หมอมะเร็งอยากบอก ตอน มาตรวจคัดกรองมะเร็งกันเถอะ...เดี๋ยวนะ!!!
โรคมะเร็งเป็นโรคที่ใครๆก็ไม่อยากข้องเกี่ยว อย่างไรก็ตามดูเหมือนว่าเราจะหลีกหนีจากโรคมะเร็งได้ยากเหลือเกิน ไม่ว่าจากอายุที่มากขึ้น ไม่ว่าจากสิ่งแวดล้อมที่ดูเหมือนจะเต็มไปด้วยปัจจัยเสี่ยงมะเร็ง คนเป็นมะเร็งรยะต้นๆแม้จะรักษาได้ดีแต่ไม่ค่อยมีอาการทำให้คนส่วนมากเมื่อทราบว่าเป็นมะเร็งก็มักจะเป็นระยะท้ายๆ ดังนั้นเราน่าจะมาหาวิธีคัดกรองให้เจอโรคมะเร็งตั้งแต่เนิ่นๆกัน
สารบ่งชี้มะเร็ง หรือ Tumor Marker นั้นเป็นสารที่ถูกสร้างโดยเซลล์ในร่างกายแต่มักพบสูงในผู้ป่วยโรคมะเร็ง โดยอาจจะเป็นการตรวจจากเลือด น้ำลาย ปัสสาวะ สารคัดหลั่งอื่นๆ การตรวจสารบ่งชี้มะเร็งอาจช่วยให้เจอมะเร็งตั้งแต่ระยะต้นๆซึ่งยังไม่มีอาการ
แต่เดี๋ยวก่อน ก่อนจะหลวมตัวไปตรวจโปรดลองอ่านและทำความเข้าใจให้ดีก่อนครับ
สารบ่งชี้มะเร็งที่เห็นนิยมตรวจกันโดยเฉพาะตามห้องแลบหรือโรงพยาบาลเอกชนเช่นสารบ่งชี้มะเร็งลำไส้ CEA สารบ่งชี้มะเร็งรังไข่ CA125 สารบ่งชี้มะเร็งตับ AFP สารบ่งชี้มะเร็งต่อมลูกหมาก PSA เป็นต้น การตรวจเหล่านี้เป็นอย่างไร มีประโยชน์และโทษอย่างไร ลองอ่านกันดูครับ
อย่าคิดแต่ว่ามีเงินก็ตรวจไปๆ โปรดเข้าใจให้ดีการตรวจทุกอย่างมีความเสี่ยง ผู้รับการตรวจโปรดศึกษาให้เข้าใจอย่างแท้จริงก่อนตัดสินใจหลวมตัวไปตรวจ
การตรวจคัดกรองคืออะไร
การตรวจคัดกรองคือการตรวจในคนปกติทั่วไป หมายความว่าคนเหล่านั้นไม่มีอาการหรือสัญญาณใดๆที่ชวนให้สงสัยเรื่องของสิ่งที่จะตรวจนั้นๆ ในที่นี้ก็คือมะเร็ง การตรวจนี้แตกต่างจากคนที่มีอาการผิดปกติทั้งที่จำเพาะกับอวัยวะหรือไม่จำเพาะเช่นผอมลงน้ำหนักลดแบบไม่มีสาเหตุ
ปัจจัยที่จะทำให้การคัดกรองนั้นมีประโยชน์
1 เครื่องมือที่จะใช้ในการตรวจคัดกรองจะต้องมีความแม่นยำ สามารถแยกได้ระหว่างคนที่เป็นและไม่เป็น
2 เครื่องมือนั้นต้องไม่อันตรายไปกว่าโรคที่กำลังตรวจ
3 โรคนั้นต้องมีระยะก่อนมีอาการที่ยาวนานพอที่จะทำให้ตรวจเจอในระยะต้นๆจริง
4 เมื่อตรวจเจอแล้วการรักษานั้นๆต้องสามารถลดอัตราตายได้จริง ไม่ใช่แค่ทำให้ตรวจเจอเร็วขึ้นแต่ตายในระยะเวลาเท่าเดิม
ปัญหาของการตรวจด้วยสารบ่งชี้มะเร็ง
- ไม่มีความไวดีพอ พบว่าแม้กระทั่งในคนที่เป็นมะเร็งนั้นๆอยู่คนไข้ส่วนหนึ่งก็ยังมีค่ามะเร็งเหล่านั้นที่อยู่ในเกณฑ์ปกติ
- ไม่มีความจำเพาะ พบว่าค่าบ่งชี้มะเร็งสามารถพบในคนที่ไม่เป็นมะเร็ง หรือ การพบอาจไม่ตรงกับชนิดที่พบ ปัญหาที่ตามมาคือ ทำให้ผู้ป่วยต้องเสี่ยงกับกาตรวจที่อันตรายและไม่จำเป็นเพียงเพื่อหามะเร็งที่ไม่มีอยู่จริง หรือ เสียเวลาและโอกาสที่จะเจอมะเร็งที่ถูกต้อง และ บางครั้งอาจหลงทางการรักษาไปด้วยก็ได้
