หลังจากจบการแสดงแสง สี เสียงที่ปราสาทเมืองต่ำ ในค่ำคืนที่ผ่านมา เราก็กลับไปนอนที่ นางรอง บัดเจท แอนด์ บูทิค โฮเทล (โรงแรมนางรอง) ที่เราบุ๊กกิ้งค์เอาไว้อย่างสิ้นเรี่ยวแรง อาจจะเพราะอากาศที่ค่อนข้างร้อนในตอนกลางวัน แต่กลับเย็นสบายในตอนกลางคืน ทำให้เราหลับกันสนิทมาก สนิทจนเกือบตื่นไม่ทันเวลาที่นัดกับคนขับรถไว้
ทำให้กว่าจะระเห็ดออกจากห้องได้ เสียเวลาอักโขอยู่ แต่ก็ถือว่าทันเวลา แถมยังได้เดินตลาดเช้าอีกนิดหน่อย กับพอทันซื้อไก่ย่างกินลองท้องช่วงเช้าอีกด้วย
น้องเดือนกำลังอธิบายเกี่ยวกับศิลปะขอมสมัยต่าง ๆ
และเมื่อเรามาถึงอุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้งแล้ว ครั้งจะให้เราเดินตัวปลิวเปล่า ๆ แบบไม่มีความรู้ขั้นไปดูเฉพ ๆ ก็กระไร เราแวะทักน้องเดือน ซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ประชาสัมพันธ์ของอุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้ง และเป็นธุระดูแลให้ความรู้เกี่ยวกับประวัติศาสตร์ ศิลปะและโบราณสถานแห่งนี้กับเราในครั้งนี้ด้วย
โมเดลปราสาทหินพนมรุ้ง
ปราสาทพนมรุ้งตั้งอยู่บนภูเขาไฟที่มอดแล้ว มีการพบจารึกภาษาเขมรที่ปรากฏถึงชื่อ “วฺนํรุง” แปลว่า ภูเขาอันกว้างใหญ่ ซึ่งต่อมาคงมีการแผลงเป็นพนมรุ้งในปัจจุบัน จากข้อความในจารึกที่กล่าวสรรเสริญพระเกียรติของพระเจ้าราเชนทรวรมันที่ 2 และรูปแบบของปราสาทอิฐ 2 องค์ ที่ตั้งอยู่ใกล้กับปราสาทประธาน ทำให้ทราบได้ว่าบนยอดเขาพนมรุ้งนี้น่าจะมีศาสนสถานมาแล้วอย่างน้อยตั้งแต่ราวพุทธศตวรรษที่ 15 และคงใช้งานต่อเนื่องเรื่อยมาเห็นได้จากยังคงมีการสร้างอาคารเพิ่มเติมมาเป็นระยะ จนในกระทั่งในราวกลางพุทธศตวรรษที่ 17 จึงมีการสร้างปราสาทแห่งนี้ขึ้นใหม่ให้ขนาดใหญ่โตขึ้นดังที่ปรากฏในปัจจุบัน
ทางดำเนิน ปักล้อมด้วยเสานางเรียง
มีการสันนิษฐานถึงผู้สร้างปราสาทพนมรุ้งในช่วงกลางพุทธศตวรรษที่ 17 ว่าน่าจะได้แก่ นเรนทราทิตย์แห่งราชวงศ์มหิธรปุระ (เป็นราฃวงศ์ที่น่าจะมีศูนย์กลางอยู่บริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่างของไทย) จากข้อความที่ปรากฏในจารึกพรมรุ้งหลักที่ 7 และหลักที่ 9 นเรนทราทิตย์พระองค์นี้ทรงเป็นโอรสของพระนางภูปตีนทรลักษมี คงเป็นกษัตริย์ที่ปกครองบริเวณรอบๆ เขาพนมรุ้ง ในช่วงท้ายชีวิตของพระองค์ได้สละราชสมบัติและมาบำเพ็ญพรตอยู่บนปราสาทพนมรุ้งที่พระองค์สร้างขึ้น
