แม้ภาครัฐจะออกมาพร่ำพูดเสมอ ๆ ว่า การแก้ปัญหาการจราจรในพื้นที่กรุงเทพฯ และปริมณฑลอย่างยั่งยืน ต้องพัฒนาระบบขนส่งมวลชน และระบบรถสาธารณะให้ดี เพื่อให้คนยอมทิ้งรถส่วนตัวไว้ที่บ้านมาใช้รถขนส่งมวลชน เพื่อลดปริมาณรถยนต์บนถนน
แต่ในทางปฏิบัติรัฐบาลก็ยังไม่สามารถขับเคลื่อนให้เกิดการพัฒนาระบบขนส่งมวลชน ระบบรถสาธารณะให้พัฒนาขึ้นได้ จะเห็นได้จากโครงการจัดหารถเมล์ใหม่ใช้ก๊าซเอ็นจีวี ขององค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในแผนฟื้นฟูกิจการ ขสมก. ที่มีการริเริ่มและเตรียมพร้อมการประกวดราคามาตั้งแต่ปี 2549 สมัยที่นายพิเณศวร์ พัวพัฒนกุล เป็นผู้อำนวยการ ขสมก. จากที่จะใช้วิธีเช่า 6,000 คัน ก็มีการปรับเปลี่ยนลดจำนวนลงเรื่อย ๆ ตามความเห็นของที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ในแต่ละรัฐบาล ขณะนี้ผ่านมาถึง 7 ปีแล้ว ครม.ก็ยังไม่อนุมัติโครงการ มีการติติงในเรื่องของตัวเลขงบประมาณที่อาจแพงไปจนถึงเรื่องจิปาถะ แต่ในทางกลับกันรัฐบาลกลับอนุมัติโครงการคืนภาษีรถยนต์คันแรก ส่งเสริมให้คนซื้อรถยนต์ออกมาเพิ่มปริมาณความหนาแน่นของรถยนต์บนท้องถนนเข้าไปอีก โดยเริ่มโครงการ ปลายปี 2554 เสร็จสิ้นโครงการไปเมื่อปลายปี 2555 ที่ผ่านมา ทำให้มียอดรถยนต์ใหม่จากโครงการประมาณ 1.2 ล้านคัน เป็นเงินภาษีกว่า 9 หมื่นล้านบาท
จากข้อมูลของ ขสมก.ปัจจุบัน ขสมก.มีรถเมล์ประจำการทั้งรถปรับอากาศและรถธรรมดารวมทั้งสิ้น 3,454 คัน แต่มีสภาพพร้อมให้บริการได้จริงเพียง 2,715 คัน ใน 108 เส้นทาง พื้นที่กรุงเทพฯ และปริมณฑล ที่เหลือเป็นรถเสียรอการซ่อมแซม โดยรถของ ขสมก.ที่ใหม่ที่สุดมีอายุการใช้งาน 12 ปี เป็นรถปรับอากาศยูโรทูจำนวน 500 คัน ส่วนรถที่เก่าที่สุดที่ยังให้บริการได้ มีอายุการใช้งาน 22 ปี เป็นรถธรรมดาและรถปรับอากาศสีขาวน้ำเงิน ขณะที่รถเอกชนร่วมบริการมีจำนวนรถออกวิ่งให้บริการทั้งรถปรับอากาศ รถธรรมดา และมินิบัส รวมทั้งสิ้น 4,874 คัน ให้บริการ 100 เส้นทาง ทั้งหมดนี้ให้บริการผู้โดยสารในพื้นที่กรุงเทพฯ และปริมณฑลตกวันละเกือบ 4 ล้านคน ในส่วนนี้ยังไม่รวมถึงผู้ใช้บริการรถตู้ และรถสาธารณะอื่น ๆ
