รถไฟไทย-จีนช่วงกทม.โคราชประมูลครบปีนี้
นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมเปิดเผย ว่า ในช่วงเดือนมีนาคม-เดือนเมษายน 2561 กระทรวงคมนาคมจะเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณา โครงการรถไฟทางคู่เด่นชัย-เชียงใหม่ เด่นชัย-เชียงราย สายสีแดงอ่อน (บางซื่อ-พญาไท-มักกะสัน-หัวหมาก) รวมถึงโครงการรถไฟความเร็วสูงกรุงเทพ-เชียงใหม่ ระยะที่ 1 ช่วงกรุงเทพ-พิษณุโลกที่ผลการศึกษาดำเนินการเสร็จเรียบร้อยแล้ว ส่วนเดือนพฤษภาคม 2561 โครงการรถไฟทางคู่ 2 เส้น ประกอบด้วยเส้นทางบ้านไผ่-นครพนม เส้นทางจิระ-อุบลราชธานี
ขณะที่ความคืบหน้าโครงการรถไฟไทย-จีน เส้นทางกรุงเทพ-หนองคาย ในช่วงเดือนมิถุนายน จีนจะต้องส่งแบบการก่อสร้างระยะที่ 1 ช่วงกรุงเทพ-นครราชสีมา วงเงิน 1.79 แสนล้านบาทว่า ขณะนี้กรมทาวหลวงอยู่ระหว่างการก่อสร้างตอนที่ 1 ช่วงสถานีกลางดง-ปางอโศก ระยะทาง 3.5 กม. วงเงิน 425 ล้านบาท ซึ่งคาดว่าทางจีนจะส่งแบบช่วงที่ 2 ปากช่อง-ขนานจิตร ระยะทาง 11 กม. ช่วงที่ 3 แก่งคอย-นครราชสีมา ระยะทาง 119.5 กม.และ ช่วงที่ 4 บางซื่อ-แก่งคอย ระยะทาง 119 กม. ในเดือนมิถุนายน 2561 คาดว่าจะเปิดประมูลได้ครบทั้ง 14 ตอนภายในปีนี้
ส่วนของการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน จะเลื่อนการเสนอขออนุมัติจากคณะรัฐมนตรีจากเดือนมีนาคมเป็นเดือนเมษายนเช่นกัน ทั้งนี้คาดว่าหากผ่านความเห็นชอบจะสามารถเปิดประกวดราคาได้ในช่วงไตรมาสที่ 3
https://www.innnews.co.th/economy/news_32661/
อาคม เดินหน้าเปิดประมูลงานรถไฟ 1.7 แสนล้านในปีนี้
“อาคม” ลั่นเปิดประมูลงานรถไฟ 1.7 แสนล้านภายในกลางปีนี้ เร่งประมูลรถไฟไทย-จีนเฟส 1 ภายในปีนี้ ส่วนกรุงเทพฯ-เชียงใหม่ คาดเสนอ ครม.ภายในเดือนนี้
8 มี.ค.61-นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รมว.คมนาคม เปิดเผยว่ากระทรวงคมนาคมอยู่ระหว่างเร่งแผนพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเพื่อส่งเสริมเศรษฐกิจของประเทศในระยะยาว โดยในช่วงครึ่งแรกของปีนี้จะเร่งดันโครงการเพื่อเสนอที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ครม.)และเปิดประมูลให้ได้ภายในช่วงเดือนมิ.ย.-ก.ค. รวมมูลค่าโครงการราว 1.7 แสนล้านบาท ประกอบด้วย โครงการรถไฟทางคู่ช่วงเด่นชัย-เชียงใหม่ ระยะทาง 217 กิโลเมตร วงเงิน 5.9 หมื่นล้านบาท และโครงการรถไฟฟ้าสายสีแดงส่วนต่อขยายช่วงตลิ่งชัน-ศาลายา มูลค่า 1.9 หมื่นล้านบาทและโครงกาารรถไฟฟ้าสีแดงส่วนต่อขยาย ช่วงรังสิต-ธรรมศาสตร์ มูลค่า 7.5 พันล้านบาท จะเร่งเสนอครม.ภายในเดือน เม.ย.ก่อนเปิดประมูลภายในเดือน มิ.ย. เช่นเดียวกับโครงการรถไฟทางคู่ช่วงบ้านไผ่-นครพนม ระยะทาง 355 วงเงิน 6 หมื่นล้านบาท และรถไฟทางคู่ช่วงชุมทางถนนจิระ-อุบลราชธานี ระยะทาง 309 กิโลเมตรวงเงิน 3.5 หมื่นล้านบาท จะเร่งเสนอครม.ภายในพ.ค.นี้เริ่มทยอยประกวดราคาในช่วงเดือน มิ.ย.-ก.ค.
