เขาให้มีการศึกษากันมาตั้งแต่ปี 2547 รัฐบาลของคนที่ห้ามเอ่ยชื่อแล้ว.....
http://www.manager.co.th/Local/ViewNews.aspx?NewsID=9470000010999
"ไฮสปีดเทรน"กทม.-โคราชแสนล้านใกล้เป็นจริง
21 มิถุนายน 2547
ศูนย์ข่าวนครราชสีมา- โครงการยักษ์ "ไฮสปีดเทรน"สาย กรุงเทพฯ-โคราช ใกล้เป็นจริง การรถไฟฯ เร่งสนองยุทธศาสตร์พัฒนาระบบขนส่งมวลชน เชื่อมโครงการยักษ์สนามบินสุวรรณภูมิ-เมืองใหม่นครนายก-ภาคอีสาน เผยจัดทำTORเสร็จเรียบร้อยพร้อมทุ่มงบฯ 37 ล้านจ้างศึกษาFS คาดอีก 1 ปีเสนอครม.อนุมัติงบฯก่อสร้างได้ แย้มเปิดทางเอกชนเข้าร่วมลงทุนเหตุมูลค่าก่อสร้างสูงถึง 1 แสนล้าน
เมื่อเร็วๆ นี้นายสุนทร ริ้วเหลือง ผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมาได้เชิญคณะผู้แทนการรถไฟแห่งประเทศไทย(รฟท.) นำโดยนายธีระ รัตนวิศ ที่ปรึกษาการรถไฟแห่งประเทศไทย ในฐานะหัวหน้าคณะทำงานโครงการรถไฟความเร็วสูงสายกรุงเทพฯ-นครราชสีมา(Mass Rapid Transit หรือ Hi Speed Train) ร่วมประชุมรายงานความคืบหน้า การดำเนินโครงการฯกับผู้แทนทั้งภาครัฐและเอกชนที่เกี่ยวข้องที่จังหวัดนครราชสีมา
ทุ่ม 37ล้านบาทเร่งศึกษาFS
นายธีระ รัตนวิศ กล่าวว่า ยุทธศาสตร์พัฒนาระบบขนส่งมวลชน และการรับมือกับวิกฤติพลังงานเป็นนโยบายสำคัญระดับชาติของรัฐบาลในขณะนี้ จะเห็นได้ว่าช่วงที่ผ่านมา รัฐบาลได้ประกาศทุ่มเทงบประมาณหลายแสนล้านบาท เพื่อพัฒนาระบบขนส่งมวลชนของประเทศในหลายรูปแบบ ทั้งในกรุงเทพฯหรือเชื่อมกรุงเทพฯกับปริมณฑลและกับจังหวัดในภาคต่างๆ
โครงการหนึ่งในนโยบายดังกล่าวคือ รถไฟความเร็วสูงสายกรุงเทพฯ-นครราชสีมา ซึ่งมีความเป็นไปได้สูงในปัจจุบัน และกำลังได้รับการผลักดันให้เกิดขึ้นโดยเร็วที่สุด ตามมติคณะรัฐมนตรี(ครม.) 26 พ.ค.2546 ที่ได้เห็นชอบในหลักการไปแล้ว
ความคืบหน้าล่าสุด ขณะนี้คณะทำงานของการรถไฟฯ ได้จัดทำร่างข้อกำหนดการศึกษาแนวเส้นทางและประเมินค่าลงทุน(TOR) โครงการรถไฟความเร็วสูงฯ เสร็จเรียบร้อยแล้ว และอยู่ระหว่างขั้นตอนการประกาศเพื่อคัดเลือกและว่าจ้างบริษัทที่ปรึกษา เพื่อศึกษาแนวเส้นทางและประเมินค่าการลงทุน( Fessibility Study: FS)ของโครงการ ซึ่งใช้งบประมาณรวมภาษีประมาณ 37 ล้านบาท
"งบฯศึกษา FS ข้างต้น รัฐบาลได้ให้การรถไฟฯหารือกับสำนักงบประมาณ จนได้ข้อยุติแล้วว่าให้เกลี่ยงบประมาณปี 2547 ในโครงการซ่อมบำรุงของการรถไฟฯ ที่คาดว่าไม่สามารถใช้ได้หมดทันในปีงบประมาณนี้ มาใช้เป็นงบฯว่าจ้างศึกษาโครงการนี้ได้" นายธีระ กล่าว
เปิด 2 เส้นทางเลือก
เชื่อมสุวรรณภูมิ-นครนายก-อีสาน