- ไม่สามารถใช้การตรวจเลือดดูค่าบ่งชี้มะเร็งเพื่อการคัดกรองได้
ในปัจจุบันยังไม่มีค่าบ่งชี้มะเร็งใดที่แนะนำให้ตรวจค่าบ่งชี้มะเร็งเพียงอย่างเดียวเพื่อคัดกรองมะเร็ง
อ้าว..แล้วการตรวจค่าบ่งชี้มะเร็งมันมีไว้ทำอะไรหากมันไร้ประโยชน์ขนาดนั้น
จริงๆแล้วมันไม่ได้ไร้ประโยชน์นะครับ เพียงแต่ข้อมูลในปัจจุบันมันยังไม่มี(แม้แต่แนวโน้ม)ที่จะใช้เป็นการตรวจเดี่ยวเพื่อคัดกรองมะเร็งในประชาชนทั่วไป ประโยชน์ส่วนมากจะนิยมใช้ในการติดตามการรักษา เช่นใช้ติดตามการรักษาเพื่อดูการกลับมาเป็นซ้ำ ใช้ติดตามการรักษาเพื่อดูว่ามีการตอบสนอง
อย่างไรก็ตามการใช้ตรวจในกรณีเหล่านี้ยังไม่ได้มีประโยชน์ที่ชัดเจนทั้งหมดและอาจสร้างความกังวลแก่คนไข้ได้ การพิจารณาตรวจหรือไม่ตรวจจงต้องพิจารณาเป็นรายๆไป
ยกตัวอย่างปัญหาของการตรวจสารบ่งชี้มะเร็งได้มั้ย
- ตัวอย่างจากงานวิจัย
มีการศึกษาวิจัยหลายการศึกษาพบว่า การตรวจค่าบ่งชี้มะเร็งเช่น CA125 ร่วมกับการอัลตราซาวนด์ทางช่องคลอด นอกจากจะไม่ได้ลดอัตราตายจากมะเร็งรังไข่ (ความจริงตัวเลขในคนที่ตรวจตายจากมะเร็งรังไข่สูงกว่าเล็กน้อย) ยังเพิ่มอันตรายจากการที่ต้องไปตรวจเพิ่มเติมอีก พบว่าคนไข้ราวๆ 10% ที่มีผลบวกปลอมคือค่าเลือดผิดปกติแต่ไม่มีมะเร็งรังไข่ คนไข้ 1/3 เคยรับการผ่าตัดเพื่อหามะเร็งรังไข่
ในการศึกษาคัดกรองด้วยการตรวจ PSA สำหรับผู้ชายพบว่าคนที่ตรวจและติดตาม PSA มีอัตราตายจากมะเร็งต่อมลูกหมากลดลงเพียงเล้กน้อย แต่อัตราตายโดยรวมไม่แตกต่างกัน พบว่าคนไข้จำนวนมากได้รับการวินิจฉัยเป็นมะเร็งต่อมลูกหมาก ต้องรับการตรวจที่ไม่จำเป็น และ อาจรับการรักษาที่ไม่จำเป็นเพราะสำหรับมะเร็งต่อมลูกหมากอาจจะมีอยู่ในคนไข้แต่ไม่เคยสร้างปัญหาเลยก็ได่
- ตัวอย่างจากประสบกาณ์ส่วนตัว
เคสที่ผมนิยมเล่าเสมอคือคนไข้ที่ไปตรวจ CA125 มาพบว่าค่าสูงผิดปกติถึง 500 เมื่อติดตามดูสูงขึ้นเป็น 1000 กาตรวจทำให้ไม่แน่ใจว่าซีสต์เล็กๆในรังไข่จะเป็นมะเร็งหรือไม่จึงรับการผ่าดมดลูกและรังไข่สองข้าง ผลออกมาก็ไม่มีมะเร็ง จากตรงนี้จึงได้มาพบผมตอนนั้น CA125 1200 การตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์เกือบทั้งตัวพบเพียงจุดเล็กๆในปอด 3-4 มิลลิเมตร ในที่สุดหลังจากการคุยกันอย่างยาวนานคนไข้ก็ตกลงที่จะไม่ลงทุนตรวจเพิ่มเติมไปกว่านี้ ปัจจุบันผ่านมาเกิน 3 ปี CA125 1200-1400 แต่คนไข้ก็ยังสบายดีผลการติดตามเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ก็ปกติ
