ลีลาวาทะสมเด็จโตฯ ตอนที่ 3 ความคะนองของเจ้ากู
เรียบเรียงโดย โดย ร้อยเอกประชุม สุขสำราญ (ขณะนี้ พันเอก)
ให้เสียงโดย ฟ้าทะลายโจร
เนื้อเรื่องตอนที่ 3
- วิธีปราบพระนอกรีต
- ความคะนองของเจ้ากู
ลีลาวาทะสมเด็จโตฯ ตอนที่ 3 ความคะนอง
Link :
http://youtu.be/MXeRq2nIQDE
Playlist :
http://www.youtube.com/watch?v=BcFoFMH5vbg&feature=share&list=PLrbtPm-Mn-HrvzyXIFgB2oNCBs50mdai-
๐ วิธีปราบพระนอกรีต
เมื่อท่านเป็นสมภารวัดระฆังนั้น ปรากฏว่ามีพระเณรประพฤติล่วงพระวินัย ท่านก็ไม่กล่าวห้ามปรามหรือลงโทษทัณฑ์แต่อย่างไร ท่านใช้วิธีทำให้ผู้ทำผิดเกิดความละอายทีหลังก็ไม่กล้าทำอีก ครั้งหนึ่งพระ 2 รูปทะเลาะกัน ทุ่มเถียงกันที่หน้าวัด เสียงเถียงกันดังลั่นไปหมด เถียงกันไปเถียงกันมากลายเป็นท้าชก เมื่อถูกท้าอีกองค์ก็บอก
"พ่อไม่กลัว"
"พ่อก็ไม่กลัว"
พระจะชกต่อยกันเสียแล้วล่ะครับ เจ้าประคุณสมเด็จฯ โต ได้ยินเสียงเอะอะอย่างนั้น ก็เอาดอกไม้ ธูปเทียนเข้าไปหาพระที่เถียงกันนั้น นั่งประนมมือพูดว่า
"พ่อเจ้าประคุณ ฉันขอฝากเนื้อฝากตัวกับพ่อด้วย ฉันเห็นแล้วว่าพ่อเจ้าประคุณเก่งนัก นึกว่าเอ็นดูฉันเถิดพ่อคุณ"
พระ 2 รูปนั้น ได้ฟังต่างก็แยกย้ายกันกลับกุฏิ ต่อมาเกิดความละอายและเสียใจได้เข้าไปกราบ ทำปฏิญาณกับท่านว่า จะไม่ประพฤติเช่นนั้นอีกต่อไป
คราวหนึ่งท่านไปธุระกับนายเทศ ขณะเดินผ่านหลังโบสถ์ พบว่าพระกลุ่มหนึ่งกำลังเตะตะกร้อกัน ท่านเอาพัดด้ามจิ๋วคลี่ออก แล้วยกขึ้นบังหน้า ทำเป็นทีว่าไม่เห็น นายเทศถามว่า "ทำไมท่านจึงไม่ห้าม"
ท่านตอบว่า "ถึงเวลาเลิก เขาเลิกกันเองแหละ ถ้าไม่ถึงเวลาเลิก แม้เราจะห้าม เขาก็ไม่เลิก"
ต่อมาพระเหล่านั้นเตะตะกร้อกันอีก คราวนี้ท่านให้ไปตามพระเหล่านั้นมา ฉันน้ำร้อนน้ำชาผสมน้ำตาลทราย แล้วถามเป็นทำนองอยากรู้ว่า การเตะตะกร้อนี่ต้องฝึกหัดกันนานไหม ลูกข้างลูกหลัง อันไหนเตะยากกว่ากันอย่างไร
พระเหล่านั้นรู้เจตนาของท่าน เกิดความละอาย ต่างก็เลิกไม่เตะตะกร้อกันแต่นั้นมา
..............................................................
