นิทานชาวสวน ๕ เม.ย.๕๖
สมเด็จโต (๓)
จึงท่านพระโหราธิบดี พระวิเชียร และเสมียนตราด้วง ได้พิจารณาเห็นกิริยาท่าทาง และจรรยาอาการสติปัญญาอย่างเยี่ยม แปลกกว่าที่เคยเห็นมาแต่ก่อน ทั้งมีรัดประคตหนามขนุนคาดด้วย จะทักถามและพยากรณ์เองก็ใช่เหตุ จึงปรึกษาตกลงพร้อมกันว่าควรจะนำเข้าถวายตัวแด่ สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงอิศรสุนทร ให้ได้ทรงทอดพระเนตร อนึ่งพระองค์ท่านก็ทรงโปรดพระและเณรที่ร่ำเรียนรู้ในธรรมทั้ง ๒ คือ คันถธุระ วิปัสสนาธุระ บางทีพ่อเณรมีวาสนาดี ก็อาจจะเป็นพระหลวงก็ได้ ครั้นท่านขุนนางทั้งสามปฤกษาตกลงเห็นพร้อมใจกันแล้ว จึงแนะนำสามเณรโตให้รู้ตัวว่า จะนำเข้าเฝ้า สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงอิศรสุนทร ในวันเดือนห้า ขึ้นค่ำ ศกนี้เป็นแน่ ฯ
ท่านขุนนางทั้งสามก็ได้มาที่วัดบางลำภูบน เรียนกับท่านอาจารย์แก้ว ว่าจะพาสามเณรโต ไปเฝ้า สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ ฯ พระอาจารย์แก้วก็อนุมัติตามใจ แล้วท่านก็เรียกสามเณรมาสั่งสอนขนบธรรมเนียมในการเข้าเฝ้าเจ้าใหญ่นายโตทุกประการ แล้วก็ให้สามเณรครองผ้าคาดรัดประคต ลงเรือแหวดสี่แจวไปกับท่านขุนนางทั้งสาม จนถึงท่าตำหนักแพ หน้าพระราชวังเดิม ฝั่งธนบุรีใต้วัดระฆัง แล้วขึ้นไปเฝ้ายังท้องพระโรงใหญ่ แลพระโหราธิบดีก็กราบทูลเสนอคุณสมบัติของสามเณร ให้ทรงทราบ
สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ากรมหลวง ฯ พระองค์นั้น ทอดพระเนตรเห็นสามเณรโต เปล่งปลั่งรังสี รัศมีกายออกงามมีราศี เหตุด้วยกำลังอำนาจศีลคุณ สมาธิคุณ ปัญญาคุณ หากอบรมสะสมกับผ้ากาสาวะพัตร์ และมีรัดประคตหนามขนุน อย่างของขุนนางนายตำรวจใหญ่ คาดเป็นบริขารมาด้วย ก็ทรงพระเกษมสันติ์โสมนัสยิ่งนัก
จึงเสด็จตรงเข้าจับมือสามเณรโต แล้วจูงให้มานั่งพระเก้าอี้เคียงพระองค์ แล้วทรงถามว่า
อายุเท่าไร ทูลว่า ฯ ขอถวายพระพรอายุได้ ๑๘ เต็มในเดือนนี้
ทรงถามว่าเกิดปีอะไร? ทูลว่า ฯ ขอถวายพระพรเกิดปีวอกอัฐศก ฯ
รับสั่งถามว่า บ้านเกิดอยู่ที่ไหน? ทูลว่า ฯ ขอถวายพระพรบ้านเดิมอยู่ใต้เมืองกำแพงเพชร แล้วย้ายลงมาตั้งบ้านอยู่เหนือเมืองพิจิตร
รับสั่งถามว่า ฯ โยมผู้ชายชื่ออะไร? ทูลว่า ฯ ขอถวายพระพรไม่รู้จัก
รับสั่งถามว่า ฯ โยมผู้หญิงชื่ออะไร? ทูลว่า ฯ ขอถวายพระพรชื่อ
ุด ฯ
รับสั่งถามว่า ทำไมโยมผู้หญิงไม่บอกตัวโยมผู้ชายให้เจ้ากูรู้จักบ้างหรือ?
