เครดิตแหล่งข่าว/เจ้าของบทความโดย: ผู้จัดการออนไลน์
https://mgronline.com/specialscoop/detail/9670000003244
“ประธานสภาองค์การลูกจ้างฯ” เผย ลูกจ้างบางส่วนอยากเปลี่ยนไปใช้ “บัตรทอง” แทนประกันสังคม ชี้ จ่ายเงินสมทบทุกเดือน แต่สิทธิการรักษาด้อยกว่าของฟรี โดยเฉพาะกรณี โรคมะเร็ง ซึ่งครอบคลุมมะเร็งเพียง 20 ชนิด ใช้เคมีบำบัด-รังสีรักษา เบิกได้แค่ปีละ 5 หมื่น ส่วนทำฟันเบิกได้ 900 บาท/ปี ทำฟันปลอมเบิกได้บางส่วน ขณะที่บัตรทองรักษาได้ครอบคลุมทุกอย่าง พร้อมระบุ สภาลูกจ้างฯ พยายามผลักดันให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน แต่ทุกสิ่งขึ้นกับนโยบายทางการเมือง
นับเป็นประเด็นที่สังคมกำลังวิพากษ์วิจารณ์ และเริ่มเกิดการเปรียบเทียบสิทธิประโยชน์ในการรักษาพยาบาลระหว่างบรรดาลูกจ้างที่ใช้“บัตรประกันสังคม” กับประชาชนทั่วไปที่ใช้“บัตรทอง” เนื่องจากลูกจ้างจำนวนไม่น้อยรู้สึกว่าในเมื่อส่งเงินสมทบเข้ากองทุนประกันสังคมทุกเดือน เวลาเข้ารับการรักษาทำไมจึงไม่ได้รับความสะดวก และบางครั้งยังต้องจ่ายเงินเพิ่ม ต่างจากผู้ที่ใช้บัตรทองซึ่งไม่ต้องส่งเงินสมทบ เพียงแค่จ่ายค่ารักษาครั้งละ 30 บาท แต่สิทธิประโยชน์ในการรักษาหลายอย่างกลับดีกว่า อีกทั้งผู้ที่ใช้สิทธิประกันสังคมยังไม่สามารถเข้าใช้บริการที่โรงพยาบาลใดก็ได้เหมือนผู้ที่ใช้บัตรทอง ในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ซึ่งกำลังทดลองระบบ “บัตรประชาชนใบเดียวรักษาทุกที่” ใน 4 จังหวัดนำร่องอีกด้วย
อย่างไรก็ดี เรื่องนี้คงฟังเสียงสะท้อนจากองค์กรตัวแทนลูกจ้างว่าบรรดาพนักงานลูกจ้างที่ใช้สิทธิประกันสังคมในการรักษาพยาบาลต้องการให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในด้านใด และจริงหรือไม่ที่เหล่าลูกจ้างอยากเปลี่ยนไปใช้“บัตรทอง”แทนสิทธิประกันสังคม
นายมนัส โกศล ประธานสภาองค์การลูกจ้างพัฒนาแรงงานแห่งประเทศไทย (สพท.) เปิดเผยว่า จากที่รับฟังความเห็นจากลูกจ้างที่ใช้สิทธิประกันสังคมในการรักษาพยาบาลพบว่าส่วนใหญ่เห็นว่าข้อแตกต่างในการใช้สิทธิการรักษาพยาบาลที่ผู้ประกันตนในระบบประกันสังคมรู้สึกว่าด้อยกว่าบัตรทองนั้นมี 2 ประเด็นหลักๆ คือ
1.ความสะดวกในการใช้บริการ ซึ่งล่าสุดบัตรทองอัพเกรดการบริการ “บัตรประชาชนใบเดียวรักษาทุกที่” คือใช้บัตรประชาชนใบเดียวใช้บริการในโรงพยาบาลรัฐได้ทุกที่ (ซึ่งนำร่องใน 4 จังหวัด ได้แก่ แพร่ ร้อยเอ็ด เพชรบุรี และนราธิวาส) ขณะที่ลูกจ้างที่ใช้สิทธิประกันสังคมต้องรับการรักษาที่โรงพยาบาลที่เลือกไว้ จะเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลอื่นได้เฉพาะกรณีเกิดอุบัติเหตุหรือเจ็บป่วยฉุกเฉินเท่านั้น