จากจารึกและภาพสลักเล่าเรื่องต่างๆ ที่ปรากฏบนปราสาทแสดงห็เห็นว่า ปราสาทพนมรุ้งสร้างขึ้นในลัทธิไศวนิกาย ลัทธิหนึ่งในศาสนาพราหมณ์ที่นับถือพระศิวเป็นใหญ่ เมื่อเป็นดังนั้นแล้วการสร้างปราสาทบนเขาพนมรุ้งจึงเปรียบเสมือนเทวาลัยบนเขาไกรลาสที่ประทับของศิวะด้วยนั่นเอง
รูปแบบงานศิลปกรรมส่วนใหญ่แล้วสร้างขึ้นในช่วงกลางพุทธศตวรรษที่ 17 เป็นต้นมา ตรงกับศิลปะแบบนครวัด มีการสร้างอาคารหรือสิ่งก่อสร้างเป็นระยะตามทางเดินขึ้นสู่ปราสาทประธาน เช่น สะพานนาคราช ทางเดินปักเสานางเรียง ชาลานาครูปกากบาท ก่อนที่จะเข้าสู่โคปุระ และปราสาทประธานที่อยู่ภายในระเบียงคด ที่โคปุระ ระเบียงคด และองค์ปราสาทประธาน พบภาพสลักเล่าเรื่องต่างๆ มากมาย ซึ่งส่วนใหญ่อยู่ตามหน้าบันกับทับหลัง มีทั้งภาพในไศวนิกาย ไวษณพนิกาย รามายณะ รวมทั้งภาพชีวประวัติของนเรนทราทิตย์ เป็นต้น
เสานางเรียง
เสานางเรียงสลักจากหินทราย ลักษณะของเสาเป็นแท่งสี่เหลี่ยม ส่วนยอดสลักคล้ายรูปกลีบบัวแต่อยู่ในผังสี่เหลี่ยม
ทางดำเนินนี้ไปยังบันไดทางขึ้นสู่ปราสาทประธาน จากภาพจะเห็นทางดำเนินที่ทอดยาวเป็นเส้นตรง พื้นปูด้วยศิลาแลง ระหว่างทางตกแต่งด้วยเสานางเรียงสลักจากหินทราย ลักษณะของเสาเป็นแท่งสี่เหลี่ยม ส่วนยอดสลักคล้ายรูปกลีบบัวแต่อยู่ในผังสี่เหลี่ยม
ถัดไปเป็นชาลานาครูปกากบาท ลักษณะของชาลานาคอยู่ในผังรูปกากบาท ฐานล่างยกพื้นสูงด้วยเสาหินทราย บริเวณทางขึ้นตกแต่งด้วยอัฒจันทร์ ที่ปลายด้านแต่ละด้านสลักเป็นรูปเศียรนาคจึงทำให้ไม่มีหาง มีการลดระดับ 2 ชั้น ทำให้ราวสะพานรูปเศียรนาคเพิ่มขึ้นมาอีกหนึ่งชั้นด้วย เศียรนาคมีรัศมีต่อเป็นแผ่นเดียวขนาดใหญ่ ที่รัศมีมีการสลักลวดลายอยู่ภายในเส้นขนานตามทางยาวของพังพานนาค ตามแบบนครวัด รวมไปถึงการยกลำตัวนาคด้วยฐานเสาทรงสี่เหลี่ยมตั้งเป็นระยะด้วย ลักษณะดังกล่าวปรากฏมาก่อนแล้วที่ปราสาทพิมาย