นายอาคม กล่าวต่อว่าสำหรับความคืบหน้าโครงการรถไฟความเร็วสูงไทย-จีน เฟส 1 ช่วงกรุงเทพ-นครราชสีมา วงเงิน 1.79 แสนล้านบาท ขณะนี้ฝ่ายจีนได้ส่งแบบตอนที่ 2 ช่วงปากช่อง - ขนานจิตร ระยะทาง 11 กม.มาแล้วคาดว่าจะสามารถเสนอเข้าครม.ใด้ภายในเดือนนี้ เปิดประมูลได้ภายในเดือนมิ.ย.นี้ ขณะที่แบบก่อสร้างสำหรับช่วงที่ 3 แก่งคอย-นครราชสีมา ระยะทาง 119.5 กม.และช่วงที่ 4 บางซื่อ-แก่งคอย ระยะทาง 119 กม. มีกำหนดส่งให้รัฐบาลไทยภายในกลางปีนี้เพื่อถอดแบบและกำหนดราคากลางในร่างเอกสารประกวดราคา(ทีโออาร์) ดังนั้นจึงมั่นใจว่าภายในปีนี้จะเปิดประมูลได้ครบทั้งเฟส 1
ขณะที่เส้นทางเชื่อมต่อช่วงแหนองคาย-เวียงจันทน์นั้นจะเป็นการลงทุนร่วมกันระหว่างสองประเทศ โดยจะเร่งหารือกับสปป.ลาวและจีนให้ได้ข้อสรุปภายใน 4 เดือนนี้ สำหรับโครงการรถไฟไทย-จีน เฟส 2 ช่วงนครราชสีมา-หนองคาย ระยะทาง 394 กม. นั้นกำหนดว่าฝ่ายจีนต้องส่งแบบรายละเอียดการก่อสร้างมาให้ไทยภายใน 8 เดือนนับจากนี้หรือช่วงปลายปีนี้
อย่างไรก็ตามโครงการรถไฟฟ้าความเร็วสูงกรุงเทพ-เชียงใหม่ ระยะทาง 672 กม. วงเงินราว 4 แสนล้านบาทตามแผนจะสามารถเสนอครม.ได้ภายในเดือนนี้
http://www.thaipost.net/main/detail/4559
มาดูอุบัติเหตุที่หวาดกลัวกันแต่ละประเทศค่ะ....👇👇👇👇👇
การเกิดอุบัติเหตุที่น่าสังเกตที่เกี่ยวข้องกับรถไฟความเร็วสูงรวมถึงต่อไปนี้
อุบัติเหตุ Eschede 1998
อุบัติเหตุรถไฟที่ Eschede
ในปี ค.ศ. 1998 , หลังจากกว่าสามสิบปีของการเดินรถไฟความเร็วสูงทั่วโลกโดยไม่เกิดอุบัติเหตุร้ายแรง, อุบัติเหตุ Eschede ได้เกิดขึ้นในประเทศเยอรมนี: การออกแบบที่ไม่ดีของล้อระบบ ICE 1 แตกออกที่ความเร็ว 200 กิโลเมตร/ชั่วโมง (124 ไมล์ต่อชั่วโมง) ใกล้เมือง Eschede, เป็นผลให้รถไฟตกรางและการเสียหายเกือบหมดทั้งชุด 16 ขบวนและยอดผู้เสียชีวิต 101 คน[ต้องการอ้างอิง].
