พล.ต.ท.ทวีศักดิ์ ตู้จินดา ประธาน กกต.กทม. (แฟ้มภาพ)
กกต.กทม.มีมติเอกฉันท์รับคำร้อง “กลุ่มกรีน” สอบนายกฯ ใช้อำนาจหน้าที่ช่วยเหลือ “พงศพัศ” หาเสียง ร่วมกับคำร้อง “เรืองไกร-เพื่อไทย” สอบแกนนำ ปชป.ปราศรัยใส่ร้าย ด้านประธาน กกต.กทม.ชี้อาจต้องเชิญนายกฯ แจง ระบุหากผิดจริงเชื่อมโยงพรรคใหญ่แน่
วันนี้ (20 มี.ค.) พล.ต.ท.ทวีศักดิ์ ตู้จินดา ประธานกรรมการการเลือกตั้งประจำกรุงเทพมหานคร หรือ กกต.กทม. กล่าวภายหลังการประชุม กกต.กทม.ว่า ที่ประชุม กกต.กทม.ได้สรุปเรื่องร้องคัดค้านการเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครที่ ม.ร.ว.สุขมพันธุ์ บริพัตร ผู้สมัครจากพรรคประชาธิปัตย์ ได้รับเลือกตั้ง จนถึงขณะนี้มีทั้งหมด 24 เรื่อง มีมติไม่รับเป็นเรื่องร้องเรียนและคัดค้านผลการเลือกตั้ง จำนวน 12 เรื่อง อยู่ระหว่างการพิจารณาจะรับเป็นคำร้องหรือไม่ 7 เรื่อง ส่งให้ กกต.กลางไปแล้ว 2 เรื่อง
และวันนี้ก็มีมติเอกฉันท์ให้รับเป็นคำร้องอีก 2 เรื่อง เป็นกรณีที่นายสุริยะใส กตะศิลา แกนนำกลุ่มกรีนและคณะ ขอให้ตรวจสอบ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี และคณะรัฐมนตรี ที่ได้ไปช่วยหาเสียงเลือกตั้งให้กับ พล.ต.อ.พงศ์พัศ พงศ์เจริญ ผู้สมัครผู้ว่าฯ กทม.ของพรรคเพื่อไทย ที่กองพันทหารราบที่ 1 กรมทหารราบที่ 1 มหาดเล็กรักษาพระองค์ ว่าเป็นการใช้อำนาจหน้าที่เป็นคุณเป็นโทษแก่ผู้สมัครเข้าข่ายผิดมาตรา 60 ของ พ.ร.บ.เลือกตั้งท้องถิ่นหรือไม่ กับกรณีที่นายวิญญัติ ชาติมนตรี ทีมกฎหมายพรรคเพื่อไทย และนายเรืองไกร ลีกิจวัฒนะ อดีต ส.ว. ร้องขอให้ตรวจสอบ ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ และแกนนำพรรคประชาธิปัตย์ อาทิ นายสุเทพ เทือกสุบรรณ, นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์, นายอิสสระ สมชัย, นายกรณ์ จาติกวณิช กรณีปราศรัยในทำนองให้ผู้มีสิทธิเลือกตั้งไม่เลือก พล.ต.อ.พงศ์พัศ เนื่องจากมาจากพรรคการเมือง ที่เผาบ้านเผาเมือง รวมถึงการนำเสนอบทความสงครามชิงกรุงเทพ สงครามชิงประเทศไทย ของ พล.ต.อ.วสิษฐ เดชกุญชร ที่ลงในหนังสือพิมพ์มติชนรายวัน ฉบับวันที่ 22 ม.ค. 56 ว่าเข้าข่ายเป็นการปราศรัยใส่ร้ายให้เข้าใจผิดในคะแนนนิยมผิดมาตรา 57 (5) พ.ร.บ.เลือกตั้งท้องถิ่นหรือไม่