แผนผังที่สร้างขึ้นบนแนวสันเขานี้ มักนิยมสร้างแผนผังแบบมุ่งหาจุดศูนย์กลาง ซึ่งประกอบด้วยชั้นล่างสุด มักเป็นทางดำเนิน หรือชาลานาครูปกากบาท ถัดขึ้นไปเป็นส่วนฐานที่ลดหลั่นกันเป็นชั้นๆ ก่อทับแนวสันเขาตามธรรมชาติ จนกระทั่งถึงชั้นบนสุดที่มักมีแนวระเบียงคดล้อมรอบปราสาทประธาน
ชาลานาครูปกากบาท
ทางดำเนินนี้ถ่ายจากบันไดทางขึ้นสู่ปราสาทประธานไปยังทางดำเนิน ซึ่งสิ่งที่อยู่ใกล้กับภาพมากที่สุดก็คือชาลานาครูปกากบาท ลักษณะของชาลานาคอยู่ในผังรูปกากบาท ฐานล่างยกพื้นสูงด้วยเสาหินทราย บริเวณทางขึ้นตกแต่งด้วยอัฒจันทร์ ที่ปลายด้านแต่ละด้านสลักเป็นรูปเศียรนาคจึงทำให้ไม่มีหาง มีการลดระดับ 2 ชั้น ทำให้ราวสะพานรูปเศียรนาคเพิ่มขึ้นมาอีกหนึ่งชั้นด้วย เศียรนาคมีรัศมีต่อเป็นแผ่นเดียวขนาดใหญ่ ที่รัศมีมีการสลักลวดลายอยู่ภายในเส้นขนานตามทางยาวของพังพานนาค ตามแบบนครวัด รวมไปถึงการยกลำตัวนาคด้วยฐานเสาทรงสี่เหลี่ยมตั้งเป็นระยะด้วย ลักษณะดังกล่าวปรากฏมาก่อนแล้วที่ปราสาทพิมาย
การใช้นาคมาประดับชานชาลาทางเข้าปราสาทเช่นนี้ อาจจะเป็นการแสดงให้เห็นถึงการเข้าสู่โลกสวรรค์ เนื่องด้วยนาคเป็นสัญลักษณ์ของสะพานที่เชื่อมต่อระหว่างโลกมนุษย์กับโลกสวรรค์นั่นเอง
ชาลานาครูปกากบาท
บันไดปีกกา หน้าบันไดนาค
บันไดทางขึ้นสู่ปราสาทประธาน ที่ก่อเป็นแนวฐานหินทรายซ้อนลดหลั่นกัน 5 ชั้น เมื่อขึ้นถึงชั้นบนสุดจะพบกับโคปุระที่ล้อมรอบปราสาทประธานซึ่งถือเป็นจุดที่สำคัญที่สุดของศาสนสถาน
ชาลานาครูปกากบาท ลักษณะของชาลานาคอยู่ในผังรูปกากบาท ฐานล่างยกพื้นสูงด้วยเสาหินทราย ที่ปลายด้านแต่ละด้านสลักเป็นรูปเศียรนาคจึงทำให้ไม่มีหาง เศียรนาคมีรัศมีต่อเป็นแผ่นเดียวขนาดใหญ่ ที่รัศมีมีการสลักลวดลายอยู่ภายในเส้นขนานตามทางยาวของพังพานนาค ตามแบบนครวัด รวมไปถึงการยกลำตัวนาคด้วยฐานเสาทรงสี่เหลี่ยมตั้งเป็นระยะด้วย ลักษณะดังกล่าวปรากฏมาก่อนแล้วที่ปราสาทพิมาย ต่อจากนั้นมีบันไดทางขึ้นสู่ปราสาทประธาน ที่ก่อเป็นแนวฐานหินทรายซ้อนลดหลั่นกัน 5 ชั้น เมื่อขึ้นถึงชั้นบนสุดจะพบกับโคปุระที่ล้อมรอบปราสาทประธานซึ่งถือเป็นจุดที่สำคัญที่สุดของศาสนสถาน
