ความเดิมตอนที่แล้วค่ะ
โตนเลสาบ แก้มลิงธรรมชาติของคนเขมร http://ppantip.com/topic/30420230
ปราสาทบายน มนตราศิลาทราย (1) http://ppantip.com/topic/30432009
ปราสาทตาพรหม มนตราศิลาทราย (2) http://ppantip.com/topic/30448730
อิ่มท้องมื้อเที่ยงยามบ่าย ถ่วงหนังตาดีแท้ แต่ก็ไม่ทำให้ความตื่นเต้น ในการชมศิลปะกรรม ประติมากรรม โบราณสถาน
ที่มีชื่อเสียงก้องโลกลดน้อยลงไปเลย ครึ่งเช้าเป็น ปราสาทบายน กับ ปราสาทตาพรหม ครึ่งบ่ายเป็น ปราสาทบันทายสรี กับ นครวัด
เริ่มจาก ปราสาทบันทายสรี (Banteay Srei) ปราสาทที่ได้ชื่อว่า เป็น รัตนชาติแห่งศิลปะเขมร เป็นยังไงนั้น เราไปดูกันค่ะ
รถนำเที่ยวจะจอดให้ลงตรงลานจอดรถด้านนอก แล้วให้เดินเข้าไปด้านใน ประมาณ 1 กิโลเมตร
(กะเอาน่ะคะ เป็นคนกะระยะทางไม่ค่อยจะถูกซะด้วย) แม้ทางเดินเข้าจะเป็นถนนดินแดง แต่ก็เป็นดินที่อัดแน่น
ไม่เป็นฝุ่นละอองเหมือนทางเข้า ปราสาทตาพรหม
เดินตรงไปเลี้ยวซ้าย ก็จะเจอ ด่านตรวจกิ๊บเก๋ แบบนี้ ขอดูบัตรประชาชนคนเขมรที่เราทำไว้ ว่ามีใบหน้าตรงกับเจ้าของบัตรรึเปล่า
ฉันยื่นบัตรให้ดู พร้อมส่งยิ้มแบบ นางสาวสยาม ณ เมืองยิ้ม เต็มที่ น้องเจ้าหน้าที่เค้ามองหน้าสลับไปมาแล้วบอกว่า
"โอว..เหมือน ๆ เชิญ ๆ" ^^
ตั้งแต่ชมมาสองปราสาทตอนเช้า เพิ่งจะเจอปราสาทนี้ปราสาทแรก ที่มี เจ้าหน้าที่ตรวจบัตรจริงจัง ว่าใบหน้าบนบัตรจะตรงกับ
เจ้าของบัตรรึเปล่า
จากด่านเดินเข้าไปอีกนิดหน่อย ก็จะเห็น ปราสาทบันทายสรี ลิบ ๆ ละค่ะ มาเที่ยวปราสาทที่ได้ชื่อว่าเป็นสุดยอดของศิลปะเขมรทั้งที
ก็ต้องรู้ประวัติ ความเป็นมาของ ปราสาทบันทายสรี กันซักเล็กน้อย เพื่อที่เราจะได้ดื่มด่ำกับสิ่งที่ได้สัมผัสอย่างเต็มที่ เนอะ..