ทูลว่า ฯ โยมผู้หญิงเพียงแต่กระซิบบอกว่า เจ้าของรัดประคตนี้เป็นเจ้าคุณแม่ทัพ ขอถวายพระพร ฯ
ครั้นได้ทรงฟังตระหนักพระหฤทัยแล้ว ทรงปราโมทย์เอ็นดูสามเณรยิ่งขึ้น จึงทรงทึกทักว่า แน่คุณโหราองค์นี้ฟ้าจะเอาเป็นพระโหรานำช้างเผือกมาถวาย จงเป็นเณรของฟ้าต่อไป ฟ้าจะเป็นผู้อุปถัมภ์บำรุงเอง แต่พระโหราต้องเป็นผู้ช่วยเลี้ยงช่วยสอนแทนฟ้า ทั้งพระวิเชียรและเสมียนตราด้วง ช่วยฟ้าบำรุงเณร เณรอย่าสึกเลย ไม่ต้องอนาทรอะไร ฟ้าขอบใจพระโหรามากทีเดียว แต่พระโหราอย่าทอดธุระทิ้งเณร ช่วยสอนต่างหูต่างตา ช่วยดูแลให้ดีด้วย และเห็นจะต้องย้ายเณรให้มาอยู่กับสมเด็จพระสังฆราช มี จะได้ใกล้ ๆ กับฟ้าให้อยู่วัดนิพพานนาราม จะดี ฯ
ครั้นรับสั่งแล้ว จึงทรงพระอักษรเป็นลายพระหัตถเลขา มอบสามเณรโตให้แก่สมเด็จพระสังฆราช(มี) ขุนนางทั้งสามก็กราบถวายบังคมลา พาสามเณรลงเรือแจวข้ามฟากมาขึ้นท่าวัดมหานิพพานนาราม ปัจจุบันนี้ก็คือวัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษดิ์ เข้าถวายนมัสการและถวายพระราชหัตถเลขาแก่สมเด็จพระสังฆราช เมื่อทราบความแล้วจึงรับสั่งให้พระครูใบฎีกาไปหาตัวพระอาจารย์แก้ว วัดบางลำภูบนมาเฝ้า แล้วให้อ่านพระราชหัตถเลขานั้น พระอาจารย์แก้วทราบว่าพระยุพราชนิยมสามเณรก็มีความชื่นชม จึงถวายเณรให้อยู่วัดมหานิพพานนาราม ได้รับนิสสัยจากสมเด็จพระสังฆราชแต่วันนั้นมา
สามเณรโตนั้นก็อุตส่าห์ทำวัตรปฏิบัติ แก่สมเด็จพระสังฆราชเจ้า และเรียนคัมภีร์พระปริยัติธรรม กับพระอาจารย์เสม อีกองค์หนึ่งด้วย จนชำนิชำนาญดี จนเวลาล่วงมาอีกสามปี สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงอิศรสุนทร ทรงพระคำนวณปีเกิดของสามเณรโต เป็นกำหนดครบ ๒๑ ปีบริบูรณ์ จึงรับสั่งให้พระโหราธิบดี เป็นผู้แทนพระองค์ นำสามเณรไปบวชที่วัดตะไกร เมืองพิษณุโลก อาราธนาสมเด็จพระวันรัตวัดระฆัง ไปเป็นอุปัชฌาย์ และนิมนต์พระอาจารย์แก้ว เป็นพระกรรมวาจาจารย์ ท่านอธิการวัดตะไกร เป็นอนุสาวนาจารย์ และให้เจ้าเมืองพิษณุโลก เจ้าเมืองกำแพงเพชร เจ้าเมืองพิจิตร เจ้าเมืองพิชัย และเจ้าเมืองไชยนาทบุรี มาช่วยดูแลจัดงานให้เรียบร้อยในกลางเดือนหกนี้
งานอุปสมบทสามเณรโตเป็นพระภิกษุ ก็สำเร็จเรียบร้อยลง ในเวลา ๗ นาฬิกาเช้าวันพุธ ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือนหก ปีมะเส็ง นพศก นั้นเอง แล้วกลับมาอยู่ที่วัดมหานิพพานนารามตามเดิม
