รถไฟความเร็วสูงเริ่มเป็นรูปเป็นร่าง กรุงเทพฯ-เชียงใหม่ เปิดรับฟังความคิดเห็นนัดแรก พร้อมประกวดราคาปลายปีนี้ เปิดบริการปี 2561 กรุงเทพฯ-พิษณุโลกก่อน เคาะความเร็ว 300 กม./ช.ม. ราคาตั๋ว 1 พัน ปี 2562 วิ่งยาวถึงเชียงใหม่ ใช้เวลาเดินทาง 3 ชั่วโมง จ่ายไม่เกิน 2 พัน เส้นทางหนองคายวิ่งไปลาว ใช้เวียงจันทน์สถานีต่อไปจีน
เมื่อวันที่ 24 มกราคม สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) จัดสัมมนารับฟังความคิดเห็นของประชาชน ครั้งที่ 1 โครงการศึกษาและออกแบบรถไฟความเร็วสูง สายกรุงเทพฯ-เชียงใหม่ ระยะที่ 1 ช่วงกรุงเทพฯ-พิษณุโลก
พล.ต.อ.วิเชียร พจน์โพธิ์ศรี ปลัดกระทรวงคมนาคม กล่าวว่า ภายหลังเปิดรับฟังความคิดเห็นของประชาชนในเดือนสิงหาคมนี้จะนำเสนอให้คณะกรรมการผู้ชํานาญการพิจารณารายงานการวิเคราะห์ ผลกระทบสิ่งแวดล้อมพิจารณาใช้เวลาประมาณ 3 เดือน และจะเริ่มประกาศประกวดราคาในช่วงปลายปีนี้ หรือต้นปี 2557 เริ่มก่อสร้างปลายปี 2557 ช่วงกรุงเทพฯ-พิษณุโลกก่อน ใช้งบประมาณ 2.4 แสนล้านบาท เปิดให้บริการปี 2561 ส่วนช่วงพิษณุโลก-เชียงใหม่จะเริ่มก่อสร้างในปี 2558 เปิดให้บริการปี 2562 งบประมาณก่อสร้างทั้งเส้นทาง 3.8 แสนล้านบาท
พล.ต.อ.วิเชียรกล่าวว่า โครงการนี้จะมีทั้งหมด 12 สถานี อาทิ บางซื่อ ดอนเมือง และอยุธยา เป็นต้น รวมระยะทาง 680 กิโลเมตร ใช้ความเร็ว 300 กิโลเมตร (กม.) ต่อชั่วโมง (ชม.) ระยะเวลาจากต้นทางถึงปลายทาง 3 ชั่วโมง อัตราค่าโดยสารจากกรุงเทพฯ-พิษณุโลก อยู่ที่ประมาณ 1,000 บาท จากกรุงเทพฯ-เชียงใหม่ ไม่เกิน 2,000 บาท เฉลี่ยค่าบริการ 2.50 บาทต่อกม. ถูกกว่าการนั่งเครื่องบินประมาณ 3 บาทต่อกม.
