หลักการซื้อขายของโจเซฟ แกรนด์วิลล์
ได้ รับการยอมรับอย่างกว้างในวงการลงทุน ของประเทศอเมริกา เป็นกลยุทธ์ในระดับ “แม่บท” ของบรรดานักลงทุนมืออาชีพ ที่จะต้องทำความเข้าใจและนำไปใช้ชี้นำการตัดสินใจซื้อขายหุ้นโดยเฉพาะ มีทั้งหมดเพียง 8 ข้อเท่านั้น
หลักการซื้อ
1. หากปรากฏชัดเจนแล้วว่า ตลาดได้เข้าสู่ภาวะ “ขาขึ้น” แน่นอนแล้ว จงเข้าซื้อทุกครั้งที่ราคาหุ้นปรับตัวลง
“หลัก ฐาน” ที่แสดงให้รู้ว่าตลาดรวมขึ้นแน่ ไปยาวแน่ ถ้าใช้การวิเคราะห์ทางเทคนิคคือ เส้นราคารายวันได้เจาะทะลุ (จากเบื้องล่าง) ผ่านเส้นราคาเฉลี่ยเคลื่อนที่ระยะสั้น (อาจเป็น 10 วัน) ขึ้นไปได้สำเร็จ ในแง่คิดนี้ หมายความว่าถ้าเส้นฯ 10 วันสามารถตัดเส้นฯ 25 วันขึ้นไปจนสามารถยืนเหนือเส้นฯ 75 วันได้ ตลาดหุ้นจะมีทิศทางเป็นขาขึ้น
แก รนด์วิลล์ไม่ได้ให้หลักสังเกตุด้านวอลุ่ม การซื้อขายประจำวันแต่ตรงนี้ ขอตั้งสังเกตุส่วนตัวเสนอแก่คุณ พิจารณาประกอบ ซึ่งอาจจะไม่ถึงกับเป็นหลักการมาตรฐาน เป็นเพียง “ข้อสังเกตุ” เท่านั้น คือในตลาดหุ้นไทยปัจจุบันนี้ กลุ่มกองทุนรวมมีบทบาทสำคัญยิ่งในการกำหนดทิศทางของตลาดรวม ดังนั้น หากช่วงไหนเราสังเกตุได้ว่าแรงซื้อหลักมาจากบรรดากองทุนรวมหรือกองทุนจาก ต่างประเทศ โอกาสที่ตลาดจะไปต่อก็มีมาก แต่หากช่วงไหนที่แรงซื้อหลักมาจากนักลงทุนรายย่อยที่ “แห่” กันเข้ารับของจากการเทขายของกองทุน โอกาสที่ตลาดจะปรับตัวลงอย่างฮวบฮาบก็เป็นไปได้มาก
วิธีการสังเกตุทั้งสองกรณีนี้ไม่ใช่เป็นเรื่องยากเลย
กรณี แรกที่กลุ่มกองทุนรวมพากันเข้าซื้อ จะเป็นช่วงที่ตลาดยังเย็นอยู่ นักลงทุนรายย่อยส่วนใหญ่ยังไม่ “อยาก” ที่จะเข้าซื้อ แต่จู่ๆ ระดับราคาหุ้นก็แกร่งขึ้น โดยมีวอลุ่มการซื้อขายหนาแน่นพอสมควร (แต่ก็ไม่จำเป็นต้องพอง) ส่วนกรณีหลังนั้น ราคาหุ้นขึ้นแบบร้อนแรงและหวือหวา แบบไม่มีเหตุผล (อาจถึงกับ “บ้าคลั่ง”) และนักลงทุนส่วนใหญ่พากัน “อยาก” เข้ากันเต็มแก่ วอลุ่ม “พอง” สุดๆ ทำสถิติใหม่ ทุกวันดังนั้น ถ้าเราจับ “กระบวนท่า” ของบรรดากองทุนรวม “บิ๊กๆ” ได้ โอกาสที่เราจะเล่นหุ้นแล้วรวยก็เป็นไปได้มาก
จงซื้อเมื่อพบว่าแรงซื้อหลักมาจากกองทุนรวมต่างชาติ
2.หาก ภาวะตลาดรวมยังไม่ได้บอกชัดว่า ได้เป็นตลาดขาลงแล้ว จงเข้าซื้อหุ้นทุกครั้งที่มันปรับตัวลง ข้อนี้ถ้าใช้เส้นราคารายวันกับเส้นราคาเฉลี่ยเคลื่อนที่มาวัด ก็หมายถึงว่า ตราบใดที่เส้นราคารายวันยังอยู่เหนือเส้นราคาเฉลี่ยเคลื่อนที่ระยะสั้น ก็จงเข้ารับซื้อทุกครั้งที่ราคาหุ้นปรับตัวลง (ภาษาห้องค้าเรียกว่า “ช้อนซื้อ”) ในการปรับตัวช่วงกลางของตลาดขาขึ้น มักจะดำเนินไปอย่างรุนแรงมาก ถึงกับทำให้เส้นราคารายวันตกทะลุเส้นราคาเฉลี่ยเคลื่อนที่ระยะสั้นลงมาได้ แต่ในที่สุดก็จะดีดกลับ และเดินหน้าต่อไป