ครั้นเข้าพรรษาปีนั้น พระภิกษุโตจึงได้ข้ามไปเรียนคัมภีร์กับสมเด็จพระวันรัตเสมอมา ก็มีความรู้กว้างขวาง แตกฉานลึกซึ้งในธรรมวินัยไตรปิฎกไม่ติดขัด ทั้งท่านก็ปฏิบัติตรงต่อพระธรรมวินัย มีความเคารพยำเกรงต่อผู้ใหญ่ ปฏิบัตินอบน้อมยอมตนให้สม่ำเสมอมา จึงเป็นเหตุให้อำมาตย์ราชเสมา คฤหบดี คฤหปตานี และประชาชนเลื่อมใสศรัทธามากมาย
และสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงอิศรสุนทร ก็ถวายองค์เป็นอุปัฏฐาก และท่านก็รุ่งเรืองในกรุงเทพ ฯ แต่นั้นมา
ครั้นพระภิกษุโตมีพรรษาได้ ๑๐ เป็นปีที่สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงอิศรสุนทร ได้รับพระราชทานพระบวรราชอิศรศักดิ์สูงขึ้น เมื่อเสด็จอุปราชาภิเศกแล้ว พระภิกษุโตได้เข้าเฝ้าถวายพระพรชัยมงคล จึงได้ทรงโปรดพระราชทานเรือพระที่นั่งกราบเป็นเรือสี ถวายแก่พระภิกษุโต โปรดรับสั่งว่า เอาไว้สำหรับไปเทศน์โปรดญาติโยม ทั้งยังทรงตั้งให้เป็น มหาโต แต่นั้นมาทุกคนจึงเรียกท่านมหาโตทั้งแผ่นดิน
ส่วนอภินิหารที่เล่าลือต่อ ๆ กันมา จนกลายเป็นตำนานแล้วนั้น คงจะได้นำมาเล่าในตอนต่อไป.
นิทานชาวสวน ๕ เม.ย.๕๖
สมเด็จโต (๓)
จึงท่านพระโหราธิบดี พระวิเชียร และเสมียนตราด้วง ได้พิจารณาเห็นกิริยาท่าทาง และจรรยาอาการสติปัญญาอย่างเยี่ยม แปลกกว่าที่เคยเห็นมาแต่ก่อน ทั้งมีรัดประคตหนามขนุนคาดด้วย จะทักถามและพยากรณ์เองก็ใช่เหตุ จึงปรึกษาตกลงพร้อมกันว่าควรจะนำเข้าถวายตัวแด่ สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงอิศรสุนทร ให้ได้ทรงทอดพระเนตร อนึ่งพระองค์ท่านก็ทรงโปรดพระและเณรที่ร่ำเรียนรู้ในธรรมทั้ง ๒ คือ คันถธุระ วิปัสสนาธุระ บางทีพ่อเณรมีวาสนาดี ก็อาจจะเป็นพระหลวงก็ได้ ครั้นท่านขุนนางทั้งสามปฤกษาตกลงเห็นพร้อมใจกันแล้ว จึงแนะนำสามเณรโตให้รู้ตัวว่า จะนำเข้าเฝ้า สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงอิศรสุนทร ในวันเดือนห้า ขึ้นค่ำ ศกนี้เป็นแน่ ฯ
ท่านขุนนางทั้งสามก็ได้มาที่วัดบางลำภูบน เรียนกับท่านอาจารย์แก้ว ว่าจะพาสามเณรโต ไปเฝ้า สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ ฯ พระอาจารย์แก้วก็อนุมัติตามใจ แล้วท่านก็เรียกสามเณรมาสั่งสอนขนบธรรมเนียมในการเข้าเฝ้าเจ้าใหญ่นายโตทุกประการ แล้วก็ให้สามเณรครองผ้าคาดรัดประคต ลงเรือแหวดสี่แจวไปกับท่านขุนนางทั้งสาม จนถึงท่าตำหนักแพ หน้าพระราชวังเดิม ฝั่งธนบุรีใต้วัดระฆัง แล้วขึ้นไปเฝ้ายังท้องพระโรงใหญ่ แลพระโหราธิบดีก็กราบทูลเสนอคุณสมบัติของสามเณร ให้ทรงทราบ
สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ากรมหลวง ฯ พระองค์นั้น ทอดพระเนตรเห็นสามเณรโต เปล่งปลั่งรังสี รัศมีกายออกงามมีราศี เหตุด้วยกำลังอำนาจศีลคุณ สมาธิคุณ ปัญญาคุณ หากอบรมสะสมกับผ้ากาสาวะพัตร์ และมีรัดประคตหนามขนุน อย่างของขุนนางนายตำรวจใหญ่ คาดเป็นบริขารมาด้วย ก็ทรงพระเกษมสันติ์โสมนัสยิ่งนัก
จึงเสด็จตรงเข้าจับมือสามเณรโต แล้วจูงให้มานั่งพระเก้าอี้เคียงพระองค์ แล้วทรงถามว่า
อายุเท่าไร ทูลว่า ฯ ขอถวายพระพรอายุได้ ๑๘ เต็มในเดือนนี้
ทรงถามว่าเกิดปีอะไร? ทูลว่า ฯ ขอถวายพระพรเกิดปีวอกอัฐศก ฯ
รับสั่งถามว่า บ้านเกิดอยู่ที่ไหน? ทูลว่า ฯ ขอถวายพระพรบ้านเดิมอยู่ใต้เมืองกำแพงเพชร แล้วย้ายลงมาตั้งบ้านอยู่เหนือเมืองพิจิตร
รับสั่งถามว่า ฯ โยมผู้ชายชื่ออะไร? ทูลว่า ฯ ขอถวายพระพรไม่รู้จัก
รับสั่งถามว่า ฯ โยมผู้หญิงชื่ออะไร? ทูลว่า ฯ ขอถวายพระพรชื่อุด ฯ
รับสั่งถามว่า ทำไมโยมผู้หญิงไม่บอกตัวโยมผู้ชายให้เจ้ากูรู้จักบ้างหรือ?
ทูลว่า ฯ โยมผู้หญิงเพียงแต่กระซิบบอกว่า เจ้าของรัดประคตนี้เป็นเจ้าคุณแม่ทัพ ขอถวายพระพร ฯ
ครั้นได้ทรงฟังตระหนักพระหฤทัยแล้ว ทรงปราโมทย์เอ็นดูสามเณรยิ่งขึ้น จึงทรงทึกทักว่า แน่คุณโหราองค์นี้ฟ้าจะเอาเป็นพระโหรานำช้างเผือกมาถวาย จงเป็นเณรของฟ้าต่อไป ฟ้าจะเป็นผู้อุปถัมภ์บำรุงเอง แต่พระโหราต้องเป็นผู้ช่วยเลี้ยงช่วยสอนแทนฟ้า ทั้งพระวิเชียรและเสมียนตราด้วง ช่วยฟ้าบำรุงเณร เณรอย่าสึกเลย ไม่ต้องอนาทรอะไร ฟ้าขอบใจพระโหรามากทีเดียว แต่พระโหราอย่าทอดธุระทิ้งเณร ช่วยสอนต่างหูต่างตา ช่วยดูแลให้ดีด้วย และเห็นจะต้องย้ายเณรให้มาอยู่กับสมเด็จพระสังฆราช มี จะได้ใกล้ ๆ กับฟ้าให้อยู่วัดนิพพานนาราม จะดี ฯ
ครั้นรับสั่งแล้ว จึงทรงพระอักษรเป็นลายพระหัตถเลขา มอบสามเณรโตให้แก่สมเด็จพระสังฆราช(มี) ขุนนางทั้งสามก็กราบถวายบังคมลา พาสามเณรลงเรือแจวข้ามฟากมาขึ้นท่าวัดมหานิพพานนาราม ปัจจุบันนี้ก็คือวัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษดิ์ เข้าถวายนมัสการและถวายพระราชหัตถเลขาแก่สมเด็จพระสังฆราช เมื่อทราบความแล้วจึงรับสั่งให้พระครูใบฎีกาไปหาตัวพระอาจารย์แก้ว วัดบางลำภูบนมาเฝ้า แล้วให้อ่านพระราชหัตถเลขานั้น พระอาจารย์แก้วทราบว่าพระยุพราชนิยมสามเณรก็มีความชื่นชม จึงถวายเณรให้อยู่วัดมหานิพพานนาราม ได้รับนิสสัยจากสมเด็จพระสังฆราชแต่วันนั้นมา
