อนิจจัง ทุกขัง อัตตา เป็นไตรลักษณ์ของพราหม!?

กระทู้สนทนา
อนิจจัง  ทุกขัง อัตตา เป็นไตรลักษณ์ของพราหม
อ้าวแล้วไปรู้ได้อย่างไรว่าพราหมเขามีไตรลักษณ์แบบนี้
ไม่ยากก็เปิดดูพระดำรัสในพระสูตรเอกัจจสัสสติกทิฏฐิ ๔
ว่าด้วยทิฏฐิมีก่อนพุทธกาลว่าบางอย่างไม่เที่ยงบางอย่างเที่ยง

เราต้องไม่ลืมว่าพุทธองค์ประกาศศาสนาในถิ่นพราหมก็คล้ายกับพระเยซู
ที่ประศาสนาในถิ่นศาสนายูดายมีหรือจะไม่กระทบกระทั้งกัน
ยกตัวอย่างพอพระพุทธองค์ประกาศเรื่องพระนิพพานแทนพระเจ้า
พวกพราหมก็ประกาศเอาอย่างมีนิพพานถึงห้าแบบให้เลือกดูทิฏฐธรรมนิพพานทิฏฐิ ๕
นอกจากจะประกาศนิพพานแทนที่พระเจ้าของพราหมแล้ว
พระองค์ยังแก้ไขไตรลักษณ์ของพราหมให้เป็นอนิจจังทุกขังอนัตตา
ต้องไม่ลืมว่าพระพุทธองค์ตรัสรู้อริยะสัจจสี่ไม่ได้ตรัสรู้เรื่องไตรลักษณ์ซะหน่อย
ไตรลักษณ์จึงเป็นเรื่องก่อนพุทธกาลแล้วท่านไปเปลี่ยนแปลงซะใหม่
การกล่าวไตรลักษณ์ที่เป็นอนิจจังทุกขังอนัตตา
จึงเป็นการไปแก้ไขเปลี่ยนแปลงในไตรลักษณ์ของพราหมเขา
พราหมบอกว่าสรรพสิ่งมีลักษณะที่ไม่เที่ยงคืออนิจจังและทุกขัง(ทนอยู่ไม่ได้)
และลักษณtที่เที่ยงแท้คืออัตตา
ส่วนไตรลักษณ์ของพุทธมีลักษณะไม่เที่ยง เป็นทุกข์(ทนอยู่ไม่ได้)
และไม่มีตัวตนที่แท้จริงคืออนัตตา(ปฏิเสธการมีตัวตนที่แท้จริง)

เอกัจจสัสสติกทิฏฐิ ๔
ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมณะหรือพราหมณ์บางคนในโลกนี้ เป็นนักตรึก เป็นนักค้นคิด
กล่าวแสดงปฏิภาณของตนตามที่ตรึกได้ ตามที่ค้นคิดได้ อย่างนี้ว่า สิ่งที่เรียกว่าจักษุก็ดี โสตะก็ดี
ฆานะก็ดี ชิวหาก็ดี กายก็ดี นี้ได้ชื่อว่าอัตตา เป็นของไม่เที่ยง ไม่ยั่งยืน ไม่คงทน มีอัน
แปรผันเป็นธรรมดา ส่วนสิ่งที่เรียกว่าจิตหรือใจหรือวิญญาณ นี้ชื่อว่าอัตตา เป็นของเที่ยง
ยั่งยืน คงทน มีอันไม่แปรผันเป็นธรรมดา จักตั้งอยู่เที่ยงเสมอไปเช่นนั้นทีเดียว ดูกรภิกษุทั้งหลาย
นี้เป็นฐานะที่ ๔ ซึ่งสมณพราหมณ์พวกหนึ่ง อาศัยแล้ว ปรารภแล้ว จึงมีทิฏฐิว่า บางอย่างเที่ยง
บางอย่างไม่เที่ยง ย่อมบัญญัติอัตตาและโลกว่า บางอย่างเที่ยง บางอย่างไม่เที่ยง.
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่