2.สิทธิประโยชน์ในการรักษาโรคบางโรคของบัตรทองดีกว่าประกันสังคม โดยโรคที่ถูกพูดถึงอย่างมาก ได้แก่ มะเร็ง และการทำฟัน
“ อย่างโรคมะเร็ง บัตรทองรักษาฟรีหมด ขณะที่ลูกจ้างที่ใช้สิทธิประกันสังคมหากรักษามะเร็งโดยใช้เคมีบำบัดหรือรังสีรักษา เบิกค่ารักษาพยาบาลได้ตามจริง แต่มีข้อจำกัดว่าไม่เกิน 50,000 บาทต่อรายต่อปี ซึ่งไม่เพียงพอต่อการรักษา อีกทั้งประกันสังคมยังเข้าไม่ถึงยาบางตัว โดยเฉพาะยาที่เข้ามาใหม่ซึ่งยังไม่อยู่ในบัญชีหลัก ซึ่งส่วนนี้มีเยอะมาก จึงขึ้นกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องว่าจะขับเคลื่อนอย่างไรเพื่อให้ผู้ป่วยได้สิทธิในการเข้าถึงยา อีกโรคคือการรักษาเกี่ยวกับทันตกรรม ซึ่ง บัตรทองรักษาฟรีหมด แต่ประกันสังคมจะแยกสิทธิในการรักษาเป็นสองส่วน เพราะไม่อยู่ในมาตรา 54 โดยในส่วนของโรคทางช่องปาก เช่น เหงือกบวม รักษาฟรี ส่วนการรักษาเกี่ยวกับฟันจะเป็นไปตามเงื่อนไข ซึ่งสิทธิประโยชน์ที่ได้น้อยกว่าบัตรทอง ” นายมนัส กล่าว
ทั้งนี้ สอดคล้องกับความเห็นของ น.ส.วรรณวิภา ไม้สน สส.บัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล ซึ่งกล่าวในการอภิปรายงบประมาณรายจ่ายประจำปี 2567 ตอนหนึ่งเกี่ยวกับวิกฤตแรงงาน ว่า
“ลองเปรียบเทียบสิทธิการรักษาบัตรทองกับประกันสังคม ง่ายๆ เริ่มจากบัตรทองแค่ลงทะเบียน เลือกสถานพยาบาลก็ใช้สิทธิได้เลย แต่ประกันสังคมต้องส่งเงินสมทบเข้ากองทุนทุกเดือนตามเงื่อนไขก่อนถึงจะใช้สิทธิได้ หรือการย้ายสิทธิรักษา บัตรทองย้ายได้ 4 ครั้ง/ปี แต่ประกันสังคมย้ายได้ปีละครั้งเดียว แม้แต่ค่าทำฟันบัตรทองไม่จำกัดครั้ง ไม่มีวงเงิน แต่ประกันสังคมถอนฟัน ขูดหินปูนไม่เกิน 900บาท/ปี ”น.ส.วรรณวิภา ระบุ
เปรียบเทียบสิทธิในการรักษา
บัตรทอง & สิทธิประกันสังคม
ทั้งนี้ หากเปรียบเทียบสิทธิในการรักษาจะพบว่า สำหรับ“โรคมะเร็ง” นั้น “ผู้ที่ถือบัตรทอง”สามารถเข้ารับการรักษาโรคมะเร็งทุกชนิดโดยไม่เสียค่าใช้จ่ายตลอดการรักษา และรักษาได้ทุกที่ โดยผู้ใช้สิทธิบัตรทองที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคมะเร็ง สามารถปรึกษาแพทย์เจ้าของไข้เพื่อ ‘เลือกรักษา’ ณ หน่วยบริการรัฐที่มีศักยภาพแห่งใดก็ได้ทั่วประเทศ โดยไม่มีค่าใช้จ่าย และสามารถใช้ได้กับผู้ป่วยมะเร็งทุกระยะ ทุกชนิด
ขณะที่ “ผู้ใช้สิทธิประกันสังคม”