ปราสาทบันทายสรี สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ.1510 ในสมัยของ พระเจ้าราเชนทรวรมัน เพื่ออุทิศถวานแด่พระอินศวร
โดยมีพราหมณ์ใหญ่ที่ชื่อ คุรุยัชญวราหะ เป็นผู้สร้าง (พระเจ้าราเชนทรวรมัน เป็นพระราชบิดาของ พระเจ้าชัยวรมันที่ 5)
ปราสาทบันทายสรี สร้างขึ้นด้วย หินทรายสีชมพูเนื้อละเอียด การจำหลักลายบนหินทรายงดงาม ละเอียดลออ
อย่างไม่มีปราสาทใดเหมือน จนได้รับการขนาดนามว่า เป็นปราสาทแห่งความรัก
จากความละเอียดงดงามนี่เอง นักประวัติศาสตร์ศิลปะ แยกปราสาทหลังนี้ออกมาเป็นอีกรูปแบบหนึ่งของศิลปะเขมร เรียกว่า
"ศิลปะแบบบ็อนเตียซเร็ย" และยกย่องให้เป็น รัตนชาติแห่งศิลปะเขมร
นี่ค่ะ โคปุระชั้นที่ 1 เป็นโคปุระชั้นนอก (รูปด้านบน) หน้าบันรูปพระอินทร์ทรงช้างเอราวัณ ซึ่งถือเป็น เทพประจำทิศตะวันออก
ประเดิมรูปแรกเอาฤกษ์เอาชัยช่วงบ่าย จากการวาน น้องมี ให้ถ่ายรูปให้ ก่อนจะเดินประกบกลุ่มใหญ่ด้านในที่ล่วงหน้าไปไกลแล้ว
ผ่านโคปุระชั้นนอก ซึ่งมีกรอบประตูไม้ใหญ่ จะเป็นทางเดินศิลาแลงยาว 67 เมตร สองข้างทางปักด้วย เสานางเรียง
ทำด้วยหินทราย ห่างกันเป็นระยะ ๆ
ลักษระปราสาทจะสร้างในแนวราบ เป็นปราสาทหลังเล็ก ๆ กลุ่มหนึ่ง ตรงทางเข้าตัวปราสาทที่มีโคปุระ มีนางอัปราและเทพบุตร
ประดับอยู่รอบปราสาท ภาพแกะสลักส่วนมากจะเป็นเรื่องราวใน มหากาพย์รามายาณะ หรือที่รู้จักกันคือ รามเกียร์ติ นั่นเอง
กึ่งกลางระหว่างทางเดิน จากโคปุระชั้นนอก จะมีอาคารอยู่สองหลัง ตั้งอยู่ด้านซ้ายกับด้านขวา สันนิษฐานว่าเป็น พลับพลาเปลี้องเครื่อง
ใช้เป็นที่ชำระร่างกายและเปลี่ยนชุดก่อนจะเข้าสู่เขต เทวาลัยชั้นใน
ภาพบนน่าจะเป็น พลับพลาเครื่องด้านขวา ส่วนภาพล่างน่าจะเป็น พลับพลาเปลี้องเครื่องด้านซ้ายค่ะ
ตอนถ่ายไม่ค่อยได้ใส่ใจนัก เพิ่งจะมารู้ว่าเป็น พลับพลาเปลื้องเครื่อง เอาตอนหาข้อมูลประกอบบล็อกนี่แหละ แหะ
หากผิดพลาดประการใด ขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วยค่ะ
คำว่า "บันทาย" แปลว่า ป้อม ส่วนคำว่า "สรี" แปลว่า สตรี หรือ ความงดงาม บันทายสรี แปลว่า เทวาลัยแห่งสตรี
หรือ เทวาลัยที่อ่อนช้อยราวอิสตรี ก็ว่าได้
ก่อนจะถึงโคปุระชั้นใน มี สระบารายขนาดเล็ก ล้อมรอบเทวาลัย กินพื้นที่อ้อมไปถึงกลุ่มปราสาทชั้นใน ซึ่งเปรียบเสมือน
มหาสมุทรทั้งสี่ทิศที่ล้อมรอบเขาพระสุเมรุ โคปุระชั้นที่ 3 ถัดจากสระน้ำบารายขนาดเล็ก จะมีลักษณะคล้ายที่ ปราสาทเขาพระวิหาร
ปราสาทบันทายสรี เป็น ปราสาทนอกเมืองพระนคร ส่วน ปราสาทบายน ปราสาทตาพรหม และ นครวัด เป็น ปราสาทในพระนคร
ปราสาทบันทายสรี เป็นปราสาทขนาดเล็ก แต่มีรายละเอียดมากมาย เป็น ปราสาทเก่าแก่ ก่อน ยุคนครวัด แต่ก็งดงามที่สุด
ในบรรดาปราสาทหิน ทั้งหลายในอาณาจักรเขมรโบราณ
