สหภาพฯ ขสมก.รับมีปัญหาทำให้การให้บริการแย่จริง เผยทั้งขาดแคลนคนขับ รถเก่า หนักสุดปัญหาจราจรติดขัดหนัก โวยรัฐหามาตรการช่วยแก้ปัญหารถติดจริงจัง ทำรถเมล์วิ่งวนรับผู้โดยสารไม่ได้
นายวีระพงศ์ วงแหวน เลขาธิการสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) เปิดเผยว่า กรณีที่นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ได้ขอความร่วมมือให้ข้าราชการ และผู้บริหารรัฐวิสาหกิจระดับ 9 ขึ้นไปของกระทรวงคมนาคมที่อยู่ในกรุงเทพฯ ใช้บริการขึ้นรถเมล์ ขสมก. หรือรถร่วมบริการ ขสมก.อย่างน้อยสัปดาห์ละ 1 วัน เพื่อสำรวจปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนที่โดยสารรถเมล์นั้น ยอมรับว่าปัจจุบันการให้บริการของ ขสมก.ประสบปัญหา 3 เรื่องหลัก
คือ 1. ปัญหาขาดแคลนพนักงานขับรถและพนักงานเก็บค่าโดยสาร จากมติคณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อปี 2538 ที่ห้ามรัฐวิสาหกิจรับพนักงานเพิ่ม ทำให้เกิดปัญหาขาดแคลนพนักงานขับรถ เนื่องจากพนักงานทยอยเกษียณทุกปี โดยปัจจุบันมีพนักงานขับรถอยู่ประมาณ 4,000 คน ถือว่าน้อยเมื่อเทียบสัดส่วนกับจำนวนรถที่ออกวิ่งให้บริการได้จำนวน 2,800 คัน เพราะควรมีสัดส่วนอย่างน้อยพนักงาน 2 คนต่อรถ 1 คันเพื่อให้สามารถจัดสลับทำหน้าที่ช่วงเช้าและบ่ายได้อย่างมีประสิทธิภาพ แต่เมื่อพนักงานมีจำนวนไม่เพียงพอจึงส่งผลต่อการให้บริการในช่วงเย็น โดยการแก้ปัญหาเบื้องต้นได้ให้ขับรถช่วงกะเช้าควงทำงานกะบ่ายด้วย ทำให้ทั้งพนักงานเหนื่อยและเครียด
และทั้งพนักงานขับรถและพนักงานเก็บค่าโดยสารแทบไม่มีวันหยุดให้ได้หยุดพักเลย
2. รถเมล์ที่ออกวิ่งให้บริการทุกวันนี้มีสภาพไม่สมบูรณ์ เนื่องจากมีอายุการใช้งานมากถึง 17-21 ปี ทั้งที่ควรปลดระวางแล้ว เหมือนเป็นการใช้งานคนแก่ โดยมีรถเมล์เสียในเส้นทางทุกวัน แต่ละคันต้องใช้เวลาซ่อม 4-5 ชั่วโมงกว่าจะนำออกวิ่งให้บริการได้ใหม่ หากเสียตอนเย็นต้องรอถึงเช้าจึงจะมีช่างมาซ่อม
3. ปัญหาการจราจรติดขัดที่มีมากขึ้นทุกวัน ซึ่งเป็นเรื่องที่รัฐบาลต้องยอมรับความจริงว่ารถติดเพิ่มขึ้น จะมาบอกว่ารถไม่ติดไม่ได้ เมื่อรถติดทำให้รถเมล์ไม่สามารถวิ่งหมุนเวียนให้บริการได้ทันเมื่อปล่อยออกมาจากอู่เพราะต้องเจอปัญหารถติดระหว่างเส้นทางไม่สามารถวิ่งออกนอกเส้นทางได้ ดังนั้นรัฐบาลต้องแก้ปัญหารถติดอย่างจริงจัง และควรจัดให้มีช่องทางบัสเลนที่ใช้งานได้จริง โดยห้ามให้รถอื่นเข้ามาวิ่ง เพื่อให้รถเมล์มีเส้นทางวิ่งรับส่งผู้โดยสารได้อย่างไม่ติดขัด