สามเณรโตนั้นก็อุตส่าห์ทำวัตรปฏิบัติ แก่สมเด็จพระสังฆราชเจ้า และเรียนคัมภีร์พระปริยัติธรรม กับพระอาจารย์เสม อีกองค์หนึ่งด้วย จนชำนิชำนาญดี จนเวลาล่วงมาอีกสามปี สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงอิศรสุนทร ทรงพระคำนวณปีเกิดของสามเณรโต เป็นกำหนดครบ ๒๑ ปีบริบูรณ์ จึงรับสั่งให้พระโหราธิบดี เป็นผู้แทนพระองค์ นำสามเณรไปบวชที่วัดตะไกร เมืองพิษณุโลก อาราธนาสมเด็จพระวันรัตวัดระฆัง ไปเป็นอุปัชฌาย์ และนิมนต์พระอาจารย์แก้ว เป็นพระกรรมวาจาจารย์ ท่านอธิการวัดตะไกร เป็นอนุสาวนาจารย์ และให้เจ้าเมืองพิษณุโลก เจ้าเมืองกำแพงเพชร เจ้าเมืองพิจิตร เจ้าเมืองพิชัย และเจ้าเมืองไชยนาทบุรี มาช่วยดูแลจัดงานให้เรียบร้อยในกลางเดือนหกนี้
งานอุปสมบทสามเณรโตเป็นพระภิกษุ ก็สำเร็จเรียบร้อยลง ในเวลา ๗ นาฬิกาเช้าวันพุธ ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือนหก ปีมะเส็ง นพศก นั้นเอง แล้วกลับมาอยู่ที่วัดมหานิพพานนารามตามเดิม
ครั้นเข้าพรรษาปีนั้น พระภิกษุโตจึงได้ข้ามไปเรียนคัมภีร์กับสมเด็จพระวันรัตเสมอมา ก็มีความรู้กว้างขวาง แตกฉานลึกซึ้งในธรรมวินัยไตรปิฎกไม่ติดขัด ทั้งท่านก็ปฏิบัติตรงต่อพระธรรมวินัย มีความเคารพยำเกรงต่อผู้ใหญ่ ปฏิบัตินอบน้อมยอมตนให้สม่ำเสมอมา จึงเป็นเหตุให้อำมาตย์ราชเสมา คฤหบดี คฤหปตานี และประชาชนเลื่อมใสศรัทธามากมาย
และสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงอิศรสุนทร ก็ถวายองค์เป็นอุปัฏฐาก และท่านก็รุ่งเรืองในกรุงเทพ ฯ แต่นั้นมา
ครั้นพระภิกษุโตมีพรรษาได้ ๑๐ เป็นปีที่สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงอิศรสุนทร ได้รับพระราชทานพระบวรราชอิศรศักดิ์สูงขึ้น เมื่อเสด็จอุปราชาภิเศกแล้ว พระภิกษุโตได้เข้าเฝ้าถวายพระพรชัยมงคล จึงได้ทรงโปรดพระราชทานเรือพระที่นั่งกราบเป็นเรือสี ถวายแก่พระภิกษุโต โปรดรับสั่งว่า เอาไว้สำหรับไปเทศน์โปรดญาติโยม ทั้งยังทรงตั้งให้เป็น มหาโต แต่นั้นมาทุกคนจึงเรียกท่านมหาโตทั้งแผ่นดิน
ส่วนอภินิหารที่เล่าลือต่อ ๆ กันมา จนกลายเป็นตำนานแล้วนั้น คงจะได้นำมาเล่าในตอนต่อไป.