ปัจจุบัน ขสมก.ประสบปัญหามีรถออกให้บริการประชาชนไม่เพียงพอ เนื่องจากมีรถเสียจำนวนมาก นอกจากนี้ ขสมก.เป็นรัฐวิสาหกิจ ดังนั้นหากมีการร้องขอรถออกไปให้บริการประชาชนในส่วนต่าง ๆ อาทิ การเดินทางภายในศูนย์ราชการแจ้งวัฒนะ หรือการขอให้ขยายเส้นทางวิ่งให้บริการไปยังพื้นที่รอบนอก ขสมก.ก็ต้องเจียดรถเมล์เท่าที่มีอยู่ออกไปให้บริการประชาชนให้ทั่วถึง ทำให้รถที่มีน้อยอยู่แล้วยิ่งมีน้อยเข้าไปอีก การแก้ปัญหาโดยการเพิ่มเที่ยววิ่งให้มากขึ้นเพื่อให้รถสามารถออกให้บริการอย่างต่อเนื่องนั้นก็ทำได้ยาก เพราะปัญหาการจราจรติดขัด อีกทั้งจำนวนรถก็น้อยเกินกว่าจะทำเช่นนั้นได้ ซึ่งเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นทุกเขตการเดินรถของ ขสมก. ทำให้ทุกวันนี้ผู้โดยสารต้องเจอปัญหารถเมล์ขาดระยะ รอนานบางทีนานถึง 20-30 นาที สภาพรถก็เก่าไม่รู้ว่านั่งไปจะเสียกลางทางหรือไม่
ทางเลือกที่เหลืออยู่คือต้องไปใช้บริการรถเมล์ร่วมบริการ รถตู้ ที่มีการวิ่งให้บริการมากกว่า ทั้งที่ไม่สามารถควบคุมการให้บริการ รวมถึงความปลอดภัยในการให้บริการได้ ผู้โดยสารต้องมีความเสี่ยงคอยลุ้นระทึกกับการให้บริการตลอดเวลา ชีวิตบนรถโดยสารขึ้นอยู่กับอารมณ์ของคนขับ ที่อยากจะเบรกจะแซงหรืออยากวิ่งออกนอกเส้นทาง เพื่อหนีรถติดตรงไหนก็ทำ โดยไม่แคร์ว่าผู้โดยสารจ่ายค่าโดยสารมาเพื่อจะลงตรงไหนในเส้นทาง นอกจากนี้รถเมล์ร่วมบริการยังเก็บค่าโดยสารแพงกว่า ขสมก. โดยรถธรรมดาเก็บค่าโดยสาร 8 บาท ของ ขสมก.ค่าโดยสาร 6.50 บาท รถปรับอากาศเก็บแพงกว่า ขสมก.ระยะละ 2 บาท ทำให้ประชาชนต้องแบกภาระค่าใช้จ่ายที่มากกว่า
สถานะล่าสุดของโครงการจัดหารถเมล์เอ็นจีวี อยู่ที่จัดซื้อรถเมล์ 3,183 คัน เป็นรถปรับอากาศ 1,524 คัน รถธรรมดา 1,659 คัน วงเงิน 13,162 ล้านบาท และอยู่ระหว่างรอเข้าขออนุมัติในที่ประชุม ครม. หากได้รับอนุมัติกระทรวงคมนาคมคาดว่าจะร่างทีโออาร์ประกวดราคาภายใน 2 เดือน จะได้รถคันแรกมาให้บริการได้ภายใน 6 เดือน และจะมีผู้โดยสารเพิ่มเป็นวันละ 5 ล้านคน จากปัจจุบันอยู่ที่ 3.6 ล้านคน แต่ขณะนี้ยังไร้วี่แววว่าจะเข้า ครม.ได้เมื่อไหร่ เนื่องจากล่าสุดที่ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกรัฐมนตรี และ รมว.คลัง เดินทางไปราชการที่ประเทศสวีเดน ก็ไปถูกอกถูกใจรถเมล์ใช้พลังงานอี 85 เป็นเชื้อเพลิง ของประเทศสวีเดนเข้าอย่างจัง โดยเห็นว่าเป็นพลังงานทางเลือกที่น่าสนใจและดูยั่งยืนกว่าก๊าซเอ็นจีวี ถึงกับให้กระทรวงคมนาคมไปศึกษาข้อดีข้อเสียระหว่างรถเมล์เอ็นจีวีกับรถเมล์อี 85 ซึ่งถ้าได้ผลดีกว่าคงได้รื้อโครงการมาเริ่มต้นใหม่กันอีก