หลักการขาย
3.หาก ปรากฎชัดแล้วว่า ตลาดรวมได้เปลี่ยนจาก “ขาขึ้น” มาเป็น “ขาลง” แน่นอนแล้ว จงขายทุกครั้งที่ราคาหุ้นดีดกลับ ถ้าวิเคราะห์ด้วยเส้นราคาเฉลี่ยเคลื่อนที่ ก็คือเส้นราคารายวันได้เจาะทะลุเส้นราคาเฉลี่ยเคลื่อนที่ลงมาแล้ว และเส้นราคาเฉลี่ยเคลื่อนที่ระยะสั้น ก็ได้เจาะทะลุเส้นระยะกลางลงมาแล้ว ยิ่งเส้นระยะสั้นเจาะทะลุเส้นระยะกลาง ระยะยาวลงมาแล้ว ก็ยิ่งพิสูจน์ว่าภาวะตลาดได้ “ลงหลุม” เรียบร้อยแล้ว มีแต่ต้องขายออกอย่างเดียว ในทุกครั้งที่ราคาดีดขึ้น
4.ตราบ ใดที่ตลาดยังไม่มีวี่แววว่าจะเป็นตลาด ขาขึ้น จงขายออกทุกครั้งที่ราคาหุ้นเด้งขึ้น การเด้งขึ้นของราคาหุ้นในระยะนี้ เป็นเพียงการสว่างวาบขึ้นของแสงหิ่งห้อยในความมืดมิด เหมาะสำหรับผู้ที่เกาะติดห้องค้า ซื้อขายหุ้นเป็นอาชีพ ทำกำไรรายวันได้ แต่ไม่ถึงกับรวย (จะรวยหุ้นก็ต้องรอเข้าซื้อในจังหวะที่เป็นตลาดขาขึ้น โดย “โถม” สุดตัวรอจนราคาหุ้นไต่ขึ้นไปสุดๆ จึง “ถอน” ทั้งยวง)
ข้อควรระวัง
5.ตราบ ใดที่ภาวะตลาดยังไม่ได้แสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่าเป็นตลาด “ขาขึ้น” จริงๆ ก็ไม่ควรเข้าไปรับซื้อหุ้นที่ราคากำลังปรับตัวต่ำลงมา เพราะราคาที่ว่าต่ำแล้ว อาจจะยิ่งต่ำลงไปอีก (หากตลาดยังอยู่ในภาวะขาขึ้น แต่เป็นช่วงของการปรับตัวลงเท่านั้น ก็สามารถเข้าช้อนซื้อได้และควรเข้าช้อนซื้อเป็นอย่างยิ่ง)
6.ภาย หลังจากที่ตลาดได้เข้าสู่ภาวะ “ขาลง” แน่นอนแล้ว อย่าเข้าตลาดซื้อหุ้นเด็ดขาด จงอย่า “ฝืน” ตลาด อย่า “อวดดี” กับตลาด อย่า “ท้าทาย” ตลาด
7.ตราบ ใดที่ตลาดยังไม่ได้เข้าสู่ภาวะ “ขาลง” เวลาเห็นราคาหุ้นพุ่งก็อย่าขาย กอดหุ้นไว้ให้แน่น ถือต่อไป อดทนและ “เหนียว” จนถึงที่สุด ไม่ยอม “หลุด” ให้กับราคาอันแสนสวยนั้นง่ายๆ แล้วคุณก็จะรวยอย่างไร้ขีดจำกัด
8.หาก ตลาดเข้าสู่ภาวะ “ขาขึ้น” แน่นอนแล้ว จงอย่าขายหุ้นทิ้งแม้แต่หุ้นเดียว (เว้นแต่ทำการเปลี่ยนตัวหุ้น จากตัวหนึ่งไปสู่อีกตัวหนึ่งซึ่งประเมินว่าจะต้องดีกว่าแน่)
หลัก การทั้ง 8 นี้ จะเป็นเครื่องมือสำคัญยิ่งในการผลักดันให้คุณสนใจในการมอง “ภาพรวม” ตลาดหุ้น มองทิศทางใหญ่ของตลาด มีความสำคัญระดับ “ยุทธศาสตร์” ยิ่งถ้าคุณมีความรู้ความชำนาญในด้านการใช้วิธีการเหล่านี้ได้คล่องแคล่วแพรว พราว (ยุทธวิธี) สองด้านนี้รวมกันเข้า เสริมกันเข้า คุณก็จะอยู่ในฐานะนักลงทุนหุ้นผู้ยิ่งยงได้
