เรียบเรียงข้อมูลโดยกระปุกดทอคอม
ขอขอบคุณภาพประกอบจาก รายการเจาะข่าวเด่น โพสต์โดย คุณ เรื่องเล่า เช้านี้ สมาชิกเว็บไซต์ยูทูบดอทคอม
กลายเป็นประเด็นที่ถกเถียงกันร้อนแรงตลอดช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา สำหรับงบประมาณ 2 ล้านล้านบาท ที่จะนำมาพัฒนาระบบคมนาคม โครงการรถไฟความเร็วสูง รายการเจาะข่าวเด่น (1 เมษายน) จึงขอเชิญ นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม มาร่วมพูดคุยเกี่ยวกับโครงการดังกล่าว ว่าจะคุ้มค่าหรือไม่?
โดย นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ รัฐมนตรีกระทรวงคมนาคม ขอชี้แจงถึงความสับสนเรื่องตัวเลขเงินกู้ที่อาจเกิดความเข้าใจคลาดเคลื่อนก่อนว่า จำนวนเงินที่รัฐบาลจะทำการกู้เพื่อมาปรับปรุงพัฒนาประเทศนั้น ที่จริงแล้วเป็นยอดเงิน 2 ล้านล้านบาท ซึ่งกระทรวงการคลังได้กำหนดงบประมาณเอาไว้ตอนแรกที่ 2.2 ล้านล้านบาท แต่เมื่อคำนวณวินัยทางการเงินแล้ว ตัวเลขมาลงตัวที่ 2 ล้านล้านบาท ดังนั้นงบประมาณในการกู้ที่แท้จริงคือ 2 ล้านล้านบาท
นอกจากนี้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ยังเปิดเผยว่า งบประมาณ 2 ล้านล้านบาทดังกล่าว ที่จะนำมาใช้ในการพัฒนาระบบคมนาคมพื้นฐานนั้น มีการกำหนดยุทธศาสตร์หลัก ๆ ไว้ 3 เรื่อง คือ
1. การเปลี่ยนระบบขนส่งจากถนน มาเป็นช่องทางที่ประหยัดกว่า คือ ทางราง และ ทางน้ำ เพราะการขนส่งทางรางจะประหยัดกว่า 50% ส่วนทางน้ำจะประหยัดกว่าถึง 3 เท่า จึงจะมีการก่อสร้าง “รถไฟรางคู่” ก่อนเป็นอันดับแรก รวมถึงการเพิ่มรถไฟรางเดี่ยวให้เป็นรางคู่ด้วย ซึ่งจะใช้งบประมาณ 3 - 4 แสนล้านบาท และการปรับปรุงและเพิ่มระบบขนส่งทางน้ำ เช่น การปรับปรุงท่าเรืออ่างทอง ปรับปรุงเขื่อนป่าสัก รวมถึงท่าเรือ จ.ชุมพร และ จ.สงขลา ใช้งบประมาณ 3 หมื่นล้านบาท
2. การเชื่อมโยงกับต่างประเทศ ด้วยการปรับปรุงด่านตรวจคนเข้าเมืองตามจุดต่าง ๆ 41 แห่งทั่วประเทศ เพื่อแบ่งแยกช่องสินค้าและผู้โดยสารให้เป็นระบบ ลดเวลาในการผ่านแดนให้คล่องตัวมากขึ้น โดยกระทรวงการคลังเป็นผู้รับผิดชอบ