ก้าวข้ามโคปุระชั้นใน (ที่ 3) จังหวะปลอดคนพอดีเลยขอ น้องมี ถ่ายรูปให้ เพื่อเป็นหลักฐานว่า ได้มาถึง
เกือบใจกลางของปราสาทบันทายสรีแล้ว^^
ปราสาทหินส่วนใหญ่ในเมืองพระนคร ไม่ว่าจะเป็น นครวัด หรือ กลุ่มปราสาทนครธม ล้วนสร้างไม่เสร็จ
แต่ ปราสาทบันทายสรี นับว่าสร้างเสร็จสมบูรณ์ ไม่เหลือที่ว่างใด ๆ ให้คนรุ่นต่อมาทำสิ่งใดเพิ่มเติมได้เลย
เหนือบันไดทางขึ้นปรางค์ทั้งสามองค์ จะมี ทวารบาลรูปอมนุษย์ แกะรูปลอยนั่งคุกเข่าอยู่สองข้างประตู มี ตัวเป็นมนุษย์ แต่
หัวเป็นอสูร วานร ครุฑ และ สิงห์ และที่เห็นอยู่ที่ปราสาทบันทายสรีนี้ เป็นเพียงของจำลองเท่านั้น ของจริงถูกขโมยไปเสียส่วนใหญ่
ที่เหลือเก็บไว้ใน พิพิธภัณฑ์ที่กรุงพนมเปญ นี่ขนาดจำลอง ยังถูกทุบเพื่อค้นหาสมบัติที่เข้าใจว่ามีอยู่ด้านใน
และนี่ค่ะ หน้าบันของบรรณาลัยองค์ใต้ (ภาพด้านล่าง)
เป็น ภาพทศกัฑฐ์โยกเขาไกรลาส เพื่อทดสอบความเพียรของพระศิวะ ขณะกำลังเข้าฉาน จะเห็นภาพฝูงสัตว์ในป่าหิมพานต์แตกตื่น
และภาพพระอุมานั่งอยู่บนตักพระศิวะ แต่พระศิวะไม่ได้หลุดจากฌาน เป็น ภาพสลักที่สวยงามที่สุดภาพหนึ่ง ของ ปราสาทบันทายสรี
เพ่งมองกันหน่อยนะคะ ภาพจากเลนส์ 10-20 mm. เล็งใกล้ที่สุดได้แค่นี้ค่ะ ทั้ง ๆ ที่มีเลนส์ 18-135 อยู่ในเป้ด้านหลัง
แต่ไม่มีจังหวะและเวลาให้เปลี่ยนเลยค่ะ อันที่จริงมันก็มีความขี้เกียจเปลี่ยนเลนส์อย่างไม่น่าให้อภัยปนอยู่ด้วย แหะ
โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ลวดลายพรรณพฤกษา และ ลวดลายก้านขด ล้วนมีความละเอียดและคมบางราวกับกลีบดอก
และใบไม้จะลอดเด่นออกมา นอกจากนี้ รูปจำหลักที่เป็น ภาพเทวดา และ สัตว์ ก็มีความประณีตเป็นพิเศษเช่นกัน
ภายในอาณาเขตกำแพงสี่เหลี่ยมของโคปุระชั้น 4 ด้านใน ล้อมรอบด้วยสิ่งก่อสร้าง สำคัญคือ ปรางค์สามองค์ มณฑป
บรรณาลัยองค์เหนือและองค์ใต้ ปรางค์สามองค์และมณฑปตั้งอยู่บนฐานเดียวกัน ยกสูงราว 120 เซนติเมตร
ปัจจุบันมีเชือกกั้น ไม่ให้นักท่องเที่ยวเข้าไปบริเวณภายใน ยืนชมที่โคปุระที่ 4 และบริเวณด้านนอกเท่านั้น
ปราสาทบันทายสรี หันหน้าไปทางทิศตะวันออก เช่นเดียวกับปราสาทหินส่วนใหญ่ เวลาที่ควรจะมาชมปราสาทบันทายสรี
ควรจะมาก่อน 10 เช้า หรือไม่ควรจะเป็น หลังบ่ายสามโมง แสงแดดอ่อนจะสาดจับหินทรายสีชมพูให้สวยงามยิ่งขึ้น
นี่เป็นภาพด้านหลัง อยู่ทิศตะวันตก เป็นโคปุระทิศตะวันตก ที่ล้อมรอบกลุ่มปรางค์ไว้ อยู่แนวเดียวกับกลุ่มโคปุระชั้นที่สองค่ะ
ก่อนจะอำลา รัตนชาติแห่งศิลปะเขมร ขออีกซักภาพจากมุมด้านหลัง ประทับใจจริง ๆ ค่ะ แม้จะไม่ค่อยมีความรู้ และ
สนใจเรื่องประวัติศาสตร์มากนัก แต่เมื่อในมาเห็นกลุ่มปราสาทที่สร้างจากหินทรายสีชมพูและแกะสลักลวดลายได้งดงามสุดยอดแบบนี้
ทำเอาใจมันอยากจะเรียนรู้และศึกษาประวัติศาสตร์จริงจังขึ้นมาเลย