กระนั้น ก็ตาม หลักการทั้ง 8 ของแกรนด์วิลล์นี้ ถ้าวัดกับภาวะเปลี่ยนแปลงจริงของตลาดหุ้นไทยในทุกวันนี้ ก็ยังมีส่วนที่ “ขาด” อยู่บ้าง อย่างเช่นเวลาหุ้นพุ่งขึ้นรุนแรงนั้น แทบจะไม่เห็นการ “ปรับตัวลง” เกิดขึ้นเลย จะมีเพียงบางวันที่ราคาหุ้น “ชะงัก” หรือ “ทรงตัว” อยู่ในระดับใกล้เคียงกับราคาปิดวันก่อนเท่านั้น แม้ในที่สุดจะถึงวันที่ราคา “วูบ” ลงมาอย่างเห็นได้ชัด แต่ก็เป็นเขต “ร้อนแรง” จนน่ากลัวเสียแล้ว มีแต่ผู้ที่ไม่กลัวความสูงเท่านั้นที่กล้าเข้าซื้อ
ที่ เห็นๆ กันจนชินตาก็คือ พอราคาหุ้นเริ่มออกวิ่ง ก็พากันกระโดดเกาะกันเป็นแถว ทำตัวเป็นเสือปืนไว ราคายิ่งวิ่งก็ยิ่งไล่เกาะ ไม่รอให้ราคาปรับตัวลงมาหรอก ถือว่า “ไม่ทันกิน” แน่นอนวิธีการ “ลงทุน” เช่นนี้ ย่อมมีความเสี่ยงสูงเป็นเงาตามตัว ทำไงจึงจะใช้วิธีที่เป็นแม่บทของ แกรนด์วิลล์ได้ดี ก็จึงเป็นหน้าที่ของคุณเองแล้ว
และ น่าจะเป็นคติประจำใจสำหรับคุณว่า ในการใช้วิธีหรือกลยุทธ์ลงทุนซื้อขายหุ้นนั้น จะต้องสามารถนำหลักการพื้นฐานที่สรุปมาแล้วเรียบร้อยนั้น ประสานกับสภาพเป็นจริงของตลาดหุ้นบ้านเรา และตัวคุณเอง แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นจักต้องไม่ลืมการใช้การวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานของตัวหุ้น นั้นๆ มาประกอบด้วย
เปรียบเทียบจำนวนหุ้นขึ้นกับหุ้นลงในแต่ละวัน (DAILY HIGH/LOW INDICATOR)
เวลา หุ้นตก เชื่อว่าคุณจะพลอยใจคอวูบวาบตกตามไปด้วย และอยากรู้เหลือเกินว่า อีกนานเท่าไรมันจึงหยุดตก แล้วเชิดหัวขึ้นมาใหม่ หรือบางระยะ ตลาดขึ้นๆ ลงๆ วับๆ แวมๆ ก็ไม่รูว่าเมื่อไหร่มันจะ “จริง” ส่วนใหญ่แล้วจะ “เบลอ” อาจต้อง “รอดูก่อน” ไปอีกสักระยะหนึ่ง อาจทำให้เสีย “โอกาส” ไปอย่างน่าเสียดาย วิธีนี้อาจสามารถช่วย “ถม” ช่องว่างนี้ให้แก่คุณได้บ้าง
โจ เซฟ แกรนวิลล์ (Joseph Granville) คือผู้คิดค้นวิธีนี้ วิธีการของโจเซฟ ง่ายชนิดที่คนทั่วไปคาดไม่ถึง เขาเพียงแต่คัดเลือกหุ้นที่ขึ้นและลงต่อในแต่ละวันมาเปรียบเทียบกันว่าส่วน ไหนจะมากกว่ากัน และสะสมเพิ่ม ในอัตราเพิ่มขึ้นหรือลดลงอย่างไร หากปรากฏว่าจำนวนสะสมของหุ้นที่ราคาขึ้น “เพิ่มมากขึ้น” ก็แสดงว่าตลาด “ขึ้น” แน่ แต่หากจำนวนสะสมของหุ้นที่ราคาตก “เพิ่มมากขึ้น” ก็แสดงว่าตลาดตกแน่
