คือเท่าที่ได้ยินบ่อยๆ หลายคนมักจะบอกว่า
เวลามีปัญหามีทุกข์ให้แก้ที่ต้นเหตุ
แต่เวลานั่งสมาธิแล้วขาเกิดอาการเหน็บชา ทำไมบางคนบอกให้ทนๆนั่งไปจะได้ชิน
ทั้งๆที่สาเหตุของการเกิดเหน็บชามันมาจากการนั่งท่าเดิมนานเกินไป
เกิดจากการกดทับ เลือดไม่สามารถไปเลี้ยงอวัยวะได้สะดวก ร่างกายเลยเตือนเราให้เปลี่ยนท่าทาง
การแก้ปัญหามันควรจะเป็นการ "เปลี่ยนท่านั่ง" มากกว่าการให้ทนนั่งต่อไม่ใช่เหรอครับ
แก้ที่ต้นเหตุมันควรจะแก้แบบนี้
เหมือนกับเวลาเราเอาไฟมาลนมือ มันก็ร้อนและเราก็ควรจะเอามือหลบจากไฟนั้นๆ ไม่ใช่บอกให้ทน
หรือว่าสำหรับการนั่งสมาธิแล้ว การนั่งได้นานๆโดยไม่เปลี่ยนท่าสามารถเอาไปอวดกันได้
สามารถใช้เป็นเครื่องบ่งชี้ว่าใครเก่งกว่าใครเหรอครับ
หรือว่าที่ไม่เปลี่ยนท่ากันจะเป็นเพราะไม่ต้องการเสียสมาธิ เพราะคงต้องเปลี่ยนบ่อยๆ
แต่ถ้าไม่เปลี่ยนท่าผมว่าหลายๆคนก็เสียสมาธิไปกับความเจ็บปวดอยู่ดีล่ะนะ
สรุปทำไมไม่แก้ปัญหาที่ต้นเหตุกันครับ
แปลกใจกับการแก้ปัญหาบางอย่างของชาวพุทธที่ปฎิบัติธรรมนั่งสมาธิบางคน
เวลามีปัญหามีทุกข์ให้แก้ที่ต้นเหตุ
แต่เวลานั่งสมาธิแล้วขาเกิดอาการเหน็บชา ทำไมบางคนบอกให้ทนๆนั่งไปจะได้ชิน
ทั้งๆที่สาเหตุของการเกิดเหน็บชามันมาจากการนั่งท่าเดิมนานเกินไป
เกิดจากการกดทับ เลือดไม่สามารถไปเลี้ยงอวัยวะได้สะดวก ร่างกายเลยเตือนเราให้เปลี่ยนท่าทาง
การแก้ปัญหามันควรจะเป็นการ "เปลี่ยนท่านั่ง" มากกว่าการให้ทนนั่งต่อไม่ใช่เหรอครับ
แก้ที่ต้นเหตุมันควรจะแก้แบบนี้
เหมือนกับเวลาเราเอาไฟมาลนมือ มันก็ร้อนและเราก็ควรจะเอามือหลบจากไฟนั้นๆ ไม่ใช่บอกให้ทน
หรือว่าสำหรับการนั่งสมาธิแล้ว การนั่งได้นานๆโดยไม่เปลี่ยนท่าสามารถเอาไปอวดกันได้
สามารถใช้เป็นเครื่องบ่งชี้ว่าใครเก่งกว่าใครเหรอครับ
หรือว่าที่ไม่เปลี่ยนท่ากันจะเป็นเพราะไม่ต้องการเสียสมาธิ เพราะคงต้องเปลี่ยนบ่อยๆ
แต่ถ้าไม่เปลี่ยนท่าผมว่าหลายๆคนก็เสียสมาธิไปกับความเจ็บปวดอยู่ดีล่ะนะ
สรุปทำไมไม่แก้ปัญหาที่ต้นเหตุกันครับ