สงสัยมานานแล้ว สองพระสูตรนี้ใครเป็นคนกล่าว เป็นส่วนเกินของพระไตรปิฎกหรือเปล่า?

กระทู้คำถาม
จันทิมสูตรที่ ๙

            [๒๔๑] พระผู้มีพระภาคประทับ ... เขตพระนครสาวัตถี ก็โดยสมัย
นั้น จันทิมเทวบุตรถูกอสุรินทราหูเข้าจับแล้ว ครั้งนั้นจันทิมเทวบุตรระลึกถึงพระ
ผู้มีพระภาค ได้ภาษิตคาถานี้ในเวลานั้นว่า
                         ข้าแต่พระพุทธเจ้า ผู้แกล้วกล้า ขอความนอบน้อมจงมีแด่
                         พระองค์ พระองค์เป็นผู้หลุดพ้นแล้วในธรรมทั้งปวง ข้าพระ-
                         องค์ถึงเฉพาะแล้ว ซึ่งฐานะอันคับขัน ขอพระองค์จงเป็นที่พึ่ง
                         แห่งข้าพระองค์นั้น ฯ
            [๒๔๒] ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาค ทรงปรารภจันทิมเทวบุตรได้ตรัส
กะอสุรินทราหูด้วยพระคาถาว่า
                         จันทิมเทวบุตร ถึงตถาคตผู้เป็นพระอรหันต์ ว่าเป็นที่พึ่ง
                         ดูกรราหู ท่านจงปล่อยจันทิมเทวบุตร พระพุทธเจ้าทั้งหลาย
                         เป็นผู้อนุเคราะห์แก่โลก ฯ
            [๒๔๓] ลำดับนั้นอสุรินทราหู ปล่อยจันทิมเทวบุตรแล้ว มีรูปอันกระ-
*หืดกระหอบ เข้าไปหาอสุรินทเวปจิตติถึงที่อยู่ ครั้นแล้วก็เป็นผู้เศร้าสลด เกิด
ขนพอง ได้ยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ฯ
            [๒๔๔] อสุรินทเวปจิตติ ได้กล่าวกะอสุรินทราหู ผู้ยืนอยู่ ณ ที่ควร
ส่วนข้างหนึ่ง ด้วยคาถาว่า
                         ดูกรราหู ทำไมหนอ ท่านจึงกระหืดกระหอบปล่อยพระจันทร์
                         เสีย ทำไมหนอ ท่านจึงมีรูปสลด มายืนกลัวอยู่ ฯ
            [๒๔๕] อสุรินทราหูกล่าวว่า
                         ข้าพเจ้าถูกขับด้วยคาถาของพระพุทธเจ้า หากข้าพเจ้าไม่พึง
                         ปล่อยจันทิมเทวบุตร ศีรษะของข้าพเจ้าพึงแตกเจ็ดเสี่ยง
                         มีชีวิตอยู่ ก็ไม่พึงได้รับความสุข ฯ

เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๕  บรรทัดที่ ๑๕๕๓ - ๑๕๗๖.  หน้าที่  ๗๑.
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka2/v.php?B=15&A=1553&Z=1576&pagebreak=0

=====================================================

สุริยสูตรที่ ๑๐

            [๒๔๖] ก็โดยสมัยนั้น สุริยเทวบุตร ถูกอสุรินทราหูเข้าจับแล้ว ครั้ง
นั้น สุริยเทวบุตร ระลึกถึงพระผู้มีพระภาค ได้กล่าวคาถานี้ในเวลานั้นว่า
                         ข้าแต่พระพุทธเจ้า ผู้แกล้วกล้า ขอความนอบน้อมจงมีแด่
                         พระองค์ พระองค์เป็นผู้หลุดพ้นแล้วในธรรมทั้งปวง ข้า-
                         พระองค์ถึงเฉพาะแล้วซึ่งฐานะอันคับขัน ขอพระองค์จงเป็น
                         ที่พึ่งแห่งข้าพระองค์นั้น ฯ
            [๒๔๗] ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงปรารภสุริยเทวบุตรได้ตรัสกะ-
*อสุรินทราหูด้วยพระคาถาว่า
                         สุริยเทวบุตร ถึงตถาคตผู้เป็นพระอรหันต์ ว่าเป็นที่พึง ดูกร
                         ราหู ท่านจงปล่อยสุริยะ พระพุทธเจ้าทั้งหลาย เป็นผู้
                         อนุเคราะห์แก่โลก สุริยะใดเป็นผู้ส่องแสง กระทำความสว่าง
                         ในที่มืดมิด มีสัณฐานเป็นวงกลม มีเดชสูง ดูกรราหู ท่าน
                         อย่ากลืนกินสุริยะนั้น ผู้เที่ยวไปในอากาศ ดูกรราหู ท่าน
                         จงปล่อยสุริยะ ผู้เป็นบุตรของเรา ฯ
            [๒๔๘] ลำดับนั้น อสุรินทราหู ปล่อยสุริยเทวบุตรแล้ว มีรูปอัน
กระหืดกระหอบ เข้าไปหาอสุรินทเวปจิตติถึงที่อยู่ ครั้นแล้วก็เป็นผู้เศร้าสลด เกิด
ขนพอง ได้ยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ฯ
            [๒๔๙] อสุรินทเวปจิตติ ได้กล่าวกะอสุรินทราหู ผู้ยืนอยู่ ณ ที่
ควรส่วนข้างหนึ่ง ด้วยคาถาว่า
                         ดูกรราหู ทำไมหนอ ท่านจึงกระหืดกระหอบ ปล่อยพระ-
                         สุริยะเสีย ทำไมหนอ ท่านจึงมีรูปเศร้าสลด มายืนกลัวอยู่ ฯ
            [๒๕๐] อสุรินทราหู กล่าวว่า
                         ข้าพเจ้าถูกขับด้วยคาถาของพระพุทธเจ้า ถ้าข้าพเจ้าไม่พึง
                         ปล่อยพระสุริยะ ศีรษะของข้าพเจ้าพึงแตกเจ็ดเสี่ยง มีชีวิต
                         อยู่ ก็ไม่พึงได้รับความสุข ฯ

เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๕  บรรทัดที่ ๑๕๗๗ - ๑๖๐๙.  หน้าที่  ๗๒ - ๗๓.
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka2/v.php?B=15&A=1577&Z=1609&pagebreak=0

=================================================

อรรถกถาจันทิมสูตรที่ ๙              
              พึงทราบวินิจฉัยในสุริยสูตรที่ ๑๐ ต่อไป:-
              บทว่า สุริโย คือ เทวบุตร ผู้สถิตอยู่ ณ สุริยวิมาน.
              บทว่า อนฺธกาเร ได้แก่ ในการทำความมืดดุจตาบอด เพราะห้ามความเกิดแห่งจักษุวิญญาณ.
              บทว่า เวโรจโน แปลว่า ส่องสว่าง.
              บทว่า มณฺฑลี ได้แก่ มีสัณฐานกลม ด้วยบทว่า มา ราหุ คิลี จรมนฺตลิกฺเข ดังนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า
ดูก่อนราหู ท่านอย่ากลืนสุริยะผู้โคจรไปในอากาศเลย.
              ถามว่า ก็ราหูนั้นกลืนสุริยะนั้นได้หรือ.
              ตอบว่า กลืนได้สิ เพราะว่า ราหูมีอัตภาพใหญ่ ว่าโดยส่วนสูง สูงถึง ๔,๘๐๐ โยชน์ ช่วงแขน ยาว ๑,๒๐๐ โยชน์
ว่าโดยส่วนหนา ๖๐๐ โยชน์ ศีรษะ ๙๐๐ โยชน์ หน้าผาก ๓๐๐ โยชน์ ระหว่างคิ้ว ๕๐ โยชน์ คิ้ว ๒๐๐ โยชน์ ปาก ๒๐๐ โยชน์
จมูก ๓๐๐ โยชน์ ขอบปากลึก ๓๐๐ โยชน์ ฝ่ามือฝ่าเท้าหนา ๒๐๐ โยชน์ ข้อนิ้ว ๑๕ โยชน์.
              ราหูนั้นเห็นจันทระและสุริยะส่องสว่างอยู่ มีความริษยาเป็นปกติอยู่แล้ว ก็ลงสู่วิถีโคจรของจันทรและสุริยะนั้น
ยืนอ้าปากอยู่. จันทรวิมานหรือสุริยวิมานก็เป็นประหนึ่งถูกใส่เข้าไปในมหานรก ๓๐๐ โยชน์ เทวดาทั้งหลายที่สถิตอยู่ในวิมาน
ถูกมรณภัยคุกคามก็ร้องเป็นอันเดียวกัน
              ราหูนั้นบางคราวก็เอามือบังวิมาน บางคราวก็ใส่ไว้ใต้คาง บางคราวก็เอาลิ้นเลีย บางคราวก็วางในกระพุ้งแก้ม
เหมือนกินทำแก้มตุ่ย แต่ราหูนั้นไม่อาจชลอความเร็วได้ คิดว่าเราจักฆ่าเสีย ก็ยืนอมทำแก้มตุ่ย หรือคิดว่าขมองของเทพบุตรนั้น
จักแตกออกไป ราหูก็คร่าวิมานนั้นน้อมเข้ามา. เพราะฉะนั้น เทพบุตรนั้นจึงไปพร้อมด้วยกันกับวิมาน.
              บทว่า ปชํ มม ความว่า ได้ยินว่า เทพบุตรแม้ทั้งสองคือจันทระและสุริยะบรรลุโสดาปัตติผลในวันที่ตรัสมหาสมยสูตร.
ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า ปชํ มม อธิบายว่า นั่นเป็นบุตรของเรา.

              จบอรรถกถาสุริยสูตรที่ ๑๐

http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=15&i=246
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่