นี่เป็นภาพ มุมด้านทิศใต้ ของปราสาทบันทายสรี ตอนเดินวนกลับไปยังทิศตะวันออก อันเป็นประตูทางเข้าของตัวปราสาท
มีสระน้ำล้อมรอบ ยามตะวันคล้อยบ่าย สวยงามจริง ๆ ค่ะ
รูปสุดท้ายจริง ๆ อดที่จะวิ่งย้อนกลับมาถ่ายอีกรูป ก่อนจะวิ่งขึ้นรถเป็นคนสุดท้าย (อีกจนได้)
เพื่อน ๆ ที่ยังไม่เคยมาและคิดจะมาเที่ยว ปราสาทบันทายสรี ถ้าเป็นไปได้ แนะนำให้ศึกษาข้อมูลมาก่อน เพราะมีอะไรให้เห็น
ให้สัมผัส จริง ๆ ค่ะ เห็นเป็นปราสาทเล็ก ๆ แบบนี้ เล็กแต่ก็พริกขี้หนู เลยละ
ที่มาส่วนใหญ่ของข้อมูล : คู่มือนำเที่ยว สำนักพิมพ์สารคดี นายรอบรู้
ขอบคุณทุกคนที่แวะมาทักทายกัน หวังว่าเรื่องราว รูปภาพ และเนื้อหา (สาระได้น้อย) จะเป็นประโยชน์ สร้างแรงจูงใจ
ให้เพื่อน ๆ ไปเที่ยว ไปชมความยิ่งใหญ่ มหัศจรรย์ใจในความอลังการงานสร้างของ 1 ใน 7 สิ่ง มหัศจรรย์ของโลก ด้วยกัน
ตอนหน้าจะลง มนตราศิลาทราย ตอน นครวัด สุดยอดเทวสถานของอาณาจักรเขมร @ นครวัด นครธม : กัมพูชา ให้ชมกันค่ะ^^
ปราสาทบันทายสรี มนตราศิลาทราย (3) @นครวัด นครธม : กัมพูชา
ความเดิมตอนที่แล้วค่ะ
โตนเลสาบ แก้มลิงธรรมชาติของคนเขมร http://ppantip.com/topic/30420230
ปราสาทบายน มนตราศิลาทราย (1) http://ppantip.com/topic/30432009
ปราสาทตาพรหม มนตราศิลาทราย (2) http://ppantip.com/topic/30448730
อิ่มท้องมื้อเที่ยงยามบ่าย ถ่วงหนังตาดีแท้ แต่ก็ไม่ทำให้ความตื่นเต้น ในการชมศิลปะกรรม ประติมากรรม โบราณสถาน
ที่มีชื่อเสียงก้องโลกลดน้อยลงไปเลย ครึ่งเช้าเป็น ปราสาทบายน กับ ปราสาทตาพรหม ครึ่งบ่ายเป็น ปราสาทบันทายสรี กับ นครวัด
เริ่มจาก ปราสาทบันทายสรี (Banteay Srei) ปราสาทที่ได้ชื่อว่า เป็น รัตนชาติแห่งศิลปะเขมร เป็นยังไงนั้น เราไปดูกันค่ะ
รถนำเที่ยวจะจอดให้ลงตรงลานจอดรถด้านนอก แล้วให้เดินเข้าไปด้านใน ประมาณ 1 กิโลเมตร
(กะเอาน่ะคะ เป็นคนกะระยะทางไม่ค่อยจะถูกซะด้วย) แม้ทางเดินเข้าจะเป็นถนนดินแดง แต่ก็เป็นดินที่อัดแน่น
ไม่เป็นฝุ่นละอองเหมือนทางเข้า ปราสาทตาพรหม
เดินตรงไปเลี้ยวซ้าย ก็จะเจอ ด่านตรวจกิ๊บเก๋ แบบนี้ ขอดูบัตรประชาชนคนเขมรที่เราทำไว้ ว่ามีใบหน้าตรงกับเจ้าของบัตรรึเปล่า
ฉันยื่นบัตรให้ดู พร้อมส่งยิ้มแบบ นางสาวสยาม ณ เมืองยิ้ม เต็มที่ น้องเจ้าหน้าที่เค้ามองหน้าสลับไปมาแล้วบอกว่า
"โอว..เหมือน ๆ เชิญ ๆ" ^^
ตั้งแต่ชมมาสองปราสาทตอนเช้า เพิ่งจะเจอปราสาทนี้ปราสาทแรก ที่มี เจ้าหน้าที่ตรวจบัตรจริงจัง ว่าใบหน้าบนบัตรจะตรงกับ
เจ้าของบัตรรึเปล่า
จากด่านเดินเข้าไปอีกนิดหน่อย ก็จะเห็น ปราสาทบันทายสรี ลิบ ๆ ละค่ะ มาเที่ยวปราสาทที่ได้ชื่อว่าเป็นสุดยอดของศิลปะเขมรทั้งที
ก็ต้องรู้ประวัติ ความเป็นมาของ ปราสาทบันทายสรี กันซักเล็กน้อย เพื่อที่เราจะได้ดื่มด่ำกับสิ่งที่ได้สัมผัสอย่างเต็มที่ เนอะ..