แผนผังที่สร้างขึ้นบนแนวสันเขานี้ มักนิยมสร้างแผนผังแบบมุ่งหาจุดศูนย์กลาง ซึ่งประกอบด้วยชั้นล่างสุด มักเป็นทางดำเนิน หรือชาลานาครูปกากบาท ถัดขึ้นไปเป็นส่วนฐานที่ลดหลั่นกันเป็นชั้นๆ ก่อทับแนวสันเขาตามธรรมชาติ จนกระทั่งถึงชั้นบนสุดที่มักมีแนวระเบียงคดล้อมรอบปราสาทประธาน
ลายสลักรูปดอกบัว 8 กลีบ สลักอยู่ที่จุดกึ่งกลางทางเดินบนชาลานาครูปกากบาท แบบนูนต่ำ กลีบบัวสลักซ้อนกัน 2 ชั้น ปัจจุบันลายกลีบบัวลบเลือนไปพอสมควรแล้ว ลายสลักรูปดอกบัว 8 กลีบ นี้ เชื่อว่าเป็นสัญลักษณ์ของความอุดมสมบูรณ์
โคปุระด้านทิศตะวันออกนี้ ฐานชั้นล่างเป็นฐานบัวประดับแนวลวดบัวก่อด้วยหินทราย ผนังก่อด้วยหินทราย ทำเป็นอาคารหลังคาลด 2 ชั้น ลักษณะหลังคาสร้างเลียนแบบหลังคาเครื่องไม้ สันหลังคาประดับบราลี มีประตูทางเข้า 1 ทาง ที่ซุ้มประตูทางเข้านี้ ประดับซุ้มลด 1 ซุ้ม กรอบหน้าบันเป็นกรอบซุ้มแบบโค้งเข้าโค้งออก ปลายกรอบเป็นรูปนาคมีรัศมีและพังพานเป็นแผ่นเดียวกัน ตามแบบนครวัด
ตรงกลางหน้าบันสลักภาพอยู่ภายในกรอบรูปสามเหลี่ยมที่ปรากฏมาแล้วในศิลปะแบบบาปวน ถัดลงมาด้านล่างสุดของหน้าบันมีการสลักขื่อปลอมหักตั้งได้ฉากตามแบบนครวัด ทางด้านข้างของโคปุระมีแนวระเบียงคดต่อออกมาด้วยหินทราย ที่แนวระเบียงคดนี้มีซุ้มประตูด้านละ 1 ซุ้ม มีลักษณะคล้ายกับซุ้มประตูของโคปุระ ตลอดแนวโคปุระและระเบียงมีการสลักช่องหน้าต่างแต่เป็นหน้าต่างทึบ
ด้านหน้าโคปุระมีชาลานาครูปกากบาท ลักษณะของชาลานาคที่ปลายด้านแต่ละด้านเป็นรูปเศียรนาคจึงไม่มีหาง เศียรนาคมีการตกแต่งกระบังหน้าและรัศมีต่อเป็นแผ่นเดียวกันตามแบบนครวัด รวมไปถึงการยกลำตัวนาคด้วยฐานเสาทรงสี่เหลี่ยมตั้งเป็นระยะด้วย
ถัดลงมามีบ่อรูปสี่เหลี่ยม 4 บ่อ แบ่งออกเป็น 2 แถว บ่อน้ำอยู่ในผังรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส คล้ายกับที่ปราสาทพิมาย ด้านหลังโคปุระเห็นส่วนยอดของปราสาทประธานมีลักษณะเป็นยอดทรงพุ่มเนื่องจากมีการใช้กลีบขนุนแบบนาคปักที่มีรูปทรงเอนไปด้านหลังแทนการใช้ปราสาทจำลอง ทำให้กรอบนอกของส่วนยอดของปราสาทเป็นทรงพุ่ม ลักษณะดังกล่าวปรากฏมาก่อนแล้วที่ปราสาทพิมาย และได้รับความนิยมในสมัยนครวัดเป็นต้นมา ที่มุมประกอบตกแต่งด้วยกลีบขนุนสลักรูปทวารบาลหรือเทวดา ที่กลางด้านของช่องวิมานมีบันแถลงสลักเป็นรูปพระอินทร์ทรงช้างเอราวัณ ส่วนยอดของเครื่องบนเป็นรูปหม้อน้ำที่มีลักษณะคล้ายดอกบัวซ้อนกัน 3 ชั้น