“ทุกวันนี้สหภาพฯ ขสมก.ก็ยอมรับว่าไม่สามารถให้บริการประชาชนได้อย่างมีประสิทธิภาพ แต่หากรัฐบาลแก้ปัญหารถติดไม่ได้จะโทษการให้บริการของ ขสมก.เพียงอย่างเดียวก็ดูไม่เป็นธรรม และเป็นการบั่นทอนกำลังใจการทำงานของพนักงานระดับล่าง ทั้งนี้ การสั่งให้ข้าราชการระดับซี 9 ขึ้นไปนั่งรถเมล์มาทำงานก็เป็นเรื่องที่น่ายินดี เพราะจะได้เห็นปัญหาอย่างแท้จริง” นายวีระพงศ์กล่าว
ทั้งนี้ นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ รมว.คมนาคม ได้ขอความร่วมมือให้ข้าราชการ และผู้บริหารรัฐวิสาหกิจระดับ 9 ขึ้นไปของกระทรวงคมนาคมที่อยู่ในกรุงเทพฯ ใช้บริการขึ้นรถ ขสมก.หรือรถร่วมบริการ ขสมก.อย่างน้อยสัปดาห์ละ 1 วัน เริ่มตั้งแต่วันที่ 1 ก.ค.-30 ส.ค.นี้ เพื่อสำรวจปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนที่โดยสารรถเมล์ โดยเฉพาะปัญหาใหญ่ขณะนี้ที่ไม่สามารถให้บริการได้อย่างสม่ำเสมอ โดยเฉพาะช่วงเย็น ซึ่งเป็นเรื่องแปลกที่การให้บริการในช่วงเช้าไม่ค่อยพบปัญหาการขาดช่วง แต่การให้บริการช่วงเย็นกลับมีปัญหา โดยไม่อยากให้ ขสมก.รอแต่จะซื้อรถเมล์ใหม่ เพราะการซื้อรถเมล์ใหม่ไม่ใช่ยาวิเศษที่จะแก้ปัญหาได้หมด ต้องแก้ในเรื่องการจัดเวลาปล่อยรถ และดูเส้นทางให้เหมาะสม
http://manager.co.th/iBizchannel/ViewNews.aspx?NewsID=9560000077898
สหภาพฯ ขสมก.เผยปัญหาคนขับไม่พอ-รถติดเหตุบริการแย่
นายวีระพงศ์ วงแหวน เลขาธิการสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) เปิดเผยว่า กรณีที่นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ได้ขอความร่วมมือให้ข้าราชการ และผู้บริหารรัฐวิสาหกิจระดับ 9 ขึ้นไปของกระทรวงคมนาคมที่อยู่ในกรุงเทพฯ ใช้บริการขึ้นรถเมล์ ขสมก. หรือรถร่วมบริการ ขสมก.อย่างน้อยสัปดาห์ละ 1 วัน เพื่อสำรวจปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนที่โดยสารรถเมล์นั้น ยอมรับว่าปัจจุบันการให้บริการของ ขสมก.ประสบปัญหา 3 เรื่องหลัก
คือ 1. ปัญหาขาดแคลนพนักงานขับรถและพนักงานเก็บค่าโดยสาร จากมติคณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อปี 2538 ที่ห้ามรัฐวิสาหกิจรับพนักงานเพิ่ม ทำให้เกิดปัญหาขาดแคลนพนักงานขับรถ เนื่องจากพนักงานทยอยเกษียณทุกปี โดยปัจจุบันมีพนักงานขับรถอยู่ประมาณ 4,000 คน ถือว่าน้อยเมื่อเทียบสัดส่วนกับจำนวนรถที่ออกวิ่งให้บริการได้จำนวน 2,800 คัน เพราะควรมีสัดส่วนอย่างน้อยพนักงาน 2 คนต่อรถ 1 คันเพื่อให้สามารถจัดสลับทำหน้าที่ช่วงเช้าและบ่ายได้อย่างมีประสิทธิภาพ แต่เมื่อพนักงานมีจำนวนไม่เพียงพอจึงส่งผลต่อการให้บริการในช่วงเย็น โดยการแก้ปัญหาเบื้องต้นได้ให้ขับรถช่วงกะเช้าควงทำงานกะบ่ายด้วย ทำให้ทั้งพนักงานเหนื่อยและเครียด