แม้จะดูจบลงด้วยดี แต่ชีวิตคนไข้ถูกทำลายลงด้วยความกลัวและความคิดว่าตนเองเป็นมะเร็ง เสียการเสียงาน เสียความสุขในชีวิต เจ็บตัว หากคนไข้ไม่ได้ไปตรวจเขาก็คงไม่ต้องรับผลที่ตามมามากมายขนาดนี้
อีกเคสคือคนไข้ไปตรวจมาพบว่า CEA สูงหลังจากความพยายามในการส่องกล้องดูกระเพาะ ลำไส้ก็ไม่พบมะเร็งที่อธิบายได้ แต่คนไข้เริ่มมีน้ำหนักลดลงเรื่อยๆ มีอาการไอซึ่งก็ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นหลอดลมอักเสบบ้าง ปอดอักเสบบ้าง จนในที่สุดคนไข้มาโรงพยาบาลผมด้วยปัญหาขาสองข้างอ่อนแรง สรุปผลการตรวจคนไข้เป็นมะเร็งปอดระยะสุดท้ายตัวก้อนในปอดอยู่หลังเงาหัวใจทำให้เมื่อดูเอกซเรย์ธรรมดาก็ปกติอยู่ร่ำไป จนกระทั่งมะเร็งกระจายไปกระดูกหลังและกดทับไขสันหลังจนเป็นอัมพาตขาสองข้าง ในความเป็นจริงหากมีอาการผอมลงนำหนักลดร่วมกับอาการไอเรื้อรังมะเร็งปอดคงเป็นปัญหาอันดับต้นๆที่ต้องสงสัย
เอาล่ะมาถึงจุดสำคัญถ้าอย่างนั้นก็ไม่มีทางตรวจคัดกรองมะเร็งเลยน่ะสิ?
คำตอบคือเปล่า จริงๆมันมี แต่มันมีเงื่อนไขและรายละเอียดมากมายขอยกตัวอย่างมาให้เห็นภาพกันดังนี้ครับ
1 การตรวจคัดกรองมะเร็งตับ
ใครที่ควรตรวจ
1 คนไข้ที่มีตับแข็งไม่ว่าจากสาเหตุใดก็ตามเช่นเหล้า ไวรัสตับอักเสบ ไขมันเกาะตับ ไม่ทราบสาเหตุ
2 คนไข้ที่เป็นพาหะไวรัสตับอักเสบบี แม้ว่าจะยังไม่มีตับแข็ง โดยเฉพาะในชายตั้งแต่อายุ 40 ปี และ หญึงตั้งแต่อายุ 50 ปีขึ้นไป
ตรวจอย่างไร
ควรตรวจด้วย AFP ร่วมกับอัลตราซาวนด์ตับทุก 6-12 เดือน
2 การตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก
ใครที่ควรตรวจ
แม้ว่าจะมีความแตกต่างในแต่ละสถาบันที่แนะนำการตรวจแต่อย่างน้อยผู้หญิงทุกคนที่อายุตั้งแต่ 21 ปีไม่ว่าจะเคยมีเพศสัมพันธ์หรือไม่ก็ตาม แต่หากอายุมากกว่า 65 ปีโดยที่ผลตรวจก่อนหน้าปกติ หรือ ตัดหมดลูกพร้อมปากมดลูกแล้วก็ไม่จำเป้นต้องตรวจ
***** การฉีดวัคซีน HPV หรือที่เรียกติดปากว่าวัคซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูกนั้นไม่ได้ช่วยให้ไม่ต้องตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก ทุกคนยังคงต้องตรวจไม่ว่าจะฉีดหรือไม่ฉีดวัคซีนนะครับ
ตรวจอย่างไร
การตรวจอย่างน้อยที่สุดคือการตรวจเซลล์ วิธีที่นิยมในบ้านเราคือ PAP smear และตรวจสม่ำเสมอตามคำแนะนำของผลตรวจที่ได้
การตรวจ HPV ไม่แนะนำให้ตรวจเป็นการตรวจเดี่ยว ต้องตรวจร่วมกับการตรวจเซลล์โดยเฉพาะในคนอายุ 30-65 ปี
3 การตรวจคัดกรองมะเร็งลำไส้
ใครที่ควรตรวจ
1 คนที่ไม่มีปัจจัยเสี่ยงอื่นๆควรเริ่มตรวจเมื่ออายุตั้งแต่ 50 ปีขึ้นไป
