สวัสดีครับ วันนี้น้องพาพันไปเจอโครงการนึงมา เลยเอามาให้พี่ๆ เพื่อนๆ ได้ดูกัน ชื่อโครงการ
“กินข้าวหมดจาน ดื่มน้ำหมดแก้ว” ของ
มูลนิธิสถาบันสิ่งแวดล้อมไทยนั่นเองครับ
พี่ๆ หลายคนอาจจะสงสัยว่า การกินข้าวกับดื่มน้ำเนี่ย มันน่าสนใจยังไง มีผลกระทบอะไร กับใคร ถึงขนาดเกิดเป็นโครงการนี้ขึ้นมา
น้องพาพันก็สงสัยเหมือนกันครับ เลยไปเซิจหาข้อมูลที่มาของโครงการนี้มาให้ดูกัน
ไปดูกันว่า การกินข้าวกับดื่มน้ำที่เราทำกันอยู่วันละหลายๆ ครั้งเนี่ย มันสำคัญยังไง
คนไทยร่วมด้วยช่วยกัน
“กินข้าวหมดจาน ดื่มน้ำหมดแก้ว”
มูลนิธิสถาบันสิ่งแวดล้อมไทย และองค์กรธุรกิจเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน (TBCSD) ชักชวนคนไทย ร่วมรักษาสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติ ด้วยการปรับพฤติกรรมการบริโภคอย่างง่ายๆ โดยการ “กินข้าวหมดจาน ดื่มน้ำหมดแก้ว” ซึ่งปฏิบัติได้ในชีวิตประจำวัน ไม่ต้องลงทุน ไม่ต้องปรับเปลี่ยนอุปกรณ์ แถมยังช่วยประหยัดค่าใช้จ่าย ผลที่ได้กลับมา นอกจากจะช่วยลดการสูญเสียทรัพยากรโดยเปล่าประโยชน์ ลดค่าใช้จ่ายในการบำบัดของเสียและน้ำเสีย ลดมลพิษที่เกิดจากกระบวนการผลิตและกำจัดของเสียแล้ว ยังช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกซึ่งเป็นสาเหตุของสภาวะโลกร้อนด้วย
กว่าจะมาเป็น...ข้าว
ข้าวสวยหอมๆ นุ่มๆ ที่เรารับประทานกันอยู่นี้ มีขั้นตอนและกระบวนการผลิตที่ก่อให้เกิดการสูญเสียทรัพยากร พลังงานและมลพิษมากมาย ตั้งแต่การเตรียมพื้นที่ปลูกข้าว การไถ การหว่าน การใส่ปุ๋ย การกำจัดศัตรูพืช การให้น้ำ การเก็บเกี่ยว การนวด ไปจนถึงการสีข้าวและการขนส่งสู่มือผู้บริโภค ซึ่งมีกระบวนการ ขั้นตอนที่ยุ่งยาก ซับซ้อนและใช้พลังงานอย่างมาก ซึ่งโดยปกติข้าวเปลือก 100 กิโลกรัม เมื่อผ่านการขัดสีจะได้ข้าวสารเพียง 48 กิโลกรัมเท่านั้น โดยมีผลพลอยได้จากการผลิต คือ ปลายข้าว รำ และแกลบ และเมื่อข้าวสารมาถึงมือผู้บริโภคแล้ว ยังต้องผ่านการทำความสะอาดและหุงให้เป็นข้าวสวย ซึ่งต้องใช้ทั้งน้ำและพลังงานไฟฟ้า ดังนั้น การรับประทานข้าวไม่หมดจาน จึงเป็นการใช้ทรัพยากรอย่างไม่คุ้มค่าและสูญเปล่า
กินข้าวหมดจาน ช่วยรักษาสิ่งแวดล้อมอย่างไร?