อันได้แก่ ผู้ประกันตนตามมาตรา 33 และ 39 หากได้รับการตรวจวินิจฉัย พบว่าเป็นมะเร็งสามารถเข้ารับการรักษาฟรีโดยไม่มีค่าใช้จ่ายจนสิ้นสุดการรักษา เมื่อรับการรักษาตามแนวทางที่กำหนด แต่การรักษาครอบคลุมมะเร็ง 20 ชนิดเท่านั้น ได้แก่ มะเร็งเต้านม , มะเร็งปากมดลูก, มะเร็งรังไข่ , มะเร็งมดลูก , มะเร็งโพรงหลังจมูก มะเร็งปอด , มะเร็งลำไส้ใหญ่และลำไส้ใหญ่ตรง , มะเร็งหลอดอาหาร , มะเร็งตับและท่อน้ำดี , มะเร็งกระเพาะปัสสาวะ , มะเร็งต่อมลูกหมาก , มะเร็งกระเพาะอาหาร , มะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิดเฉียบพลันแบบลิมฟอยด์ในผู้ใหญ่ , มะเร็งต่อมน้ำเหลืองในผู้ใหญ่ , มะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิดเฉียบพลันชนิดมัยอีลอยด์ในผู้ใหญ่ , มะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิดเฉียบพลันในผู้ใหญ่แบบ Acute Promyelocytic leukemia (APL) , มะเร็งเม็ดเลือดขาวเรื้อรังชนิดมัยอีลอยด์ในผู้ใหญ่ , มะเร็งเม็ดเลือดขาวมัยอีโลมาในผู้ใหญ่ , มะเร็งกระดูกชนิด Osteosarcoma ในผู้ใหญ่ และโรคมะเร็งเด็กแต่ในกรณีที่จำเป็นต้องใช้ยา เคมีบำบัด หรือรังสีรักษา สามารถเบิกค่ารักษาพยาบาลเท่าที่จ่ายจริงตามความจำเป็น แต่ไม่เกิน 50,000 บาทต่อรายต่อปี
ส่วนการรักษาด้าน“ทันตกรรม”นั้น “ผู้ที่ถือบัตรทอง”สามารถเข้ารับการรักษาได้ครอบคลุมทุกอย่างและทุกช่วงวัย โดยไม่มีค่าใช้จ่าย ตั้งแต่การขูดหินปูน การอุดฟัน และการถอนฟัน อีกทั้งยังมีบริการดูแลสุขภาพช่องปากในแต่ละช่วงวัย ดังนี้ “กลุ่มเด็กโตและวัยรุ่นอายุ 6-24 ปี” “กลุ่มผู้ใหญ่อายุ 25-59 ปี” และ “กลุ่มผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไป” จะได้รับบริการตรวจสุขภาพช่องปาก การเคลือบฟลูออไรด์ รวมถึงทาฟลูออไรด์วานิชความเข้มข้นสูง
นอกจากนั้นกลุ่มผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไป ซึ่งเป็นกลุ่มที่มีปัญหาไม่มีฟันบดเคี้ยว ยังสามารถรับบริการทำ“ฟันเทียม” ทั้งกรณีใส่ฟันเทียมทั้งปาก และการใส่ฟันเทียมบางส่วนที่ถอดได้ เพื่อให้ผู้สูงอายุที่ไม่มีฟันสามารถบดเคี้ยวอาหารได้ ได้รับโภชนากรที่ดี และมีสุขภาพที่ดีขึ้น
ในขณะที่ “ผู้ใช้สิทธิประกันสังคม” สามารถเข้ารับบริการถอนฟัน อุดฟัน ขูดหินปูน และผ่าตัดฟันคุด โดยได้รับค่าบริการทางการแพทย์เท่าที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 900 บาท/ครั้ง/ปี และหากไม่ได้ใช้วงเงินดังกล่าวจะไม่ทบยอดในปีถัดไป
กรณีใส่“ฟันเทียมชนิดถอดได้บางส่วน” ให้ผู้ประกันตนมีสิทธิได้รับค่าบริการทางการแพทย์ และค่าฟันเทียมเท่าที่จ่ายจริงตามความจำเป็น ในวงเงินไม่เกิน 1,500 บาท ภายในระยะเวลา 5 ปีนับแต่วันที่ใส่ฟันเทียมนั้น ตามหลักเกณฑ์ดังนี้
1) ใส่ฟันเทียม 1-5 ซี่ ได้รับค่าบริการเท่าที่จ่ายจริงตามความจำเป็น ในวงเงินไม่เกิน 1,300 บาท