2 คนที่มีญาติสายตรงคือพ่อแม่พี่น้องร่วมบิดามารดาและลูกเป็นมะเร็งลำไส้ที่อายุเท่าใดก็ตามควรตรวจที่อายุที่ญาติเป็นลบด้วย 10 หรือที่ 40 ปีหากญาติสายตรงเป็นตอนอายุ 50 ปีขึ้นไปอย่างน้อย2คนหรือที่ 50 ปีหากญาติสายตรงคนเดียวเป็นตอนอายุ 60 ปีขึ้นไป
ตรวจอย่างไร
แม้มีวิธีตรวจมากมายแต่มีวิธีที่แนะนำ 2 วิธีคือ
1 การตรวจหาเลือดในอุจจาระ ซึ่งหากเป็นบวกจะต้องตรวจข้อ 2 ต่อไป
2การตรวจด้วยการส่องกล้องลำไส้ไม่ว่าผลตรวจอุจจาระจะเป็นอย่างไร
*** ไม่มีการแนะนำให้ตรวจด้วย CEA
4 การตรวจคัดกรองมะเร็งต่อมลูกหมาก
ใครที่ควรตรวจ
การจะเลือกตรวจคัดกรองมะเร็งต่อมลูกหมากควรจะปรึกษากับแพทย์ที่รู้จริงเป็นอย่างดีในการแนะนำการตรวจก่อนตัดสินใจการตรวจเพราะคุณมีโอกาสที่จะเจอมเร็งต่อมลูกหมากซึ่งมันอาจจะไม่เคยสร้างปัญหาให้คุณเลยจนกระทั่งตายจากสาเหตุอื่น หรือ การตรวจแล้วผลผิดปกติจะต้องนำมาสู่การตรวจต่างๆมากมายไม่เช่นนั้นแล้วการตรวจก็เหมือนไม่ได้ตรวจ
หากคิดจะตรวจคุณอาจเลือกตรวจครั้งแรกที่อายุ 40 ปี 45 ปี เพื่อเป็นค่าปกติของคุณ หรือเริ่มตรวจสม่ำเสมอเมื่ออายุตั้งแต่ 50 ปี
ตรวจอย่างไร
การตรวจนั้นแนะนำให้ตรวจ PSA ร่วมกับการตรวจด้วยนิ้วมือ(หมอ)ทางทวารหนัก หากเริ่มตรวจก่อน 50ปีหากผลการตรวจทางทวารหนักปกติและ PSA < 1.0 ng/mL แนะนำให้ตรวจซ้ำทุก 5 ปีหรือจนกว่าจะอายุ 50 ปี หากผลตรวจทางทวารหนักปกติแต่ PSA > 1.0 ควรตรวจซ้ำทุกปีร่วมกับการตรวจอื่นๆตามคำแนะนำของแพทย์
*** ไม่แนะนำใหตรวจในคนที่คาดว่าอายุขัยน้อยกว่า 10 ปี ดังนั้นหากอายุมากกว่า 75 ปี หรือน้อยกว่านั้นแต่มีโรคประจำตัวการตรวจอาจไม่ได้ประโยชน์อะไร
จะเห็นได้ว่าการตรวจคัดกรองมะเร็งแบบ(มัก)ง่ายตามที่เห็นเกลื่อนกลาดนั้นส่วนมากจะไม่ใช่การตรวจตามคำแนะนำที่เหมาะสม
แม้ว่าค่าตรวจจะไม่ใช่ปัญหาสำหรับคุณ แต่ขอให้คิดและไตร่ตรองให้ดี หากคุณมีปัญหาหรือความกังวลเกี่ยวกับมะเร็งใดๆควรปรึกษาแพทย์ไม่มใช่เลือกไปตรวจเลือดเพียงอย่างเดียว ตัวอย่างคำแนะนำนี้เป็นเพียงแนวทางกว้างๆไม่ใช่การให้คำแนะนำทางการแพทย์ ไม่ใช่การรักษาหรือวินิจฉัย โปรดปรึกษากับแพทย์ก่อนตัดสินใจถึงแม้ว่าคุณจะอยู่ในกลุ่มที่มีคำแนะนำให้ตรวจคัดกรองถึงความจำเป็น ความเสี่ยง และความคุ้มค่าครับ
ติดตามตอนเก่าๆได้ดังนี้ครับ
http://ppantip.com/topic/30325146
http://ppantip.com/topic/30300600
http://ppantip.com/topic/30260174
http://ppantip.com/topic/30259559
http://ppantip.com/topic/30232170
http://ppantip.com/topic/30231737
http://ppantip.com/topic/30218427
หมอมะเร็งอยากบอก ตอน มาตรวจคัดกรองมะเร็งกันเถอะ...เดี๋ยวนะ!!!
