สู้คดีศาลโลกที่กรุงเฮก : โลกสาระจิปาถะ โดยกวี จงกิจถาวร
ห้องพิจารณาคดีศาลโลกได้ทาสีใหม่เป็นสีขาวและเปลี่ยนเฟอร์นิเจอร์ในห้องทั้งหมด ดูราวกับว่าอยากต้อนรับคณะผู้แทนของไทยและกัมพูชาที่จะแวะเข้ามาหลังสงกรานต์เป็นเวลาสี่วัน เบิกความในเรื่องข้อพิพาทปราสาทเขาวิหาร
ที่นั่งของทนายความบนบัลลังก์ยาวจะเป็นเก้าอี้นวมสีขาว มีคอมพิวเตอร์อยู่ข้างหน้า หน้าบัลลังก์มีคำภาษาอังกฤษและฝรั่งเศส แปลเป็นไทยคือ ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ (ศาลโลกต้องการให้คนดูทีวีทั่วโลกรู้ว่าที่นี่คือศาลโลก)
ครั้งนี้รู้สึกว่าศาลโลกเตรียมตัวเป็นอย่างดี เข้าใจดีว่าจะมีคนไทยและต่างประเทศเข้ามาฟังการพิจารณาคดีมากมาย ยังไม่ทันไร ฝ่ายไทยจะมีผู้แทนเกือบหนึ่งร้อยทั้งที่เป็นวุฒิสมาชิก ส.ส. นักวิชาการที่สำคัญที่สุดคือนักข่าวทั้งสื่อตีพิมพ์และทีวี เรียกได้ว่าครั้งนี้นักข่าวโทรทัศน์มากันทุกช่อง พร้อมถ่ายทอดสด คนไทยที่ไม่ได้ไปกรุงเฮกอย่าเสียใจ สามารถฟังและดูการถ่ายทอดสดพร้อมกับคำแปลเป็นภาษาไทย
ศาลโลกต้องการเปิดกว้าง เมื่อเร็วๆ นี้ ทีวีขององค์การสหประชาชาติอนุญาตให้ศาลโลกใช้สถานนี้ถ่ายทอด อาทิตย์ที่แล้วมีการติดตั้งกล้องถ่ายไฮเรสโซลูชั่นถึงหกกล้อง เพื่อจับหน้าทนายความที่กำลังแถลง คนไทยทุกคนควรได้อ่านเหตุผล ตลอดถึงการตีความของรัฐบาลไทยต่อคำตัดสินของศาลโลกเมื่อ 50 ปีก่อน ที่มาทุกวันนี้ยังไม่จบสิ้นของปี 1959 และปี 2011 และสิ่งที่ฝ่ายไทยจะเสนอและนำมาอ้างอิงก็จะเป็นข้อมูลที่คนไทยต้องรับทราบและเปิดเผยต่อไป จะได้เข้าใจเรื่องทั้งหมดอย่างทุกต้องโดยไม่มีการตบแต่งแบบที่เห็นในทีวีหรือฟังจากวิทยุ ครั้งนี้คนไทยสามารถติดตามการพิจารณาในศาลโลกได้อย่างทั่วถึง นอกจากถ่ายทอดสด จะมีการแปลเป็นภาษาไทยในเวลาเดียวกัน
เอกสารที่จะเสนอในศาลหลังวันสงกรานต์ มีทั้งหมด 597 หน้า เป็นข้อความทั้งหมด 233 หน้า มีเอกสารแนบส่วนใหญ่เป็นแผ่นซีดีอีก 364 หน้า ในปี 2011 มีเอกสารทั้งหมด 758 หน้าแบ่งเป็นข้อความ 307 หน้าและเอกสารอ้างอิงอีก 451 หน้า ฉะนั้นไทยเราเสนอเอกสารทั้งหมด 1,355 หน้า ส่วนกัมพูชามีเอกสารทั้งหมดประมาณ 300 กว่าหน้า