อุบัติเหตุที่ Wenzhou 2011
รถไฟชนกันที่ Wenzhou
เมื่อวันที่ 23 กรกฎาคม 2011, 13 ปีหลังจากอุบัติเหตุรถไฟที่ Eschede, CRH2 ของจีนเดินทางที่ 100 กิโลเมตร/ชั่วโมง (62 ไมล์ต่อชั่วโมง) ชนกับ CRH1 ที่หยุดบนสะพานในเขตชานเมืองของเวินโจวมณฑลเจ้อเจียงประเทศจีน. รถไฟสองขบวนตกรางและรถยนต์สี่คันตกจากสะพาน, 40 คนตาย, อย่างน้อย 192 คนได้รับบาดเจ็บ, 12 คนในจำนวนนั้นได้รับบาดเจ็บสาหัส[25].
ภัยพิบัตินำไปสู่การเปลี่ยนแปลงหลายอย่างในการบริหารจัดการและการใช้ประโยชน์ของรถไฟความเร็วสูงในประเทศจีน. แม้จะมีความจริงที่ว่าความเร็วที่สูงไม่ได้เป็นปัจจัยในการเกิดอุบัติเหตุ, หนึ่งในการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญคือการลดลง 50 กิโลเมตร/ชั่วโมง (31 ไมล์ต่อชั่วโมง)ของทุกความเร็วสูงสุดในระบบ HSTของจีน, 350 กิโลเมตร/ชั่วโมง (217 ไมล์ต่อชั่วโมง) กลายเป็น 300, 250 กิโลเมตร/ชั่วโมง (155 ไมล์ต่อชั่วโมง) กลายเป็น 200 และ 150 กิโลเมตร/ชั่วโมง (124 ไมล์ต่อชั่วโมง) กลายเป็น 160[26][27].
อุบัติเหตุ Santiago de Compostela ในปี 2013
อุบัติเหตุรถไฟ Santiago de Compostela ตกราง
ในเดือนกรกฎาคม 2013, รถไฟความเร็วสูงในประเทศสเปนพยายามที่จะวิ่งอ้อมโค้งที่จำกัดความเร็วแค่ 80 กิโลเมตรต่อชั่วโมง (50 ไมล์ต่อชั่วโมง) ด้วยความเร็วถึง 190 กิโลเมตรต่อชั่วโมง (120 ไมล์ต่อชั่วโมง), นำไปสู่การเสียชีวิต 78 คน[28]. ปกติ รถไฟความเร็วสูงจะมีการจำกัดความเร็วอัตโนมัติ, แต่ส่วนนี้ของรางเป็นส่วนของรางธรรมดาทั่วไปและในกรณีนี้การจำกัด ความเร็วอัตโนมัติถูกปิดใช้งานหลายกิโลเมตรก่อนที่สถานี. สองวันหลังจากอุบัติเหตุ, คนขับรถไฟถูกตั้งข้อหาฆาตกรรมชั่วคราวโดยประมาท. นี้เป็นอุบัติเหตุครั้งแรกที่เกิดขึ้นกับรถไฟความเร็วสูงของสเปน แต่มันเกิดขึ้นในส่วนที่ไม่ได้เป็นความเร็วสูง[29].