โรคมะเร็งเป็นโรคที่ใครๆก็ไม่อยากข้องเกี่ยว อย่างไรก็ตามดูเหมือนว่าเราจะหลีกหนีจากโรคมะเร็งได้ยากเหลือเกิน ไม่ว่าจากอายุที่มากขึ้น ไม่ว่าจากสิ่งแวดล้อมที่ดูเหมือนจะเต็มไปด้วยปัจจัยเสี่ยงมะเร็ง คนเป็นมะเร็งรยะต้นๆแม้จะรักษาได้ดีแต่ไม่ค่อยมีอาการทำให้คนส่วนมากเมื่อทราบว่าเป็นมะเร็งก็มักจะเป็นระยะท้ายๆ ดังนั้นเราน่าจะมาหาวิธีคัดกรองให้เจอโรคมะเร็งตั้งแต่เนิ่นๆกัน
สารบ่งชี้มะเร็ง หรือ Tumor Marker นั้นเป็นสารที่ถูกสร้างโดยเซลล์ในร่างกายแต่มักพบสูงในผู้ป่วยโรคมะเร็ง โดยอาจจะเป็นการตรวจจากเลือด น้ำลาย ปัสสาวะ สารคัดหลั่งอื่นๆ การตรวจสารบ่งชี้มะเร็งอาจช่วยให้เจอมะเร็งตั้งแต่ระยะต้นๆซึ่งยังไม่มีอาการ แต่เดี๋ยวก่อน ก่อนจะหลวมตัวไปตรวจโปรดลองอ่านและทำความเข้าใจให้ดีก่อนครับ
สารบ่งชี้มะเร็งที่เห็นนิยมตรวจกันโดยเฉพาะตามห้องแลบหรือโรงพยาบาลเอกชนเช่นสารบ่งชี้มะเร็งลำไส้ CEA สารบ่งชี้มะเร็งรังไข่ CA125 สารบ่งชี้มะเร็งตับ AFP สารบ่งชี้มะเร็งต่อมลูกหมาก PSA เป็นต้น การตรวจเหล่านี้เป็นอย่างไร มีประโยชน์และโทษอย่างไร ลองอ่านกันดูครับอย่าคิดแต่ว่ามีเงินก็ตรวจไปๆ โปรดเข้าใจให้ดีการตรวจทุกอย่างมีความเสี่ยง ผู้รับการตรวจโปรดศึกษาให้เข้าใจอย่างแท้จริงก่อนตัดสินใจหลวมตัวไปตรวจ
การตรวจคัดกรองคืออะไร
การตรวจคัดกรองคือการตรวจในคนปกติทั่วไป หมายความว่าคนเหล่านั้นไม่มีอาการหรือสัญญาณใดๆที่ชวนให้สงสัยเรื่องของสิ่งที่จะตรวจนั้นๆ ในที่นี้ก็คือมะเร็ง การตรวจนี้แตกต่างจากคนที่มีอาการผิดปกติทั้งที่จำเพาะกับอวัยวะหรือไม่จำเพาะเช่นผอมลงน้ำหนักลดแบบไม่มีสาเหตุ
ปัจจัยที่จะทำให้การคัดกรองนั้นมีประโยชน์
1 เครื่องมือที่จะใช้ในการตรวจคัดกรองจะต้องมีความแม่นยำ สามารถแยกได้ระหว่างคนที่เป็นและไม่เป็น
2 เครื่องมือนั้นต้องไม่อันตรายไปกว่าโรคที่กำลังตรวจ
3 โรคนั้นต้องมีระยะก่อนมีอาการที่ยาวนานพอที่จะทำให้ตรวจเจอในระยะต้นๆจริง
4 เมื่อตรวจเจอแล้วการรักษานั้นๆต้องสามารถลดอัตราตายได้จริง ไม่ใช่แค่ทำให้ตรวจเจอเร็วขึ้นแต่ตายในระยะเวลาเท่าเดิม
ปัญหาของการตรวจด้วยสารบ่งชี้มะเร็ง
- ไม่มีความไวดีพอ พบว่าแม้กระทั่งในคนที่เป็นมะเร็งนั้นๆอยู่คนไข้ส่วนหนึ่งก็ยังมีค่ามะเร็งเหล่านั้นที่อยู่ในเกณฑ์ปกติ
- ไม่มีความจำเพาะ พบว่าค่าบ่งชี้มะเร็งสามารถพบในคนที่ไม่เป็นมะเร็ง หรือ การพบอาจไม่ตรงกับชนิดที่พบ ปัญหาที่ตามมาคือ ทำให้ผู้ป่วยต้องเสี่ยงกับกาตรวจที่อันตรายและไม่จำเป็นเพียงเพื่อหามะเร็งที่ไม่มีอยู่จริง หรือ เสียเวลาและโอกาสที่จะเจอมะเร็งที่ถูกต้อง และ บางครั้งอาจหลงทางการรักษาไปด้วยก็ได้