คนใช้บริการรถสาธารณะก็ต้องทำใจยอมรับกับปัญหาที่มีอยู่ในปัจจุบันต่อไป ถ้ายังไม่มีรถเมล์ใหม่ก็ยังไม่สามารถปรับเส้นทางรถเมล์ใหม่ 155 เส้นทาง ให้ครอบคลุมทุกพื้นที่ และลดเส้นทางซ้ำซ้อนได้ ส่วนความหวังในการรอใช้บริการรถไฟฟ้าแต่ละสายก็ยังก่อสร้างได้ไม่ถึงไหน ยิ่งซื้อรถเมล์ใหม่ช้าแค่ไหน ผลกระทบก็ตกอยู่ที่คนนั่งรถเมล์นานเท่านั้น
ความล่าช้าในการซื้อรถเมล์ใหม่ส่งผลกระทบต่อสังคมยังไง รัฐมนตรีทั้งหลายคงไม่เข้าใจลึกซึ้ง เพราะไม่เคยนั่งรถเมล์ แต่คนเกือบ 4 ล้านคน ที่นั่งรถเมล์อยู่ทุกวันนั้นเข้าใจดี.
ประพิม เก่งกรีฑาพล
http://www.dailynews.co.th/bkk/192807
อยากเห็นการจัดเส้นทางรถเมล์ใหม่ ทุกวันนี้เห็นวิ่งทับซ้อนอ้อมไปอ้อมมา
ส่วนรถเมล์ใหม่ติดแอร์ทุกคันและค่าตั๋วถูกๆ เพื่อความเท่าเทียมของประชาชนจะได้ไหมครับ
ช่วงหกโมงเช้ารถในกรุงเทพยังน้อยขึ้นรถเมล์ไปไหนแป๊ปเดียวก็ถึง ต่อให้ยืนโหนรถเมล์ก็ไม่ทันจะเมื่อยก็ถึงปลายทางที่จะลง
สรุปแล้วถ้ารถไม่ติดในกรุงเทพ การนั่งรถเมล์ไม่ใช่เรื่องลำบากมากมายอะไรเลย (ถ้าไม่รักสบายเกินไป)
ขสมก. กับโครงการรถเมล์ใหม่ที่ต้องรอ
แต่ในทางปฏิบัติรัฐบาลก็ยังไม่สามารถขับเคลื่อนให้เกิดการพัฒนาระบบขนส่งมวลชน ระบบรถสาธารณะให้พัฒนาขึ้นได้ จะเห็นได้จากโครงการจัดหารถเมล์ใหม่ใช้ก๊าซเอ็นจีวี ขององค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในแผนฟื้นฟูกิจการ ขสมก. ที่มีการริเริ่มและเตรียมพร้อมการประกวดราคามาตั้งแต่ปี 2549 สมัยที่นายพิเณศวร์ พัวพัฒนกุล เป็นผู้อำนวยการ ขสมก. จากที่จะใช้วิธีเช่า 6,000 คัน ก็มีการปรับเปลี่ยนลดจำนวนลงเรื่อย ๆ ตามความเห็นของที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ในแต่ละรัฐบาล ขณะนี้ผ่านมาถึง 7 ปีแล้ว ครม.ก็ยังไม่อนุมัติโครงการ มีการติติงในเรื่องของตัวเลขงบประมาณที่อาจแพงไปจนถึงเรื่องจิปาถะ แต่ในทางกลับกันรัฐบาลกลับอนุมัติโครงการคืนภาษีรถยนต์คันแรก ส่งเสริมให้คนซื้อรถยนต์ออกมาเพิ่มปริมาณความหนาแน่นของรถยนต์บนท้องถนนเข้าไปอีก โดยเริ่มโครงการ ปลายปี 2554 เสร็จสิ้นโครงการไปเมื่อปลายปี 2555 ที่ผ่านมา ทำให้มียอดรถยนต์ใหม่จากโครงการประมาณ 1.2 ล้านคัน เป็นเงินภาษีกว่า 9 หมื่นล้านบาท