โดยหลังจากนี้ ทางเจ้าหน้าที่ของสำนักงาน กกต.กทม.มีเวลา 20 วัน และขอขยายได้อีก 2 ครั้ง ครั้งละ 15 วัน ซึ่งในส่วนที่ร้องนายกฯ นั้นขณะนี้อยู่ระหว่างการประสานกับผู้บังคับหน่วยพัน 1 รอ. ที่กำลังทำเรื่องขออนุญาตผู้บังคับบัญชาว่าจะมาให้ข้อมูลตามที่ กกต.กทม.มีหนังสือเชิญไปได้หรือไม่ หรือถ้าผู้บังคับหน่วยสะดวกที่จะได้ กกต.กทม.เดินทางไปรับฟังข้อมูลคำชี้แจงก็สามารถทำได้ สำหรับนายกฯ ก็อาจจะต้องมาให้ถ้อยคำแต่ยังไม่ใช่ในขณะนี้ ทั้งนี้ กกต.กทม. จะเร่งสืบสวนเรื่องกล่าวให้แล้วเสร็จโดยเร็ว แต่ไม่สามารถยืนยันได้ว่าจะแล้วเสร็จเสนอ กกต.กลาง พิจารณาได้ก่อนวันที่ 2 เม.ย. ที่เป็นวันสุดท้ายของกรอบเวลา 30 วันที่ กกต.กลางต้องประกาศรับรองผลไปก่อน หากการสืบสวนสอบสวนเรื่องร้องเรียนไม่แล้วเสร็จหรือไม่ แต่หาก กกต.กลาง เห็นว่าเรื่องดังกล่าวมีความสำคัญ และการดำเนินการของ กกต.กทม.มีความล่าช้า ตามระเบียบสืบสวนสอบสวนของ กกต.ก็ให้อำนาจ กกต.กลางสามารถนำเรื่องดังกล่าวไปดำเนินการเองได้
ประธาน กกต.กทม.ยังกล่าวอีกว่า เมื่อ กกต.กทม.รับเป็นคำร้องไว้พิจารณาวินิจฉัยแล้ว ก็ต้องสืบสวนไปตามระเบียบสืบสวน โดยเรื่องนี้เข้าข้อ 33 ของระเบียบสืบสวน หากสอบแล้วเสร็จและเสนอต่อ กกต.กลางพิจารณาได้ทันก่อนการประกาศรับรองผล กกต.กลางก็จะพิจารณาโดยยึดตามมาตรา 96 ของ พ.ร.บ.การเลือกตั้งท้องถิ่น คือหากเห็นว่าหลักฐานที่ กกต.จังหวัดเสนอมานั้นเชื่อได้ว่าผู้สมัคร หรือผู้ใดกระทำการอันเป็นการฝ่าฝืน หรือมีพฤติการณ์ที่เชื่อได้ว่าสนับสนุน รู้เห็นเป็นใจให้บุคคลอื่นกระทำการดังกล่าวแล้วไม่ระงับยับยั้ง จนน่าจะมีผลให้การเลือกตั้งไม่สุจริตเที่ยงธรรม กกต.สามารถพิจารณาสั่งเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งผู้สมัครที่กระทำการเช่นนั้นได้เป็นเวลา 1 ปี นับแต่วันที่ กกต.มีคำสั่ง โดยมติ กกต.ต้องเป็นเอกฉันท์ และเมื่อมีคำสั่งเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งแล้วให้ดำเนินคดีอาญาแก่ผู้สมัครผู้นั้นรวมถึงให้ชดใช้ค่าเสียหายในการจัดการเลือกตั้งใหม่ด้วยหรือหลังประกาศรับรองผลไปแล้ว มาตรา 97 ก็บัญญัติว่า หากมีหลักฐานว่าผู้รับเลือกตั้ง ผู้ใดกระทำการใดๆโดยไม่สุจริตเพื่อให้ตนเองได้รับเลือกตั้ง หรือมีการฝ่าฝืนมาตรา 57 กกต.ก็สามารถมีคำสั่งเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งผู้สมัครรับเลือกตั้งผู้นั้นได้มีกำหนดเวลา 1 ปี