ปราสาทบันทายสรี สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ.1510 ในสมัยของ พระเจ้าราเชนทรวรมัน เพื่ออุทิศถวานแด่พระอินศวร
โดยมีพราหมณ์ใหญ่ที่ชื่อ คุรุยัชญวราหะ เป็นผู้สร้าง (พระเจ้าราเชนทรวรมัน เป็นพระราชบิดาของ พระเจ้าชัยวรมันที่ 5)
ปราสาทบันทายสรี สร้างขึ้นด้วย หินทรายสีชมพูเนื้อละเอียด การจำหลักลายบนหินทรายงดงาม ละเอียดลออ
อย่างไม่มีปราสาทใดเหมือน จนได้รับการขนาดนามว่า เป็นปราสาทแห่งความรัก
จากความละเอียดงดงามนี่เอง นักประวัติศาสตร์ศิลปะ แยกปราสาทหลังนี้ออกมาเป็นอีกรูปแบบหนึ่งของศิลปะเขมร เรียกว่า
"ศิลปะแบบบ็อนเตียซเร็ย" และยกย่องให้เป็น รัตนชาติแห่งศิลปะเขมร
นี่ค่ะ โคปุระชั้นที่ 1 เป็นโคปุระชั้นนอก (รูปด้านบน) หน้าบันรูปพระอินทร์ทรงช้างเอราวัณ ซึ่งถือเป็น เทพประจำทิศตะวันออก
ประเดิมรูปแรกเอาฤกษ์เอาชัยช่วงบ่าย จากการวาน น้องมี ให้ถ่ายรูปให้ ก่อนจะเดินประกบกลุ่มใหญ่ด้านในที่ล่วงหน้าไปไกลแล้ว
ผ่านโคปุระชั้นนอก ซึ่งมีกรอบประตูไม้ใหญ่ จะเป็นทางเดินศิลาแลงยาว 67 เมตร สองข้างทางปักด้วย เสานางเรียง
ทำด้วยหินทราย ห่างกันเป็นระยะ ๆ
ลักษระปราสาทจะสร้างในแนวราบ เป็นปราสาทหลังเล็ก ๆ กลุ่มหนึ่ง ตรงทางเข้าตัวปราสาทที่มีโคปุระ มีนางอัปราและเทพบุตร
ประดับอยู่รอบปราสาท ภาพแกะสลักส่วนมากจะเป็นเรื่องราวใน มหากาพย์รามายาณะ หรือที่รู้จักกันคือ รามเกียร์ติ นั่นเอง
กึ่งกลางระหว่างทางเดิน จากโคปุระชั้นนอก จะมีอาคารอยู่สองหลัง ตั้งอยู่ด้านซ้ายกับด้านขวา สันนิษฐานว่าเป็น พลับพลาเปลี้องเครื่อง
ใช้เป็นที่ชำระร่างกายและเปลี่ยนชุดก่อนจะเข้าสู่เขต เทวาลัยชั้นใน
ภาพบนน่าจะเป็น พลับพลาเครื่องด้านขวา ส่วนภาพล่างน่าจะเป็น พลับพลาเปลี้องเครื่องด้านซ้ายค่ะ
ตอนถ่ายไม่ค่อยได้ใส่ใจนัก เพิ่งจะมารู้ว่าเป็น พลับพลาเปลื้องเครื่อง เอาตอนหาข้อมูลประกอบบล็อกนี่แหละ แหะ
หากผิดพลาดประการใด ขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วยค่ะ
คำว่า "บันทาย" แปลว่า ป้อม ส่วนคำว่า "สรี" แปลว่า สตรี หรือ ความงดงาม บันทายสรี แปลว่า เทวาลัยแห่งสตรี
หรือ เทวาลัยที่อ่อนช้อยราวอิสตรี ก็ว่าได้