และทั้งพนักงานขับรถและพนักงานเก็บค่าโดยสารแทบไม่มีวันหยุดให้ได้หยุดพักเลย
2. รถเมล์ที่ออกวิ่งให้บริการทุกวันนี้มีสภาพไม่สมบูรณ์ เนื่องจากมีอายุการใช้งานมากถึง 17-21 ปี ทั้งที่ควรปลดระวางแล้ว เหมือนเป็นการใช้งานคนแก่ โดยมีรถเมล์เสียในเส้นทางทุกวัน แต่ละคันต้องใช้เวลาซ่อม 4-5 ชั่วโมงกว่าจะนำออกวิ่งให้บริการได้ใหม่ หากเสียตอนเย็นต้องรอถึงเช้าจึงจะมีช่างมาซ่อม
3. ปัญหาการจราจรติดขัดที่มีมากขึ้นทุกวัน ซึ่งเป็นเรื่องที่รัฐบาลต้องยอมรับความจริงว่ารถติดเพิ่มขึ้น จะมาบอกว่ารถไม่ติดไม่ได้ เมื่อรถติดทำให้รถเมล์ไม่สามารถวิ่งหมุนเวียนให้บริการได้ทันเมื่อปล่อยออกมาจากอู่เพราะต้องเจอปัญหารถติดระหว่างเส้นทางไม่สามารถวิ่งออกนอกเส้นทางได้ ดังนั้นรัฐบาลต้องแก้ปัญหารถติดอย่างจริงจัง และควรจัดให้มีช่องทางบัสเลนที่ใช้งานได้จริง โดยห้ามให้รถอื่นเข้ามาวิ่ง เพื่อให้รถเมล์มีเส้นทางวิ่งรับส่งผู้โดยสารได้อย่างไม่ติดขัด
“ทุกวันนี้สหภาพฯ ขสมก.ก็ยอมรับว่าไม่สามารถให้บริการประชาชนได้อย่างมีประสิทธิภาพ แต่หากรัฐบาลแก้ปัญหารถติดไม่ได้จะโทษการให้บริการของ ขสมก.เพียงอย่างเดียวก็ดูไม่เป็นธรรม และเป็นการบั่นทอนกำลังใจการทำงานของพนักงานระดับล่าง ทั้งนี้ การสั่งให้ข้าราชการระดับซี 9 ขึ้นไปนั่งรถเมล์มาทำงานก็เป็นเรื่องที่น่ายินดี เพราะจะได้เห็นปัญหาอย่างแท้จริง” นายวีระพงศ์กล่าว
ทั้งนี้ นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ รมว.คมนาคม ได้ขอความร่วมมือให้ข้าราชการ และผู้บริหารรัฐวิสาหกิจระดับ 9 ขึ้นไปของกระทรวงคมนาคมที่อยู่ในกรุงเทพฯ ใช้บริการขึ้นรถ ขสมก.หรือรถร่วมบริการ ขสมก.อย่างน้อยสัปดาห์ละ 1 วัน เริ่มตั้งแต่วันที่ 1 ก.ค.-30 ส.ค.นี้ เพื่อสำรวจปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนที่โดยสารรถเมล์ โดยเฉพาะปัญหาใหญ่ขณะนี้ที่ไม่สามารถให้บริการได้อย่างสม่ำเสมอ โดยเฉพาะช่วงเย็น ซึ่งเป็นเรื่องแปลกที่การให้บริการในช่วงเช้าไม่ค่อยพบปัญหาการขาดช่วง แต่การให้บริการช่วงเย็นกลับมีปัญหา โดยไม่อยากให้ ขสมก.รอแต่จะซื้อรถเมล์ใหม่ เพราะการซื้อรถเมล์ใหม่ไม่ใช่ยาวิเศษที่จะแก้ปัญหาได้หมด ต้องแก้ในเรื่องการจัดเวลาปล่อยรถ และดูเส้นทางให้เหมาะสม
http://manager.co.th/iBizchannel/ViewNews.aspx?NewsID=9560000077898