เขา เปรียบเทียบตลาดหุ้นว่าเหมือนกับอ่างอาบน้ำ จำนวนหุ้นที่ราคาขึ้นลงอย่างต่อเนื่องเป็นเหมือนน้ำในอ่าง ถ้าหากระดับน้ำสูงขึ้นเรื่อยๆ เราก็ตักตวงได้เต็มที่ ตรงกันข้าม หากระดับน้ำลดลงจนเหือดแห้งเราก็ไม่มีน้ำอาบ หมดโอกาสทำกำไร หรือแม้ทำได้ก็ยากเย็นแสนเข็ญ
จาก สมมติฐานดังกล่าว เมื่อใดที่ภาวะตลาดปรับตัวสูงขึ้น จำนวนสะสมของหุ้นที่ราคาขยับสูงขึ้นต่อเนื่องจากวันก่อน ก็จะ “เพิ่มมากขึ้น” ด้วย เป็นเงาตามตัว ตรงนี้คุณจะต้องระวังด้วยว่า ตัวเลขที่เพิ่มมากขึ้นนั้น จะต้องเป็นตัวเลข “เพิ่มสะสม” ไม่ใช่เฉพาะตัวเลข “มากกว่า” หรือ “น้อยกว่า”
อย่างเดียว หมายความว่า จะต้องสะท้อนให้เห็นความต่อเนื่องของภาวะตลาดอย่างชัดเจน ถ้าจับตรงนี้ได้ คุณก็จับกระแสใหญ่ของตลาดได้
เมื่อ ใดที่คุณคำนวณได้ว่า จำนวนสะสมของหุ้นที่ราคาสูงขึ้น (ผลรวมในแต่ละวันของจำนวนหุ้นที่ราคาขึ้นอย่างต่อเนื่องภายหลังหักจำนวนหุ้น ที่ลดลงอย่างต่อเนื่องแล้ว) เริ่มเพิ่มมากขึ้น คือเริ่มเห็นเด่นชัดขึ้น แสดงว่าภาวะตลาดเริ่มฟื้นตัวแล้ว และหากเหตุการณ์ยังดำเนินต่อไปอีก ในลักษณะนั้น ก็เป็นอันชัดเจนว่า ตลาดได้ก้าวเข้าสู่ระยะ “ขึ้น” แล้ว กระทิงเริ่มส่ายหัวไปมา หายใจฟืดฟาด ทำท่าจะออกวิ่งแล้ว สามารถชี้ลงไปได้เลยว่า ตลาด “ไป” แน่ ตรงข้าม เมื่อใดที่จำนวนหุ้นที่ราคาตกมีมากกว่าหุ้นที่ราคาขึ้น และ “สะสมเพิ่มขึ้น” ก็หมายความว่า ตลาด “ลง” แน่
ด้วยวิธีการนี้ เราสามาถจับกระแสตลาดได้ทั้งหมด 4 ทางด้วยกันคือ
1. ถ้าจำนวนสะสมของหุ้นราคาขึ้น เพิ่มมากขึ้น ตลาดไปแน่
2. ถ้าจำนวนสะสมของหุ้นราคาตก เพิ่มมากขึ้น ตลาดลงแน่
3. ถ้าจำนวนสะสมของหุ้นราคาขึ้น เพิ่มมากขึ้น แต่เพิ่มในอัตราที่ต่ำลง (ส่วนต่างระหว่างจำนวนหุ้นที่ราคาขึ้นอย่างต่อเนื่องกับที่ตกอย่างต่อเนื่อง หดแคบลงเรื่อยๆ ) แสดงว่าตลาดที่มาแรงนั้นเริ่มแผ่วใกล้ถึงจุดหักเห อาจพลิกไปเป็นตลาดขาลงในอีกไม่นานนัก
4. ถ้าจำนวนสะสมของหุ้นราคาตก เพิ่มมากขึ้น แต่เพิ่มในอัตราที่ต่ำลง แสดงว่าตลาดหมีกำลังจะสิ้นสุดลง ตลาดจะไม่ตกต่อไปอีกแล้ว
หลักการใช้
ถ้า จะใช้วิธีการนี้ได้ดี คุณต้องลงแรง ทำสถิติจำนวนหุ้นที่ราคาขึ้นและตกต่อในแต่ละวัน หาจำนวนแตกต่างของหุ้นสองชนิดนี้และรวมรวมสะสมเป็นดัชนีชี้นำการวิเคราะห์ ภาวะตลาดด้วยตนเอง ไม่นานก็จะใช้เป็นใช้คล่องสร้างโอกาสทำกำไรให้แก่ตนเองมากขึ้นกว่าเดิมได้ อีกด้วย
บทความทั้งหมดนี้คัดจากหนังสือแม่ไม้หุ้น ของลุ้น พารวย ผลงานกลุ่มเบี้ยฟ้า
