เที่ยวไปกินไป by laser @ สุรินทร์-บุรีรัมย์ : 4 ปราสาทบุรีรัมย์ ลักษณาขาหมู น้ำหมักเพื่อสุขภาพ
เป็นตอนที่ 4 ต่อจาก "เที่ยวไปกินไป by laser @ สุรินทร์-บุรีรัมย์ : 1 บุญกฐินตกค้าง 36 วัด"
https://ppantip.com/topic/37129297
และ "เที่ยวไปกินไป by laser @ สุรินทร์-บุรีรัมย์ : 2 กลุ่มปราสาทตาเมือน"
https://ppantip.com/topic/37139775
และ "เที่ยวไปกินไป by laser @ สุรินทร์-บุรีรัมย์ : 3 ตลาดบุรีรัมย์"
https://ppantip.com/topic/37158610
ตามกำหนดการเที่ยวบุรีรัมย์ เช้าเดินทางไปวนอุทยานภูเขาไฟกระโดง
คห.3 "เที่ยวไปกินไป by laser @ บุรีรัมย์ : 3 ปราสาทสายฟ้า, ภูเขาไฟกระโดง, บ้านสวนฟรุ้ตการ์เด้นส์"
https://ppantip.com/topic/36784701
แต่ไปถึงลานจอดรถแล้วเปลี่ยนใจตัดออก เพราะเกรงว่าจะไม่ทันสองวัดท้ายสุด
เคยมาแล้วจึงไม่ได้ติดใจอะไร จากวนอุทยานภูเขาไฟกระโดง ลงมาทางทิศใต้ของตัวเมืองบุรีรัมย์
ประมาณ 77 กิโลเมตร คือ ตำบลตาเป๊ก อำเภอเฉลิมพระเกียรติ
9.20 น.ถึงอุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้ง
ฝนเริ่มตกพรำ ๆ ใช้ทั้งร่มที่นำมาเอง และร่มที่ทางผู้จัดเตรียมมา
แวะเข้าห้องน้ำของวัดบัวตะเคียน หรือ วัดเขาพนมรุ้ง
จากนั้นเดินผ่านร้านขายของที่ระลึกขึ้นเขา
อัตราค่าเข้าชม อายุครบ 60 ไม่เสียค่าเข้าชม
เปิดให้ขึ้นชมตั้งแต่หกโมงเช้าถึงหกโมงเย็น
แวะสำนักงานหน้าทางเข้าห้องน้ำ เพื่อหยิบแผ่นพับอุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้ง
ซึ่งมีทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ เพื่อใช้เป็นข้อมูลประกอบการเขียนบทความ
ความเป็นมาของปราสาทพนมรุ้ง
แผนผังปราสาทพนมรุ้ง
เดินขึ้นบันไดไม้เพื่อเข้าสู่บริเวณปราสาท
พ้นบันไดเป็นลานหินภูเขาไฟรูปกากบาท
ทางด้านขวามือมีปราสาทหลังเล็กขนาดพอ ๆ กับปราสาทตาเมือน
เดมเรียกว่า "โรงช้างเผือก" แต่ในปัจจุบันเรียกว่า "พลับพลา"
สันนิษฐานว่าเป็นพลับพลาเปลื้องเครื่อง สำหรับพระมหากษัตริย์ หรือ เจ้านายชั้นสูง
เพื่อชำระล้างร่างกาย ก่อนเสด็จเข้าสู่การสักการะเทพเจ้า หรือ ประกอบพิธีกรรมในบริเวณศาสนสถาน
ลงบันไดเข้าสู่ทางเดินยาว เรียกว่า "ทางดำเนิน"