- ไม่สามารถใช้การตรวจเลือดดูค่าบ่งชี้มะเร็งเพื่อการคัดกรองได้ ในปัจจุบันยังไม่มีค่าบ่งชี้มะเร็งใดที่แนะนำให้ตรวจค่าบ่งชี้มะเร็งเพียงอย่างเดียวเพื่อคัดกรองมะเร็ง
อ้าว..แล้วการตรวจค่าบ่งชี้มะเร็งมันมีไว้ทำอะไรหากมันไร้ประโยชน์ขนาดนั้น
จริงๆแล้วมันไม่ได้ไร้ประโยชน์นะครับ เพียงแต่ข้อมูลในปัจจุบันมันยังไม่มี(แม้แต่แนวโน้ม)ที่จะใช้เป็นการตรวจเดี่ยวเพื่อคัดกรองมะเร็งในประชาชนทั่วไป ประโยชน์ส่วนมากจะนิยมใช้ในการติดตามการรักษา เช่นใช้ติดตามการรักษาเพื่อดูการกลับมาเป็นซ้ำ ใช้ติดตามการรักษาเพื่อดูว่ามีการตอบสนอง อย่างไรก็ตามการใช้ตรวจในกรณีเหล่านี้ยังไม่ได้มีประโยชน์ที่ชัดเจนทั้งหมดและอาจสร้างความกังวลแก่คนไข้ได้ การพิจารณาตรวจหรือไม่ตรวจจงต้องพิจารณาเป็นรายๆไป
ยกตัวอย่างปัญหาของการตรวจสารบ่งชี้มะเร็งได้มั้ย
- ตัวอย่างจากงานวิจัย
มีการศึกษาวิจัยหลายการศึกษาพบว่า การตรวจค่าบ่งชี้มะเร็งเช่น CA125 ร่วมกับการอัลตราซาวนด์ทางช่องคลอด นอกจากจะไม่ได้ลดอัตราตายจากมะเร็งรังไข่ (ความจริงตัวเลขในคนที่ตรวจตายจากมะเร็งรังไข่สูงกว่าเล็กน้อย) ยังเพิ่มอันตรายจากการที่ต้องไปตรวจเพิ่มเติมอีก พบว่าคนไข้ราวๆ 10% ที่มีผลบวกปลอมคือค่าเลือดผิดปกติแต่ไม่มีมะเร็งรังไข่ คนไข้ 1/3 เคยรับการผ่าตัดเพื่อหามะเร็งรังไข่
ในการศึกษาคัดกรองด้วยการตรวจ PSA สำหรับผู้ชายพบว่าคนที่ตรวจและติดตาม PSA มีอัตราตายจากมะเร็งต่อมลูกหมากลดลงเพียงเล้กน้อย แต่อัตราตายโดยรวมไม่แตกต่างกัน พบว่าคนไข้จำนวนมากได้รับการวินิจฉัยเป็นมะเร็งต่อมลูกหมาก ต้องรับการตรวจที่ไม่จำเป็น และ อาจรับการรักษาที่ไม่จำเป็นเพราะสำหรับมะเร็งต่อมลูกหมากอาจจะมีอยู่ในคนไข้แต่ไม่เคยสร้างปัญหาเลยก็ได่
- ตัวอย่างจากประสบกาณ์ส่วนตัว
เคสที่ผมนิยมเล่าเสมอคือคนไข้ที่ไปตรวจ CA125 มาพบว่าค่าสูงผิดปกติถึง 500 เมื่อติดตามดูสูงขึ้นเป็น 1000 กาตรวจทำให้ไม่แน่ใจว่าซีสต์เล็กๆในรังไข่จะเป็นมะเร็งหรือไม่จึงรับการผ่าดมดลูกและรังไข่สองข้าง ผลออกมาก็ไม่มีมะเร็ง จากตรงนี้จึงได้มาพบผมตอนนั้น CA125 1200 การตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์เกือบทั้งตัวพบเพียงจุดเล็กๆในปอด 3-4 มิลลิเมตร ในที่สุดหลังจากการคุยกันอย่างยาวนานคนไข้ก็ตกลงที่จะไม่ลงทุนตรวจเพิ่มเติมไปกว่านี้ ปัจจุบันผ่านมาเกิน 3 ปี CA125 1200-1400 แต่คนไข้ก็ยังสบายดีผลการติดตามเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ก็ปกติ