การบริโภคที่พอดีในแต่ละมื้อ ไม่ตักข้าวและกับข้าวในปริมาณที่มากจนเกินไป จะช่วยลดปริมาณข้าวสาร ผัก และเนื้อสัตว์ที่ใช้ในการประกอบอาหาร ลดการใช้พลังงานและน้ำในการประกอบอาหาร การชำระล้างและการกำจัดของเสีย อีกทั้งยังช่วยลดปริมาณก๊าซเรือนกระจก (มีเทน และคาร์บอนไดออกไซด์) ที่จะเกิดขึ้นการย่อยสลายของเศษอาหาร
กว่าจะมาเป็น...น้ำดื่มสะอาด
น้ำสะอาดที่เราดื่มกินในทุกวันนี้ เป็นส่วนหนึ่งของการพึ่งพิงทรัพยากรธรรมชาติที่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและระบบนิเวศเช่นกัน ได้แก่ น้ำดิบ สารเคมี และพลังงานที่ใช้ในการปรับปรุงคุณภาพ การผลิตน้ำสะอาด และการบำบัดน้ำเสีย รวมถึงกระบวนการบรรจุขวดและการขนส่งในกรณีของน้ำดื่มบรรจุขวด
ดื่มน้ำหมดแก้ว ช่วยรักษาสิ่งแวดล้อมอย่างไร?
การจัดเตรียม/ เทน้ำดื่มที่พอดีในแต่ละครั้ง จะช่วยลดปริมาณน้ำดิบ พลังงาน และสารเคมีที่ใช้ในการผลิตน้ำดื่ม อีกทั้งยังช่วยลดพลังงานที่ใช้ในการบำบัดน้ำทิ้งจำนวนมหาศาล อีกทั้ง ยังช่วยลดภาวะขาดแคลนน้ำในพื้นที่อื่นๆ ด้วย
หากคนไทย 10 ล้านคน กินข้าวเหลือ 1 ช้อน (11 กรัม) และดื่มน้ำเหลือติดก้นแก้ว (20 ml.) ในหนึ่งมื้อ จะทำให้สูญเสียน้ำ 197,179 ลูกบาศก์เมตร สูญเสียพลังงานไฟฟ้า 15,278 กิโลวัตต์ สูญเสียน้ำมันเชื้อเพลิง 750.97 ลิตร เกิดขยะที่ต้องบำบัด 73.35 ตัน สูญเสียแร่ธาตุที่มีประโยชน์ในดิน 9.12 ตัน และปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจก 201.37 ตันคาร์บอนไดออกไซด์
กินข้าวหมดจาน ดื่มน้ำหมดแก้ว...ช่วยสร้างสมดุลของการบริโภคและรักษาสิ่งแวดล้อม
(1) ส่งเสริมการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า
๐ ลดการใช้ปุ๋ย สารกำจัดศัตรูพืช อาหารสัตว์ ในการเพาะปลูกและเลี้ยงสัตว์
๐ ลดปริมาณการใช้น้ำดิบ
๐ ลดการใช้ที่ดิน
(2) ช่วยประหยัดพลังงาน
๐ ลดพลังงานที่ใช้ในการปลูกข้าว ปลูกผัก และเลี้ยงสัตว์
๐ ลดพลังงานในการประกอบอาหาร
๐ ลดพลังงานในการผลิตไฟฟ้า
๐ ลดพลังงานในการบำบัดของเสีย/ น้ำเสีย
(3) ช่วยประหยัดน้ำ
๐ ลดปริมาณน้ำที่ใช้ในการเพาะปลูก เลี้ยงสัตว์
๐ ลดปริมาณน้ำในการประกอบอาหาร และชำระล้าง
๐ ลดประมาณการใช้น้ำดิบที่กักเก็บไว้
(4) ลดมลพิษและปริมาณของเสีย