เดินบนขอบหินทรายด้านข้างง่ายกว่า
เป็นทางเดินที่ต่อจากชาลารูปกากบาท ทอดไปยังสะพานนาคขั้นที่ 1
ปูพื้นด้วยศิลาแลง ขอบเป็นหินทราย สองข้างทางมีเสาหินทรายยอดคล้ายดอกบัวตูม
จำนวน 70 ต้น เรียกว่า "เสานางเรียง" หรือ "เสานางจรัล"
สุดทางดำเนินเป็นบันไดขึ้นสู่ "สะพานนาคราช" ขั้นที่ 1
ตามด้วยบันไดขึ้นปราสาท ซึ่งเดินขึ้นง่าย ไม่ชันเหมือนปราสาทวัดภู ที่ปากเซ สปป.ลาว
เหนือบันไดขึ้นปราสาท คือ ลานหน้าปราสาท หันหน้าหาทิศตะวันออก
มีช่องสี่เหลี่ยมเล็ก ๆ สี่ช่องคล้ายสระน้ำ ก่อนถึงตัวปราสาทประธาน
มีระเบียงคตรายล้อมก่อเป็นห้องยาวต่อเนื่องกัน รูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า
แต่ไม่สามารถเดินทะลุถึงกัน เพราะมีผนังกั้นเป็นช่วง ๆ กึ่งกลางระเบียงคตมีซุ้มประตู
หรือ "โคปุระ" ทั้งสี่ด้าน ผนังด้านนอกมีหน้าต่างหลอกทั้งสี่ด้าน
เป็นจุดชมพระอาทิตย์ตกส่องตรงผ่าน 15 ช่องประตูผ่านศิวลึงค์ ในปราสาทประธาน
จะเกิดขึ้นปีละสองครั้ง ช่วงต้นเดือนมีนาคมและเดือนตุลาคม
ขั้นตอนการสร้างปราสาท ซึ่งสร้างบนภูเขาไฟที่ดับสนิท
สะพานนาคราชชั้นที่ 2
เป็นสะพานเข้าซุ้มประตูและระเบียงคต
หน้าบันด้านทิศตะวันออก เป็นภาพฤาษี สันนิษฐานว่าเป็นพระศิวะ ปางผู้รักษาโรคภัย
และอาจหมายถึง นเรนทราทิตย์ ผู้สร้างปราสาทพนมรุ้งแห่งนี้ ซึ่งมีเชื้อสาย
ราชวงศ์มหิธรปุระ ผู้เกี่ยวข้องเป็นพระญาติ กับพระเจ้าสุริยวรมันที่ 2 ผู้สร้างปราสาทนครวัด
หลังซุ้มประตู คือ สะพานนาคราชชั้นที่ 3 หน้าปราสาทประธาน
ขนาบด้วยระเบียงชั้นนอกล้อมรอบลานปราสาทชั้นใน
หน้าบันเป็นภาพ "ศิวนาฏราช" ทรงฟ้อนรำ
ศิวนาฏราช เป็นปางหนึ่งของพระศิวะ เป็นบรมครูของศิลปะการร่ายรำ หรือนาฏยศาสตร์ของอินเดีย
ความเชื่อว่าการเต้นรำของพระศิวะ ก่อให้เกิดปฏิกิริยาของการสร้างโลกและมนุษย์ ศิวนาฏราชจะปรากฏในท่า
ย่างสามขุม (ตรีวิกรม) ซึ่งเป็น 1 ใน 108 ท่าที่ออกแบบโดยพระศิวะ โดยมีสัญลักษณ์ที่พระกรขวาถือกลอง
คือ การสร้างโลก พระกรซ้ายมีเปลวเพลิงล้อมเป็นกรอบ คือ การสิ้นสุดที่ไฟจะเผาผลาญโลก
พระศิวะได้ทรงพนันกับพระอุมาว่าโลกที่สร้างใหม่แข็งแรงหรือไม่ โดยพระศิวะทรงยืนขาเดียวบนก้อนหิน