“ถ้ายึดตามนี้แล้วมองไปข้างหน้า ใหญ่ไหมครับ นี่ครับข่าวใหญ่ ไม่ใช่เรื่องตำแหน่งประธาน กกต.กทม.อะไรอย่างที่เป็นข่าวว่าผมจะแถลงเรื่องนี้ เพราะตำแหน่งนี้ไม่ได้สำคัญอะไร ลองไปดูนะครับผู้ถูกร้องใน 2 คำร้องนี้เป็นใคร เป็นอะไรในพรรค หรืออย่างกรณีของท่านพงศ์พัศก็ต้องไปดูว่าหากมีความผิดจะเชื่อมโยงถึงใคร เพราะกฎหมายเขียนเชื่อมโยงความผิดไว้อีกหลายมาตรา นี่คือกระบวนการและความผิดที่กฎหมายบัญญัติไว้ ซึ่งเป็นสิ่งที่ผมพยายามพูดมาตลอดและอยากจะชี้ให้เห็นว่าถ้าลงเลือกตั้งแล้วกระทำการเข้าข่ายผิดกฎหมายจะต้องเจอกับอะไรบ้าง” พล.ต.ท.ทวีศักดิ์กล่าว พร้อมกับแจกจ่ายระเบียบสืบสวนของ กกต.ให้กับผู้สื่อข่าวไปศึกษา โดยกำชับว่าไปดูให้ดีโดยเฉพาะข้อ 33
อย่างไรก็ตาม ในส่วนเรื่องของการลาออกจากตำแหน่งประธาน กกต.กทม. นั้น พล.ต.ท.ทวีศักดิ์กล่าวว่า ตำแหน่งประธาน กกต.กทม.ไม่มีคำว่าลาออก แต่มีการตกลงกันภายใน กกต.กทม. ซึ่งอำนาจแต่งตั้งประธาน กกต.กทม.เป็นของ กกต.กลาง แต่ส่วนตัวก็อยากให้ นายสุพจน์ ไพบูลย์ กกต.กทม.มารับหน้าที่เป็นประธาน กกต.กทม.คนต่อไป ซึ่งนายสุพจน์ก็พร้อมที่จะรับไม้จากตนในต้นเดือน เม.ย.นี้ ตนไม่ได้ยึดติดกับตำแหน่ง เพราะ กกต.ทั้ง 5 คนมีสิทธิเท่ากัน อย่ามาให้ความสำคัญกับตนขนาดนั้น เพราะ กกต.กทม.ทำงานเป็นทีม ผู้ที่ทำหน้าที่ประธาน กกต.กทม. ไม่ได้ใหญ่โตอะไร มีหน้าที่แค่คอยเซ็นหนังสือ ปฏิสัมพันธ์กับภายนอกเท่านั้น เสียงก็มี 1 เสียงเท่ากับ กกต.กทม.คนอื่นๆ ไม่ได้มีอำนาจชี้ขาดอะไร
cr ;
http://www.naewna.com/politic/45716
ให้ทุกข์แก่ท่าน ทุกข์นั้นถึงตัว (แบบด่วนจี๋)
กกต.กทม.มีมติเอกฉันท์รับคำร้อง “กลุ่มกรีน” สอบนายกฯ ใช้อำนาจหน้าที่ช่วยเหลือ “พงศพัศ” หาเสียง ร่วมกับคำร้อง “เรืองไกร-เพื่อไทย” สอบแกนนำ ปชป.ปราศรัยใส่ร้าย ด้านประธาน กกต.กทม.ชี้อาจต้องเชิญนายกฯ แจง ระบุหากผิดจริงเชื่อมโยงพรรคใหญ่แน่
วันนี้ (20 มี.ค.) พล.ต.ท.ทวีศักดิ์ ตู้จินดา ประธานกรรมการการเลือกตั้งประจำกรุงเทพมหานคร หรือ กกต.กทม. กล่าวภายหลังการประชุม กกต.กทม.ว่า ที่ประชุม กกต.กทม.ได้สรุปเรื่องร้องคัดค้านการเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครที่ ม.ร.ว.สุขมพันธุ์ บริพัตร ผู้สมัครจากพรรคประชาธิปัตย์ ได้รับเลือกตั้ง จนถึงขณะนี้มีทั้งหมด 24 เรื่อง มีมติไม่รับเป็นเรื่องร้องเรียนและคัดค้านผลการเลือกตั้ง จำนวน 12 เรื่อง อยู่ระหว่างการพิจารณาจะรับเป็นคำร้องหรือไม่ 7 เรื่อง ส่งให้ กกต.กลางไปแล้ว 2 เรื่อง