จากข้อมูลของ ขสมก.ปัจจุบัน ขสมก.มีรถเมล์ประจำการทั้งรถปรับอากาศและรถธรรมดารวมทั้งสิ้น 3,454 คัน แต่มีสภาพพร้อมให้บริการได้จริงเพียง 2,715 คัน ใน 108 เส้นทาง พื้นที่กรุงเทพฯ และปริมณฑล ที่เหลือเป็นรถเสียรอการซ่อมแซม โดยรถของ ขสมก.ที่ใหม่ที่สุดมีอายุการใช้งาน 12 ปี เป็นรถปรับอากาศยูโรทูจำนวน 500 คัน ส่วนรถที่เก่าที่สุดที่ยังให้บริการได้ มีอายุการใช้งาน 22 ปี เป็นรถธรรมดาและรถปรับอากาศสีขาวน้ำเงิน ขณะที่รถเอกชนร่วมบริการมีจำนวนรถออกวิ่งให้บริการทั้งรถปรับอากาศ รถธรรมดา และมินิบัส รวมทั้งสิ้น 4,874 คัน ให้บริการ 100 เส้นทาง ทั้งหมดนี้ให้บริการผู้โดยสารในพื้นที่กรุงเทพฯ และปริมณฑลตกวันละเกือบ 4 ล้านคน ในส่วนนี้ยังไม่รวมถึงผู้ใช้บริการรถตู้ และรถสาธารณะอื่น ๆ
ปัจจุบัน ขสมก.ประสบปัญหามีรถออกให้บริการประชาชนไม่เพียงพอ เนื่องจากมีรถเสียจำนวนมาก นอกจากนี้ ขสมก.เป็นรัฐวิสาหกิจ ดังนั้นหากมีการร้องขอรถออกไปให้บริการประชาชนในส่วนต่าง ๆ อาทิ การเดินทางภายในศูนย์ราชการแจ้งวัฒนะ หรือการขอให้ขยายเส้นทางวิ่งให้บริการไปยังพื้นที่รอบนอก ขสมก.ก็ต้องเจียดรถเมล์เท่าที่มีอยู่ออกไปให้บริการประชาชนให้ทั่วถึง ทำให้รถที่มีน้อยอยู่แล้วยิ่งมีน้อยเข้าไปอีก การแก้ปัญหาโดยการเพิ่มเที่ยววิ่งให้มากขึ้นเพื่อให้รถสามารถออกให้บริการอย่างต่อเนื่องนั้นก็ทำได้ยาก เพราะปัญหาการจราจรติดขัด อีกทั้งจำนวนรถก็น้อยเกินกว่าจะทำเช่นนั้นได้ ซึ่งเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นทุกเขตการเดินรถของ ขสมก. ทำให้ทุกวันนี้ผู้โดยสารต้องเจอปัญหารถเมล์ขาดระยะ รอนานบางทีนานถึง 20-30 นาที สภาพรถก็เก่าไม่รู้ว่านั่งไปจะเสียกลางทางหรือไม่
ทางเลือกที่เหลืออยู่คือต้องไปใช้บริการรถเมล์ร่วมบริการ รถตู้ ที่มีการวิ่งให้บริการมากกว่า ทั้งที่ไม่สามารถควบคุมการให้บริการ รวมถึงความปลอดภัยในการให้บริการได้ ผู้โดยสารต้องมีความเสี่ยงคอยลุ้นระทึกกับการให้บริการตลอดเวลา ชีวิตบนรถโดยสารขึ้นอยู่กับอารมณ์ของคนขับ ที่อยากจะเบรกจะแซงหรืออยากวิ่งออกนอกเส้นทาง เพื่อหนีรถติดตรงไหนก็ทำ โดยไม่แคร์ว่าผู้โดยสารจ่ายค่าโดยสารมาเพื่อจะลงตรงไหนในเส้นทาง นอกจากนี้รถเมล์ร่วมบริการยังเก็บค่าโดยสารแพงกว่า ขสมก. โดยรถธรรมดาเก็บค่าโดยสาร 8 บาท ของ ขสมก.ค่าโดยสาร 6.50 บาท รถปรับอากาศเก็บแพงกว่า ขสมก.ระยะละ 2 บาท ทำให้ประชาชนต้องแบกภาระค่าใช้จ่ายที่มากกว่า