2) ใส่ฟันเทียวมากกว่า 5 ซี่ ได้รับค่าบริการเท่าที่จ่ายจริงตามความจำเป็น ในวงเงินไม่เกิน 1,500 บาท
ส่วนกรณีใส่“ฟันเทียมชนิดถอดได้ทั้งปาก” ผู้ประกันตนมีสิทธิได้รับค่าบริการทางการแพทย์และค่าฟันเทียมเท่าที่จ่ายจริง ตามความจำเป็น ในวงเงินไม่เกิน 4,400 บาท ภายในระยะเวลา 5 ปีนับตั้งแต่วันที่ใส่ฟันเทียมนั้น ตามหลักเกณฑ์ดังนี้
1) ฟันเทียมชนิดถอดได้ทั้งปาก เฉพาะฟันบนหรือฟันล่าง ได้รับค่าบริการเท่าที่จ่ายจริงตามความจำเป็น ในวงเงินไม่เกิน 2,400 บาท
2) ฟันเทียมชนิดถอดได้ทั้งปาก ทั้งฟันบนและฟันล่าง ได้รับค่าบริการเท่าที่จ่ายจริงตามความจำเป็น ในวงเงินไม่เกิน 4,400 บาท
ส่วนกรณีความต้องการของลูกจ้างที่ต้องการใช้สิทธิการรักษาแบบบัตรทองนั้น “ประธานสภาองค์การลูกจ้างพัฒนาแรงงานแห่งประเทศไทย” ยอมรับว่า มีอยู่จริง แต่ยังเป็นความเห็นของลูกจ้างบางส่วน ยังไม่ใช่ทั้งหมดของผู้ประกันตน โดยตอนนี้ความเห็นแตกเป็นหลายส่วน ผู้ประกันตนบางส่วนก็อยากใช้สิทธิบัตรทองเพราะไม่ต้องส่งเงินสมทบและได้สิทธิประโยชน์บางอย่างดีกว่า แต่ผู้ประกันตนบางส่วนก็ยังอยากใช้สิทธิการรักษาในระบบประกันสังคม
บางคนออกจากมาตรา 33 คือสิ้นสุดการเป็นพนักงานหรือลูกจ้าง ก็มาเข้าเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 39 โดยส่งเงินสมทบเองเดือนละ 432 บาท ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นกลุ่มที่เป็นโรคเรื้อรัง นอกจากนั้นบางคนก็อยากอยู่ในระบบประกันสังคมเพราะได้เงินสงเคราะห์บุตร ได้สิทธิประโยชน์ในกรณีว่างงาน ทุพพลภาพ ชราภาพ เสียชีวิต ได้เงินค่าทำศพ รายละ 50,000 บาท อีกทั้งผู้ประกันตนตามมาตรา 39 ส่วนใหญ่ยังเรียกร้องอยากได้สิทธิประโยชน์เท่ากับผู้ประกันตนตามมาตรา 33 ด้วย
“ ตอนนี้เราก็พยายามผลักดันให้สิทธิประโยชน์ในการรักษาพยาบาลเป็นมาตรฐานเดียวกัน ทั้ง ประกันสังคม บัตรทอง และบัตรข้าราชการ ใครด้อยกว่าในส่วนไหนก็ปรับขึ้นมาให้เท่ากัน ก็ยังมีหวังอยู่เพราะสภาองค์การลูกจ้างฯเราทำงานร่วมกับ สสส. (สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ)ในการลดความเหลื่อมล้ำ สร้างความเท่าเทียมด้านสุขภาพ แล้วก็มีคณะทำงานร่วมในคณะกรรมการประกันสังคม กระทรวงแรงงาน แต่แน่นอนว่าทุกอย่างขึ้นกับนโยบายทางการเมืองและนโยบายรัฐบาล ที่เห็นได้ชัดคือนโยบายบัตรทอง พรรคเพื่อไทยเป็นรัฐบาลปุ๊บสั่งทำโครงการบัตรประชาชนใบเดียวรักษาทุกที่ ซึ่งเริ่มใช้แล้ว 4 จังหวัด ขับเคลื่อนทันที ” นายมนัส กล่าว
ติดตามข่าวสารต่างๆ เพิ่มเติมได้ที่
https://mgronline.com
ลูกจ้างโวยอยากใช้‘บัตรทอง’แทน‘ประกันสังคม’ เซ็งจ่ายสมทบ แต่สิทธิด้อยกว่า !!