หวังว่าจะช่วยดึงสติเพื่อนๆชาวเม่าได้ครับ
ได้ รับการยอมรับอย่างกว้างในวงการลงทุน ของประเทศอเมริกา เป็นกลยุทธ์ในระดับ “แม่บท” ของบรรดานักลงทุนมืออาชีพ ที่จะต้องทำความเข้าใจและนำไปใช้ชี้นำการตัดสินใจซื้อขายหุ้นโดยเฉพาะ มีทั้งหมดเพียง 8 ข้อเท่านั้น
หลักการซื้อ
1. หากปรากฏชัดเจนแล้วว่า ตลาดได้เข้าสู่ภาวะ “ขาขึ้น” แน่นอนแล้ว จงเข้าซื้อทุกครั้งที่ราคาหุ้นปรับตัวลง
“หลัก ฐาน” ที่แสดงให้รู้ว่าตลาดรวมขึ้นแน่ ไปยาวแน่ ถ้าใช้การวิเคราะห์ทางเทคนิคคือ เส้นราคารายวันได้เจาะทะลุ (จากเบื้องล่าง) ผ่านเส้นราคาเฉลี่ยเคลื่อนที่ระยะสั้น (อาจเป็น 10 วัน) ขึ้นไปได้สำเร็จ ในแง่คิดนี้ หมายความว่าถ้าเส้นฯ 10 วันสามารถตัดเส้นฯ 25 วันขึ้นไปจนสามารถยืนเหนือเส้นฯ 75 วันได้ ตลาดหุ้นจะมีทิศทางเป็นขาขึ้น
แก รนด์วิลล์ไม่ได้ให้หลักสังเกตุด้านวอลุ่ม การซื้อขายประจำวันแต่ตรงนี้ ขอตั้งสังเกตุส่วนตัวเสนอแก่คุณ พิจารณาประกอบ ซึ่งอาจจะไม่ถึงกับเป็นหลักการมาตรฐาน เป็นเพียง “ข้อสังเกตุ” เท่านั้น คือในตลาดหุ้นไทยปัจจุบันนี้ กลุ่มกองทุนรวมมีบทบาทสำคัญยิ่งในการกำหนดทิศทางของตลาดรวม ดังนั้น หากช่วงไหนเราสังเกตุได้ว่าแรงซื้อหลักมาจากบรรดากองทุนรวมหรือกองทุนจาก ต่างประเทศ โอกาสที่ตลาดจะไปต่อก็มีมาก แต่หากช่วงไหนที่แรงซื้อหลักมาจากนักลงทุนรายย่อยที่ “แห่” กันเข้ารับของจากการเทขายของกองทุน โอกาสที่ตลาดจะปรับตัวลงอย่างฮวบฮาบก็เป็นไปได้มาก
วิธีการสังเกตุทั้งสองกรณีนี้ไม่ใช่เป็นเรื่องยากเลย
กรณี แรกที่กลุ่มกองทุนรวมพากันเข้าซื้อ จะเป็นช่วงที่ตลาดยังเย็นอยู่ นักลงทุนรายย่อยส่วนใหญ่ยังไม่ “อยาก” ที่จะเข้าซื้อ แต่จู่ๆ ระดับราคาหุ้นก็แกร่งขึ้น โดยมีวอลุ่มการซื้อขายหนาแน่นพอสมควร (แต่ก็ไม่จำเป็นต้องพอง) ส่วนกรณีหลังนั้น ราคาหุ้นขึ้นแบบร้อนแรงและหวือหวา แบบไม่มีเหตุผล (อาจถึงกับ “บ้าคลั่ง”) และนักลงทุนส่วนใหญ่พากัน “อยาก” เข้ากันเต็มแก่ วอลุ่ม “พอง” สุดๆ ทำสถิติใหม่ ทุกวันดังนั้น ถ้าเราจับ “กระบวนท่า” ของบรรดากองทุนรวม “บิ๊กๆ” ได้ โอกาสที่เราจะเล่นหุ้นแล้วรวยก็เป็นไปได้มาก
จงซื้อเมื่อพบว่าแรงซื้อหลักมาจากกองทุนรวมต่างชาติ
2.หาก ภาวะตลาดรวมยังไม่ได้บอกชัดว่า ได้เป็นตลาดขาลงแล้ว จงเข้าซื้อหุ้นทุกครั้งที่มันปรับตัวลง ข้อนี้ถ้าใช้เส้นราคารายวันกับเส้นราคาเฉลี่ยเคลื่อนที่มาวัด ก็หมายถึงว่า ตราบใดที่เส้นราคารายวันยังอยู่เหนือเส้นราคาเฉลี่ยเคลื่อนที่ระยะสั้น ก็จงเข้ารับซื้อทุกครั้งที่ราคาหุ้นปรับตัวลง (ภาษาห้องค้าเรียกว่า “ช้อนซื้อ”) ในการปรับตัวช่วงกลางของตลาดขาขึ้น มักจะดำเนินไปอย่างรุนแรงมาก ถึงกับทำให้เส้นราคารายวันตกทะลุเส้นราคาเฉลี่ยเคลื่อนที่ระยะสั้นลงมาได้ แต่ในที่สุดก็จะดีดกลับ และเดินหน้าต่อไป