โดยที่ขาต้องไม่ตก ในขณะที่พญานาคแกว่งลำตัววิดน้ำในมหาสมุทรให้สะเทือน พระศิวะทรงชนะ
พระองค์ทรงสร้างโลกใหม่ด้วยการเต้นรำบนก้อนหินนั้น ในระหว่างที่ทรงเต้นรำเกิดเปลวไฟ
และน้ำหลั่งไหลจากพระวรกายกลายเป็นสิ่งหล่อเลี้ยงชีวิต (วิกิ)
ด้านล่าง คือ ทับหลังนารายณ์บรรทมสินธุ์ การบรรทมสินธุ์ของพระนารายณ์นั้น
คือ การบรรทมในช่วงการสร้างโลก การบรรทมแต่ละครั้งนั้น จะเกี่ยวกับยุคเวลาในแต่ละกัลป์
ในขณะที่พระนารายณ์กำลังบรรทมอยู่นั้น ได้ทรงสุบินขึ้นจากพระนาภี บนดอกบัวได้บังเกิดพระพรหม
มีสี่พักตร์ สี่กร และพระพรหมทรงเป็นผู้สร้างมนุษย์ และสิ่งต่าง ๆ
http://www.buriram.go.th/tr_phanomrung/Phanomrong1.htm
ไม่สามารถเดินเข้าปราสาทประธานจากด้านหน้า
ต้องลงสะพานนาคราชชั้นที่ 3 อ้อมไปด้านข้างทางขวา
ด้านซ้าย คือ ปราสาทอิฐสองหลัง สันนิษฐานว่าน่าจะมีอายุอยู่ในราวพุทธศตรรษที่ 15
นับว่าเป็นสถาปัตยกรรม ที่มีอายุเก่าที่สุดบนเขาพนมรุ้ง
ด้านข้างปราสาทประธานมีรางน้ำ เรียกว่า "ท่อโสมสูตร" คือ ร่องน้ำมนต์ ที่ใช้รับน้ำสรงจากการสักการะศิวลึงค์
อาคารด้านขวาเมื่อมองจากด้านหลังปราสาทประธาน คือ "บรรณาลัย" สร้างด้วยศิลาแลง
มีประตูทางเข้าด้านเดียว หลังคาทำเป็นรูปประทุนเรือ ภายในไม่พบรูปเคารพ ใช้เป็นหอสมุด
เก็บรักษาคัมภีร์ศักดิ์สิทธิ์ทางศาสนา อายุราวพุทธศตรรษที่ 18 สมัยสุดท้ายของการสร้างปราสาท
ขึ้นบันไดชมห้องภายในปราสาทประธาน
"ห้องครรภคฤหพ" เป็นที่ประดิษฐานรูปเคารพที่สำคัญที่สุด คือ "ศิวลึงค์"
ห้องถัดไปมีรูปปั้นโคหมอบ ชื่อ "โคนนทิ" พาหนะของพระศิวะ
ปราสาทประธานตกแต่งลวดลายจำหลักประดับตามส่วนต่าง ๆ
ส่วนใหญ่เป็นภาพเล่าเรื่องเทพเจ้าในศาสนาฮินดู วรรณคดีรามเกียรต์
มหาภารตะ ภาพพิธีกรรม และภาพฤาษี เป็นต้น
การเป็นช่างภาพ บางครั้งกำลังจะถ่ายรูปปราสาท คนในคณะขอให้ถ่ายรูปให้
ทำให้ลืมถ่ายตัวปราสาทว่าง ๆ ตามที่ตั้งใจไว้ ไม่ได้มีเจตนาโชว์นางแบบ
หน้าบันด้านบนเป็นรามเกียรติ์ตอนท้าวราพณ์ (ทศกัณฐ์) ลักนางสีดา นกสดายุเข้าขัดขวางจนตาย
ส่วนด้านล่างเป็นทับหลัง ภาพพระกฤษณะประลองกำลังกับช้างและคชสีห์
จับสัตว์ไว้ด้วยพระหัตถ์ข้างละตัว ข้างหนึ่งเป็นช้างกุวัลยปิถะ
อีกข้างเป็นคชสีห์ หมายถึงอสูรวัตสะ ซึ่งแปลงร่างเป็นวัว เพื่อหาโอกาสทำร้านพระกฤษณะ