สำหรับประเด็นหลักๆ ของ TOR ที่ต้องการให้บริษัทที่ปรึกษาทำการศึกษาวิเคราะห์ เสนอแนะและปฏิบัติงานประกอบด้วยภารกิจ 5 ลักษณะงาน คือ 1.ศึกษาแนวเส้นทางของโครงการ 2.ศึกษาทางด้านวิศวกรรมที่เกี่ยวข้อง 3.งานพิจารณาทางด้านสิ่งแวดล้อม ประกอบการเลือกแนวเส้นทาง 4. งานประเมินค่าลงทุน และพิจารณาค่าโดยสารที่เหมาะสม และ 5.งานประเมินผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจ-สังคม และเสนอแนะแนวทางการดำเนินงานโครงการต่อไป
นายธีระ กล่าวเพิ่มเติมว่า แนวทางโครงการเบื้องต้นที่ได้วางไว้ และต้องการให้ศึกษาลงลึกรายละเอียด เช่น แนวเส้นทางรถไฟความเร็วสูงให้เน้นระยะทางสั้นที่สุด ไม่ยึดติดกับแนวทางรถไฟที่มีอยู่เดิม แม้จะต้องเจาะทะลุภูเขาก็ตาม โดยได้วางไว้ 2 เส้นทางคือ
สถานีต้นทางที่มักกะสัน-สนามบินสุวรรณภูมิ(เลี้ยวตัดขึ้นทิศเหนือ)-บ้านนา(โครงการพัฒนาเมืองใหม่นครนายก)-มุ่งตรงสู่ อ.ปากช่อง-จ.นครราชสีมา รวมระยะทาง 223 กิโลเมตร(กม.)
แนวเส้นทางที่ 2 คือ จากสถานีต้นทางมักกะสัน-สนามบินสุวรรณภูมิ-เลยไปถึง จ.ฉะเชิงเทรา แล้วจึงเลี้ยวตัดขึ้นทิศเหนือมุ่งสู่ -บ้านนา เมืองใหม่นครนายก-อ.ปากช่อง-นครราชสีมา รวมระยะทาง 247 กม.
เส้นทางที่รถไฟความเร็วสูงจะวิ่งผ่าน
โครงการฯนี้จะใช้ขบวนรถไฟฟ้าที่มีสมรรถภาพความเร็วสูงสุดประมาณ 300 กิโลเมตร/ชั่วโมง(กม./ชม.)ที่สามารถเดินทางได้ด้วยความเร็วเฉลี่ย 250 กม./ชม. หรือใช้เวลาเดินทางจากกรุงเทพฯ-โคราชประมาณ 1 ชั่วโมง ซึ่งจะต้องมีอัตราค่าบริการที่สอดคล้องกับกำลังซื้อของประชาชน และมีศักยภาพแข่งขันกับการเดินทางประเภทอื่นๆ ได้
ลงทุนสูงแสนล.-เปิดทางเอกชนร่วม
สิ่งที่สำคัญอีกประการ คือรูปแบบของการลงทุน อาจจะออกมาในลักษณะของการดึงภาคเอกชนเข้ามาร่วมลงทุนในบางส่วน เช่น ภาครัฐลงทุนในส่วนของโครงสร้างพื้นฐานทั้งหมด เอกชนลงทุนเรื่องของขบวนรถไฟฟ้าและการให้บริการ แล้วจัดสรรผลประโยชน์ให้รัฐตามระยะเวลาที่กำหนด เป็นต้น เพราะเป็นโครงการที่ต้องใช้เงินลงทุนสูงราว 1 แสนล้านบาท
"ขั้นตอนจากนี้ไปคือ บริษัทที่ปรึกษาจะใช้เวลาศึกษา FS ประมาณ 3-4 เดือน ก่อนที่จะเสนอให้ครม.พิจารณาเห็นชอบและอนุมัติงบฯสำรวจออกแบบราว 100 ล้านบาท จากเสนอขออนุมัติก่อสร้างโครงการต่อไป ซึ่งกว่าจะถึงจุดนี้คาดว่าจะใช้เวลาอีกประมาณ 1 ปี และใช้เวลาก่อสร้างอีก 3-4 ปี " นายธีระ กล่าว
ผู้ว่าฯCEOดันผ่าน"ภูมิเมืองอีสาน"
นายสุนทร ริ้วเหลือง เสนอว่า ทางจังหวัดต้องการให้เส้นทางรถไฟความเร็วสูงผ่านอ.ปากช่อง จ.นครราชสีมาเชื่อมโยงกับ "โครงการภูมิเมืองอีสาน" โดยให้จัดตั้งสถานีรับ-ส่งผู้โดยสารระหว่างทางตรงจุดนี้ด้วย