สถานะล่าสุดของโครงการจัดหารถเมล์เอ็นจีวี อยู่ที่จัดซื้อรถเมล์ 3,183 คัน เป็นรถปรับอากาศ 1,524 คัน รถธรรมดา 1,659 คัน วงเงิน 13,162 ล้านบาท และอยู่ระหว่างรอเข้าขออนุมัติในที่ประชุม ครม. หากได้รับอนุมัติกระทรวงคมนาคมคาดว่าจะร่างทีโออาร์ประกวดราคาภายใน 2 เดือน จะได้รถคันแรกมาให้บริการได้ภายใน 6 เดือน และจะมีผู้โดยสารเพิ่มเป็นวันละ 5 ล้านคน จากปัจจุบันอยู่ที่ 3.6 ล้านคน แต่ขณะนี้ยังไร้วี่แววว่าจะเข้า ครม.ได้เมื่อไหร่ เนื่องจากล่าสุดที่ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกรัฐมนตรี และ รมว.คลัง เดินทางไปราชการที่ประเทศสวีเดน ก็ไปถูกอกถูกใจรถเมล์ใช้พลังงานอี 85 เป็นเชื้อเพลิง ของประเทศสวีเดนเข้าอย่างจัง โดยเห็นว่าเป็นพลังงานทางเลือกที่น่าสนใจและดูยั่งยืนกว่าก๊าซเอ็นจีวี ถึงกับให้กระทรวงคมนาคมไปศึกษาข้อดีข้อเสียระหว่างรถเมล์เอ็นจีวีกับรถเมล์อี 85 ซึ่งถ้าได้ผลดีกว่าคงได้รื้อโครงการมาเริ่มต้นใหม่กันอีก
คนใช้บริการรถสาธารณะก็ต้องทำใจยอมรับกับปัญหาที่มีอยู่ในปัจจุบันต่อไป ถ้ายังไม่มีรถเมล์ใหม่ก็ยังไม่สามารถปรับเส้นทางรถเมล์ใหม่ 155 เส้นทาง ให้ครอบคลุมทุกพื้นที่ และลดเส้นทางซ้ำซ้อนได้ ส่วนความหวังในการรอใช้บริการรถไฟฟ้าแต่ละสายก็ยังก่อสร้างได้ไม่ถึงไหน ยิ่งซื้อรถเมล์ใหม่ช้าแค่ไหน ผลกระทบก็ตกอยู่ที่คนนั่งรถเมล์นานเท่านั้น
ความล่าช้าในการซื้อรถเมล์ใหม่ส่งผลกระทบต่อสังคมยังไง รัฐมนตรีทั้งหลายคงไม่เข้าใจลึกซึ้ง เพราะไม่เคยนั่งรถเมล์ แต่คนเกือบ 4 ล้านคน ที่นั่งรถเมล์อยู่ทุกวันนั้นเข้าใจดี.
ประพิม เก่งกรีฑาพล
http://www.dailynews.co.th/bkk/192807
อยากเห็นการจัดเส้นทางรถเมล์ใหม่ ทุกวันนี้เห็นวิ่งทับซ้อนอ้อมไปอ้อมมา
ส่วนรถเมล์ใหม่ติดแอร์ทุกคันและค่าตั๋วถูกๆ เพื่อความเท่าเทียมของประชาชนจะได้ไหมครับ
ช่วงหกโมงเช้ารถในกรุงเทพยังน้อยขึ้นรถเมล์ไปไหนแป๊ปเดียวก็ถึง ต่อให้ยืนโหนรถเมล์ก็ไม่ทันจะเมื่อยก็ถึงปลายทางที่จะลง
สรุปแล้วถ้ารถไม่ติดในกรุงเทพ การนั่งรถเมล์ไม่ใช่เรื่องลำบากมากมายอะไรเลย (ถ้าไม่รักสบายเกินไป)