๐ ลดปริมาณของเสียและมลพิษจากการเพาะปลูก และเลี้ยงสัตว์
๐ ลดปริมาณขยะเศษอาหาร
๐ ลดปริมาณ CO2 และ มีเทนที่เกิดจากกระบวนการหมักเศษอาหาร
๐ ลดการปนเปื้อนของแหล่งน้ำ
"กินข้าวหมดจาน ดื่มน้ำหมดแก้ว"
มูลนิธิสถาบันสิ่งแวดล้อมไทยนั่นเองครับ
พี่ๆ หลายคนอาจจะสงสัยว่า การกินข้าวกับดื่มน้ำเนี่ย มันน่าสนใจยังไง มีผลกระทบอะไร กับใคร ถึงขนาดเกิดเป็นโครงการนี้ขึ้นมา
น้องพาพันก็สงสัยเหมือนกันครับ เลยไปเซิจหาข้อมูลที่มาของโครงการนี้มาให้ดูกัน
ไปดูกันว่า การกินข้าวกับดื่มน้ำที่เราทำกันอยู่วันละหลายๆ ครั้งเนี่ย มันสำคัญยังไง
คนไทยร่วมด้วยช่วยกัน
“กินข้าวหมดจาน ดื่มน้ำหมดแก้ว”
มูลนิธิสถาบันสิ่งแวดล้อมไทย และองค์กรธุรกิจเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน (TBCSD) ชักชวนคนไทย ร่วมรักษาสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติ ด้วยการปรับพฤติกรรมการบริโภคอย่างง่ายๆ โดยการ “กินข้าวหมดจาน ดื่มน้ำหมดแก้ว” ซึ่งปฏิบัติได้ในชีวิตประจำวัน ไม่ต้องลงทุน ไม่ต้องปรับเปลี่ยนอุปกรณ์ แถมยังช่วยประหยัดค่าใช้จ่าย ผลที่ได้กลับมา นอกจากจะช่วยลดการสูญเสียทรัพยากรโดยเปล่าประโยชน์ ลดค่าใช้จ่ายในการบำบัดของเสียและน้ำเสีย ลดมลพิษที่เกิดจากกระบวนการผลิตและกำจัดของเสียแล้ว ยังช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกซึ่งเป็นสาเหตุของสภาวะโลกร้อนด้วย
กว่าจะมาเป็น...ข้าว
ข้าวสวยหอมๆ นุ่มๆ ที่เรารับประทานกันอยู่นี้ มีขั้นตอนและกระบวนการผลิตที่ก่อให้เกิดการสูญเสียทรัพยากร พลังงานและมลพิษมากมาย ตั้งแต่การเตรียมพื้นที่ปลูกข้าว การไถ การหว่าน การใส่ปุ๋ย การกำจัดศัตรูพืช การให้น้ำ การเก็บเกี่ยว การนวด ไปจนถึงการสีข้าวและการขนส่งสู่มือผู้บริโภค ซึ่งมีกระบวนการ ขั้นตอนที่ยุ่งยาก ซับซ้อนและใช้พลังงานอย่างมาก ซึ่งโดยปกติข้าวเปลือก 100 กิโลกรัม เมื่อผ่านการขัดสีจะได้ข้าวสารเพียง 48 กิโลกรัมเท่านั้น โดยมีผลพลอยได้จากการผลิต คือ ปลายข้าว รำ และแกลบ และเมื่อข้าวสารมาถึงมือผู้บริโภคแล้ว ยังต้องผ่านการทำความสะอาดและหุงให้เป็นข้าวสวย ซึ่งต้องใช้ทั้งน้ำและพลังงานไฟฟ้า ดังนั้น การรับประทานข้าวไม่หมดจาน จึงเป็นการใช้ทรัพยากรอย่างไม่คุ้มค่าและสูญเปล่า
กินข้าวหมดจาน ช่วยรักษาสิ่งแวดล้อมอย่างไร?