หลักการขาย
3.หาก ปรากฎชัดแล้วว่า ตลาดรวมได้เปลี่ยนจาก “ขาขึ้น” มาเป็น “ขาลง” แน่นอนแล้ว จงขายทุกครั้งที่ราคาหุ้นดีดกลับ ถ้าวิเคราะห์ด้วยเส้นราคาเฉลี่ยเคลื่อนที่ ก็คือเส้นราคารายวันได้เจาะทะลุเส้นราคาเฉลี่ยเคลื่อนที่ลงมาแล้ว และเส้นราคาเฉลี่ยเคลื่อนที่ระยะสั้น ก็ได้เจาะทะลุเส้นระยะกลางลงมาแล้ว ยิ่งเส้นระยะสั้นเจาะทะลุเส้นระยะกลาง ระยะยาวลงมาแล้ว ก็ยิ่งพิสูจน์ว่าภาวะตลาดได้ “ลงหลุม” เรียบร้อยแล้ว มีแต่ต้องขายออกอย่างเดียว ในทุกครั้งที่ราคาดีดขึ้น
4.ตราบ ใดที่ตลาดยังไม่มีวี่แววว่าจะเป็นตลาด ขาขึ้น จงขายออกทุกครั้งที่ราคาหุ้นเด้งขึ้น การเด้งขึ้นของราคาหุ้นในระยะนี้ เป็นเพียงการสว่างวาบขึ้นของแสงหิ่งห้อยในความมืดมิด เหมาะสำหรับผู้ที่เกาะติดห้องค้า ซื้อขายหุ้นเป็นอาชีพ ทำกำไรรายวันได้ แต่ไม่ถึงกับรวย (จะรวยหุ้นก็ต้องรอเข้าซื้อในจังหวะที่เป็นตลาดขาขึ้น โดย “โถม” สุดตัวรอจนราคาหุ้นไต่ขึ้นไปสุดๆ จึง “ถอน” ทั้งยวง)
ข้อควรระวัง
5.ตราบ ใดที่ภาวะตลาดยังไม่ได้แสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่าเป็นตลาด “ขาขึ้น” จริงๆ ก็ไม่ควรเข้าไปรับซื้อหุ้นที่ราคากำลังปรับตัวต่ำลงมา เพราะราคาที่ว่าต่ำแล้ว อาจจะยิ่งต่ำลงไปอีก (หากตลาดยังอยู่ในภาวะขาขึ้น แต่เป็นช่วงของการปรับตัวลงเท่านั้น ก็สามารถเข้าช้อนซื้อได้และควรเข้าช้อนซื้อเป็นอย่างยิ่ง)
6.ภาย หลังจากที่ตลาดได้เข้าสู่ภาวะ “ขาลง” แน่นอนแล้ว อย่าเข้าตลาดซื้อหุ้นเด็ดขาด จงอย่า “ฝืน” ตลาด อย่า “อวดดี” กับตลาด อย่า “ท้าทาย” ตลาด
7.ตราบ ใดที่ตลาดยังไม่ได้เข้าสู่ภาวะ “ขาลง” เวลาเห็นราคาหุ้นพุ่งก็อย่าขาย กอดหุ้นไว้ให้แน่น ถือต่อไป อดทนและ “เหนียว” จนถึงที่สุด ไม่ยอม “หลุด” ให้กับราคาอันแสนสวยนั้นง่ายๆ แล้วคุณก็จะรวยอย่างไร้ขีดจำกัด
8.หาก ตลาดเข้าสู่ภาวะ “ขาขึ้น” แน่นอนแล้ว จงอย่าขายหุ้นทิ้งแม้แต่หุ้นเดียว (เว้นแต่ทำการเปลี่ยนตัวหุ้น จากตัวหนึ่งไปสู่อีกตัวหนึ่งซึ่งประเมินว่าจะต้องดีกว่าแน่)
หลัก การทั้ง 8 นี้ จะเป็นเครื่องมือสำคัญยิ่งในการผลักดันให้คุณสนใจในการมอง “ภาพรวม” ตลาดหุ้น มองทิศทางใหญ่ของตลาด มีความสำคัญระดับ “ยุทธศาสตร์” ยิ่งถ้าคุณมีความรู้ความชำนาญในด้านการใช้วิธีการเหล่านี้ได้คล่องแคล่วแพรว พราว (ยุทธวิธี) สองด้านนี้รวมกันเข้า เสริมกันเข้า คุณก็จะอยู่ในฐานะนักลงทุนหุ้นผู้ยิ่งยงได้
