เมื่อวันที่ 26 ไปบริจาคเลือดที่กาชาดเป็นครั้งที่ 29
หลังจากชั่งใจตัวเองอยู่นานว่าการบริจาคครั้งที่ 29 นี้อยากจะบริจาคเม็ดเลือดแดง ซึ่งต้องทำใจอยู่พอควร
เพราะไม่รู้ว่าจะผ่านหรือไม่ ไม่รู้ว่าหลังบริจาคแล้วจะเป็นอย่างไร
ไม่ได้กลัวตาย แต่กลัวกลายเป็นภาระให้คุณพยาบาลในห้องบริจาคต้องหายาดมยาหม่องมาให้เพราะเกิดภาวะซีดแล้วเป็นลม
แถมตอนบ่ายจะไปเดิน Shopping อีก (ปกติบริจาคเลือดเสร็จจะเดินตัวปลิวมาก ไม่เคยอ่อนเพลียเลย แต่นั่นมัน Whole Blood)
หลังจากเดินวนไปวนมาหน้าห้องบริจาคชั้นล่าง ก็ตัดสินใจเดินเข้าไปด้านในแล้วบอกคุณพยาบาลว่า
"ผมจะมาบริจาคเม็ดเลือดแดงครับ"
คุณพยาบาลละสายตาจากเอกสารที่อยู่ตรงหน้า หันมามองหน้าเราแล้วทำหน้าฉงน คงประมาณว่าไอ้นี่เป็นใคร อยู่ดีๆ เดินมาบอกจะบริจาคเม็ดเลือดซะงั้น แล้วก็บอกว่า
"ช่วงนี้ไม่มี Order ค่ะ แต่เกล็ดเลือดเราขาด สนใจบริจาคไหมค่ะ"
"ได้ครับ" ผมรีบตอบตกลง ราวกับเกรงคุณพยาบาลจะเปลี่ยนใจไม่รับบริจาคจากผมซะงั้น
"แล้วคิดไงถึงอยากบริจาคเม็ดเลือดค่ะ" ระหว่างที่เรากำลังส่งบัตรผู้บริจาคโลหิตให้คุณพยาบาลก็ถามขึ้น
"ผมอยากบริจาคทุกอย่างครับ" เป็นคำตอบที่เราให้ออกไป พร้อมกับคิดในใจเหมือนทุกครั้งที่ไปบริจาคเลือดว่า เมื่อไหร่จะมีใครมารับ Stem Cells เราไปซักที รอนานมากแล้วนะ
จากนั้นก็มีการซักประวัติเล็กน้อย ซึ่งการบริจาคเกล็ดเลือดครั้งนี้เป็นครั้งที่ 3 แล้วก็เลยไม่ค่อยซักอะไรเรามาก
ในการบริจาคเกล็ดเลือดนั้นมีสิ่งที่ต้องสนใจและเตรียมตัวดังนี้
1. อายุ 17-50 ปี น้ำหนัก 50 กิโลขึ้นไป
2. หมู่เลือดต้องตรงกับผู้รับบริจาค
3. เส้นเลือดที่ข้อพับแขนต้องใหญ่
4. ไม่มีภาวะความดันสูง
5. ไม่กินยาแอสไพรินในระยะ 5 วัน
6. ควรเป็นผู้บริจาคโลหิตสม่ำเสมอ
7. มีเกล็ดเลือดตามข้อกำหนด ซึ่งเขาจะเจาะเลือดเราไปตรวจก่อน
สิ่งที่ควรกระทำก่อนการบริจาคเกล็ดเลือดคือ
เข้าห้องน้ำให้เรียบร้อย เพราะต้องนอนอยู่กับที่ตั้ง 2 ชั่วโมง
สิ่งที่ควรกระทำระหว่างการบริจาคเกล็ดเลือดคือ
1. ถ้าคุณพยาบาลถามว่าจะฉีดยาช้ามั๊ย ควรรีบตกลงทันที ขอบอกเลยว่าตอนเข็มเจาะตอนแรกอาจไม่รู้สึกอะไร แต่พอจะครบ 1.5 ชั่วโมงที่สิ ปวดตรงที่เข็มเจาะ ตุ๊บๆ เลย
2. ถ่ายรูปลง Facebook
3. ถ้าสายรัดที่แขนบีบแขนเมื่อไหร่ ให้บีบลูกบอลที่มือทันที เลือดจะได้ออกเยอะๆ
หลังจากบริจาคเกล็ดเลือดจะไม่มีอาการอ่อนเพลียใดๆ ทั้งสิ้น แต่ระหว่างบริจาคนี่สิ ง่วงสุดๆ แอร์ก็เย็นสบาย มี TV ดูเพลินๆ แล้วต้องนอนเฉยๆ ตั้งเกือบ 2 ชั่วโมง
เกล็ดเลือดที่ได้รับบริจาคสามารถเก็บไว้ได้ไม่เกิน 5 วัน แต่ปกติ เขาจะเก็บไว้ไม่เกิน 1 วัน คือได้จากเราปุ๊บ ก็ส่งให้ผู้ป่วยทันที
ผู้ป่วยที่ต้องการเกล็กเลือดก็ได้แก่ ผู้ป่วยมะเร็งเม็ดเลือดขาว ผู้ป่วยไข้เลือดออก ผู้ป่วยมะเร็งต่อมน้ำเหลือง ผู้ป่วยที่มีอาการเลือดออกภายใน
ซึ่งผู้ป่วยประเภทนี้มีอยู่มากมายในปัจจุัน