ที่ซุ้มประตูทางเข้านี้ ประดับซุ้มลด 1 ซุ้ม กรอบหน้าบันเป็นกรอบซุ้มแบบโค้งเข้าโค้งออก ปลายกรอบเป็นรูปนาคมีรัศมีและพังพานเป็นแผ่นเดียวกัน ตามแบบนครวัด ตรงกลางหน้าบันสลักภาพอยู่ภายในกรอบรูปสามเหลี่ยมตามลักษณะแบบบาปวน ถัดลงมาด้านล่างสุดของหน้าบันมีการสลักขื่อปลอมหักตั้งได้ฉากตามแบบนครวัด
ทับหลังมีภาพเล่าเรื่องขนาดใหญ่ ด้านล่างมีรูปหน้ากาลจับขาสิงห์ หน้ากาลมีมือยื่นออกมาสืบทอดมาแล้วในสมัยบาปวน สิงห์ทั้ง 2 ข้าง คายท่อนพวงมาลัยออกมาปลายเป็นลายกระหนกม้วน ใต้ท่อนพวงมาลัยมีลายกระหนกม้วนซ้อนกันหลายชั้น ตามลักษณะนครวัด
[CR] ทริป บุรีรัมย์ 3 วัน 2 คืน ตอน :: วนรุง (พนมรุ้ง) วิไล ...... เทวาลัยแห่งเขาไกรลาส
ทำให้กว่าจะระเห็ดออกจากห้องได้ เสียเวลาอักโขอยู่ แต่ก็ถือว่าทันเวลา แถมยังได้เดินตลาดเช้าอีกนิดหน่อย กับพอทันซื้อไก่ย่างกินลองท้องช่วงเช้าอีกด้วย
มีการสันนิษฐานถึงผู้สร้างปราสาทพนมรุ้งในช่วงกลางพุทธศตวรรษที่ 17 ว่าน่าจะได้แก่ นเรนทราทิตย์แห่งราชวงศ์มหิธรปุระ (เป็นราฃวงศ์ที่น่าจะมีศูนย์กลางอยู่บริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่างของไทย) จากข้อความที่ปรากฏในจารึกพรมรุ้งหลักที่ 7 และหลักที่ 9 นเรนทราทิตย์พระองค์นี้ทรงเป็นโอรสของพระนางภูปตีนทรลักษมี คงเป็นกษัตริย์ที่ปกครองบริเวณรอบๆ เขาพนมรุ้ง ในช่วงท้ายชีวิตของพระองค์ได้สละราชสมบัติและมาบำเพ็ญพรตอยู่บนปราสาทพนมรุ้งที่พระองค์สร้างขึ้น
จากจารึกและภาพสลักเล่าเรื่องต่างๆ ที่ปรากฏบนปราสาทแสดงห็เห็นว่า ปราสาทพนมรุ้งสร้างขึ้นในลัทธิไศวนิกาย ลัทธิหนึ่งในศาสนาพราหมณ์ที่นับถือพระศิวเป็นใหญ่ เมื่อเป็นดังนั้นแล้วการสร้างปราสาทบนเขาพนมรุ้งจึงเปรียบเสมือนเทวาลัยบนเขาไกรลาสที่ประทับของศิวะด้วยนั่นเอง