https://mgronline.com/specialscoop/detail/9670000003244
“ประธานสภาองค์การลูกจ้างฯ” เผย ลูกจ้างบางส่วนอยากเปลี่ยนไปใช้ “บัตรทอง” แทนประกันสังคม ชี้ จ่ายเงินสมทบทุกเดือน แต่สิทธิการรักษาด้อยกว่าของฟรี โดยเฉพาะกรณี โรคมะเร็ง ซึ่งครอบคลุมมะเร็งเพียง 20 ชนิด ใช้เคมีบำบัด-รังสีรักษา เบิกได้แค่ปีละ 5 หมื่น ส่วนทำฟันเบิกได้ 900 บาท/ปี ทำฟันปลอมเบิกได้บางส่วน ขณะที่บัตรทองรักษาได้ครอบคลุมทุกอย่าง พร้อมระบุ สภาลูกจ้างฯ พยายามผลักดันให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน แต่ทุกสิ่งขึ้นกับนโยบายทางการเมือง
นับเป็นประเด็นที่สังคมกำลังวิพากษ์วิจารณ์ และเริ่มเกิดการเปรียบเทียบสิทธิประโยชน์ในการรักษาพยาบาลระหว่างบรรดาลูกจ้างที่ใช้“บัตรประกันสังคม” กับประชาชนทั่วไปที่ใช้“บัตรทอง” เนื่องจากลูกจ้างจำนวนไม่น้อยรู้สึกว่าในเมื่อส่งเงินสมทบเข้ากองทุนประกันสังคมทุกเดือน เวลาเข้ารับการรักษาทำไมจึงไม่ได้รับความสะดวก และบางครั้งยังต้องจ่ายเงินเพิ่ม ต่างจากผู้ที่ใช้บัตรทองซึ่งไม่ต้องส่งเงินสมทบ เพียงแค่จ่ายค่ารักษาครั้งละ 30 บาท แต่สิทธิประโยชน์ในการรักษาหลายอย่างกลับดีกว่า อีกทั้งผู้ที่ใช้สิทธิประกันสังคมยังไม่สามารถเข้าใช้บริการที่โรงพยาบาลใดก็ได้เหมือนผู้ที่ใช้บัตรทอง ในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ซึ่งกำลังทดลองระบบ “บัตรประชาชนใบเดียวรักษาทุกที่” ใน 4 จังหวัดนำร่องอีกด้วย
อย่างไรก็ดี เรื่องนี้คงฟังเสียงสะท้อนจากองค์กรตัวแทนลูกจ้างว่าบรรดาพนักงานลูกจ้างที่ใช้สิทธิประกันสังคมในการรักษาพยาบาลต้องการให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในด้านใด และจริงหรือไม่ที่เหล่าลูกจ้างอยากเปลี่ยนไปใช้“บัตรทอง”แทนสิทธิประกันสังคม
นายมนัส โกศล ประธานสภาองค์การลูกจ้างพัฒนาแรงงานแห่งประเทศไทย (สพท.) เปิดเผยว่า จากที่รับฟังความเห็นจากลูกจ้างที่ใช้สิทธิประกันสังคมในการรักษาพยาบาลพบว่าส่วนใหญ่เห็นว่าข้อแตกต่างในการใช้สิทธิการรักษาพยาบาลที่ผู้ประกันตนในระบบประกันสังคมรู้สึกว่าด้อยกว่าบัตรทองนั้นมี 2 ประเด็นหลักๆ คือ
1.ความสะดวกในการใช้บริการ ซึ่งล่าสุดบัตรทองอัพเกรดการบริการ “บัตรประชาชนใบเดียวรักษาทุกที่” คือใช้บัตรประชาชนใบเดียวใช้บริการในโรงพยาบาลรัฐได้ทุกที่ (ซึ่งนำร่องใน 4 จังหวัด ได้แก่ แพร่ ร้อยเอ็ด เพชรบุรี และนราธิวาส) ขณะที่ลูกจ้างที่ใช้สิทธิประกันสังคมต้องรับการรักษาที่โรงพยาบาลที่เลือกไว้ จะเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลอื่นได้เฉพาะกรณีเกิดอุบัติเหตุหรือเจ็บป่วยฉุกเฉินเท่านั้น