ก่อนจะถึงโคปุระชั้นใน มี สระบารายขนาดเล็ก ล้อมรอบเทวาลัย กินพื้นที่อ้อมไปถึงกลุ่มปราสาทชั้นใน ซึ่งเปรียบเสมือน
มหาสมุทรทั้งสี่ทิศที่ล้อมรอบเขาพระสุเมรุ โคปุระชั้นที่ 3 ถัดจากสระน้ำบารายขนาดเล็ก จะมีลักษณะคล้ายที่ ปราสาทเขาพระวิหาร
ปราสาทบันทายสรี เป็น ปราสาทนอกเมืองพระนคร ส่วน ปราสาทบายน ปราสาทตาพรหม และ นครวัด เป็น ปราสาทในพระนคร
ปราสาทบันทายสรี เป็นปราสาทขนาดเล็ก แต่มีรายละเอียดมากมาย เป็น ปราสาทเก่าแก่ ก่อน ยุคนครวัด แต่ก็งดงามที่สุด
ในบรรดาปราสาทหิน ทั้งหลายในอาณาจักรเขมรโบราณ
ก้าวข้ามโคปุระชั้นใน (ที่ 3) จังหวะปลอดคนพอดีเลยขอ น้องมี ถ่ายรูปให้ เพื่อเป็นหลักฐานว่า ได้มาถึง
เกือบใจกลางของปราสาทบันทายสรีแล้ว^^
ปราสาทหินส่วนใหญ่ในเมืองพระนคร ไม่ว่าจะเป็น นครวัด หรือ กลุ่มปราสาทนครธม ล้วนสร้างไม่เสร็จ
แต่ ปราสาทบันทายสรี นับว่าสร้างเสร็จสมบูรณ์ ไม่เหลือที่ว่างใด ๆ ให้คนรุ่นต่อมาทำสิ่งใดเพิ่มเติมได้เลย
เหนือบันไดทางขึ้นปรางค์ทั้งสามองค์ จะมี ทวารบาลรูปอมนุษย์ แกะรูปลอยนั่งคุกเข่าอยู่สองข้างประตู มี ตัวเป็นมนุษย์ แต่
หัวเป็นอสูร วานร ครุฑ และ สิงห์ และที่เห็นอยู่ที่ปราสาทบันทายสรีนี้ เป็นเพียงของจำลองเท่านั้น ของจริงถูกขโมยไปเสียส่วนใหญ่
ที่เหลือเก็บไว้ใน พิพิธภัณฑ์ที่กรุงพนมเปญ นี่ขนาดจำลอง ยังถูกทุบเพื่อค้นหาสมบัติที่เข้าใจว่ามีอยู่ด้านใน
และนี่ค่ะ หน้าบันของบรรณาลัยองค์ใต้ (ภาพด้านล่าง)
เป็น ภาพทศกัฑฐ์โยกเขาไกรลาส เพื่อทดสอบความเพียรของพระศิวะ ขณะกำลังเข้าฉาน จะเห็นภาพฝูงสัตว์ในป่าหิมพานต์แตกตื่น
และภาพพระอุมานั่งอยู่บนตักพระศิวะ แต่พระศิวะไม่ได้หลุดจากฌาน เป็น ภาพสลักที่สวยงามที่สุดภาพหนึ่ง ของ ปราสาทบันทายสรี
เพ่งมองกันหน่อยนะคะ ภาพจากเลนส์ 10-20 mm. เล็งใกล้ที่สุดได้แค่นี้ค่ะ ทั้ง ๆ ที่มีเลนส์ 18-135 อยู่ในเป้ด้านหลัง
แต่ไม่มีจังหวะและเวลาให้เปลี่ยนเลยค่ะ อันที่จริงมันก็มีความขี้เกียจเปลี่ยนเลนส์อย่างไม่น่าให้อภัยปนอยู่ด้วย แหะ
โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ลวดลายพรรณพฤกษา และ ลวดลายก้านขด ล้วนมีความละเอียดและคมบางราวกับกลีบดอก