ในช่วงสอง-สามเดือนที่ผ่านมา จะพบว่ามีการประชุมมากมายในประเทศไทยระหว่างเจ้าหน้าที่และหน่วยงานต่างๆ เพื่อซักซ้อมสิ่งที่ต้องทำหลังมีคำพิพากษาออกมา ส่วนกัมพูชามิได้มีการเสนอข่าวพิเศษอะไร นอกจากข่าวผู้นำเขมรต่อว่าไทยและอดีตนายกรัฐมนตรีอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ สิ่งที่ได้หารือระหว่างเจ้าหน้าที่ไทยนั้นเป็นเรื่องภายในของไทย เพราะหลักฐานเพิ่มเติมนั้นต้องส่งไปให้ศาลโลกตั้งแต่ปีที่แล้ว
ฝ่ายไทยต้องพยายามแสดงให้เห็นว่าคำตัดสินของศาลโลกในเมื่อปี 1962 นั้นจบสิ้นบริบูรณ์ เพราะทางฝ่ายไทยได้ทำตามข้อเสนอทุกอย่างที่ศาลโลกสั่งมา กัมพูชาต้องการแสดงให้เห็นว่าคำตัดสินนั้นมีผลในการแบ่งปันเขตแดน
*ขออนุญาติเจ้าของบทความตัดบางส่วนที่เห็นว่าไม่เกี่ยวกับสาระออกไปนะครับ*
บทความนี้คัดลอกมาจากนสพ.คมชัดลึก
เห็นว่าบทความนี้น่าจะมีประโยชน์ต่อพวกเราชาวราชดำเนิน จึงนำมาเสนอให้อ่านกันดู
เพื่อจะได้เกิดความเข้าใจที่ตรงกัน ควรอ่านหลักฐานของทั้งสองฝ่ายอย่างรอบคอบ
ส่วนผลลัพธ์ที่ออกมาจะเป็นอย่างไร คงต้องมารอลุ้นกันในวันนั้นครับ
ศาลโลกที่กรุงเฮก
ห้องพิจารณาคดีศาลโลกได้ทาสีใหม่เป็นสีขาวและเปลี่ยนเฟอร์นิเจอร์ในห้องทั้งหมด ดูราวกับว่าอยากต้อนรับคณะผู้แทนของไทยและกัมพูชาที่จะแวะเข้ามาหลังสงกรานต์เป็นเวลาสี่วัน เบิกความในเรื่องข้อพิพาทปราสาทเขาวิหาร
ที่นั่งของทนายความบนบัลลังก์ยาวจะเป็นเก้าอี้นวมสีขาว มีคอมพิวเตอร์อยู่ข้างหน้า หน้าบัลลังก์มีคำภาษาอังกฤษและฝรั่งเศส แปลเป็นไทยคือ ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ (ศาลโลกต้องการให้คนดูทีวีทั่วโลกรู้ว่าที่นี่คือศาลโลก)
ครั้งนี้รู้สึกว่าศาลโลกเตรียมตัวเป็นอย่างดี เข้าใจดีว่าจะมีคนไทยและต่างประเทศเข้ามาฟังการพิจารณาคดีมากมาย ยังไม่ทันไร ฝ่ายไทยจะมีผู้แทนเกือบหนึ่งร้อยทั้งที่เป็นวุฒิสมาชิก ส.ส. นักวิชาการที่สำคัญที่สุดคือนักข่าวทั้งสื่อตีพิมพ์และทีวี เรียกได้ว่าครั้งนี้นักข่าวโทรทัศน์มากันทุกช่อง พร้อมถ่ายทอดสด คนไทยที่ไม่ได้ไปกรุงเฮกอย่าเสียใจ สามารถฟังและดูการถ่ายทอดสดพร้อมกับคำแปลเป็นภาษาไทย