2.สิทธิประโยชน์ในการรักษาโรคบางโรคของบัตรทองดีกว่าประกันสังคม โดยโรคที่ถูกพูดถึงอย่างมาก ได้แก่ มะเร็ง และการทำฟัน
“ อย่างโรคมะเร็ง บัตรทองรักษาฟรีหมด ขณะที่ลูกจ้างที่ใช้สิทธิประกันสังคมหากรักษามะเร็งโดยใช้เคมีบำบัดหรือรังสีรักษา เบิกค่ารักษาพยาบาลได้ตามจริง แต่มีข้อจำกัดว่าไม่เกิน 50,000 บาทต่อรายต่อปี ซึ่งไม่เพียงพอต่อการรักษา อีกทั้งประกันสังคมยังเข้าไม่ถึงยาบางตัว โดยเฉพาะยาที่เข้ามาใหม่ซึ่งยังไม่อยู่ในบัญชีหลัก ซึ่งส่วนนี้มีเยอะมาก จึงขึ้นกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องว่าจะขับเคลื่อนอย่างไรเพื่อให้ผู้ป่วยได้สิทธิในการเข้าถึงยา อีกโรคคือการรักษาเกี่ยวกับทันตกรรม ซึ่ง บัตรทองรักษาฟรีหมด แต่ประกันสังคมจะแยกสิทธิในการรักษาเป็นสองส่วน เพราะไม่อยู่ในมาตรา 54 โดยในส่วนของโรคทางช่องปาก เช่น เหงือกบวม รักษาฟรี ส่วนการรักษาเกี่ยวกับฟันจะเป็นไปตามเงื่อนไข ซึ่งสิทธิประโยชน์ที่ได้น้อยกว่าบัตรทอง ” นายมนัส กล่าว
ทั้งนี้ สอดคล้องกับความเห็นของ น.ส.วรรณวิภา ไม้สน สส.บัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล ซึ่งกล่าวในการอภิปรายงบประมาณรายจ่ายประจำปี 2567 ตอนหนึ่งเกี่ยวกับวิกฤตแรงงาน ว่า
“ลองเปรียบเทียบสิทธิการรักษาบัตรทองกับประกันสังคม ง่ายๆ เริ่มจากบัตรทองแค่ลงทะเบียน เลือกสถานพยาบาลก็ใช้สิทธิได้เลย แต่ประกันสังคมต้องส่งเงินสมทบเข้ากองทุนทุกเดือนตามเงื่อนไขก่อนถึงจะใช้สิทธิได้ หรือการย้ายสิทธิรักษา บัตรทองย้ายได้ 4 ครั้ง/ปี แต่ประกันสังคมย้ายได้ปีละครั้งเดียว แม้แต่ค่าทำฟันบัตรทองไม่จำกัดครั้ง ไม่มีวงเงิน แต่ประกันสังคมถอนฟัน ขูดหินปูนไม่เกิน 900บาท/ปี ”น.ส.วรรณวิภา ระบุ
เปรียบเทียบสิทธิในการรักษา
บัตรทอง & สิทธิประกันสังคม
ทั้งนี้ หากเปรียบเทียบสิทธิในการรักษาจะพบว่า สำหรับ“โรคมะเร็ง” นั้น “ผู้ที่ถือบัตรทอง”สามารถเข้ารับการรักษาโรคมะเร็งทุกชนิดโดยไม่เสียค่าใช้จ่ายตลอดการรักษา และรักษาได้ทุกที่ โดยผู้ใช้สิทธิบัตรทองที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคมะเร็ง สามารถปรึกษาแพทย์เจ้าของไข้เพื่อ ‘เลือกรักษา’ ณ หน่วยบริการรัฐที่มีศักยภาพแห่งใดก็ได้ทั่วประเทศ โดยไม่มีค่าใช้จ่าย และสามารถใช้ได้กับผู้ป่วยมะเร็งทุกระยะ ทุกชนิด
ขณะที่ “ผู้ใช้สิทธิประกันสังคม”