การบริโภคที่พอดีในแต่ละมื้อ ไม่ตักข้าวและกับข้าวในปริมาณที่มากจนเกินไป จะช่วยลดปริมาณข้าวสาร ผัก และเนื้อสัตว์ที่ใช้ในการประกอบอาหาร ลดการใช้พลังงานและน้ำในการประกอบอาหาร การชำระล้างและการกำจัดของเสีย อีกทั้งยังช่วยลดปริมาณก๊าซเรือนกระจก (มีเทน และคาร์บอนไดออกไซด์) ที่จะเกิดขึ้นการย่อยสลายของเศษอาหาร
กว่าจะมาเป็น...น้ำดื่มสะอาด
น้ำสะอาดที่เราดื่มกินในทุกวันนี้ เป็นส่วนหนึ่งของการพึ่งพิงทรัพยากรธรรมชาติที่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและระบบนิเวศเช่นกัน ได้แก่ น้ำดิบ สารเคมี และพลังงานที่ใช้ในการปรับปรุงคุณภาพ การผลิตน้ำสะอาด และการบำบัดน้ำเสีย รวมถึงกระบวนการบรรจุขวดและการขนส่งในกรณีของน้ำดื่มบรรจุขวด
ดื่มน้ำหมดแก้ว ช่วยรักษาสิ่งแวดล้อมอย่างไร?
การจัดเตรียม/ เทน้ำดื่มที่พอดีในแต่ละครั้ง จะช่วยลดปริมาณน้ำดิบ พลังงาน และสารเคมีที่ใช้ในการผลิตน้ำดื่ม อีกทั้งยังช่วยลดพลังงานที่ใช้ในการบำบัดน้ำทิ้งจำนวนมหาศาล อีกทั้ง ยังช่วยลดภาวะขาดแคลนน้ำในพื้นที่อื่นๆ ด้วย
หากคนไทย 10 ล้านคน กินข้าวเหลือ 1 ช้อน (11 กรัม) และดื่มน้ำเหลือติดก้นแก้ว (20 ml.) ในหนึ่งมื้อ จะทำให้สูญเสียน้ำ 197,179 ลูกบาศก์เมตร สูญเสียพลังงานไฟฟ้า 15,278 กิโลวัตต์ สูญเสียน้ำมันเชื้อเพลิง 750.97 ลิตร เกิดขยะที่ต้องบำบัด 73.35 ตัน สูญเสียแร่ธาตุที่มีประโยชน์ในดิน 9.12 ตัน และปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจก 201.37 ตันคาร์บอนไดออกไซด์
กินข้าวหมดจาน ดื่มน้ำหมดแก้ว...ช่วยสร้างสมดุลของการบริโภคและรักษาสิ่งแวดล้อม
(1) ส่งเสริมการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า
๐ ลดการใช้ปุ๋ย สารกำจัดศัตรูพืช อาหารสัตว์ ในการเพาะปลูกและเลี้ยงสัตว์
๐ ลดปริมาณการใช้น้ำดิบ
๐ ลดการใช้ที่ดิน
(2) ช่วยประหยัดพลังงาน
๐ ลดพลังงานที่ใช้ในการปลูกข้าว ปลูกผัก และเลี้ยงสัตว์
๐ ลดพลังงานในการประกอบอาหาร
๐ ลดพลังงานในการผลิตไฟฟ้า
๐ ลดพลังงานในการบำบัดของเสีย/ น้ำเสีย
(3) ช่วยประหยัดน้ำ
๐ ลดปริมาณน้ำที่ใช้ในการเพาะปลูก เลี้ยงสัตว์
๐ ลดปริมาณน้ำในการประกอบอาหาร และชำระล้าง
๐ ลดประมาณการใช้น้ำดิบที่กักเก็บไว้
(4) ลดมลพิษและปริมาณของเสีย
๐ ลดปริมาณของเสียและมลพิษจากการเพาะปลูก และเลี้ยงสัตว์
๐ ลดปริมาณขยะเศษอาหาร
๐ ลดปริมาณ CO2 และ มีเทนที่เกิดจากกระบวนการหมักเศษอาหาร
๐ ลดการปนเปื้อนของแหล่งน้ำ