ทั้งนี้โครงการดังกล่าว เป็นโครงการพัฒนาตามยุทธศาสตร์กลุ่มจังหวัดอีสานตอนล่างที่ต้องการสร้างเมืองใหม่ที่ อ.ปากช่องให้เป็นศูนย์กลางการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ ศิลปะ อารยธรรมอีสานเพื่อการท่องเที่ยว และเป็นศูนย์กลางการค้าขายผลิตภัณฑ์ชุมชน และการขนส่งเชิงพาณิชย์ของภาคอีสานทั้ง 19 จังหวัด ซึ่งจะใช้งบประมาณพัฒนาหลายร้อยล้านบาท
ทั้งนี้เพื่อเป็นการบูรณาการโครงการพัฒนาทั้งสองให้เชื่อมโยงกันซึ่งจะก่อให้เกิดประโยชน์กับประชาชนทั้ง 19จังหวัดภาคอีสานอย่างสูงสุด
"ไม่ว่าจะเลือกแนวเส้นทางใด รถไฟความเร็วสูงโครงการนี้ก็ต้องผ่านนครนายกตามที่นายกรัฐมนตรีกำชับไว้ นั่นหมายความว่า จะมีสถานีรับ-ส่งผู้โดย 1 แห่งเกิดขึ้นที่นี่ ดังนั้นโคราชจึงขอเสนอให้ตั้งสถานีระหว่างทางเพิ่มอีก 1 แห่งที่ อ.ปากช่อง รวมเป็น 2 สถานี ซึ่งเหมาะสมกับระยะทางก่อนถึงสถานีปลายทางที่โคราช และที่สำคัญจะนำไปสู่การพัฒนาศักยภาพอ.ปากช่องที่มีแหล่งท่องเที่ยวขึ้นชื่อระดับโลก เช่น เขาใหญ่ อยู่แล้วให้เป็นเมืองศูนย์กลางท่องเที่ยวและแหล่งที่พักเชิงธรรมชาติอีกแห่งหนึ่งของเมืองไทย" นายสุนทร กล่าว
อยากให้กระทู้นี้ ขึ้นแนะนำ ...แมงสาป หน้าหนา บอกว่าตัวเอง เป็นคนคิดเรื่องรถไฟความเร็วสูง... แต่ความจริงคือ..
http://www.manager.co.th/Local/ViewNews.aspx?NewsID=9470000010999
"ไฮสปีดเทรน"กทม.-โคราชแสนล้านใกล้เป็นจริง
21 มิถุนายน 2547
ศูนย์ข่าวนครราชสีมา- โครงการยักษ์ "ไฮสปีดเทรน"สาย กรุงเทพฯ-โคราช ใกล้เป็นจริง การรถไฟฯ เร่งสนองยุทธศาสตร์พัฒนาระบบขนส่งมวลชน เชื่อมโครงการยักษ์สนามบินสุวรรณภูมิ-เมืองใหม่นครนายก-ภาคอีสาน เผยจัดทำTORเสร็จเรียบร้อยพร้อมทุ่มงบฯ 37 ล้านจ้างศึกษาFS คาดอีก 1 ปีเสนอครม.อนุมัติงบฯก่อสร้างได้ แย้มเปิดทางเอกชนเข้าร่วมลงทุนเหตุมูลค่าก่อสร้างสูงถึง 1 แสนล้าน
เมื่อเร็วๆ นี้นายสุนทร ริ้วเหลือง ผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมาได้เชิญคณะผู้แทนการรถไฟแห่งประเทศไทย(รฟท.) นำโดยนายธีระ รัตนวิศ ที่ปรึกษาการรถไฟแห่งประเทศไทย ในฐานะหัวหน้าคณะทำงานโครงการรถไฟความเร็วสูงสายกรุงเทพฯ-นครราชสีมา(Mass Rapid Transit หรือ Hi Speed Train) ร่วมประชุมรายงานความคืบหน้า การดำเนินโครงการฯกับผู้แทนทั้งภาครัฐและเอกชนที่เกี่ยวข้องที่จังหวัดนครราชสีมา
ทุ่ม 37ล้านบาทเร่งศึกษาFS
