กรุงเทพฯ 2 ก.พ. - ผู้สื่อข่าวรายงานว่า การพัฒนาโครงการรถไฟความเร็วสูง 4 เส้นทาง คือ กรุงเทพ – เชียงใหม่ กรุงเทพ-หนองคาย ,กรุงเทพ-ปาดังเบซาร์ และกรุงเทพ-ระยอง ซึ่งนายกรัฐมนตรีได้สั่งการเร่งรัดกระทรวงคมนาคม ให้เร่งดำเนินการเปิดประกวดราคาในไตรมาสที่ 3 ปี 2556 และล่าสุดนายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ได้สั่งการให้สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร หรือ สนข. เร่งทำการเปิดรับฟังความคิดเห็นของประชาชน ที่อยู่ในสายทางใน 4 เส้นทาง เช่น โครงการในเฟสที่ 1 โดยโครงการศึกษาและออกแบบรถไฟความเร็วสูง สายกรุงเทพฯ-เชียงใหม่ ระยะที่ 1 กรุงเทพฯ-พิษณุโลก ได้จัดทำรายงานเบื้องต้นแล้วเสร็จ และคณะกรรมการกำกับงานศึกษาฯ ได้ให้ความเห็นชอบรายงานเบื้องต้นเมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน 2555 ที่ผ่านมา จัดทำประชาพิจารณ์ครั้งที่ 1 เมื่อวันที่ 24 มกราคม 2555 และได้จัดทำรายงานความก้าวหน้า (Progress Report) โดยคณะกรรมการกำกับงานศึกษาฯ จะประชุมพิจารณาแผนดำเนินการ ในวันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2556 นี้
โครงการศึกษาและออกแบบรถไฟความเร็วสูง สายกรุงเทพฯ-นครราชสีมา ปัจจุบัน ได้จัดทำรายงานเบื้องต้นแล้วเสร็จ และคณะกรรมการกำกับงานศึกษาฯ ได้ให้ความเห็นชอบรายงานเบื้องต้นเมื่อวันที่ 15 มกราคม 2556 และได้กำหนดจัดการประชุมใหญ่การมีส่วนร่วมของประชาชนครั้งที่ 1 ระหว่างวันที่ 4-7 กุมภาพันธ์ 2556
โครงการศึกษาและออกแบบรถไฟความเร็วสูง สายกรุงเทพฯ-หัวหิน ปัจจุบัน ได้จัดทำรายงานเบื้องต้นแล้วเสร็จและคณะกรรมการกำกับงานศึกษาฯ ได้ให้ความเห็นชอบรายงานเบื้องต้นเมื่อวันที่ 16 มกราคม 2556 และกำหนดจัดการประชุมรับฟังความคิดเห็นของประชาชนครั้งที่ 1 ระหว่างวันที่ 18-20 กุมภาพันธ์ 2556
นอกจากนี้ ในปีงบประมาณ 2555 ที่ผ่านมา การรถไฟแห่งประเทศไทย หรือ รฟท. ได้รับการจัดสรรงบประมาณเพื่อศึกษาและพัฒนารถไฟความเร็วสูง (Airport Rail Link) ต่อจากท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ-ชลบุรี-พัทยา วงเงิน 250 ล้านบาท แบ่งเป็นในปี 2555 จำนวน 38.25 ล้านบาท และผูกพันงบประมาณปี 2556 จำนวน 216.75 ล้านบาท และ สนข. ขอรับการจัดสรรงบประมาณประจำปี 2555 เพื่อศึกษาความเหมาะสมและออกแบบ โดยวิ่งให้บริการบนทางขนาดมาตรฐานกว้าง 1.435 เมตร (Standard Gauge) กำหนดความเร็วสูงสุดในการออกแบบที่ 250 กิโลเมตรต่อชั่วโมง จำนวน 3 เส้นทางในเส้นทางสายกรุงเทพฯ – เชียงใหม่, กรุงเทพฯ-นครราชสีมา และกรุงเทพฯ-หัวหิน
โดยกระทรวงคมนาคมมีนโยบายที่จะเร่งดำเนินโครงการระบบรถไฟความเร็วสูง 4 เส้นทางดังกล่าวให้เกิดผลเป็นรูปธรรมโดยเร็ว โดยได้กำหนดตัวชี้วัดระดับนโยบายของ กระทรวงคมนาคม ตามแผนการบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2555-2558 ซึ่งกำหนดศึกษาความเหมาะสมของโครงการรถไฟความเร็วสูงให้แล้วเสร็จภายในปี 2555 และเริ่มกระบวนการดำเนินโครงการได้ภายในปี 2556 ขณะที่กระทรวงการคลังมีการประมาณการตัวเลขการลงทุนโครงการทั้ง 4 เส้นทาง จะใช้เงินลงทุนมูลค่า 6.5-7 แสนล้านบาท