๐ ความคะนองของเจ้ากู
สมัยรัชกาลที่ 3 มีสามเณรที่มาเรียนหนังสือที่พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท ขณะที่คอยอาจารย์มาสอน ก็เตะตะกร้อรอเวลา เพลินไปเลย เจ้าหน้าที่วังเห็นก็มาห้ามปรามแต่ก็ไม่ยอมหยุด คงเข้าทำนองที่เจ้าประคุณสมเด็จฯ ว่า ถึงเวลาเลิก เขาเลิกกันเอง ไม่ถึงเวลาเลิก ทำอย่างไรก็ไม่เลิก เจ้าหน้าที่จึงนำความขึ้นกราบทูลรัชกาลที่ 3 พระองค์กลับรับสั่งว่า
"เจ้ากูจะเล่นบ้าง ก็ช่างเจ้ากูเถอะ"
เรื่องนี้เป็นมูลเหตุให้พระตามวัดต่างๆ เกิดนิยมเตะตะกร้อกันทั่วไป ด้วยถือว่า พระเจ้าอยู่หัวไม่ทรงตำหนิห้ามปราม ความจริง ถ้าเราศึกษาพระราชจริยวัตรของรัชกาลที่ 3 โดยตลอดจะเห็นว่า ทรงมีพระราชหฤทัยเสมอด้วยพระโพธิสัตว์ ทรงอุปถัมภ์บำรุงพระพุทธศาสนามากมายหลายสถาน ทั้งการบูรณะซ่อมแซมวัดวาอาราม การศึกษาของพระภิกษุสามเณร จนขนาดให้เปิดพระราชวังให้เป็นสำนักเรียน เรื่องจะไปตำหนิพระเณรนั้น ย่อมไม่ทรงกระทำเป็นแน่ แสดงให้เห็นถึงน้ำพระราชหฤทัยอันกว้างขวางของพระองค์ ส่วนผู้มีจิตใจคับแคบก็มักจะหาความใส่กันอยู่เรื่อย
อย่างคราวมีงานฉลองวัดพระเชตุพนฯ มีพระเณรเที่ยวเดินปะปน เบียดเสียดกับคฤหัสถ์ชายหญิง พลุกพล่านไปหมด ก็มีคนนำเรื่องนี้กราบทูล รัชกาลที่ 3 ก็รับสั่งว่า
".... คนก็มากด้วยกัน ก็ต้องเบียดกัน ! เป็นธรรมดา"
เข้าใจได้อย่างนี้ ก็สบายใจทั้งพระทั้งโยมแหละครับ
ความคะนองเจ้ากู ลีลาวาทะสมเด็จโตฯ #3 ให้เสียงโดย ฟ้าทะลายโจร
เรียบเรียงโดย โดย ร้อยเอกประชุม สุขสำราญ (ขณะนี้ พันเอก)
ให้เสียงโดย ฟ้าทะลายโจร
เนื้อเรื่องตอนที่ 3
- วิธีปราบพระนอกรีต
- ความคะนองของเจ้ากู
ลีลาวาทะสมเด็จโตฯ ตอนที่ 3 ความคะนอง
Link : http://youtu.be/MXeRq2nIQDE
Playlist : http://www.youtube.com/watch?v=BcFoFMH5vbg&feature=share&list=PLrbtPm-Mn-HrvzyXIFgB2oNCBs50mdai-
๐ วิธีปราบพระนอกรีต
เมื่อท่านเป็นสมภารวัดระฆังนั้น ปรากฏว่ามีพระเณรประพฤติล่วงพระวินัย ท่านก็ไม่กล่าวห้ามปรามหรือลงโทษทัณฑ์แต่อย่างไร ท่านใช้วิธีทำให้ผู้ทำผิดเกิดความละอายทีหลังก็ไม่กล้าทำอีก ครั้งหนึ่งพระ 2 รูปทะเลาะกัน ทุ่มเถียงกันที่หน้าวัด เสียงเถียงกันดังลั่นไปหมด เถียงกันไปเถียงกันมากลายเป็นท้าชก เมื่อถูกท้าอีกองค์ก็บอก
"พ่อไม่กลัว"
"พ่อก็ไม่กลัว"
พระจะชกต่อยกันเสียแล้วล่ะครับ เจ้าประคุณสมเด็จฯ โต ได้ยินเสียงเอะอะอย่างนั้น ก็เอาดอกไม้ ธูปเทียนเข้าไปหาพระที่เถียงกันนั้น นั่งประนมมือพูดว่า