รูปแบบงานศิลปกรรมส่วนใหญ่แล้วสร้างขึ้นในช่วงกลางพุทธศตวรรษที่ 17 เป็นต้นมา ตรงกับศิลปะแบบนครวัด มีการสร้างอาคารหรือสิ่งก่อสร้างเป็นระยะตามทางเดินขึ้นสู่ปราสาทประธาน เช่น สะพานนาคราช ทางเดินปักเสานางเรียง ชาลานาครูปกากบาท ก่อนที่จะเข้าสู่โคปุระ และปราสาทประธานที่อยู่ภายในระเบียงคด ที่โคปุระ ระเบียงคด และองค์ปราสาทประธาน พบภาพสลักเล่าเรื่องต่างๆ มากมาย ซึ่งส่วนใหญ่อยู่ตามหน้าบันกับทับหลัง มีทั้งภาพในไศวนิกาย ไวษณพนิกาย รามายณะ รวมทั้งภาพชีวประวัติของนเรนทราทิตย์ เป็นต้น
ถัดไปเป็นชาลานาครูปกากบาท ลักษณะของชาลานาคอยู่ในผังรูปกากบาท ฐานล่างยกพื้นสูงด้วยเสาหินทราย บริเวณทางขึ้นตกแต่งด้วยอัฒจันทร์ ที่ปลายด้านแต่ละด้านสลักเป็นรูปเศียรนาคจึงทำให้ไม่มีหาง มีการลดระดับ 2 ชั้น ทำให้ราวสะพานรูปเศียรนาคเพิ่มขึ้นมาอีกหนึ่งชั้นด้วย เศียรนาคมีรัศมีต่อเป็นแผ่นเดียวขนาดใหญ่ ที่รัศมีมีการสลักลวดลายอยู่ภายในเส้นขนานตามทางยาวของพังพานนาค ตามแบบนครวัด รวมไปถึงการยกลำตัวนาคด้วยฐานเสาทรงสี่เหลี่ยมตั้งเป็นระยะด้วย ลักษณะดังกล่าวปรากฏมาก่อนแล้วที่ปราสาทพิมายแผนผังที่สร้างขึ้นบนแนวสันเขานี้ มักนิยมสร้างแผนผังแบบมุ่งหาจุดศูนย์กลาง ซึ่งประกอบด้วยชั้นล่างสุด มักเป็นทางดำเนิน หรือชาลานาครูปกากบาท ถัดขึ้นไปเป็นส่วนฐานที่ลดหลั่นกันเป็นชั้นๆ ก่อทับแนวสันเขาตามธรรมชาติ จนกระทั่งถึงชั้นบนสุดที่มักมีแนวระเบียงคดล้อมรอบปราสาทประธาน
แผนผังที่สร้างขึ้นบนแนวสันเขานี้ มักนิยมสร้างแผนผังแบบมุ่งหาจุดศูนย์กลาง ซึ่งประกอบด้วยชั้นล่างสุด มักเป็นทางดำเนิน หรือชาลานาครูปกากบาท ถัดขึ้นไปเป็นส่วนฐานที่ลดหลั่นกันเป็นชั้นๆ ก่อทับแนวสันเขาตามธรรมชาติ จนกระทั่งถึงชั้นบนสุดที่มักมีแนวระเบียงคดล้อมรอบปราสาทประธานลายสลักรูปดอกบัว 8 กลีบ สลักอยู่ที่จุดกึ่งกลางทางเดินบนชาลานาครูปกากบาท แบบนูนต่ำ กลีบบัวสลักซ้อนกัน 2 ชั้น ปัจจุบันลายกลีบบัวลบเลือนไปพอสมควรแล้ว ลายสลักรูปดอกบัว 8 กลีบ นี้ เชื่อว่าเป็นสัญลักษณ์ของความอุดมสมบูรณ์โคปุระด้านทิศตะวันออกนี้ ฐานชั้นล่างเป็นฐานบัวประดับแนวลวดบัวก่อด้วยหินทราย ผนังก่อด้วยหินทราย ทำเป็นอาคารหลังคาลด 2 ชั้น ลักษณะหลังคาสร้างเลียนแบบหลังคาเครื่องไม้ สันหลังคาประดับบราลี มีประตูทางเข้า 1 ทาง ที่ซุ้มประตูทางเข้านี้ ประดับซุ้มลด 1 ซุ้ม