาสนา. เรื่องของพระศาสนาเพิ่งพบทีหลัง เมื่อฤาษี มุนี
โยคี เข้าใจพระนิพพานตามความหมายของท่านแล้วก็ยืมคำนี้ไป
ใช้. เมื่อพระพุทธเจ้าตรัสรู้เรื่องนิพพาน ท่านก็ยืมคำคำนี้ไปใช้
ฉะนั้น คำว่า นิพพานมีอยู่ด้วยกันในลัทธิทุก ๆ ลัทธิ แต่
ความหมายมันต่างกัน. แต่ความหมายอันแท้จริงนี้ มันหมายถึงเย็น
ปราศจากร้อน. อะไรร้อน ? ก็คือกิเลส ( เช่น ความโลภ ความโกรธ
ความหลง ) เมื่อไม่มีกิเลสก็ไม่ร้อน เมื่อไม่ร้อนก็คือเย็น. สำหรับภา
ษาชาวบ้าน นั้น วัตถุเย็น เขาก็เรียก วัตถุนิพพาน สัตว์เดรัจฉานเย็น
ไม่มีพิษร้าย เขาก็เรียกว่า สัตว์เดรัจฉานนิพพาน จิตใจเย็นก็เรียกว่า
จิตใจมันนิพพาน.
ทีนี้ คำว่า “ เย็น ” มันหลายขนาด บางพวกถือว่ามีกามา
รมณ์แล้ว ใจมันก็เย็น อิ่มไปด้วยกามารมณ์ใจมันก็เย็น พวกนี้ก็เอา
กามารมณ์เป็นนิพพาน . พวกที่สูงขึ้นไปกว่านั้นก็ว่า “ ไม่ใช่ ๆ ”
จิตเป็นสมาธิเป็นฌาน เป็นสมาบัติ นี้เย็น สมาบัตินี้ก็เป็นนิพพาน
พระพุทธเจ้าก็ว่าไม่ใช่ ๆ ต้องหมดกิเลสต้องสิ้นกิเลส ( เช่น ความ
โลภ ความโกรธ ความหลง ) แล้วก็เย็น. แล้วก็เป็นนิพพาน. นี่มัน
จริงกว่าอย่างนี้. นี้เราก็ยกตัวอย่าง เพื่อให้คนทั่วไปเข้าใจคำว่านิพ
พาน ให้เข้าใจเรื่องที่ลึกได้ด้วยการยกตัวอย่าง อย่างนี้ไม่มีอะไรที่
ได้เป็นการเหยียดหยามต่อการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า.
จากหนังสือ
ธรรมะน้ำ ล้างธรรมะโคลน
พ.ศ. ๒๕๒๓
ของท่านอาจารย์ พระพุทธทาสภิกขุ
The Matrix Really . Pt 27 . ยกตัวอย่าง ให้คนทั่วไป เข้าใจนิพพาน ไม่ได้เป็นการ เหยียดหยามพระพุทธเจ้า
ถามตอบเรื่อง - อธิบาย “ นิพพาน” เหยียบย่ำการตรัสรู้
ต่อจากตอน ๑
Pt 26 . ท่านอาจารย์ อธิบาย " นิพพาน " เหยียบย่ำการตรัสรู้ ?
.....
คำว่า นิพพาน นี้ ตัวหนังสือแท้ ๆ แปลว่า เย็น ขอยืมเอา
ไปจากคำว่าเย็นของชาวบ้าน ไปใช้ในเรื่องของพระธรรมหรือเรื่อง
ของพระศาสนา. เรื่องของพระศาสนาเพิ่งพบทีหลัง เมื่อฤาษี มุนี
โยคี เข้าใจพระนิพพานตามความหมายของท่านแล้วก็ยืมคำนี้ไป
ใช้. เมื่อพระพุทธเจ้าตรัสรู้เรื่องนิพพาน ท่านก็ยืมคำคำนี้ไปใช้
ฉะนั้น คำว่า นิพพานมีอยู่ด้วยกันในลัทธิทุก ๆ ลัทธิ แต่
ความหมายมันต่างกัน. แต่ความหมายอันแท้จริงนี้ มันหมายถึงเย็น
ปราศจากร้อน. อะไรร้อน ? ก็คือกิเลส ( เช่น ความโลภ ความโกรธ
ความหลง ) เมื่อไม่มีกิเลสก็ไม่ร้อน เมื่อไม่ร้อนก็คือเย็น. สำหรับภา
ษาชาวบ้าน นั้น วัตถุเย็น เขาก็เรียก วัตถุนิพพาน สัตว์เดรัจฉานเย็น
ไม่มีพิษร้าย เขาก็เรียกว่า สัตว์เดรัจฉานนิพพาน จิตใจเย็นก็เรียกว่า
จิตใจมันนิพพาน.
ทีนี้ คำว่า “ เย็น ” มันหลายขนาด บางพวกถือว่ามีกามา
รมณ์แล้ว ใจมันก็เย็น อิ่มไปด้วยกามารมณ์ใจมันก็เย็น พวกนี้ก็เอา
กามารมณ์เป็นนิพพาน . พวกที่สูงขึ้นไปกว่านั้นก็ว่า “ ไม่ใช่ ๆ ”
จิตเป็นสมาธิเป็นฌาน เป็นสมาบัติ นี้เย็น สมาบัตินี้ก็เป็นนิพพาน
พระพุทธเจ้าก็ว่าไม่ใช่ ๆ ต้องหมดกิเลสต้องสิ้นกิเลส ( เช่น ความ
โลภ ความโกรธ ความหลง ) แล้วก็เย็น. แล้วก็เป็นนิพพาน. นี่มัน
จริงกว่าอย่างนี้. นี้เราก็ยกตัวอย่าง เพื่อให้คนทั่วไปเข้าใจคำว่านิพ
พาน ให้เข้าใจเรื่องที่ลึกได้ด้วยการยกตัวอย่าง อย่างนี้ไม่มีอะไรที่
ได้เป็นการเหยียดหยามต่อการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า.
จากหนังสือ
ธรรมะน้ำ ล้างธรรมะโคลน
พ.ศ. ๒๕๒๓
ของท่านอาจารย์ พระพุทธทาสภิกขุ