3. โครงการรถไฟความเร็วสูง ซึ่งจะเป็นการขยายโอกาสจากกรุงเทพฯ ไปยังจังหวัดต่าง ๆ โดยแบ่งออกเป็น 4 เส้นทาง คือ กรุงเทพฯ - เชียงใหม่, กรุงเทพฯ - หนองคาย, กรุงเทพฯ - ระยอง, กรุงเทพฯ - หัวหิน ตามภาพรวมใหญ่ แต่เมื่อสร้างจริง เส้นทาง กรุงเทพฯ - หนองคายจะสร้างถึงแค่ นครราชสีมา ก่อน เพื่อให้เหมาะสมกับงบประมาณ 7 แสนล้านบาท จากนั้นจึงค่อยขยายต่อไปถึงหนองคาย ซึ่งอาจใช้วิธีการหาผู้ร่วมทุน เพราะหากสร้างตามแผนทั้งหมดจะต้องใช้งบประมาณ 1.3 - 1.4 ล้านล้านบาท
สำหรับโครงการรถไฟความเร็วสูง จะสามารถทยอยเปิดได้ ซึ่งภายใน 5 ปี น่าจะสามารถเปิดเส้นทาง กรุงเทพฯ - พิษณุโลก และ กรุงเทพฯ - นครราชสีมา ได้
ส่วนงบประมาณที่เหลือจะนำไปใช้ปรับปรุงถนน เช่น มอเตอร์เวย์ กรุงเทพฯ - นครราชสีมา, เพิ่มถนน 4 เลนทั่วประเทศ, ซ่อมถนนที่ทรุดโทรม ใช้งบประมาณ 2 แสนล้านบาท
นี่คือรายละเอียดคร่าว ๆ จากการชี้แจงของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ถึงการจัดสรรงบประมาณ 2 ล้านล้านบาท เพื่อพัฒนาระบบคมนาคมทั่วประเทศ แต่งบประมาณดังกล่าวจะคุ้มค่าหรือไม่? จะมีการพูดคุยกันต่อในรายการเจาะข่าวเด่น ช่วงเย็นวันนี้ (2 เมษายน)
คลิป โครงการถไฟความเร็วสูง ทำได้จริง คุ้มค่า : เครดิต รายการเจาะข่าวเด่น โพสต์โดย คุณ เรื่องเล่า เช้านี้
เจาะลึก! โครงการรถไฟความเร็วสูง ใช้งบ 2 ล้านล้านบาท ทำอะไร?
เรียบเรียงข้อมูลโดยกระปุกดทอคอม
ขอขอบคุณภาพประกอบจาก รายการเจาะข่าวเด่น โพสต์โดย คุณ เรื่องเล่า เช้านี้ สมาชิกเว็บไซต์ยูทูบดอทคอม
กลายเป็นประเด็นที่ถกเถียงกันร้อนแรงตลอดช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา สำหรับงบประมาณ 2 ล้านล้านบาท ที่จะนำมาพัฒนาระบบคมนาคม โครงการรถไฟความเร็วสูง รายการเจาะข่าวเด่น (1 เมษายน) จึงขอเชิญ นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม มาร่วมพูดคุยเกี่ยวกับโครงการดังกล่าว ว่าจะคุ้มค่าหรือไม่?