กรอบหน้าบันเป็นกรอบซุ้มแบบโค้งเข้าโค้งออก ปลายกรอบเป็นรูปนาคมีรัศมีและพังพานเป็นแผ่นเดียวกัน ตามแบบนครวัดตรงกลางหน้าบันสลักภาพอยู่ภายในกรอบรูปสามเหลี่ยมที่ปรากฏมาแล้วในศิลปะแบบบาปวน ถัดลงมาด้านล่างสุดของหน้าบันมีการสลักขื่อปลอมหักตั้งได้ฉากตามแบบนครวัด ทางด้านข้างของโคปุระมีแนวระเบียงคดต่อออกมาด้วยหินทราย ที่แนวระเบียงคดนี้มีซุ้มประตูด้านละ 1 ซุ้ม มีลักษณะคล้ายกับซุ้มประตูของโคปุระ ตลอดแนวโคปุระและระเบียงมีการสลักช่องหน้าต่างแต่เป็นหน้าต่างทึบด้านหน้าโคปุระมีชาลานาครูปกากบาท ลักษณะของชาลานาคที่ปลายด้านแต่ละด้านเป็นรูปเศียรนาคจึงไม่มีหาง เศียรนาคมีการตกแต่งกระบังหน้าและรัศมีต่อเป็นแผ่นเดียวกันตามแบบนครวัด รวมไปถึงการยกลำตัวนาคด้วยฐานเสาทรงสี่เหลี่ยมตั้งเป็นระยะด้วยถัดลงมามีบ่อรูปสี่เหลี่ยม 4 บ่อ แบ่งออกเป็น 2 แถว บ่อน้ำอยู่ในผังรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส คล้ายกับที่ปราสาทพิมาย ด้านหลังโคปุระเห็นส่วนยอดของปราสาทประธานมีลักษณะเป็นยอดทรงพุ่มเนื่องจากมีการใช้กลีบขนุนแบบนาคปักที่มีรูปทรงเอนไปด้านหลังแทนการใช้ปราสาทจำลอง ทำให้กรอบนอกของส่วนยอดของปราสาทเป็นทรงพุ่ม ลักษณะดังกล่าวปรากฏมาก่อนแล้วที่ปราสาทพิมาย และได้รับความนิยมในสมัยนครวัดเป็นต้นมา ที่มุมประกอบตกแต่งด้วยกลีบขนุนสลักรูปทวารบาลหรือเทวดา ที่กลางด้านของช่องวิมานมีบันแถลงสลักเป็นรูปพระอินทร์ทรงช้างเอราวัณ ส่วนยอดของเครื่องบนเป็นรูปหม้อน้ำที่มีลักษณะคล้ายดอกบัวซ้อนกัน 3 ชั้นที่ซุ้มประตูทางเข้านี้ ประดับซุ้มลด 1 ซุ้ม กรอบหน้าบันเป็นกรอบซุ้มแบบโค้งเข้าโค้งออก ปลายกรอบเป็นรูปนาคมีรัศมีและพังพานเป็นแผ่นเดียวกัน ตามแบบนครวัด ตรงกลางหน้าบันสลักภาพอยู่ภายในกรอบรูปสามเหลี่ยมตามลักษณะแบบบาปวน ถัดลงมาด้านล่างสุดของหน้าบันมีการสลักขื่อปลอมหักตั้งได้ฉากตามแบบนครวัดทับหลังมีภาพเล่าเรื่องขนาดใหญ่ ด้านล่างมีรูปหน้ากาลจับขาสิงห์ หน้ากาลมีมือยื่นออกมาสืบทอดมาแล้วในสมัยบาปวน สิงห์ทั้ง 2 ข้าง คายท่อนพวงมาลัยออกมาปลายเป็นลายกระหนกม้วน ใต้ท่อนพวงมาลัยมีลายกระหนกม้วนซ้อนกันหลายชั้น ตามลักษณะนครวัด
ดูแผนที่ขนาดใหญ่ขึ้น