กระนั้น ก็ตาม หลักการทั้ง 8 ของแกรนด์วิลล์นี้ ถ้าวัดกับภาวะเปลี่ยนแปลงจริงของตลาดหุ้นไทยในทุกวันนี้ ก็ยังมีส่วนที่ “ขาด” อยู่บ้าง อย่างเช่นเวลาหุ้นพุ่งขึ้นรุนแรงนั้น แทบจะไม่เห็นการ “ปรับตัวลง” เกิดขึ้นเลย จะมีเพียงบางวันที่ราคาหุ้น “ชะงัก” หรือ “ทรงตัว” อยู่ในระดับใกล้เคียงกับราคาปิดวันก่อนเท่านั้น แม้ในที่สุดจะถึงวันที่ราคา “วูบ” ลงมาอย่างเห็นได้ชัด แต่ก็เป็นเขต “ร้อนแรง” จนน่ากลัวเสียแล้ว มีแต่ผู้ที่ไม่กลัวความสูงเท่านั้นที่กล้าเข้าซื้อ
ที่ เห็นๆ กันจนชินตาก็คือ พอราคาหุ้นเริ่มออกวิ่ง ก็พากันกระโดดเกาะกันเป็นแถว ทำตัวเป็นเสือปืนไว ราคายิ่งวิ่งก็ยิ่งไล่เกาะ ไม่รอให้ราคาปรับตัวลงมาหรอก ถือว่า “ไม่ทันกิน” แน่นอนวิธีการ “ลงทุน” เช่นนี้ ย่อมมีความเสี่ยงสูงเป็นเงาตามตัว ทำไงจึงจะใช้วิธีที่เป็นแม่บทของ แกรนด์วิลล์ได้ดี ก็จึงเป็นหน้าที่ของคุณเองแล้ว
และ น่าจะเป็นคติประจำใจสำหรับคุณว่า ในการใช้วิธีหรือกลยุทธ์ลงทุนซื้อขายหุ้นนั้น จะต้องสามารถนำหลักการพื้นฐานที่สรุปมาแล้วเรียบร้อยนั้น ประสานกับสภาพเป็นจริงของตลาดหุ้นบ้านเรา และตัวคุณเอง แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นจักต้องไม่ลืมการใช้การวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานของตัวหุ้น นั้นๆ มาประกอบด้วย
เปรียบเทียบจำนวนหุ้นขึ้นกับหุ้นลงในแต่ละวัน (DAILY HIGH/LOW INDICATOR)
เวลา หุ้นตก เชื่อว่าคุณจะพลอยใจคอวูบวาบตกตามไปด้วย และอยากรู้เหลือเกินว่า อีกนานเท่าไรมันจึงหยุดตก แล้วเชิดหัวขึ้นมาใหม่ หรือบางระยะ ตลาดขึ้นๆ ลงๆ วับๆ แวมๆ ก็ไม่รูว่าเมื่อไหร่มันจะ “จริง” ส่วนใหญ่แล้วจะ “เบลอ” อาจต้อง “รอดูก่อน” ไปอีกสักระยะหนึ่ง อาจทำให้เสีย “โอกาส” ไปอย่างน่าเสียดาย วิธีนี้อาจสามารถช่วย “ถม” ช่องว่างนี้ให้แก่คุณได้บ้าง
โจ เซฟ แกรนวิลล์ (Joseph Granville) คือผู้คิดค้นวิธีนี้ วิธีการของโจเซฟ ง่ายชนิดที่คนทั่วไปคาดไม่ถึง เขาเพียงแต่คัดเลือกหุ้นที่ขึ้นและลงต่อในแต่ละวันมาเปรียบเทียบกันว่าส่วน ไหนจะมากกว่ากัน และสะสมเพิ่ม ในอัตราเพิ่มขึ้นหรือลดลงอย่างไร หากปรากฏว่าจำนวนสะสมของหุ้นที่ราคาขึ้น “เพิ่มมากขึ้น” ก็แสดงว่าตลาด “ขึ้น” แน่ แต่หากจำนวนสะสมของหุ้นที่ราคาตก “เพิ่มมากขึ้น” ก็แสดงว่าตลาดตกแน่