อันได้แก่ ผู้ประกันตนตามมาตรา 33 และ 39 หากได้รับการตรวจวินิจฉัย พบว่าเป็นมะเร็งสามารถเข้ารับการรักษาฟรีโดยไม่มีค่าใช้จ่ายจนสิ้นสุดการรักษา เมื่อรับการรักษาตามแนวทางที่กำหนด แต่การรักษาครอบคลุมมะเร็ง 20 ชนิดเท่านั้น ได้แก่ มะเร็งเต้านม , มะเร็งปากมดลูก, มะเร็งรังไข่ , มะเร็งมดลูก , มะเร็งโพรงหลังจมูก มะเร็งปอด , มะเร็งลำไส้ใหญ่และลำไส้ใหญ่ตรง , มะเร็งหลอดอาหาร , มะเร็งตับและท่อน้ำดี , มะเร็งกระเพาะปัสสาวะ , มะเร็งต่อมลูกหมาก , มะเร็งกระเพาะอาหาร , มะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิดเฉียบพลันแบบลิมฟอยด์ในผู้ใหญ่ , มะเร็งต่อมน้ำเหลืองในผู้ใหญ่ , มะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิดเฉียบพลันชนิดมัยอีลอยด์ในผู้ใหญ่ , มะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิดเฉียบพลันในผู้ใหญ่แบบ Acute Promyelocytic leukemia (APL) , มะเร็งเม็ดเลือดขาวเรื้อรังชนิดมัยอีลอยด์ในผู้ใหญ่ , มะเร็งเม็ดเลือดขาวมัยอีโลมาในผู้ใหญ่ , มะเร็งกระดูกชนิด Osteosarcoma ในผู้ใหญ่ และโรคมะเร็งเด็กแต่ในกรณีที่จำเป็นต้องใช้ยา เคมีบำบัด หรือรังสีรักษา สามารถเบิกค่ารักษาพยาบาลเท่าที่จ่ายจริงตามความจำเป็น แต่ไม่เกิน 50,000 บาทต่อรายต่อปี
ส่วนการรักษาด้าน“ทันตกรรม”นั้น “ผู้ที่ถือบัตรทอง”สามารถเข้ารับการรักษาได้ครอบคลุมทุกอย่างและทุกช่วงวัย โดยไม่มีค่าใช้จ่าย ตั้งแต่การขูดหินปูน การอุดฟัน และการถอนฟัน อีกทั้งยังมีบริการดูแลสุขภาพช่องปากในแต่ละช่วงวัย ดังนี้ “กลุ่มเด็กโตและวัยรุ่นอายุ 6-24 ปี” “กลุ่มผู้ใหญ่อายุ 25-59 ปี” และ “กลุ่มผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไป” จะได้รับบริการตรวจสุขภาพช่องปาก การเคลือบฟลูออไรด์ รวมถึงทาฟลูออไรด์วานิชความเข้มข้นสูง
นอกจากนั้นกลุ่มผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไป ซึ่งเป็นกลุ่มที่มีปัญหาไม่มีฟันบดเคี้ยว ยังสามารถรับบริการทำ“ฟันเทียม” ทั้งกรณีใส่ฟันเทียมทั้งปาก และการใส่ฟันเทียมบางส่วนที่ถอดได้ เพื่อให้ผู้สูงอายุที่ไม่มีฟันสามารถบดเคี้ยวอาหารได้ ได้รับโภชนากรที่ดี และมีสุขภาพที่ดีขึ้น
ในขณะที่ “ผู้ใช้สิทธิประกันสังคม” สามารถเข้ารับบริการถอนฟัน อุดฟัน ขูดหินปูน และผ่าตัดฟันคุด โดยได้รับค่าบริการทางการแพทย์เท่าที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 900 บาท/ครั้ง/ปี และหากไม่ได้ใช้วงเงินดังกล่าวจะไม่ทบยอดในปีถัดไป
กรณีใส่“ฟันเทียมชนิดถอดได้บางส่วน” ให้ผู้ประกันตนมีสิทธิได้รับค่าบริการทางการแพทย์ และค่าฟันเทียมเท่าที่จ่ายจริงตามความจำเป็น ในวงเงินไม่เกิน 1,500 บาท ภายในระยะเวลา 5 ปีนับแต่วันที่ใส่ฟันเทียมนั้น ตามหลักเกณฑ์ดังนี้
1) ใส่ฟันเทียม 1-5 ซี่ ได้รับค่าบริการเท่าที่จ่ายจริงตามความจำเป็น ในวงเงินไม่เกิน 1,300 บาท