ระเบียงชั้นนอกและซุ้มประตูด้านหลังปราสาททิศตะวันตก
รถเล็กสามารถนำรถขึ้นมาจอดบนลานจอดรถบนเขาได้
เป็นจุดชมพระอาทิตย์ขึ้นส่องตรงผ่าน 15 ช่องประตูผ่านศิวลึงค์ ในปราสาทประธาน
จะเกิดขึ้นปีละสองครั้ง ช่วงต้นเดือนเมษายนและเดือนกันยายน
กลับเข้ามาด้านใน เดินไปทางด้านขวาของปราสาทประธาน
มีรูปสลักหินยืน ทับหลังสลักเป็นภาพรามเกียรติ์ ตอนศึกอินทรชิต
แผลงศรเป็นนาคบาศรัดพระรามและพระลักษณ์ หน้าบันเป็นภาพทรรศกัณฑ์
ให้นางตรีชฎาพานางสีดาขึ้นบุษบกมาดูการรบ นางสีดาเข้าใจว่าพระรามสิ้นพระชนม์
แต่นางตรีชฎาปลอบใจว่า หญิงม่ายประทับบุษบกจะไม่ลอย แต่บุษบกยังลอยอยู่
แสดงว่าพระรามยังไม่สิ้นพระชนม์ ขณะเดียวกัน หนุมานเหาะไปเอาโอสถที่เกษียรสมุทร
เพื่อแก้ไขพระรามและพระลักษณ์ พญาครุฑบินมาที่สนามรบ ทำให้นาคหนีไป
ปรางค์น้อย ภายในมีแท่นหินทรายประดิษฐานรูปเคารพ
หน้าบันทิศตะวันออก สลักเป็นภาพพระกฤษณะยกเขาโควรรธนะ
ท่ามกลางลวดลายพันธุ์พฤกษา กำหนดอายุราวพุทธศตรรษที่ 16
10.30 น.เริ่มเดินกลับไปที่รถ
[CR] เที่ยวไปกินไป by laser @ สุรินทร์-บุรีรัมย์ : 4 ปราสาทบุรีรัมย์ ลักษณาขาหมู น้ำหมักเพื่อสุขภาพ
เป็นตอนที่ 4 ต่อจาก "เที่ยวไปกินไป by laser @ สุรินทร์-บุรีรัมย์ : 1 บุญกฐินตกค้าง 36 วัด"
https://ppantip.com/topic/37129297
และ "เที่ยวไปกินไป by laser @ สุรินทร์-บุรีรัมย์ : 2 กลุ่มปราสาทตาเมือน"
https://ppantip.com/topic/37139775
และ "เที่ยวไปกินไป by laser @ สุรินทร์-บุรีรัมย์ : 3 ตลาดบุรีรัมย์"
https://ppantip.com/topic/37158610
ตามกำหนดการเที่ยวบุรีรัมย์ เช้าเดินทางไปวนอุทยานภูเขาไฟกระโดง
คห.3 "เที่ยวไปกินไป by laser @ บุรีรัมย์ : 3 ปราสาทสายฟ้า, ภูเขาไฟกระโดง, บ้านสวนฟรุ้ตการ์เด้นส์"
https://ppantip.com/topic/36784701
แต่ไปถึงลานจอดรถแล้วเปลี่ยนใจตัดออก เพราะเกรงว่าจะไม่ทันสองวัดท้ายสุด
เคยมาแล้วจึงไม่ได้ติดใจอะไร จากวนอุทยานภูเขาไฟกระโดง ลงมาทางทิศใต้ของตัวเมืองบุรีรัมย์
ประมาณ 77 กิโลเมตร คือ ตำบลตาเป๊ก อำเภอเฉลิมพระเกียรติ
9.20 น.ถึงอุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้ง