แม้จะดูจบลงด้วยดี แต่ชีวิตคนไข้ถูกทำลายลงด้วยความกลัวและความคิดว่าตนเองเป็นมะเร็ง เสียการเสียงาน เสียความสุขในชีวิต เจ็บตัว หากคนไข้ไม่ได้ไปตรวจเขาก็คงไม่ต้องรับผลที่ตามมามากมายขนาดนี้
อีกเคสคือคนไข้ไปตรวจมาพบว่า CEA สูงหลังจากความพยายามในการส่องกล้องดูกระเพาะ ลำไส้ก็ไม่พบมะเร็งที่อธิบายได้ แต่คนไข้เริ่มมีน้ำหนักลดลงเรื่อยๆ มีอาการไอซึ่งก็ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นหลอดลมอักเสบบ้าง ปอดอักเสบบ้าง จนในที่สุดคนไข้มาโรงพยาบาลผมด้วยปัญหาขาสองข้างอ่อนแรง สรุปผลการตรวจคนไข้เป็นมะเร็งปอดระยะสุดท้ายตัวก้อนในปอดอยู่หลังเงาหัวใจทำให้เมื่อดูเอกซเรย์ธรรมดาก็ปกติอยู่ร่ำไป จนกระทั่งมะเร็งกระจายไปกระดูกหลังและกดทับไขสันหลังจนเป็นอัมพาตขาสองข้าง ในความเป็นจริงหากมีอาการผอมลงนำหนักลดร่วมกับอาการไอเรื้อรังมะเร็งปอดคงเป็นปัญหาอันดับต้นๆที่ต้องสงสัย
เอาล่ะมาถึงจุดสำคัญถ้าอย่างนั้นก็ไม่มีทางตรวจคัดกรองมะเร็งเลยน่ะสิ?
คำตอบคือเปล่า จริงๆมันมี แต่มันมีเงื่อนไขและรายละเอียดมากมายขอยกตัวอย่างมาให้เห็นภาพกันดังนี้ครับ
1 การตรวจคัดกรองมะเร็งตับ
ใครที่ควรตรวจ
1 คนไข้ที่มีตับแข็งไม่ว่าจากสาเหตุใดก็ตามเช่นเหล้า ไวรัสตับอักเสบ ไขมันเกาะตับ ไม่ทราบสาเหตุ
2 คนไข้ที่เป็นพาหะไวรัสตับอักเสบบี แม้ว่าจะยังไม่มีตับแข็ง โดยเฉพาะในชายตั้งแต่อายุ 40 ปี และ หญึงตั้งแต่อายุ 50 ปีขึ้นไป
ตรวจอย่างไร
ควรตรวจด้วย AFP ร่วมกับอัลตราซาวนด์ตับทุก 6-12 เดือน
2 การตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก
ใครที่ควรตรวจ
แม้ว่าจะมีความแตกต่างในแต่ละสถาบันที่แนะนำการตรวจแต่อย่างน้อยผู้หญิงทุกคนที่อายุตั้งแต่ 21 ปีไม่ว่าจะเคยมีเพศสัมพันธ์หรือไม่ก็ตาม แต่หากอายุมากกว่า 65 ปีโดยที่ผลตรวจก่อนหน้าปกติ หรือ ตัดหมดลูกพร้อมปากมดลูกแล้วก็ไม่จำเป้นต้องตรวจ
***** การฉีดวัคซีน HPV หรือที่เรียกติดปากว่าวัคซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูกนั้นไม่ได้ช่วยให้ไม่ต้องตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก ทุกคนยังคงต้องตรวจไม่ว่าจะฉีดหรือไม่ฉีดวัคซีนนะครับ
ตรวจอย่างไร
การตรวจอย่างน้อยที่สุดคือการตรวจเซลล์ วิธีที่นิยมในบ้านเราคือ PAP smear และตรวจสม่ำเสมอตามคำแนะนำของผลตรวจที่ได้
การตรวจ HPV ไม่แนะนำให้ตรวจเป็นการตรวจเดี่ยว ต้องตรวจร่วมกับการตรวจเซลล์โดยเฉพาะในคนอายุ 30-65 ปี
3 การตรวจคัดกรองมะเร็งลำไส้
ใครที่ควรตรวจ
1 คนที่ไม่มีปัจจัยเสี่ยงอื่นๆควรเริ่มตรวจเมื่ออายุตั้งแต่ 50 ปีขึ้นไป
