“บวรศักดิ์ อุวรรณโณ” บันทึกเอาไว้ในหนังสือ “แฉเอกสารลับที่สุด ปราสาทพระวิหาร พ.ศ.2505-2551” เอาไว้อย่างน่าสนใจ ในบทที่ชื่อ “บทเรียนสำคัญการกรณีปราสาทพระวิหาร : ใครได้ ใครเสีย ?” ส่วนที่ 3 บทวิเคราะห์ : ใครได้ ใครเสีย?
ซึ่งได้ชี้ให้เห็นถึง “ปัจจัย” อันทำให้ “ความขัดแย้ง” บานปลาย จนนำเรื่องทั้งหมดไปสู่กรณีที่ “กัมพูชา” ยื่นฟ้อง “ไทย” ต่อ “ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ” กระทั่งนำมาสู่ “คำพิพากษาในปี พ.ศ.2505” ว่า “ปัญหานี้คงไม่บานปลาย หากในวาระเริ่มแรก “ท่าที” ของแต่ละฝ่ายไม่ก่อให้เกิดปัญหาความขัดแย้งยิ่งขึ้น
ใครก็ตามที่อ่านมติคณะรัฐมนตรี เมื่อ 5 สิงหาคม 2502 ก็จะเห็นได้ว่าก่อนกัมพูชาจะนำคดีขึ้นฟ้องศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ ได้ทำข้อเสนอแก่ นายถนัด คอมันตร์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ให้จัดตั้งเขตปลอดทหารในบริเวณปราสาทพระวิหารและรัศมี 5 กิโลเมตร พร้อมทั้งให้ทั้งสองประเทศจัดการและเฝ้ารักษาปราสาทร่วมกัน จึงมีลักษณะเป็นการใช้อำนาจร่วม แต่ไทยปฏิเสธ
การที่มี “ท่าที” แข็งกร้าวใส่กัน ด่าทอกันด้วยถ้อยคำหยาบคายของสื่อมวลชนเอง ก็มีผลต่อปฏิกิริยาของแต่ละฝ่าย ดังปรากฏว่ารัฐบาลกัมพูชาได้ออกแถลงการณ์เป็นภาษาอังกฤษและภาษาไทยตอบโต้กรณีหนังสือพิมพ์สารเสรี และไทยรายวัน ลงข่าวโจมตีรัฐบาลกัมพูชาโดยใช้ถ้อยคำหยาบคาย เรื่อง “ท่าที” ของแต่ละฝ่ายนี่เองที่เพาะบ่มปัญหาให้ค้างคา …”
............................
ชัดเจนว่า ในเรื่องที่มีความ “ละเอียดอ่อน” อย่างเรื่อง “ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ” และ “ดินแดนที่ติดกัน” ของ “ประเทศเพื่อนบ้าน” ที่ไม่สามารถ “ย้ายประเทศหนีจากกันได้” นั้น เรื่อง “ท่าที” และ “การสื่อสาร” เป็นเรื่องที่มีอิทธิพลต่อการดำเนินนโยบาย ในการแก้ไขปัญหาอย่างยิ่ง
ดังที่ปรากฎให้เห็นแล้วว่า ในช่วง “รัฐบาลอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ” ที่พิสูจน์ให้เห็นแล้วว่า “ท่าที” ที่มีปัญหานั้นไม่สามารถแก้ไขปัญหาได้ อีกทั้งยังทำให้ “ปัญหา” ยากแก่การแก้ไขมากขึ้นกว่าเดิม
ซ้ำร้ายไปกว่านั้น คือ “ท่าที” ที่เป็นปัญหา ยังสร้าง “ความเสียหาย” และ “ความสูญเสีย” ครั้งใหญ่ในรอบหลายสิบปี ให้กับ “ประชาชนคนไทย” ทั้งที่เกี่ยวข้องและไม่เกี่ยวข้อง ไปจนถึง “ผู้ที่ไม่รู้อิโหน่อิเหน่” มากมาย
โดยใน กรณี “ปราสาทพระวิหาร” นั้นแม้ “ไทย” และ “กัมพูชา” จะมีปัญหากันมานาน แต่ก็สามารถผ่านพ้นมาได้ ตั้งแต่ “ยุคล่าอาณานิคม” มาสู่ “ยุคกรณีพิพาทอินโดจีน” จนถึง “ยุคหลังสงครามโลกครั้งที่สอง” เปลี่ยนผ่านมาจนกระทั่ง “ยุคการเจรจากันระหว่างไทยและกัมพูชา” และ “ยุคที่มีคำพิพากษาของศาลโลก พ.ศ.2505”
แม้จะมีเหตุให้ระหองระแหงกันอยู่บ้าง แต่น้อยครั้งที่จะเกิดเหตุรุนแรงจนต้องเสียเลือด เสียเนื้อเป็นจำนวนมากอย่างเช่นที่เกิดขึ้นเมื่อไม่กี่ปีก่อน
เนื่องจาก “รัฐบาลไทย” แทบทุกยุคทุกสมัยพยายามรักษาบรรยากาศ เพื่อนำความ “สันติ” มาสู่ “ประชาชนคนไทย” โดยเฉพาะ “คนไทยที่อาศัยอยู่บริเวณชายแดน” ที่มีอยู่นับหมื่นนับแสนคน เนื่องจากบุคคลเหล่านั้นจะต้องกลายเป็น “ผู้ได้รับผลกระทบโดยตรง” หากเกิดเหตุการณ์ความไม่สงบขึ้น
โดยเฉพาะอย่างยิ่งช่วง 10 กว่าปีให้หลังมานี้ เรียกได้ว่าแทบจะไม่มีเหตุรุนแรงถึงขั้นเลือดตกยางออก ประชาชนคนไทยต้องสังเวยชีวิตเลยก็ว่าได้
(ต่อ...)