ศาลโลกต้องการเปิดกว้าง เมื่อเร็วๆ นี้ ทีวีขององค์การสหประชาชาติอนุญาตให้ศาลโลกใช้สถานนี้ถ่ายทอด อาทิตย์ที่แล้วมีการติดตั้งกล้องถ่ายไฮเรสโซลูชั่นถึงหกกล้อง เพื่อจับหน้าทนายความที่กำลังแถลง คนไทยทุกคนควรได้อ่านเหตุผล ตลอดถึงการตีความของรัฐบาลไทยต่อคำตัดสินของศาลโลกเมื่อ 50 ปีก่อน ที่มาทุกวันนี้ยังไม่จบสิ้นของปี 1959 และปี 2011 และสิ่งที่ฝ่ายไทยจะเสนอและนำมาอ้างอิงก็จะเป็นข้อมูลที่คนไทยต้องรับทราบและเปิดเผยต่อไป จะได้เข้าใจเรื่องทั้งหมดอย่างทุกต้องโดยไม่มีการตบแต่งแบบที่เห็นในทีวีหรือฟังจากวิทยุ ครั้งนี้คนไทยสามารถติดตามการพิจารณาในศาลโลกได้อย่างทั่วถึง นอกจากถ่ายทอดสด จะมีการแปลเป็นภาษาไทยในเวลาเดียวกัน
เอกสารที่จะเสนอในศาลหลังวันสงกรานต์ มีทั้งหมด 597 หน้า เป็นข้อความทั้งหมด 233 หน้า มีเอกสารแนบส่วนใหญ่เป็นแผ่นซีดีอีก 364 หน้า ในปี 2011 มีเอกสารทั้งหมด 758 หน้าแบ่งเป็นข้อความ 307 หน้าและเอกสารอ้างอิงอีก 451 หน้า ฉะนั้นไทยเราเสนอเอกสารทั้งหมด 1,355 หน้า ส่วนกัมพูชามีเอกสารทั้งหมดประมาณ 300 กว่าหน้า
ในช่วงสอง-สามเดือนที่ผ่านมา จะพบว่ามีการประชุมมากมายในประเทศไทยระหว่างเจ้าหน้าที่และหน่วยงานต่างๆ เพื่อซักซ้อมสิ่งที่ต้องทำหลังมีคำพิพากษาออกมา ส่วนกัมพูชามิได้มีการเสนอข่าวพิเศษอะไร นอกจากข่าวผู้นำเขมรต่อว่าไทยและอดีตนายกรัฐมนตรีอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ สิ่งที่ได้หารือระหว่างเจ้าหน้าที่ไทยนั้นเป็นเรื่องภายในของไทย เพราะหลักฐานเพิ่มเติมนั้นต้องส่งไปให้ศาลโลกตั้งแต่ปีที่แล้ว
ฝ่ายไทยต้องพยายามแสดงให้เห็นว่าคำตัดสินของศาลโลกในเมื่อปี 1962 นั้นจบสิ้นบริบูรณ์ เพราะทางฝ่ายไทยได้ทำตามข้อเสนอทุกอย่างที่ศาลโลกสั่งมา กัมพูชาต้องการแสดงให้เห็นว่าคำตัดสินนั้นมีผลในการแบ่งปันเขตแดน
*ขออนุญาติเจ้าของบทความตัดบางส่วนที่เห็นว่าไม่เกี่ยวกับสาระออกไปนะครับ*
บทความนี้คัดลอกมาจากนสพ.คมชัดลึก
เห็นว่าบทความนี้น่าจะมีประโยชน์ต่อพวกเราชาวราชดำเนิน จึงนำมาเสนอให้อ่านกันดู
เพื่อจะได้เกิดความเข้าใจที่ตรงกัน ควรอ่านหลักฐานของทั้งสองฝ่ายอย่างรอบคอบ
ส่วนผลลัพธ์ที่ออกมาจะเป็นอย่างไร คงต้องมารอลุ้นกันในวันนั้นครับ