พล.ต.อ.วิเชียร พจน์โพธิ์ศรี ปลัดกระทรวงคมนาคม ในฐานะประธานกรรมการพิจารณาโครงสร้างการแบ่งส่วนราชการและจัดตั้งส่วนราชการระดับกรม และ/หรือองค์กรอื่นที่เหมาะสม เพื่อส่งเสริมและผลักดันการพัฒนาระบบการขนส่งและการเดินทางทางราง เปิดเผยว่า รัฐบาลมีนโยบายส่งเสริมการเดินทางด้วยระบบรางเป็นการขนส่งหลักของประเทศ ประกอบกับมีแผนการดำเนินงานตามพ.ร.บ.กู้เงิน 2 ล้านล้านบาท ดังนั้นจึงมีความจำเป็นที่ต้องพิจารณาจัดตั้งหน่วยงานขึ้นมาดูแล และกำหนดบทบาทหน้าที่ในการดูแลระบบรางที่ชัดเจน จากเดิมที่การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) เป็นหน่วยงานที่ดูแลทั้งหมด
ทั้งนี้ เบื้องต้นจะตั้งกรมการขนส่งทางราง โดยมีบทบาทหน้าที่ 3 ด้าน คือ
1. งานก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐาน เชื่อว่ากรมจะสามารถก่อสร้างรางโดยใช้ที่ดินของรฟท.ได้ ลักษณะเป็นการขอใช้สิทธิที่ดินในฐานะหน่วยงานราชการเหมือนกัน
2. กำกับดูแลงานด้านมาตรฐานความปลอดภัยทางราง และ
3. กำกับดูแลการประกอบกิจการทางราง เช่น ออกใบอนุญาตผู้ประกอบการเดินรถ คาดว่าจะสามารถจัดตั้งกรมได้ในปีงบประมาณ 2558
ส่วนบุคลากรในกรมการขนส่งทางรางนั้น จะมีการตั้งอัตรากำลังใหม่ พร้อมเปิดให้ข้าราชการของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องสามารถโอนไปได้
แต่จะไม่โอนย้ายพนักงาน จาก รฟท.ไปทำงานที่กรม เพราะผลตอบแทนระหว่างรฟท. ซึ่งเป็นหน่วยงานรัฐวิสาหกิจ และกรมซึ่งเป็นหน่วยงานราชการมีความแตกต่างกัน อย่างไรก็ตาม กรมจะมีการจ้างพนักงานรฟท. ที่ทำหน้าที่ก่อสร้างรางในปัจจุบัน เพื่อไม่ให้พนักงานเหล่านี้ได้รับผลกระทบ เพราะรฟท. จะไม่มีงานก่อสร้างและบำรุงรักษารางอีกต่อไป
ทั้งนี้ การปรับโครงสร้างครั้งนี้จะปรับบทบาทของรฟท. ก่อน เพราะเป็นหน่วยงานที่ประสบปัญหาในการบริหารงาน หลังจากนั้นจะปรับบทบาทของการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.)
ด้านนายจุฬา สุขมานพ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) กล่าวว่า โครงการรถไฟความเร็วสูง และโครงสร้างรถไฟทางคู่ ที่จะดำเนินงานตามพ.ร.บ.กู้เงิน 2 ล้านล้านบาท จะให้รฟท.ดำเนินการไปก่อน หลังจากนั้นเมื่อตั้งกรมการขนส่งทางรางแล้ว กรมนี้จะทำหน้าที่ในการดูแลงานก่อสร้างราง หากไม่ตั้งกรมขึ้นมาดูแล รฟท.จะประสบปัญหาหนี้สินจากการกู้เงินมาดำเนินงานตามพ.ร.บ.กู้เงิน 2 ล้านล้านบาท เป็นเงินกว่า 1 ล้านล้านบาท ซึ่งหน่วยงานรัฐวิสาหกิจไม่ควรมีหนี้มากขนาดนั้น
สำหรับหลักการในการตั้งกรม เนื่องจากรัฐบาลจะต้องดูแลรับผิดชอบก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานทางราง เหมือนกับโครงสร้างพื้นฐานทางถนน ที่มีกรมทางหลวงรับผิดชอบ โครงสร้างพื้นฐานทางน้ำ กรมเจ้าท่าเป็นผู้รับผิดชอบ
เครดิท : มติชน
http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1366521300
****************************************
เอาข่าว update ของกรมการขนส่งทางราง มาบอกกล่าวเพื่อนๆครับ