"พ่อเจ้าประคุณ ฉันขอฝากเนื้อฝากตัวกับพ่อด้วย ฉันเห็นแล้วว่าพ่อเจ้าประคุณเก่งนัก นึกว่าเอ็นดูฉันเถิดพ่อคุณ"
พระ 2 รูปนั้น ได้ฟังต่างก็แยกย้ายกันกลับกุฏิ ต่อมาเกิดความละอายและเสียใจได้เข้าไปกราบ ทำปฏิญาณกับท่านว่า จะไม่ประพฤติเช่นนั้นอีกต่อไป
คราวหนึ่งท่านไปธุระกับนายเทศ ขณะเดินผ่านหลังโบสถ์ พบว่าพระกลุ่มหนึ่งกำลังเตะตะกร้อกัน ท่านเอาพัดด้ามจิ๋วคลี่ออก แล้วยกขึ้นบังหน้า ทำเป็นทีว่าไม่เห็น นายเทศถามว่า "ทำไมท่านจึงไม่ห้าม"
ท่านตอบว่า "ถึงเวลาเลิก เขาเลิกกันเองแหละ ถ้าไม่ถึงเวลาเลิก แม้เราจะห้าม เขาก็ไม่เลิก"
ต่อมาพระเหล่านั้นเตะตะกร้อกันอีก คราวนี้ท่านให้ไปตามพระเหล่านั้นมา ฉันน้ำร้อนน้ำชาผสมน้ำตาลทราย แล้วถามเป็นทำนองอยากรู้ว่า การเตะตะกร้อนี่ต้องฝึกหัดกันนานไหม ลูกข้างลูกหลัง อันไหนเตะยากกว่ากันอย่างไร
พระเหล่านั้นรู้เจตนาของท่าน เกิดความละอาย ต่างก็เลิกไม่เตะตะกร้อกันแต่นั้นมา
..............................................................
๐ ความคะนองของเจ้ากู
สมัยรัชกาลที่ 3 มีสามเณรที่มาเรียนหนังสือที่พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท ขณะที่คอยอาจารย์มาสอน ก็เตะตะกร้อรอเวลา เพลินไปเลย เจ้าหน้าที่วังเห็นก็มาห้ามปรามแต่ก็ไม่ยอมหยุด คงเข้าทำนองที่เจ้าประคุณสมเด็จฯ ว่า ถึงเวลาเลิก เขาเลิกกันเอง ไม่ถึงเวลาเลิก ทำอย่างไรก็ไม่เลิก เจ้าหน้าที่จึงนำความขึ้นกราบทูลรัชกาลที่ 3 พระองค์กลับรับสั่งว่า
"เจ้ากูจะเล่นบ้าง ก็ช่างเจ้ากูเถอะ"
เรื่องนี้เป็นมูลเหตุให้พระตามวัดต่างๆ เกิดนิยมเตะตะกร้อกันทั่วไป ด้วยถือว่า พระเจ้าอยู่หัวไม่ทรงตำหนิห้ามปราม ความจริง ถ้าเราศึกษาพระราชจริยวัตรของรัชกาลที่ 3 โดยตลอดจะเห็นว่า ทรงมีพระราชหฤทัยเสมอด้วยพระโพธิสัตว์ ทรงอุปถัมภ์บำรุงพระพุทธศาสนามากมายหลายสถาน ทั้งการบูรณะซ่อมแซมวัดวาอาราม การศึกษาของพระภิกษุสามเณร จนขนาดให้เปิดพระราชวังให้เป็นสำนักเรียน เรื่องจะไปตำหนิพระเณรนั้น ย่อมไม่ทรงกระทำเป็นแน่ แสดงให้เห็นถึงน้ำพระราชหฤทัยอันกว้างขวางของพระองค์ ส่วนผู้มีจิตใจคับแคบก็มักจะหาความใส่กันอยู่เรื่อย
อย่างคราวมีงานฉลองวัดพระเชตุพนฯ มีพระเณรเที่ยวเดินปะปน เบียดเสียดกับคฤหัสถ์ชายหญิง พลุกพล่านไปหมด ก็มีคนนำเรื่องนี้กราบทูล รัชกาลที่ 3 ก็รับสั่งว่า
".... คนก็มากด้วยกัน ก็ต้องเบียดกัน ! เป็นธรรมดา"
เข้าใจได้อย่างนี้ ก็สบายใจทั้งพระทั้งโยมแหละครับ