ฝนเริ่มตกพรำ ๆ ใช้ทั้งร่มที่นำมาเอง และร่มที่ทางผู้จัดเตรียมมา
แวะเข้าห้องน้ำของวัดบัวตะเคียน หรือ วัดเขาพนมรุ้ง
จากนั้นเดินผ่านร้านขายของที่ระลึกขึ้นเขา
อัตราค่าเข้าชม อายุครบ 60 ไม่เสียค่าเข้าชม
เปิดให้ขึ้นชมตั้งแต่หกโมงเช้าถึงหกโมงเย็น
แวะสำนักงานหน้าทางเข้าห้องน้ำ เพื่อหยิบแผ่นพับอุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้ง
ซึ่งมีทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ เพื่อใช้เป็นข้อมูลประกอบการเขียนบทความ
ความเป็นมาของปราสาทพนมรุ้ง
แผนผังปราสาทพนมรุ้ง
เดินขึ้นบันไดไม้เพื่อเข้าสู่บริเวณปราสาท
พ้นบันไดเป็นลานหินภูเขาไฟรูปกากบาท
ทางด้านขวามือมีปราสาทหลังเล็กขนาดพอ ๆ กับปราสาทตาเมือน
เดมเรียกว่า "โรงช้างเผือก" แต่ในปัจจุบันเรียกว่า "พลับพลา"
สันนิษฐานว่าเป็นพลับพลาเปลื้องเครื่อง สำหรับพระมหากษัตริย์ หรือ เจ้านายชั้นสูง
เพื่อชำระล้างร่างกาย ก่อนเสด็จเข้าสู่การสักการะเทพเจ้า หรือ ประกอบพิธีกรรมในบริเวณศาสนสถาน
ลงบันไดเข้าสู่ทางเดินยาว เรียกว่า "ทางดำเนิน"
เดินบนขอบหินทรายด้านข้างง่ายกว่า
เป็นทางเดินที่ต่อจากชาลารูปกากบาท ทอดไปยังสะพานนาคขั้นที่ 1
ปูพื้นด้วยศิลาแลง ขอบเป็นหินทราย สองข้างทางมีเสาหินทรายยอดคล้ายดอกบัวตูม
จำนวน 70 ต้น เรียกว่า "เสานางเรียง" หรือ "เสานางจรัล"
สุดทางดำเนินเป็นบันไดขึ้นสู่ "สะพานนาคราช" ขั้นที่ 1
ตามด้วยบันไดขึ้นปราสาท ซึ่งเดินขึ้นง่าย ไม่ชันเหมือนปราสาทวัดภู ที่ปากเซ สปป.ลาว
เหนือบันไดขึ้นปราสาท คือ ลานหน้าปราสาท หันหน้าหาทิศตะวันออก
มีช่องสี่เหลี่ยมเล็ก ๆ สี่ช่องคล้ายสระน้ำ ก่อนถึงตัวปราสาทประธาน
มีระเบียงคตรายล้อมก่อเป็นห้องยาวต่อเนื่องกัน รูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า
แต่ไม่สามารถเดินทะลุถึงกัน เพราะมีผนังกั้นเป็นช่วง ๆ กึ่งกลางระเบียงคตมีซุ้มประตู
หรือ "โคปุระ" ทั้งสี่ด้าน ผนังด้านนอกมีหน้าต่างหลอกทั้งสี่ด้าน
เป็นจุดชมพระอาทิตย์ตกส่องตรงผ่าน 15 ช่องประตูผ่านศิวลึงค์ ในปราสาทประธาน
จะเกิดขึ้นปีละสองครั้ง ช่วงต้นเดือนมีนาคมและเดือนตุลาคม
ขั้นตอนการสร้างปราสาท ซึ่งสร้างบนภูเขาไฟที่ดับสนิท
สะพานนาคราชชั้นที่ 2