พล.ต.อ.วิเชียรกล่าวว่า การก่อสร้างรถไฟความเร็วสูง 4 เส้นทาง จะใช้ระบบเดียวกัน 3 เส้นทาง คือเส้นทางกรุงเทพฯ-เชียงใหม่ กรุงเทพฯ-หนองคาย กรุงเทพฯ-หัวหิน ส่วนกรุงเทพฯ-ระยอง จะใช้ระบบเดียวกับรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตลิงก์ เพราะเป็นเส้นทางเชื่อมโยงกัน
นายจุฬา สุขมานพ ผู้อำนวยการ สนข. กล่าวว่า เส้นทางกรุงเทพฯ-เชียงใหม่ จะแบ่งการศึกษาออกเป็น 2 ตอน (เฟส) เพื่อให้เกิดความรวดเร็ว เนื่องจากช่วงพิษณุโลก-เชียงใหม่ เป็นช่วงที่ต้องทำอุโมงค์เป็นจำนวนมาก อาจต้องใช้เวลา แต่มั่นใจว่าระยะเวลาการก่อสร้างแต่ละเฟสจะห่างกันประมาณ 1-2 ปี การเปิดบริการแต่ละเฟสจะห่างกัน 1 ปี เช่นกัน โดยไตรมาส 3 นี้จะเริ่มประกวดราคางานระบบรถไฟก่อนเริ่มก่อสร้างทั้งโครงการ โดยเส้นทางกรุงเทพฯ-หนองคายจะใช้ความเร็วประมาณ 250 กม.ต่อชม. เพื่อเชื่อมโยงกับรถไฟความเร็วสูงจากลาว ที่ใช้ความเร็ว 200 กม.ต่อช.ม. โดยเบื้องต้นจะเปลี่ยนสถานีให้บริการที่เวียงจันทน์เพื่อเดินทางต่อไปยังประเทศจีน
นายสาธิต มาลัยธรรม รองผู้จัดการโครงการรถไฟความเร็วสูง กล่าวว่า การก่อสร้างรถไฟความเร็วสูงเส้นทางกรุงเทพฯ-เชียงใหม่ ได้เปิดตัวโครงการที่พิษณุโลก และเชียงใหม่ไปแล้ว ครั้งนี้เป็นการเปิดตัวที่กรุงเทพฯ "ยืนยันว่าจะช่วยให้ประชาชนเดินทางได้สะดวกขึ้น เพราะใช้เวลาเพียง 3 ชั่วโมงจากต้นทางถึงปลายทาง ต่างจากรถไฟธรรมดาใช้เวลาถึง 10 ชั่วโมง และช่วยเรื่องการประหยัดพลังงาน อีกทั้งยังสามารถสร้างความเจริญสู่ต่างจังหวัด ทั้งการส่งเสริมการท่องเที่ยว การขนส่งสินค้า เป็นต้น
ที่มา มติชนออนไลน์
เปิดประมูลรถไฟเร็วสูงปลายปี ปี2561ให้บริการ"กทม.-พิษณุโลก"ก่อน นั่งไปเชียงใหม่จ่าย2พัน3ชม.
รถไฟความเร็วสูงเริ่มเป็นรูปเป็นร่าง กรุงเทพฯ-เชียงใหม่ เปิดรับฟังความคิดเห็นนัดแรก พร้อมประกวดราคาปลายปีนี้ เปิดบริการปี 2561 กรุงเทพฯ-พิษณุโลกก่อน เคาะความเร็ว 300 กม./ช.ม. ราคาตั๋ว 1 พัน ปี 2562 วิ่งยาวถึงเชียงใหม่ ใช้เวลาเดินทาง 3 ชั่วโมง จ่ายไม่เกิน 2 พัน เส้นทางหนองคายวิ่งไปลาว ใช้เวียงจันทน์สถานีต่อไปจีน
เมื่อวันที่ 24 มกราคม สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) จัดสัมมนารับฟังความคิดเห็นของประชาชน ครั้งที่ 1 โครงการศึกษาและออกแบบรถไฟความเร็วสูง สายกรุงเทพฯ-เชียงใหม่ ระยะที่ 1 ช่วงกรุงเทพฯ-พิษณุโลก
พล.ต.อ.วิเชียร พจน์โพธิ์ศรี ปลัดกระทรวงคมนาคม กล่าวว่า ภายหลังเปิดรับฟังความคิดเห็นของประชาชนในเดือนสิงหาคมนี้จะนำเสนอให้คณะกรรมการผู้ชํานาญการพิจารณารายงานการวิเคราะห์ ผลกระทบสิ่งแวดล้อมพิจารณาใช้เวลาประมาณ 3 เดือน และจะเริ่มประกาศประกวดราคาในช่วงปลายปีนี้ หรือต้นปี 2557 เริ่มก่อสร้างปลายปี 2557 ช่วงกรุงเทพฯ-พิษณุโลกก่อน ใช้งบประมาณ 2.4 แสนล้านบาท เปิดให้บริการปี 2561 ส่วนช่วงพิษณุโลก-เชียงใหม่จะเริ่มก่อสร้างในปี 2558 เปิดให้บริการปี 2562 งบประมาณก่อสร้างทั้งเส้นทาง 3.8 แสนล้านบาท
พล.ต.อ.วิเชียรกล่าวว่า โครงการนี้จะมีทั้งหมด 12 สถานี อาทิ บางซื่อ ดอนเมือง และอยุธยา เป็นต้น รวมระยะทาง 680 กิโลเมตร ใช้ความเร็ว 300 กิโลเมตร (กม.) ต่อชั่วโมง (ชม.) ระยะเวลาจากต้นทางถึงปลายทาง 3 ชั่วโมง อัตราค่าโดยสารจากกรุงเทพฯ-พิษณุโลก อยู่ที่ประมาณ 1,000 บาท จากกรุงเทพฯ-เชียงใหม่ ไม่เกิน 2,000 บาท เฉลี่ยค่าบริการ 2.50 บาทต่อกม. ถูกกว่าการนั่งเครื่องบินประมาณ 3 บาทต่อกม.