เขา เปรียบเทียบตลาดหุ้นว่าเหมือนกับอ่างอาบน้ำ จำนวนหุ้นที่ราคาขึ้นลงอย่างต่อเนื่องเป็นเหมือนน้ำในอ่าง ถ้าหากระดับน้ำสูงขึ้นเรื่อยๆ เราก็ตักตวงได้เต็มที่ ตรงกันข้าม หากระดับน้ำลดลงจนเหือดแห้งเราก็ไม่มีน้ำอาบ หมดโอกาสทำกำไร หรือแม้ทำได้ก็ยากเย็นแสนเข็ญ
จาก สมมติฐานดังกล่าว เมื่อใดที่ภาวะตลาดปรับตัวสูงขึ้น จำนวนสะสมของหุ้นที่ราคาขยับสูงขึ้นต่อเนื่องจากวันก่อน ก็จะ “เพิ่มมากขึ้น” ด้วย เป็นเงาตามตัว ตรงนี้คุณจะต้องระวังด้วยว่า ตัวเลขที่เพิ่มมากขึ้นนั้น จะต้องเป็นตัวเลข “เพิ่มสะสม” ไม่ใช่เฉพาะตัวเลข “มากกว่า” หรือ “น้อยกว่า”
อย่างเดียว หมายความว่า จะต้องสะท้อนให้เห็นความต่อเนื่องของภาวะตลาดอย่างชัดเจน ถ้าจับตรงนี้ได้ คุณก็จับกระแสใหญ่ของตลาดได้
เมื่อ ใดที่คุณคำนวณได้ว่า จำนวนสะสมของหุ้นที่ราคาสูงขึ้น (ผลรวมในแต่ละวันของจำนวนหุ้นที่ราคาขึ้นอย่างต่อเนื่องภายหลังหักจำนวนหุ้น ที่ลดลงอย่างต่อเนื่องแล้ว) เริ่มเพิ่มมากขึ้น คือเริ่มเห็นเด่นชัดขึ้น แสดงว่าภาวะตลาดเริ่มฟื้นตัวแล้ว และหากเหตุการณ์ยังดำเนินต่อไปอีก ในลักษณะนั้น ก็เป็นอันชัดเจนว่า ตลาดได้ก้าวเข้าสู่ระยะ “ขึ้น” แล้ว กระทิงเริ่มส่ายหัวไปมา หายใจฟืดฟาด ทำท่าจะออกวิ่งแล้ว สามารถชี้ลงไปได้เลยว่า ตลาด “ไป” แน่ ตรงข้าม เมื่อใดที่จำนวนหุ้นที่ราคาตกมีมากกว่าหุ้นที่ราคาขึ้น และ “สะสมเพิ่มขึ้น” ก็หมายความว่า ตลาด “ลง” แน่
ด้วยวิธีการนี้ เราสามาถจับกระแสตลาดได้ทั้งหมด 4 ทางด้วยกันคือ
1. ถ้าจำนวนสะสมของหุ้นราคาขึ้น เพิ่มมากขึ้น ตลาดไปแน่
2. ถ้าจำนวนสะสมของหุ้นราคาตก เพิ่มมากขึ้น ตลาดลงแน่
3. ถ้าจำนวนสะสมของหุ้นราคาขึ้น เพิ่มมากขึ้น แต่เพิ่มในอัตราที่ต่ำลง (ส่วนต่างระหว่างจำนวนหุ้นที่ราคาขึ้นอย่างต่อเนื่องกับที่ตกอย่างต่อเนื่อง หดแคบลงเรื่อยๆ ) แสดงว่าตลาดที่มาแรงนั้นเริ่มแผ่วใกล้ถึงจุดหักเห อาจพลิกไปเป็นตลาดขาลงในอีกไม่นานนัก
4. ถ้าจำนวนสะสมของหุ้นราคาตก เพิ่มมากขึ้น แต่เพิ่มในอัตราที่ต่ำลง แสดงว่าตลาดหมีกำลังจะสิ้นสุดลง ตลาดจะไม่ตกต่อไปอีกแล้ว
หลักการใช้
ถ้า จะใช้วิธีการนี้ได้ดี คุณต้องลงแรง ทำสถิติจำนวนหุ้นที่ราคาขึ้นและตกต่อในแต่ละวัน หาจำนวนแตกต่างของหุ้นสองชนิดนี้และรวมรวมสะสมเป็นดัชนีชี้นำการวิเคราะห์ ภาวะตลาดด้วยตนเอง ไม่นานก็จะใช้เป็นใช้คล่องสร้างโอกาสทำกำไรให้แก่ตนเองมากขึ้นกว่าเดิมได้ อีกด้วย
บทความทั้งหมดนี้คัดจากหนังสือแม่ไม้หุ้น ของลุ้น พารวย ผลงานกลุ่มเบี้ยฟ้า