เป็นสะพานเข้าซุ้มประตูและระเบียงคต
หน้าบันด้านทิศตะวันออก เป็นภาพฤาษี สันนิษฐานว่าเป็นพระศิวะ ปางผู้รักษาโรคภัย
และอาจหมายถึง นเรนทราทิตย์ ผู้สร้างปราสาทพนมรุ้งแห่งนี้ ซึ่งมีเชื้อสาย
ราชวงศ์มหิธรปุระ ผู้เกี่ยวข้องเป็นพระญาติ กับพระเจ้าสุริยวรมันที่ 2 ผู้สร้างปราสาทนครวัด
หลังซุ้มประตู คือ สะพานนาคราชชั้นที่ 3 หน้าปราสาทประธาน
ขนาบด้วยระเบียงชั้นนอกล้อมรอบลานปราสาทชั้นใน
หน้าบันเป็นภาพ "ศิวนาฏราช" ทรงฟ้อนรำ
ศิวนาฏราช เป็นปางหนึ่งของพระศิวะ เป็นบรมครูของศิลปะการร่ายรำ หรือนาฏยศาสตร์ของอินเดีย
ความเชื่อว่าการเต้นรำของพระศิวะ ก่อให้เกิดปฏิกิริยาของการสร้างโลกและมนุษย์ ศิวนาฏราชจะปรากฏในท่า
ย่างสามขุม (ตรีวิกรม) ซึ่งเป็น 1 ใน 108 ท่าที่ออกแบบโดยพระศิวะ โดยมีสัญลักษณ์ที่พระกรขวาถือกลอง
คือ การสร้างโลก พระกรซ้ายมีเปลวเพลิงล้อมเป็นกรอบ คือ การสิ้นสุดที่ไฟจะเผาผลาญโลก
พระศิวะได้ทรงพนันกับพระอุมาว่าโลกที่สร้างใหม่แข็งแรงหรือไม่ โดยพระศิวะทรงยืนขาเดียวบนก้อนหิน
โดยที่ขาต้องไม่ตก ในขณะที่พญานาคแกว่งลำตัววิดน้ำในมหาสมุทรให้สะเทือน พระศิวะทรงชนะ
พระองค์ทรงสร้างโลกใหม่ด้วยการเต้นรำบนก้อนหินนั้น ในระหว่างที่ทรงเต้นรำเกิดเปลวไฟ
และน้ำหลั่งไหลจากพระวรกายกลายเป็นสิ่งหล่อเลี้ยงชีวิต (วิกิ)
ด้านล่าง คือ ทับหลังนารายณ์บรรทมสินธุ์ การบรรทมสินธุ์ของพระนารายณ์นั้น
คือ การบรรทมในช่วงการสร้างโลก การบรรทมแต่ละครั้งนั้น จะเกี่ยวกับยุคเวลาในแต่ละกัลป์
ในขณะที่พระนารายณ์กำลังบรรทมอยู่นั้น ได้ทรงสุบินขึ้นจากพระนาภี บนดอกบัวได้บังเกิดพระพรหม
มีสี่พักตร์ สี่กร และพระพรหมทรงเป็นผู้สร้างมนุษย์ และสิ่งต่าง ๆ
http://www.buriram.go.th/tr_phanomrung/Phanomrong1.htm
ไม่สามารถเดินเข้าปราสาทประธานจากด้านหน้า
ต้องลงสะพานนาคราชชั้นที่ 3 อ้อมไปด้านข้างทางขวา
ด้านซ้าย คือ ปราสาทอิฐสองหลัง สันนิษฐานว่าน่าจะมีอายุอยู่ในราวพุทธศตรรษที่ 15
นับว่าเป็นสถาปัตยกรรม ที่มีอายุเก่าที่สุดบนเขาพนมรุ้ง
ด้านข้างปราสาทประธานมีรางน้ำ เรียกว่า "ท่อโสมสูตร" คือ ร่องน้ำมนต์ ที่ใช้รับน้ำสรงจากการสักการะศิวลึงค์