นายธีระ รัตนวิศ กล่าวว่า ยุทธศาสตร์พัฒนาระบบขนส่งมวลชน และการรับมือกับวิกฤติพลังงานเป็นนโยบายสำคัญระดับชาติของรัฐบาลในขณะนี้ จะเห็นได้ว่าช่วงที่ผ่านมา รัฐบาลได้ประกาศทุ่มเทงบประมาณหลายแสนล้านบาท เพื่อพัฒนาระบบขนส่งมวลชนของประเทศในหลายรูปแบบ ทั้งในกรุงเทพฯหรือเชื่อมกรุงเทพฯกับปริมณฑลและกับจังหวัดในภาคต่างๆ
โครงการหนึ่งในนโยบายดังกล่าวคือ รถไฟความเร็วสูงสายกรุงเทพฯ-นครราชสีมา ซึ่งมีความเป็นไปได้สูงในปัจจุบัน และกำลังได้รับการผลักดันให้เกิดขึ้นโดยเร็วที่สุด ตามมติคณะรัฐมนตรี(ครม.) 26 พ.ค.2546 ที่ได้เห็นชอบในหลักการไปแล้ว
ความคืบหน้าล่าสุด ขณะนี้คณะทำงานของการรถไฟฯ ได้จัดทำร่างข้อกำหนดการศึกษาแนวเส้นทางและประเมินค่าลงทุน(TOR) โครงการรถไฟความเร็วสูงฯ เสร็จเรียบร้อยแล้ว และอยู่ระหว่างขั้นตอนการประกาศเพื่อคัดเลือกและว่าจ้างบริษัทที่ปรึกษา เพื่อศึกษาแนวเส้นทางและประเมินค่าการลงทุน( Fessibility Study: FS)ของโครงการ ซึ่งใช้งบประมาณรวมภาษีประมาณ 37 ล้านบาท
"งบฯศึกษา FS ข้างต้น รัฐบาลได้ให้การรถไฟฯหารือกับสำนักงบประมาณ จนได้ข้อยุติแล้วว่าให้เกลี่ยงบประมาณปี 2547 ในโครงการซ่อมบำรุงของการรถไฟฯ ที่คาดว่าไม่สามารถใช้ได้หมดทันในปีงบประมาณนี้ มาใช้เป็นงบฯว่าจ้างศึกษาโครงการนี้ได้" นายธีระ กล่าว
เปิด 2 เส้นทางเลือก
เชื่อมสุวรรณภูมิ-นครนายก-อีสาน
สำหรับประเด็นหลักๆ ของ TOR ที่ต้องการให้บริษัทที่ปรึกษาทำการศึกษาวิเคราะห์ เสนอแนะและปฏิบัติงานประกอบด้วยภารกิจ 5 ลักษณะงาน คือ 1.ศึกษาแนวเส้นทางของโครงการ 2.ศึกษาทางด้านวิศวกรรมที่เกี่ยวข้อง 3.งานพิจารณาทางด้านสิ่งแวดล้อม ประกอบการเลือกแนวเส้นทาง 4. งานประเมินค่าลงทุน และพิจารณาค่าโดยสารที่เหมาะสม และ 5.งานประเมินผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจ-สังคม และเสนอแนะแนวทางการดำเนินงานโครงการต่อไป
นายธีระ กล่าวเพิ่มเติมว่า แนวทางโครงการเบื้องต้นที่ได้วางไว้ และต้องการให้ศึกษาลงลึกรายละเอียด เช่น แนวเส้นทางรถไฟความเร็วสูงให้เน้นระยะทางสั้นที่สุด ไม่ยึดติดกับแนวทางรถไฟที่มีอยู่เดิม แม้จะต้องเจาะทะลุภูเขาก็ตาม โดยได้วางไว้ 2 เส้นทางคือ
สถานีต้นทางที่มักกะสัน-สนามบินสุวรรณภูมิ(เลี้ยวตัดขึ้นทิศเหนือ)-บ้านนา(โครงการพัฒนาเมืองใหม่นครนายก)-มุ่งตรงสู่ อ.ปากช่อง-จ.นครราชสีมา รวมระยะทาง 223 กิโลเมตร(กม.)
แนวเส้นทางที่ 2 คือ จากสถานีต้นทางมักกะสัน-สนามบินสุวรรณภูมิ-เลยไปถึง จ.ฉะเชิงเทรา แล้วจึงเลี้ยวตัดขึ้นทิศเหนือมุ่งสู่ -บ้านนา เมืองใหม่นครนายก-อ.ปากช่อง-นครราชสีมา รวมระยะทาง 247 กม.