สำหรับโครงการรถไฟความเร็วสูง สายกรุงเทพฯ-เชียงใหม่ เฟสที่ 1 ที่มีการทำประชาพิจารณ์ไปแล้ว ขณะนี้เส้นทางช่วงกรุงเทพฯ-พิษณุโลก มีความพร้อมที่จะเปิดประกวดราคา ส่วนช่วงพิษณุโลก-เชียงใหม่ ยังต้องรอการศึกษาผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม หรือ EIA อีก 3 เดือน คาดว่าจะสามารถเปิดประกวดราคาสายกรุงเทพฯ-เชียงใหม่ได้ช่วงปลายปี 2556 และเริ่มก่อสร้างปลายปี 2557 เปิดบริการปี 2561-2562 โดยรถไฟความเร็วสูงสายกรุงเทพฯ-เชียงใหม่ ภาพรวมจะมีระยะทาง 680 กิโลเมตร 12 สถานี ประกอบด้วย บางซื่อ พระนครศรีอยุธยา ลพบุรี นครสวรรค์ พิจิตร พิษณุโลก อุตรดิตถ์ เด่นชัย ลำปาง ลำพูน และเชียงใหม่ ใช้ความเร็ว 250-300 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ระยะเวลาจากต้นทางถึงปลายทาง 3 ชั่วโมง อัตราค่าโดยสารจากกรุงเทพฯ-พิษณุโลก อยู่ที่ประมาณ 1,000 บาท จากกรุงเทพฯ-เชียงใหม่ ไม่เกิน 2,000 บาท เฉลี่ยค่าบริการ 2.50 บาทต่อกิโลเมตร ซึ่งต่ำกว่าค่าโดยสารเครื่องบินประมาณ 3 บาทต่อกิโลเมตรโครงการจะใช้เงินลงทุน วงเงิน 3.8 แสนล้านบาท และระยะที่ 1 กรุงเทพฯ-พิษณุโลก ใช้เงินลงทุน 2.4 แสนล้านบาท .- สำนักข่าวไทย
http://www.mcot.net/site/content?id=510cd6ec150ba04e6f000318#.UQz8Rldgjk0
ภาพ
http://www.voicetv.co.th/cache/images/f7ad5dd4d685263ab25678dc637e05d4.jpg
คมนาคม เร่งเดินหน้าประชาพิจารณ์ รถไฟความเร็วสูง 4 เส้นทาง
กรุงเทพฯ 2 ก.พ. - ผู้สื่อข่าวรายงานว่า การพัฒนาโครงการรถไฟความเร็วสูง 4 เส้นทาง คือ กรุงเทพ – เชียงใหม่ กรุงเทพ-หนองคาย ,กรุงเทพ-ปาดังเบซาร์ และกรุงเทพ-ระยอง ซึ่งนายกรัฐมนตรีได้สั่งการเร่งรัดกระทรวงคมนาคม ให้เร่งดำเนินการเปิดประกวดราคาในไตรมาสที่ 3 ปี 2556 และล่าสุดนายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ได้สั่งการให้สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร หรือ สนข. เร่งทำการเปิดรับฟังความคิดเห็นของประชาชน ที่อยู่ในสายทางใน 4 เส้นทาง เช่น โครงการในเฟสที่ 1 โดยโครงการศึกษาและออกแบบรถไฟความเร็วสูง สายกรุงเทพฯ-เชียงใหม่ ระยะที่ 1 กรุงเทพฯ-พิษณุโลก ได้จัดทำรายงานเบื้องต้นแล้วเสร็จ และคณะกรรมการกำกับงานศึกษาฯ ได้ให้ความเห็นชอบรายงานเบื้องต้นเมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน 2555 ที่ผ่านมา จัดทำประชาพิจารณ์ครั้งที่ 1 เมื่อวันที่ 24 มกราคม 2555 และได้จัดทำรายงานความก้าวหน้า (Progress Report) โดยคณะกรรมการกำกับงานศึกษาฯ จะประชุมพิจารณาแผนดำเนินการ ในวันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2556 นี้
โครงการศึกษาและออกแบบรถไฟความเร็วสูง สายกรุงเทพฯ-นครราชสีมา ปัจจุบัน ได้จัดทำรายงานเบื้องต้นแล้วเสร็จ และคณะกรรมการกำกับงานศึกษาฯ ได้ให้ความเห็นชอบรายงานเบื้องต้นเมื่อวันที่ 15 มกราคม 2556 และได้กำหนดจัดการประชุมใหญ่การมีส่วนร่วมของประชาชนครั้งที่ 1 ระหว่างวันที่ 4-7 กุมภาพันธ์ 2556