และวันนี้ก็มีมติเอกฉันท์ให้รับเป็นคำร้องอีก 2 เรื่อง เป็นกรณีที่นายสุริยะใส กตะศิลา แกนนำกลุ่มกรีนและคณะ ขอให้ตรวจสอบ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี และคณะรัฐมนตรี ที่ได้ไปช่วยหาเสียงเลือกตั้งให้กับ พล.ต.อ.พงศ์พัศ พงศ์เจริญ ผู้สมัครผู้ว่าฯ กทม.ของพรรคเพื่อไทย ที่กองพันทหารราบที่ 1 กรมทหารราบที่ 1 มหาดเล็กรักษาพระองค์ ว่าเป็นการใช้อำนาจหน้าที่เป็นคุณเป็นโทษแก่ผู้สมัครเข้าข่ายผิดมาตรา 60 ของ พ.ร.บ.เลือกตั้งท้องถิ่นหรือไม่ กับกรณีที่นายวิญญัติ ชาติมนตรี ทีมกฎหมายพรรคเพื่อไทย และนายเรืองไกร ลีกิจวัฒนะ อดีต ส.ว. ร้องขอให้ตรวจสอบ ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ และแกนนำพรรคประชาธิปัตย์ อาทิ นายสุเทพ เทือกสุบรรณ, นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์, นายอิสสระ สมชัย, นายกรณ์ จาติกวณิช กรณีปราศรัยในทำนองให้ผู้มีสิทธิเลือกตั้งไม่เลือก พล.ต.อ.พงศ์พัศ เนื่องจากมาจากพรรคการเมือง ที่เผาบ้านเผาเมือง รวมถึงการนำเสนอบทความสงครามชิงกรุงเทพ สงครามชิงประเทศไทย ของ พล.ต.อ.วสิษฐ เดชกุญชร ที่ลงในหนังสือพิมพ์มติชนรายวัน ฉบับวันที่ 22 ม.ค. 56 ว่าเข้าข่ายเป็นการปราศรัยใส่ร้ายให้เข้าใจผิดในคะแนนนิยมผิดมาตรา 57 (5) พ.ร.บ.เลือกตั้งท้องถิ่นหรือไม่
โดยหลังจากนี้ ทางเจ้าหน้าที่ของสำนักงาน กกต.กทม.มีเวลา 20 วัน และขอขยายได้อีก 2 ครั้ง ครั้งละ 15 วัน ซึ่งในส่วนที่ร้องนายกฯ นั้นขณะนี้อยู่ระหว่างการประสานกับผู้บังคับหน่วยพัน 1 รอ. ที่กำลังทำเรื่องขออนุญาตผู้บังคับบัญชาว่าจะมาให้ข้อมูลตามที่ กกต.กทม.มีหนังสือเชิญไปได้หรือไม่ หรือถ้าผู้บังคับหน่วยสะดวกที่จะได้ กกต.กทม.เดินทางไปรับฟังข้อมูลคำชี้แจงก็สามารถทำได้ สำหรับนายกฯ ก็อาจจะต้องมาให้ถ้อยคำแต่ยังไม่ใช่ในขณะนี้ ทั้งนี้ กกต.กทม. จะเร่งสืบสวนเรื่องกล่าวให้แล้วเสร็จโดยเร็ว แต่ไม่สามารถยืนยันได้ว่าจะแล้วเสร็จเสนอ กกต.กลาง พิจารณาได้ก่อนวันที่ 2 เม.ย. ที่เป็นวันสุดท้ายของกรอบเวลา 30 วันที่ กกต.กลางต้องประกาศรับรองผลไปก่อน หากการสืบสวนสอบสวนเรื่องร้องเรียนไม่แล้วเสร็จหรือไม่ แต่หาก กกต.กลาง เห็นว่าเรื่องดังกล่าวมีความสำคัญ และการดำเนินการของ กกต.กทม.มีความล่าช้า ตามระเบียบสืบสวนสอบสวนของ กกต.ก็ให้อำนาจ กกต.กลางสามารถนำเรื่องดังกล่าวไปดำเนินการเองได้
ประธาน กกต.กทม.ยังกล่าวอีกว่า เมื่อ กกต.กทม.รับเป็นคำร้องไว้พิจารณาวินิจฉัยแล้ว ก็ต้องสืบสวนไปตามระเบียบสืบสวน โดยเรื่องนี้เข้าข้อ 33 ของระเบียบสืบสวน หากสอบแล้วเสร็จและเสนอต่อ กกต.กลางพิจารณาได้ทันก่อนการประกาศรับรองผล กกต.กลางก็จะพิจารณาโดยยึดตามมาตรา 96 ของ พ.ร.บ.การเลือกตั้งท้องถิ่น คือหากเห็นว่าหลักฐานที่ กกต.