โดย นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ รัฐมนตรีกระทรวงคมนาคม ขอชี้แจงถึงความสับสนเรื่องตัวเลขเงินกู้ที่อาจเกิดความเข้าใจคลาดเคลื่อนก่อนว่า จำนวนเงินที่รัฐบาลจะทำการกู้เพื่อมาปรับปรุงพัฒนาประเทศนั้น ที่จริงแล้วเป็นยอดเงิน 2 ล้านล้านบาท ซึ่งกระทรวงการคลังได้กำหนดงบประมาณเอาไว้ตอนแรกที่ 2.2 ล้านล้านบาท แต่เมื่อคำนวณวินัยทางการเงินแล้ว ตัวเลขมาลงตัวที่ 2 ล้านล้านบาท ดังนั้นงบประมาณในการกู้ที่แท้จริงคือ 2 ล้านล้านบาท
นอกจากนี้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ยังเปิดเผยว่า งบประมาณ 2 ล้านล้านบาทดังกล่าว ที่จะนำมาใช้ในการพัฒนาระบบคมนาคมพื้นฐานนั้น มีการกำหนดยุทธศาสตร์หลัก ๆ ไว้ 3 เรื่อง คือ
1. การเปลี่ยนระบบขนส่งจากถนน มาเป็นช่องทางที่ประหยัดกว่า คือ ทางราง และ ทางน้ำ เพราะการขนส่งทางรางจะประหยัดกว่า 50% ส่วนทางน้ำจะประหยัดกว่าถึง 3 เท่า จึงจะมีการก่อสร้าง “รถไฟรางคู่” ก่อนเป็นอันดับแรก รวมถึงการเพิ่มรถไฟรางเดี่ยวให้เป็นรางคู่ด้วย ซึ่งจะใช้งบประมาณ 3 - 4 แสนล้านบาท และการปรับปรุงและเพิ่มระบบขนส่งทางน้ำ เช่น การปรับปรุงท่าเรืออ่างทอง ปรับปรุงเขื่อนป่าสัก รวมถึงท่าเรือ จ.ชุมพร และ จ.สงขลา ใช้งบประมาณ 3 หมื่นล้านบาท
2. การเชื่อมโยงกับต่างประเทศ ด้วยการปรับปรุงด่านตรวจคนเข้าเมืองตามจุดต่าง ๆ 41 แห่งทั่วประเทศ เพื่อแบ่งแยกช่องสินค้าและผู้โดยสารให้เป็นระบบ ลดเวลาในการผ่านแดนให้คล่องตัวมากขึ้น โดยกระทรวงการคลังเป็นผู้รับผิดชอบ
3. โครงการรถไฟความเร็วสูง ซึ่งจะเป็นการขยายโอกาสจากกรุงเทพฯ ไปยังจังหวัดต่าง ๆ โดยแบ่งออกเป็น 4 เส้นทาง คือ กรุงเทพฯ - เชียงใหม่, กรุงเทพฯ - หนองคาย, กรุงเทพฯ - ระยอง, กรุงเทพฯ - หัวหิน ตามภาพรวมใหญ่ แต่เมื่อสร้างจริง เส้นทาง กรุงเทพฯ - หนองคายจะสร้างถึงแค่ นครราชสีมา ก่อน เพื่อให้เหมาะสมกับงบประมาณ 7 แสนล้านบาท จากนั้นจึงค่อยขยายต่อไปถึงหนองคาย ซึ่งอาจใช้วิธีการหาผู้ร่วมทุน เพราะหากสร้างตามแผนทั้งหมดจะต้องใช้งบประมาณ 1.3 - 1.4 ล้านล้านบาท
สำหรับโครงการรถไฟความเร็วสูง จะสามารถทยอยเปิดได้ ซึ่งภายใน 5 ปี น่าจะสามารถเปิดเส้นทาง กรุงเทพฯ - พิษณุโลก และ กรุงเทพฯ - นครราชสีมา ได้
ส่วนงบประมาณที่เหลือจะนำไปใช้ปรับปรุงถนน เช่น มอเตอร์เวย์ กรุงเทพฯ - นครราชสีมา, เพิ่มถนน 4 เลนทั่วประเทศ, ซ่อมถนนที่ทรุดโทรม ใช้งบประมาณ 2 แสนล้านบาท
นี่คือรายละเอียดคร่าว ๆ จากการชี้แจงของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ถึงการจัดสรรงบประมาณ 2 ล้านล้านบาท เพื่อพัฒนาระบบคมนาคมทั่วประเทศ แต่งบประมาณดังกล่าวจะคุ้มค่าหรือไม่? จะมีการพูดคุยกันต่อในรายการเจาะข่าวเด่น ช่วงเย็นวันนี้ (2 เมษายน)
คลิป โครงการถไฟความเร็วสูง ทำได้จริง คุ้มค่า : เครดิต รายการเจาะข่าวเด่น โพสต์โดย คุณ เรื่องเล่า เช้านี้