พล.ต.อ.วิเชียรกล่าวว่า การก่อสร้างรถไฟความเร็วสูง 4 เส้นทาง จะใช้ระบบเดียวกัน 3 เส้นทาง คือเส้นทางกรุงเทพฯ-เชียงใหม่ กรุงเทพฯ-หนองคาย กรุงเทพฯ-หัวหิน ส่วนกรุงเทพฯ-ระยอง จะใช้ระบบเดียวกับรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตลิงก์ เพราะเป็นเส้นทางเชื่อมโยงกัน
นายจุฬา สุขมานพ ผู้อำนวยการ สนข. กล่าวว่า เส้นทางกรุงเทพฯ-เชียงใหม่ จะแบ่งการศึกษาออกเป็น 2 ตอน (เฟส) เพื่อให้เกิดความรวดเร็ว เนื่องจากช่วงพิษณุโลก-เชียงใหม่ เป็นช่วงที่ต้องทำอุโมงค์เป็นจำนวนมาก อาจต้องใช้เวลา แต่มั่นใจว่าระยะเวลาการก่อสร้างแต่ละเฟสจะห่างกันประมาณ 1-2 ปี การเปิดบริการแต่ละเฟสจะห่างกัน 1 ปี เช่นกัน โดยไตรมาส 3 นี้จะเริ่มประกวดราคางานระบบรถไฟก่อนเริ่มก่อสร้างทั้งโครงการ โดยเส้นทางกรุงเทพฯ-หนองคายจะใช้ความเร็วประมาณ 250 กม.ต่อชม. เพื่อเชื่อมโยงกับรถไฟความเร็วสูงจากลาว ที่ใช้ความเร็ว 200 กม.ต่อช.ม. โดยเบื้องต้นจะเปลี่ยนสถานีให้บริการที่เวียงจันทน์เพื่อเดินทางต่อไปยังประเทศจีน
นายสาธิต มาลัยธรรม รองผู้จัดการโครงการรถไฟความเร็วสูง กล่าวว่า การก่อสร้างรถไฟความเร็วสูงเส้นทางกรุงเทพฯ-เชียงใหม่ ได้เปิดตัวโครงการที่พิษณุโลก และเชียงใหม่ไปแล้ว ครั้งนี้เป็นการเปิดตัวที่กรุงเทพฯ "ยืนยันว่าจะช่วยให้ประชาชนเดินทางได้สะดวกขึ้น เพราะใช้เวลาเพียง 3 ชั่วโมงจากต้นทางถึงปลายทาง ต่างจากรถไฟธรรมดาใช้เวลาถึง 10 ชั่วโมง และช่วยเรื่องการประหยัดพลังงาน อีกทั้งยังสามารถสร้างความเจริญสู่ต่างจังหวัด ทั้งการส่งเสริมการท่องเที่ยว การขนส่งสินค้า เป็นต้น
ที่มา มติชนออนไลน์