มาแล้ว ! กรมการขนส่งทางราง รองรับกู้เงินลงทุน2ล้านล้าน
พล.ต.อ.วิเชียร พจน์โพธิ์ศรี ปลัดกระทรวงคมนาคม ในฐานะประธานกรรมการพิจารณาโครงสร้างการแบ่งส่วนราชการและจัดตั้งส่วนราชการระดับกรม และ/หรือองค์กรอื่นที่เหมาะสม เพื่อส่งเสริมและผลักดันการพัฒนาระบบการขนส่งและการเดินทางทางราง เปิดเผยว่า รัฐบาลมีนโยบายส่งเสริมการเดินทางด้วยระบบรางเป็นการขนส่งหลักของประเทศ ประกอบกับมีแผนการดำเนินงานตามพ.ร.บ.กู้เงิน 2 ล้านล้านบาท ดังนั้นจึงมีความจำเป็นที่ต้องพิจารณาจัดตั้งหน่วยงานขึ้นมาดูแล และกำหนดบทบาทหน้าที่ในการดูแลระบบรางที่ชัดเจน จากเดิมที่การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) เป็นหน่วยงานที่ดูแลทั้งหมด
ทั้งนี้ เบื้องต้นจะตั้งกรมการขนส่งทางราง โดยมีบทบาทหน้าที่ 3 ด้าน คือ
1. งานก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐาน เชื่อว่ากรมจะสามารถก่อสร้างรางโดยใช้ที่ดินของรฟท.ได้ ลักษณะเป็นการขอใช้สิทธิที่ดินในฐานะหน่วยงานราชการเหมือนกัน
2. กำกับดูแลงานด้านมาตรฐานความปลอดภัยทางราง และ
3. กำกับดูแลการประกอบกิจการทางราง เช่น ออกใบอนุญาตผู้ประกอบการเดินรถ คาดว่าจะสามารถจัดตั้งกรมได้ในปีงบประมาณ 2558
ส่วนบุคลากรในกรมการขนส่งทางรางนั้น จะมีการตั้งอัตรากำลังใหม่ พร้อมเปิดให้ข้าราชการของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องสามารถโอนไปได้ แต่จะไม่โอนย้ายพนักงาน จาก รฟท.ไปทำงานที่กรม เพราะผลตอบแทนระหว่างรฟท. ซึ่งเป็นหน่วยงานรัฐวิสาหกิจ และกรมซึ่งเป็นหน่วยงานราชการมีความแตกต่างกัน อย่างไรก็ตาม กรมจะมีการจ้างพนักงานรฟท. ที่ทำหน้าที่ก่อสร้างรางในปัจจุบัน เพื่อไม่ให้พนักงานเหล่านี้ได้รับผลกระทบ เพราะรฟท. จะไม่มีงานก่อสร้างและบำรุงรักษารางอีกต่อไป
ทั้งนี้ การปรับโครงสร้างครั้งนี้จะปรับบทบาทของรฟท. ก่อน เพราะเป็นหน่วยงานที่ประสบปัญหาในการบริหารงาน หลังจากนั้นจะปรับบทบาทของการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.)
ด้านนายจุฬา สุขมานพ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) กล่าวว่า โครงการรถไฟความเร็วสูง และโครงสร้างรถไฟทางคู่ ที่จะดำเนินงานตามพ.ร.บ.กู้เงิน 2 ล้านล้านบาท จะให้รฟท.ดำเนินการไปก่อน หลังจากนั้นเมื่อตั้งกรมการขนส่งทางรางแล้ว กรมนี้จะทำหน้าที่ในการดูแลงานก่อสร้างราง หากไม่ตั้งกรมขึ้นมาดูแล รฟท.จะประสบปัญหาหนี้สินจากการกู้เงินมาดำเนินงานตามพ.ร.บ.กู้เงิน 2 ล้านล้านบาท เป็นเงินกว่า 1 ล้านล้านบาท ซึ่งหน่วยงานรัฐวิสาหกิจไม่ควรมีหนี้มากขนาดนั้น
สำหรับหลักการในการตั้งกรม เนื่องจากรัฐบาลจะต้องดูแลรับผิดชอบก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานทางราง เหมือนกับโครงสร้างพื้นฐานทางถนน ที่มีกรมทางหลวงรับผิดชอบ โครงสร้างพื้นฐานทางน้ำ กรมเจ้าท่าเป็นผู้รับผิดชอบ
เครดิท : มติชน http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1366521300
****************************************
เอาข่าว update ของกรมการขนส่งทางราง มาบอกกล่าวเพื่อนๆครับ