โครงการศึกษาและออกแบบรถไฟความเร็วสูง สายกรุงเทพฯ-หัวหิน ปัจจุบัน ได้จัดทำรายงานเบื้องต้นแล้วเสร็จและคณะกรรมการกำกับงานศึกษาฯ ได้ให้ความเห็นชอบรายงานเบื้องต้นเมื่อวันที่ 16 มกราคม 2556 และกำหนดจัดการประชุมรับฟังความคิดเห็นของประชาชนครั้งที่ 1 ระหว่างวันที่ 18-20 กุมภาพันธ์ 2556
นอกจากนี้ ในปีงบประมาณ 2555 ที่ผ่านมา การรถไฟแห่งประเทศไทย หรือ รฟท. ได้รับการจัดสรรงบประมาณเพื่อศึกษาและพัฒนารถไฟความเร็วสูง (Airport Rail Link) ต่อจากท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ-ชลบุรี-พัทยา วงเงิน 250 ล้านบาท แบ่งเป็นในปี 2555 จำนวน 38.25 ล้านบาท และผูกพันงบประมาณปี 2556 จำนวน 216.75 ล้านบาท และ สนข. ขอรับการจัดสรรงบประมาณประจำปี 2555 เพื่อศึกษาความเหมาะสมและออกแบบ โดยวิ่งให้บริการบนทางขนาดมาตรฐานกว้าง 1.435 เมตร (Standard Gauge) กำหนดความเร็วสูงสุดในการออกแบบที่ 250 กิโลเมตรต่อชั่วโมง จำนวน 3 เส้นทางในเส้นทางสายกรุงเทพฯ – เชียงใหม่, กรุงเทพฯ-นครราชสีมา และกรุงเทพฯ-หัวหิน
โดยกระทรวงคมนาคมมีนโยบายที่จะเร่งดำเนินโครงการระบบรถไฟความเร็วสูง 4 เส้นทางดังกล่าวให้เกิดผลเป็นรูปธรรมโดยเร็ว โดยได้กำหนดตัวชี้วัดระดับนโยบายของ กระทรวงคมนาคม ตามแผนการบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2555-2558 ซึ่งกำหนดศึกษาความเหมาะสมของโครงการรถไฟความเร็วสูงให้แล้วเสร็จภายในปี 2555 และเริ่มกระบวนการดำเนินโครงการได้ภายในปี 2556 ขณะที่กระทรวงการคลังมีการประมาณการตัวเลขการลงทุนโครงการทั้ง 4 เส้นทาง จะใช้เงินลงทุนมูลค่า 6.5-7 แสนล้านบาท
สำหรับโครงการรถไฟความเร็วสูง สายกรุงเทพฯ-เชียงใหม่ เฟสที่ 1 ที่มีการทำประชาพิจารณ์ไปแล้ว ขณะนี้เส้นทางช่วงกรุงเทพฯ-พิษณุโลก มีความพร้อมที่จะเปิดประกวดราคา ส่วนช่วงพิษณุโลก-เชียงใหม่ ยังต้องรอการศึกษาผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม หรือ EIA อีก 3 เดือน คาดว่าจะสามารถเปิดประกวดราคาสายกรุงเทพฯ-เชียงใหม่ได้ช่วงปลายปี 2556 และเริ่มก่อสร้างปลายปี 2557 เปิดบริการปี 2561-2562 โดยรถไฟความเร็วสูงสายกรุงเทพฯ-เชียงใหม่ ภาพรวมจะมีระยะทาง 680 กิโลเมตร 12 สถานี ประกอบด้วย บางซื่อ พระนครศรีอยุธยา ลพบุรี นครสวรรค์ พิจิตร พิษณุโลก อุตรดิตถ์ เด่นชัย ลำปาง ลำพูน และเชียงใหม่ ใช้ความเร็ว 250-300 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ระยะเวลาจากต้นทางถึงปลายทาง 3 ชั่วโมง อัตราค่าโดยสารจากกรุงเทพฯ-พิษณุโลก อยู่ที่ประมาณ 1,000 บาท จากกรุงเทพฯ-เชียงใหม่ ไม่เกิน 2,000 บาท เฉลี่ยค่าบริการ 2.50 บาทต่อกิโลเมตร ซึ่งต่ำกว่าค่าโดยสารเครื่องบินประมาณ 3 บาทต่อกิโลเมตรโครงการจะใช้เงินลงทุน วงเงิน 3.8 แสนล้านบาท และระยะที่ 1 กรุงเทพฯ-พิษณุโลก ใช้เงินลงทุน 2.4 แสนล้านบาท .- สำนักข่าวไทย
http://www.mcot.net/site/content?id=510cd6ec150ba04e6f000318#.UQz8Rldgjk0
ภาพ http://www.voicetv.co.th/cache/images/f7ad5dd4d685263ab25678dc637e05d4.jpg