เปิดบัญชีเลือด-เนื้อ นับจำนวนเหยื่อ นโยบาย ตปท. รัฐบาลอภิสิทธิ์
ซึ่งได้ชี้ให้เห็นถึง “ปัจจัย” อันทำให้ “ความขัดแย้ง” บานปลาย จนนำเรื่องทั้งหมดไปสู่กรณีที่ “กัมพูชา” ยื่นฟ้อง “ไทย” ต่อ “ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ” กระทั่งนำมาสู่ “คำพิพากษาในปี พ.ศ.2505” ว่า “ปัญหานี้คงไม่บานปลาย หากในวาระเริ่มแรก “ท่าที” ของแต่ละฝ่ายไม่ก่อให้เกิดปัญหาความขัดแย้งยิ่งขึ้น
ใครก็ตามที่อ่านมติคณะรัฐมนตรี เมื่อ 5 สิงหาคม 2502 ก็จะเห็นได้ว่าก่อนกัมพูชาจะนำคดีขึ้นฟ้องศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ ได้ทำข้อเสนอแก่ นายถนัด คอมันตร์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ให้จัดตั้งเขตปลอดทหารในบริเวณปราสาทพระวิหารและรัศมี 5 กิโลเมตร พร้อมทั้งให้ทั้งสองประเทศจัดการและเฝ้ารักษาปราสาทร่วมกัน จึงมีลักษณะเป็นการใช้อำนาจร่วม แต่ไทยปฏิเสธ
การที่มี “ท่าที” แข็งกร้าวใส่กัน ด่าทอกันด้วยถ้อยคำหยาบคายของสื่อมวลชนเอง ก็มีผลต่อปฏิกิริยาของแต่ละฝ่าย ดังปรากฏว่ารัฐบาลกัมพูชาได้ออกแถลงการณ์เป็นภาษาอังกฤษและภาษาไทยตอบโต้กรณีหนังสือพิมพ์สารเสรี และไทยรายวัน ลงข่าวโจมตีรัฐบาลกัมพูชาโดยใช้ถ้อยคำหยาบคาย เรื่อง “ท่าที” ของแต่ละฝ่ายนี่เองที่เพาะบ่มปัญหาให้ค้างคา …”
............................
ชัดเจนว่า ในเรื่องที่มีความ “ละเอียดอ่อน” อย่างเรื่อง “ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ” และ “ดินแดนที่ติดกัน” ของ “ประเทศเพื่อนบ้าน” ที่ไม่สามารถ “ย้ายประเทศหนีจากกันได้” นั้น เรื่อง “ท่าที” และ “การสื่อสาร” เป็นเรื่องที่มีอิทธิพลต่อการดำเนินนโยบาย ในการแก้ไขปัญหาอย่างยิ่ง
ดังที่ปรากฎให้เห็นแล้วว่า ในช่วง “รัฐบาลอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ” ที่พิสูจน์ให้เห็นแล้วว่า “ท่าที” ที่มีปัญหานั้นไม่สามารถแก้ไขปัญหาได้ อีกทั้งยังทำให้ “ปัญหา” ยากแก่การแก้ไขมากขึ้นกว่าเดิม
ซ้ำร้ายไปกว่านั้น คือ “ท่าที” ที่เป็นปัญหา ยังสร้าง “ความเสียหาย” และ “ความสูญเสีย” ครั้งใหญ่ในรอบหลายสิบปี ให้กับ “ประชาชนคนไทย” ทั้งที่เกี่ยวข้องและไม่เกี่ยวข้อง ไปจนถึง “ผู้ที่ไม่รู้อิโหน่อิเหน่” มากมาย
โดยใน กรณี “ปราสาทพระวิหาร” นั้นแม้ “ไทย” และ “กัมพูชา” จะมีปัญหากันมานาน แต่ก็สามารถผ่านพ้นมาได้ ตั้งแต่ “ยุคล่าอาณานิคม” มาสู่ “ยุคกรณีพิพาทอินโดจีน” จนถึง “ยุคหลังสงครามโลกครั้งที่สอง” เปลี่ยนผ่านมาจนกระทั่ง “ยุคการเจรจากันระหว่างไทยและกัมพูชา” และ “ยุคที่มีคำพิพากษาของศาลโลก พ.ศ.2505”
แม้จะมีเหตุให้ระหองระแหงกันอยู่บ้าง แต่น้อยครั้งที่จะเกิดเหตุรุนแรงจนต้องเสียเลือด เสียเนื้อเป็นจำนวนมากอย่างเช่นที่เกิดขึ้นเมื่อไม่กี่ปีก่อน
เนื่องจาก “รัฐบาลไทย” แทบทุกยุคทุกสมัยพยายามรักษาบรรยากาศ เพื่อนำความ “สันติ” มาสู่ “ประชาชนคนไทย” โดยเฉพาะ “คนไทยที่อาศัยอยู่บริเวณชายแดน” ที่มีอยู่นับหมื่นนับแสนคน เนื่องจากบุคคลเหล่านั้นจะต้องกลายเป็น “ผู้ได้รับผลกระทบโดยตรง” หากเกิดเหตุการณ์ความไม่สงบขึ้น
โดยเฉพาะอย่างยิ่งช่วง 10 กว่าปีให้หลังมานี้ เรียกได้ว่าแทบจะไม่มีเหตุรุนแรงถึงขั้นเลือดตกยางออก ประชาชนคนไทยต้องสังเวยชีวิตเลยก็ว่าได้
(ต่อ...)