อาคารด้านขวาเมื่อมองจากด้านหลังปราสาทประธาน คือ "บรรณาลัย" สร้างด้วยศิลาแลง
มีประตูทางเข้าด้านเดียว หลังคาทำเป็นรูปประทุนเรือ ภายในไม่พบรูปเคารพ ใช้เป็นหอสมุด
เก็บรักษาคัมภีร์ศักดิ์สิทธิ์ทางศาสนา อายุราวพุทธศตรรษที่ 18 สมัยสุดท้ายของการสร้างปราสาท
ขึ้นบันไดชมห้องภายในปราสาทประธาน
"ห้องครรภคฤหพ" เป็นที่ประดิษฐานรูปเคารพที่สำคัญที่สุด คือ "ศิวลึงค์"
ห้องถัดไปมีรูปปั้นโคหมอบ ชื่อ "โคนนทิ" พาหนะของพระศิวะ
ปราสาทประธานตกแต่งลวดลายจำหลักประดับตามส่วนต่าง ๆ
ส่วนใหญ่เป็นภาพเล่าเรื่องเทพเจ้าในศาสนาฮินดู วรรณคดีรามเกียรต์
มหาภารตะ ภาพพิธีกรรม และภาพฤาษี เป็นต้น
การเป็นช่างภาพ บางครั้งกำลังจะถ่ายรูปปราสาท คนในคณะขอให้ถ่ายรูปให้
ทำให้ลืมถ่ายตัวปราสาทว่าง ๆ ตามที่ตั้งใจไว้ ไม่ได้มีเจตนาโชว์นางแบบ
หน้าบันด้านบนเป็นรามเกียรติ์ตอนท้าวราพณ์ (ทศกัณฐ์) ลักนางสีดา นกสดายุเข้าขัดขวางจนตาย
ส่วนด้านล่างเป็นทับหลัง ภาพพระกฤษณะประลองกำลังกับช้างและคชสีห์
จับสัตว์ไว้ด้วยพระหัตถ์ข้างละตัว ข้างหนึ่งเป็นช้างกุวัลยปิถะ
อีกข้างเป็นคชสีห์ หมายถึงอสูรวัตสะ ซึ่งแปลงร่างเป็นวัว เพื่อหาโอกาสทำร้านพระกฤษณะ
ระเบียงชั้นนอกและซุ้มประตูด้านหลังปราสาททิศตะวันตก
รถเล็กสามารถนำรถขึ้นมาจอดบนลานจอดรถบนเขาได้
เป็นจุดชมพระอาทิตย์ขึ้นส่องตรงผ่าน 15 ช่องประตูผ่านศิวลึงค์ ในปราสาทประธาน
จะเกิดขึ้นปีละสองครั้ง ช่วงต้นเดือนเมษายนและเดือนกันยายน
กลับเข้ามาด้านใน เดินไปทางด้านขวาของปราสาทประธาน
มีรูปสลักหินยืน ทับหลังสลักเป็นภาพรามเกียรติ์ ตอนศึกอินทรชิต
แผลงศรเป็นนาคบาศรัดพระรามและพระลักษณ์ หน้าบันเป็นภาพทรรศกัณฑ์
ให้นางตรีชฎาพานางสีดาขึ้นบุษบกมาดูการรบ นางสีดาเข้าใจว่าพระรามสิ้นพระชนม์
แต่นางตรีชฎาปลอบใจว่า หญิงม่ายประทับบุษบกจะไม่ลอย แต่บุษบกยังลอยอยู่
แสดงว่าพระรามยังไม่สิ้นพระชนม์ ขณะเดียวกัน หนุมานเหาะไปเอาโอสถที่เกษียรสมุทร
เพื่อแก้ไขพระรามและพระลักษณ์ พญาครุฑบินมาที่สนามรบ ทำให้นาคหนีไป
ปรางค์น้อย ภายในมีแท่นหินทรายประดิษฐานรูปเคารพ
หน้าบันทิศตะวันออก สลักเป็นภาพพระกฤษณะยกเขาโควรรธนะ
ท่ามกลางลวดลายพันธุ์พฤกษา กำหนดอายุราวพุทธศตรรษที่ 16
10.30 น.เริ่มเดินกลับไปที่รถ