2) ใส่ฟันเทียวมากกว่า 5 ซี่ ได้รับค่าบริการเท่าที่จ่ายจริงตามความจำเป็น ในวงเงินไม่เกิน 1,500 บาท
ส่วนกรณีใส่“ฟันเทียมชนิดถอดได้ทั้งปาก” ผู้ประกันตนมีสิทธิได้รับค่าบริการทางการแพทย์และค่าฟันเทียมเท่าที่จ่ายจริง ตามความจำเป็น ในวงเงินไม่เกิน 4,400 บาท ภายในระยะเวลา 5 ปีนับตั้งแต่วันที่ใส่ฟันเทียมนั้น ตามหลักเกณฑ์ดังนี้
1) ฟันเทียมชนิดถอดได้ทั้งปาก เฉพาะฟันบนหรือฟันล่าง ได้รับค่าบริการเท่าที่จ่ายจริงตามความจำเป็น ในวงเงินไม่เกิน 2,400 บาท
2) ฟันเทียมชนิดถอดได้ทั้งปาก ทั้งฟันบนและฟันล่าง ได้รับค่าบริการเท่าที่จ่ายจริงตามความจำเป็น ในวงเงินไม่เกิน 4,400 บาท
ส่วนกรณีความต้องการของลูกจ้างที่ต้องการใช้สิทธิการรักษาแบบบัตรทองนั้น “ประธานสภาองค์การลูกจ้างพัฒนาแรงงานแห่งประเทศไทย” ยอมรับว่า มีอยู่จริง แต่ยังเป็นความเห็นของลูกจ้างบางส่วน ยังไม่ใช่ทั้งหมดของผู้ประกันตน โดยตอนนี้ความเห็นแตกเป็นหลายส่วน ผู้ประกันตนบางส่วนก็อยากใช้สิทธิบัตรทองเพราะไม่ต้องส่งเงินสมทบและได้สิทธิประโยชน์บางอย่างดีกว่า แต่ผู้ประกันตนบางส่วนก็ยังอยากใช้สิทธิการรักษาในระบบประกันสังคม
บางคนออกจากมาตรา 33 คือสิ้นสุดการเป็นพนักงานหรือลูกจ้าง ก็มาเข้าเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 39 โดยส่งเงินสมทบเองเดือนละ 432 บาท ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นกลุ่มที่เป็นโรคเรื้อรัง นอกจากนั้นบางคนก็อยากอยู่ในระบบประกันสังคมเพราะได้เงินสงเคราะห์บุตร ได้สิทธิประโยชน์ในกรณีว่างงาน ทุพพลภาพ ชราภาพ เสียชีวิต ได้เงินค่าทำศพ รายละ 50,000 บาท อีกทั้งผู้ประกันตนตามมาตรา 39 ส่วนใหญ่ยังเรียกร้องอยากได้สิทธิประโยชน์เท่ากับผู้ประกันตนตามมาตรา 33 ด้วย
“ ตอนนี้เราก็พยายามผลักดันให้สิทธิประโยชน์ในการรักษาพยาบาลเป็นมาตรฐานเดียวกัน ทั้ง ประกันสังคม บัตรทอง และบัตรข้าราชการ ใครด้อยกว่าในส่วนไหนก็ปรับขึ้นมาให้เท่ากัน ก็ยังมีหวังอยู่เพราะสภาองค์การลูกจ้างฯเราทำงานร่วมกับ สสส. (สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ)ในการลดความเหลื่อมล้ำ สร้างความเท่าเทียมด้านสุขภาพ แล้วก็มีคณะทำงานร่วมในคณะกรรมการประกันสังคม กระทรวงแรงงาน แต่แน่นอนว่าทุกอย่างขึ้นกับนโยบายทางการเมืองและนโยบายรัฐบาล ที่เห็นได้ชัดคือนโยบายบัตรทอง พรรคเพื่อไทยเป็นรัฐบาลปุ๊บสั่งทำโครงการบัตรประชาชนใบเดียวรักษาทุกที่ ซึ่งเริ่มใช้แล้ว 4 จังหวัด ขับเคลื่อนทันที ” นายมนัส กล่าว
ติดตามข่าวสารต่างๆ เพิ่มเติมได้ที่ https://mgronline.com