เกล็ดเล็ก เกล็ดเลือด
หลังจากชั่งใจตัวเองอยู่นานว่าการบริจาคครั้งที่ 29 นี้อยากจะบริจาคเม็ดเลือดแดง ซึ่งต้องทำใจอยู่พอควร
เพราะไม่รู้ว่าจะผ่านหรือไม่ ไม่รู้ว่าหลังบริจาคแล้วจะเป็นอย่างไร
ไม่ได้กลัวตาย แต่กลัวกลายเป็นภาระให้คุณพยาบาลในห้องบริจาคต้องหายาดมยาหม่องมาให้เพราะเกิดภาวะซีดแล้วเป็นลม
แถมตอนบ่ายจะไปเดิน Shopping อีก (ปกติบริจาคเลือดเสร็จจะเดินตัวปลิวมาก ไม่เคยอ่อนเพลียเลย แต่นั่นมัน Whole Blood)
หลังจากเดินวนไปวนมาหน้าห้องบริจาคชั้นล่าง ก็ตัดสินใจเดินเข้าไปด้านในแล้วบอกคุณพยาบาลว่า
"ผมจะมาบริจาคเม็ดเลือดแดงครับ"
คุณพยาบาลละสายตาจากเอกสารที่อยู่ตรงหน้า หันมามองหน้าเราแล้วทำหน้าฉงน คงประมาณว่าไอ้นี่เป็นใคร อยู่ดีๆ เดินมาบอกจะบริจาคเม็ดเลือดซะงั้น แล้วก็บอกว่า
"ช่วงนี้ไม่มี Order ค่ะ แต่เกล็ดเลือดเราขาด สนใจบริจาคไหมค่ะ"
"ได้ครับ" ผมรีบตอบตกลง ราวกับเกรงคุณพยาบาลจะเปลี่ยนใจไม่รับบริจาคจากผมซะงั้น
"แล้วคิดไงถึงอยากบริจาคเม็ดเลือดค่ะ" ระหว่างที่เรากำลังส่งบัตรผู้บริจาคโลหิตให้คุณพยาบาลก็ถามขึ้น
"ผมอยากบริจาคทุกอย่างครับ" เป็นคำตอบที่เราให้ออกไป พร้อมกับคิดในใจเหมือนทุกครั้งที่ไปบริจาคเลือดว่า เมื่อไหร่จะมีใครมารับ Stem Cells เราไปซักที รอนานมากแล้วนะ
จากนั้นก็มีการซักประวัติเล็กน้อย ซึ่งการบริจาคเกล็ดเลือดครั้งนี้เป็นครั้งที่ 3 แล้วก็เลยไม่ค่อยซักอะไรเรามาก
ในการบริจาคเกล็ดเลือดนั้นมีสิ่งที่ต้องสนใจและเตรียมตัวดังนี้
1. อายุ 17-50 ปี น้ำหนัก 50 กิโลขึ้นไป
2. หมู่เลือดต้องตรงกับผู้รับบริจาค
3. เส้นเลือดที่ข้อพับแขนต้องใหญ่
4. ไม่มีภาวะความดันสูง
5. ไม่กินยาแอสไพรินในระยะ 5 วัน
6. ควรเป็นผู้บริจาคโลหิตสม่ำเสมอ
7. มีเกล็ดเลือดตามข้อกำหนด ซึ่งเขาจะเจาะเลือดเราไปตรวจก่อน
สิ่งที่ควรกระทำก่อนการบริจาคเกล็ดเลือดคือ
เข้าห้องน้ำให้เรียบร้อย เพราะต้องนอนอยู่กับที่ตั้ง 2 ชั่วโมง
สิ่งที่ควรกระทำระหว่างการบริจาคเกล็ดเลือดคือ
1. ถ้าคุณพยาบาลถามว่าจะฉีดยาช้ามั๊ย ควรรีบตกลงทันที ขอบอกเลยว่าตอนเข็มเจาะตอนแรกอาจไม่รู้สึกอะไร แต่พอจะครบ 1.5 ชั่วโมงที่สิ ปวดตรงที่เข็มเจาะ ตุ๊บๆ เลย
2. ถ่ายรูปลง Facebook
3. ถ้าสายรัดที่แขนบีบแขนเมื่อไหร่ ให้บีบลูกบอลที่มือทันที เลือดจะได้ออกเยอะๆ
หลังจากบริจาคเกล็ดเลือดจะไม่มีอาการอ่อนเพลียใดๆ ทั้งสิ้น แต่ระหว่างบริจาคนี่สิ ง่วงสุดๆ แอร์ก็เย็นสบาย มี TV ดูเพลินๆ แล้วต้องนอนเฉยๆ ตั้งเกือบ 2 ชั่วโมง
เกล็ดเลือดที่ได้รับบริจาคสามารถเก็บไว้ได้ไม่เกิน 5 วัน แต่ปกติ เขาจะเก็บไว้ไม่เกิน 1 วัน คือได้จากเราปุ๊บ ก็ส่งให้ผู้ป่วยทันที
ผู้ป่วยที่ต้องการเกล็กเลือดก็ได้แก่ ผู้ป่วยมะเร็งเม็ดเลือดขาว ผู้ป่วยไข้เลือดออก ผู้ป่วยมะเร็งต่อมน้ำเหลือง ผู้ป่วยที่มีอาการเลือดออกภายใน
ซึ่งผู้ป่วยประเภทนี้มีอยู่มากมายในปัจจุัน