เส้นทางที่รถไฟความเร็วสูงจะวิ่งผ่าน
โครงการฯนี้จะใช้ขบวนรถไฟฟ้าที่มีสมรรถภาพความเร็วสูงสุดประมาณ 300 กิโลเมตร/ชั่วโมง(กม./ชม.)ที่สามารถเดินทางได้ด้วยความเร็วเฉลี่ย 250 กม./ชม. หรือใช้เวลาเดินทางจากกรุงเทพฯ-โคราชประมาณ 1 ชั่วโมง ซึ่งจะต้องมีอัตราค่าบริการที่สอดคล้องกับกำลังซื้อของประชาชน และมีศักยภาพแข่งขันกับการเดินทางประเภทอื่นๆ ได้
ลงทุนสูงแสนล.-เปิดทางเอกชนร่วม
สิ่งที่สำคัญอีกประการ คือรูปแบบของการลงทุน อาจจะออกมาในลักษณะของการดึงภาคเอกชนเข้ามาร่วมลงทุนในบางส่วน เช่น ภาครัฐลงทุนในส่วนของโครงสร้างพื้นฐานทั้งหมด เอกชนลงทุนเรื่องของขบวนรถไฟฟ้าและการให้บริการ แล้วจัดสรรผลประโยชน์ให้รัฐตามระยะเวลาที่กำหนด เป็นต้น เพราะเป็นโครงการที่ต้องใช้เงินลงทุนสูงราว 1 แสนล้านบาท
"ขั้นตอนจากนี้ไปคือ บริษัทที่ปรึกษาจะใช้เวลาศึกษา FS ประมาณ 3-4 เดือน ก่อนที่จะเสนอให้ครม.พิจารณาเห็นชอบและอนุมัติงบฯสำรวจออกแบบราว 100 ล้านบาท จากเสนอขออนุมัติก่อสร้างโครงการต่อไป ซึ่งกว่าจะถึงจุดนี้คาดว่าจะใช้เวลาอีกประมาณ 1 ปี และใช้เวลาก่อสร้างอีก 3-4 ปี " นายธีระ กล่าว
ผู้ว่าฯCEOดันผ่าน"ภูมิเมืองอีสาน"
นายสุนทร ริ้วเหลือง เสนอว่า ทางจังหวัดต้องการให้เส้นทางรถไฟความเร็วสูงผ่านอ.ปากช่อง จ.นครราชสีมาเชื่อมโยงกับ "โครงการภูมิเมืองอีสาน" โดยให้จัดตั้งสถานีรับ-ส่งผู้โดยสารระหว่างทางตรงจุดนี้ด้วย
ทั้งนี้โครงการดังกล่าว เป็นโครงการพัฒนาตามยุทธศาสตร์กลุ่มจังหวัดอีสานตอนล่างที่ต้องการสร้างเมืองใหม่ที่ อ.ปากช่องให้เป็นศูนย์กลางการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ ศิลปะ อารยธรรมอีสานเพื่อการท่องเที่ยว และเป็นศูนย์กลางการค้าขายผลิตภัณฑ์ชุมชน และการขนส่งเชิงพาณิชย์ของภาคอีสานทั้ง 19 จังหวัด ซึ่งจะใช้งบประมาณพัฒนาหลายร้อยล้านบาท
ทั้งนี้เพื่อเป็นการบูรณาการโครงการพัฒนาทั้งสองให้เชื่อมโยงกันซึ่งจะก่อให้เกิดประโยชน์กับประชาชนทั้ง 19จังหวัดภาคอีสานอย่างสูงสุด
"ไม่ว่าจะเลือกแนวเส้นทางใด รถไฟความเร็วสูงโครงการนี้ก็ต้องผ่านนครนายกตามที่นายกรัฐมนตรีกำชับไว้ นั่นหมายความว่า จะมีสถานีรับ-ส่งผู้โดย 1 แห่งเกิดขึ้นที่นี่ ดังนั้นโคราชจึงขอเสนอให้ตั้งสถานีระหว่างทางเพิ่มอีก 1 แห่งที่ อ.ปากช่อง รวมเป็น 2 สถานี ซึ่งเหมาะสมกับระยะทางก่อนถึงสถานีปลายทางที่โคราช และที่สำคัญจะนำไปสู่การพัฒนาศักยภาพอ.ปากช่องที่มีแหล่งท่องเที่ยวขึ้นชื่อระดับโลก เช่น เขาใหญ่ อยู่แล้วให้เป็นเมืองศูนย์กลางท่องเที่ยวและแหล่งที่พักเชิงธรรมชาติอีกแห่งหนึ่งของเมืองไทย" นายสุนทร กล่าว