จังหวัดเสนอมานั้นเชื่อได้ว่าผู้สมัคร หรือผู้ใดกระทำการอันเป็นการฝ่าฝืน หรือมีพฤติการณ์ที่เชื่อได้ว่าสนับสนุน รู้เห็นเป็นใจให้บุคคลอื่นกระทำการดังกล่าวแล้วไม่ระงับยับยั้ง จนน่าจะมีผลให้การเลือกตั้งไม่สุจริตเที่ยงธรรม กกต.สามารถพิจารณาสั่งเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งผู้สมัครที่กระทำการเช่นนั้นได้เป็นเวลา 1 ปี นับแต่วันที่ กกต.มีคำสั่ง โดยมติ กกต.ต้องเป็นเอกฉันท์ และเมื่อมีคำสั่งเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งแล้วให้ดำเนินคดีอาญาแก่ผู้สมัครผู้นั้นรวมถึงให้ชดใช้ค่าเสียหายในการจัดการเลือกตั้งใหม่ด้วยหรือหลังประกาศรับรองผลไปแล้ว มาตรา 97 ก็บัญญัติว่า หากมีหลักฐานว่าผู้รับเลือกตั้ง ผู้ใดกระทำการใดๆโดยไม่สุจริตเพื่อให้ตนเองได้รับเลือกตั้ง หรือมีการฝ่าฝืนมาตรา 57 กกต.ก็สามารถมีคำสั่งเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งผู้สมัครรับเลือกตั้งผู้นั้นได้มีกำหนดเวลา 1 ปี
“ถ้ายึดตามนี้แล้วมองไปข้างหน้า ใหญ่ไหมครับ นี่ครับข่าวใหญ่ ไม่ใช่เรื่องตำแหน่งประธาน กกต.กทม.อะไรอย่างที่เป็นข่าวว่าผมจะแถลงเรื่องนี้ เพราะตำแหน่งนี้ไม่ได้สำคัญอะไร ลองไปดูนะครับผู้ถูกร้องใน 2 คำร้องนี้เป็นใคร เป็นอะไรในพรรค หรืออย่างกรณีของท่านพงศ์พัศก็ต้องไปดูว่าหากมีความผิดจะเชื่อมโยงถึงใคร เพราะกฎหมายเขียนเชื่อมโยงความผิดไว้อีกหลายมาตรา นี่คือกระบวนการและความผิดที่กฎหมายบัญญัติไว้ ซึ่งเป็นสิ่งที่ผมพยายามพูดมาตลอดและอยากจะชี้ให้เห็นว่าถ้าลงเลือกตั้งแล้วกระทำการเข้าข่ายผิดกฎหมายจะต้องเจอกับอะไรบ้าง” พล.ต.ท.ทวีศักดิ์กล่าว พร้อมกับแจกจ่ายระเบียบสืบสวนของ กกต.ให้กับผู้สื่อข่าวไปศึกษา โดยกำชับว่าไปดูให้ดีโดยเฉพาะข้อ 33
อย่างไรก็ตาม ในส่วนเรื่องของการลาออกจากตำแหน่งประธาน กกต.กทม. นั้น พล.ต.ท.ทวีศักดิ์กล่าวว่า ตำแหน่งประธาน กกต.กทม.ไม่มีคำว่าลาออก แต่มีการตกลงกันภายใน กกต.กทม. ซึ่งอำนาจแต่งตั้งประธาน กกต.กทม.เป็นของ กกต.กลาง แต่ส่วนตัวก็อยากให้ นายสุพจน์ ไพบูลย์ กกต.กทม.มารับหน้าที่เป็นประธาน กกต.กทม.คนต่อไป ซึ่งนายสุพจน์ก็พร้อมที่จะรับไม้จากตนในต้นเดือน เม.ย.นี้ ตนไม่ได้ยึดติดกับตำแหน่ง เพราะ กกต.ทั้ง 5 คนมีสิทธิเท่ากัน อย่ามาให้ความสำคัญกับตนขนาดนั้น เพราะ กกต.กทม.ทำงานเป็นทีม ผู้ที่ทำหน้าที่ประธาน กกต.กทม. ไม่ได้ใหญ่โตอะไร มีหน้าที่แค่คอยเซ็นหนังสือ ปฏิสัมพันธ์กับภายนอกเท่านั้น เสียงก็มี 1 เสียงเท่ากับ กกต.กทม.คนอื่นๆ ไม่ได้มีอำนาจชี้ขาดอะไร
cr ; http://www.naewna.com/politic/45716