และใบไม้จะลอดเด่นออกมา นอกจากนี้ รูปจำหลักที่เป็น ภาพเทวดา และ สัตว์ ก็มีความประณีตเป็นพิเศษเช่นกัน
ภายในอาณาเขตกำแพงสี่เหลี่ยมของโคปุระชั้น 4 ด้านใน ล้อมรอบด้วยสิ่งก่อสร้าง สำคัญคือ ปรางค์สามองค์ มณฑป
บรรณาลัยองค์เหนือและองค์ใต้ ปรางค์สามองค์และมณฑปตั้งอยู่บนฐานเดียวกัน ยกสูงราว 120 เซนติเมตร
ปัจจุบันมีเชือกกั้น ไม่ให้นักท่องเที่ยวเข้าไปบริเวณภายใน ยืนชมที่โคปุระที่ 4 และบริเวณด้านนอกเท่านั้น
ปราสาทบันทายสรี หันหน้าไปทางทิศตะวันออก เช่นเดียวกับปราสาทหินส่วนใหญ่ เวลาที่ควรจะมาชมปราสาทบันทายสรี
ควรจะมาก่อน 10 เช้า หรือไม่ควรจะเป็น หลังบ่ายสามโมง แสงแดดอ่อนจะสาดจับหินทรายสีชมพูให้สวยงามยิ่งขึ้น
นี่เป็นภาพด้านหลัง อยู่ทิศตะวันตก เป็นโคปุระทิศตะวันตก ที่ล้อมรอบกลุ่มปรางค์ไว้ อยู่แนวเดียวกับกลุ่มโคปุระชั้นที่สองค่ะ
ก่อนจะอำลา รัตนชาติแห่งศิลปะเขมร ขออีกซักภาพจากมุมด้านหลัง ประทับใจจริง ๆ ค่ะ แม้จะไม่ค่อยมีความรู้ และ
สนใจเรื่องประวัติศาสตร์มากนัก แต่เมื่อในมาเห็นกลุ่มปราสาทที่สร้างจากหินทรายสีชมพูและแกะสลักลวดลายได้งดงามสุดยอดแบบนี้
ทำเอาใจมันอยากจะเรียนรู้และศึกษาประวัติศาสตร์จริงจังขึ้นมาเลย
นี่เป็นภาพ มุมด้านทิศใต้ ของปราสาทบันทายสรี ตอนเดินวนกลับไปยังทิศตะวันออก อันเป็นประตูทางเข้าของตัวปราสาท
มีสระน้ำล้อมรอบ ยามตะวันคล้อยบ่าย สวยงามจริง ๆ ค่ะ
รูปสุดท้ายจริง ๆ อดที่จะวิ่งย้อนกลับมาถ่ายอีกรูป ก่อนจะวิ่งขึ้นรถเป็นคนสุดท้าย (อีกจนได้)
เพื่อน ๆ ที่ยังไม่เคยมาและคิดจะมาเที่ยว ปราสาทบันทายสรี ถ้าเป็นไปได้ แนะนำให้ศึกษาข้อมูลมาก่อน เพราะมีอะไรให้เห็น
ให้สัมผัส จริง ๆ ค่ะ เห็นเป็นปราสาทเล็ก ๆ แบบนี้ เล็กแต่ก็พริกขี้หนู เลยละ
ที่มาส่วนใหญ่ของข้อมูล : คู่มือนำเที่ยว สำนักพิมพ์สารคดี นายรอบรู้
ขอบคุณทุกคนที่แวะมาทักทายกัน หวังว่าเรื่องราว รูปภาพ และเนื้อหา (สาระได้น้อย) จะเป็นประโยชน์ สร้างแรงจูงใจ
ให้เพื่อน ๆ ไปเที่ยว ไปชมความยิ่งใหญ่ มหัศจรรย์ใจในความอลังการงานสร้างของ 1 ใน 7 สิ่ง มหัศจรรย์ของโลก ด้วยกัน
ตอนหน้าจะลง มนตราศิลาทราย ตอน นครวัด สุดยอดเทวสถานของอาณาจักรเขมร @ นครวัด นครธม : กัมพูชา ให้ชมกันค่ะ^^