ควรมีการจดสิทธิบัตรยีนหรือไม่? (gene patents)

กระทู้สนทนา
พอดีช่วงนี้ มีข่าว ดาราฮอลีวู้ด Angelina Jolie ที่เพิ่งผ่านการผ่าตัดเอาหน้าอกทั้งสองข้างออก
เพื่อลดความเสี่ยงในการเป็นมะเร็งเต้านมของเธอ
มันก็พอเหมาะ พอเจาะ ที่ก่อนหน้านี้ ที่อเมริกา มีการถกเถียงกันอยู่ว่า
บริษัทเอกชนแห่งหนึ่ง ควรได้รับสิทธิบัตรยีน หรือเปล่า...

เราเอาสองเรื่องมารวมกัน เพราะมันค่อนข้างเกี่ยวข้องกัน  เพราะ ยีน BRCA1 (breast cancer susceptibility gene 1)
กับ BRCA2 (breast cancer susceptibility gene 2) คือ ยีนที่บริษัท Myriad Genetics เคลมความเป็นเจ้าของอยู่

เจ้ายีนสองตัวนี้ จัดอยู่ในกลุ่มยีนที่ suppress การเกิดเนื้องอก  การกลายพันธุ์ของยีนสองตัวนี้  
จะทำให้มีความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งเต้าและมะเร็งรังไข่เพิ่มขึ้นประมาณ 5 เท่าของผู้หญิงทั่วไปที่ไม่มียีนกลายพันธุ์ตัวนี้  

ทั้งนี้ ปัจจัยที่เพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งเต้านม และมะเร็งรังไข่ในผู้หญิง นอกจาก mutated genes สองตัวนี้แล้ว
ประวัติครอบครัว (พี่ น้อง พ่อ แม่) ก็ต้องดูประกอบด้วย ว่ามีใครเป็นโรคนี้หรือเปล่า
ในกรณีของโจลี เธอมีความเสี่ยงที่เป็นมะเร็งเต้านมถึง 87% และมะเร็งรังไข่ 50%
แม่ของโจลีเอง เสียชีวิตด้วยโรคมะเร็งเต้านมด้วยอายุเพียง 56 ปี เท่านั้น

ปล. หลังการผ่าตัดเอาเนื้อเยื่อหน้าอกออกทั้งสองข้าง...เธอได้ศัลยกรรมหน้าอกไปด้วยแล้ว





ทีนี้หันมาดูการเช็คหาความผิดปกติของยีนตัวนี้  ที่มีค่าใช้จ่ายราว ๆ $3000 - $4000 (ถ้าตรวจยีนทั้งสองตัว)
ซึ่งก่อนหน้านี้บริษัท Myriad Genetics ผูกขาด มีสิทธิ์ทางการค้าแต่เพียงผู้เดียว
จนกระทั่งเมื่อปี 2011 เมื่อศาลได้ตัดสินยกเลิกสิทธิบัตรดังกล่าว
แต่…ทาง Myriad Genetics ได้อุธรณ์ และเรื่องก็ยืดยาวมาจนถึงตอนนี้

ไปหาอ่าน ๆ ที่คนเขียนยกคำพูดผู้พิพากษามาอ่าน ในตอนนั้น Judge Bryson ให้เหตุผลไว้ว่า

“the question in this case is whether an individual can obtain patent rights to a human gene.
From a common-sense point of view, most observers would answer, `Of course not.
Patents are for inventions. A human gene is not an invention.’
The essence of Myriad’s argument in this case is to say that it has not patented a human gene,
but something quite different—an isolated human gene.”

ในขณะที่อีกฝ่ายก็ให้เหตุผลว่า

“According to Myriad, isolated DNA does not exist in nature,
and isolated DNAs, unlike native DNAs, can be used as primers and probes for diagnosing cancer.”




สรุปคือ ตอนนี้ก็ยังไม่ได้คำตัดสิน ว่าตกลง มันเป็น invention หรือ มัน exist in nature
คาดว่า คงจะได้ข้อสรุป ราว ๆ ปลาย มิ.ย.​หรือไม่ก็คงปลายปี
คือ พอดีมีเรื่องของคนดัง ออกมา เลยทำให้เรื่อง การจดสิทธิบัตรยีน กลับมาเป็นที่สนใจของผู้คนอีกครั้ง

แล้วคนอื่น ๆ คิดว่ายังไงคะ ควรให้มีการจดสิทธิบัตรยีนในเคสนี้ไหม สำหรับ จขกท…คิดว่าไม่ควร
เพราะนอกจากทำให้มีการผูกขาดตลาด ค่าใช้จ่ายในการตรวจเช็คหายีนดังกล่าวก็แพง
แล้วคนอื่น ๆ ที่จะทำการค้นคว้าทดลองเพิ่มก็จะจำกัดลงไปอีก


ใครมีข้อมูลเรื่อง การจดสิทธิบัตรยีน หรือเรื่อง มะเร็งเต้านม  เพิ่มเติม เชิญนะคะ

อ่านเรื่องราวของ Jolie แบบเต็ม ๆ http://www.nytimes.com/2013/05/14/opinion/my-medical-choice.html?_r=1&
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่