2 คนที่มีญาติสายตรงคือพ่อแม่พี่น้องร่วมบิดามารดาและลูกเป็นมะเร็งลำไส้ที่อายุเท่าใดก็ตามควรตรวจที่อายุที่ญาติเป็นลบด้วย 10 หรือที่ 40 ปีหากญาติสายตรงเป็นตอนอายุ 50 ปีขึ้นไปอย่างน้อย2คนหรือที่ 50 ปีหากญาติสายตรงคนเดียวเป็นตอนอายุ 60 ปีขึ้นไป
ตรวจอย่างไร
แม้มีวิธีตรวจมากมายแต่มีวิธีที่แนะนำ 2 วิธีคือ
1 การตรวจหาเลือดในอุจจาระ ซึ่งหากเป็นบวกจะต้องตรวจข้อ 2 ต่อไป
2การตรวจด้วยการส่องกล้องลำไส้ไม่ว่าผลตรวจอุจจาระจะเป็นอย่างไร
*** ไม่มีการแนะนำให้ตรวจด้วย CEA
4 การตรวจคัดกรองมะเร็งต่อมลูกหมาก
ใครที่ควรตรวจ
การจะเลือกตรวจคัดกรองมะเร็งต่อมลูกหมากควรจะปรึกษากับแพทย์ที่รู้จริงเป็นอย่างดีในการแนะนำการตรวจก่อนตัดสินใจการตรวจเพราะคุณมีโอกาสที่จะเจอมเร็งต่อมลูกหมากซึ่งมันอาจจะไม่เคยสร้างปัญหาให้คุณเลยจนกระทั่งตายจากสาเหตุอื่น หรือ การตรวจแล้วผลผิดปกติจะต้องนำมาสู่การตรวจต่างๆมากมายไม่เช่นนั้นแล้วการตรวจก็เหมือนไม่ได้ตรวจ
หากคิดจะตรวจคุณอาจเลือกตรวจครั้งแรกที่อายุ 40 ปี 45 ปี เพื่อเป็นค่าปกติของคุณ หรือเริ่มตรวจสม่ำเสมอเมื่ออายุตั้งแต่ 50 ปี
ตรวจอย่างไร
การตรวจนั้นแนะนำให้ตรวจ PSA ร่วมกับการตรวจด้วยนิ้วมือ(หมอ)ทางทวารหนัก หากเริ่มตรวจก่อน 50ปีหากผลการตรวจทางทวารหนักปกติและ PSA < 1.0 ng/mL แนะนำให้ตรวจซ้ำทุก 5 ปีหรือจนกว่าจะอายุ 50 ปี หากผลตรวจทางทวารหนักปกติแต่ PSA > 1.0 ควรตรวจซ้ำทุกปีร่วมกับการตรวจอื่นๆตามคำแนะนำของแพทย์
*** ไม่แนะนำใหตรวจในคนที่คาดว่าอายุขัยน้อยกว่า 10 ปี ดังนั้นหากอายุมากกว่า 75 ปี หรือน้อยกว่านั้นแต่มีโรคประจำตัวการตรวจอาจไม่ได้ประโยชน์อะไร
จะเห็นได้ว่าการตรวจคัดกรองมะเร็งแบบ(มัก)ง่ายตามที่เห็นเกลื่อนกลาดนั้นส่วนมากจะไม่ใช่การตรวจตามคำแนะนำที่เหมาะสม แม้ว่าค่าตรวจจะไม่ใช่ปัญหาสำหรับคุณ แต่ขอให้คิดและไตร่ตรองให้ดี หากคุณมีปัญหาหรือความกังวลเกี่ยวกับมะเร็งใดๆควรปรึกษาแพทย์ไม่มใช่เลือกไปตรวจเลือดเพียงอย่างเดียว ตัวอย่างคำแนะนำนี้เป็นเพียงแนวทางกว้างๆไม่ใช่การให้คำแนะนำทางการแพทย์ ไม่ใช่การรักษาหรือวินิจฉัย โปรดปรึกษากับแพทย์ก่อนตัดสินใจถึงแม้ว่าคุณจะอยู่ในกลุ่มที่มีคำแนะนำให้ตรวจคัดกรองถึงความจำเป็น ความเสี่ยง และความคุ้มค่าครับ
ติดตามตอนเก่าๆได้ดังนี้ครับ
http://ppantip.com/topic/30325146
http://ppantip.com/topic/30300600
http://ppantip.com/topic/30260174
http://ppantip.com/topic/30259559
http://ppantip.com/topic/30232170
http://ppantip.com/topic/30231737
http://ppantip.com/topic/30218427