https://en.m.wikipedia.org/wiki/Amagasaki_rail_crash
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
https://th.m.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%A3%E0%B8%96%E0%B9%84%E0%B8%9F%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B9%87%E0%B8%A7%E0%B8%AA%E0%B8%B9%E0%B8%87
ญี่ปุ่นเสียชีวิต 107 คน
ขออนุญาตนำความคิดเห็นของคุณคห.128ในกระทู้นี้มาเพิ่มเติมนะคะ...👇👇👇👇👇
https://ppantip.com/topic/37440893
ความคิดเห็นที่ 128
ขอบคุณค่ะ....🌹🌹🌹🌹🌹🌹🌹
ใกล้ความจริงเข้าไปทุกทีแล้วค่ะ.....ความฝันของคนไทย...👍👍👍👍👍👍
🚅🚝~มาลาริน~เดินหน้าไม่หยุดค่ะ รถไฟไทย-จีนช่วงกทม.โคราชประมูลครบปีนี้ กรุงเทพฯ-เชียงใหม่ เสนอ ครม.ภายในเดือนนี้
นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมเปิดเผย ว่า ในช่วงเดือนมีนาคม-เดือนเมษายน 2561 กระทรวงคมนาคมจะเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณา โครงการรถไฟทางคู่เด่นชัย-เชียงใหม่ เด่นชัย-เชียงราย สายสีแดงอ่อน (บางซื่อ-พญาไท-มักกะสัน-หัวหมาก) รวมถึงโครงการรถไฟความเร็วสูงกรุงเทพ-เชียงใหม่ ระยะที่ 1 ช่วงกรุงเทพ-พิษณุโลกที่ผลการศึกษาดำเนินการเสร็จเรียบร้อยแล้ว ส่วนเดือนพฤษภาคม 2561 โครงการรถไฟทางคู่ 2 เส้น ประกอบด้วยเส้นทางบ้านไผ่-นครพนม เส้นทางจิระ-อุบลราชธานี
ขณะที่ความคืบหน้าโครงการรถไฟไทย-จีน เส้นทางกรุงเทพ-หนองคาย ในช่วงเดือนมิถุนายน จีนจะต้องส่งแบบการก่อสร้างระยะที่ 1 ช่วงกรุงเทพ-นครราชสีมา วงเงิน 1.79 แสนล้านบาทว่า ขณะนี้กรมทาวหลวงอยู่ระหว่างการก่อสร้างตอนที่ 1 ช่วงสถานีกลางดง-ปางอโศก ระยะทาง 3.5 กม. วงเงิน 425 ล้านบาท ซึ่งคาดว่าทางจีนจะส่งแบบช่วงที่ 2 ปากช่อง-ขนานจิตร ระยะทาง 11 กม. ช่วงที่ 3 แก่งคอย-นครราชสีมา ระยะทาง 119.5 กม.และ ช่วงที่ 4 บางซื่อ-แก่งคอย ระยะทาง 119 กม. ในเดือนมิถุนายน 2561 คาดว่าจะเปิดประมูลได้ครบทั้ง 14 ตอนภายในปีนี้
ส่วนของการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน จะเลื่อนการเสนอขออนุมัติจากคณะรัฐมนตรีจากเดือนมีนาคมเป็นเดือนเมษายนเช่นกัน ทั้งนี้คาดว่าหากผ่านความเห็นชอบจะสามารถเปิดประกวดราคาได้ในช่วงไตรมาสที่ 3
https://www.innnews.co.th/economy/news_32661/
อาคม เดินหน้าเปิดประมูลงานรถไฟ 1.7 แสนล้านในปีนี้
“อาคม” ลั่นเปิดประมูลงานรถไฟ 1.7 แสนล้านภายในกลางปีนี้ เร่งประมูลรถไฟไทย-จีนเฟส 1 ภายในปีนี้ ส่วนกรุงเทพฯ-เชียงใหม่ คาดเสนอ ครม.ภายในเดือนนี้
8 มี.ค.61-นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รมว.คมนาคม เปิดเผยว่ากระทรวงคมนาคมอยู่ระหว่างเร่งแผนพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเพื่อส่งเสริมเศรษฐกิจของประเทศในระยะยาว โดยในช่วงครึ่งแรกของปีนี้จะเร่งดันโครงการเพื่อเสนอที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ครม.)และเปิดประมูลให้ได้ภายในช่วงเดือนมิ.ย.-ก.ค. รวมมูลค่าโครงการราว 1.7 แสนล้านบาท ประกอบด้วย โครงการรถไฟทางคู่ช่วงเด่นชัย-เชียงใหม่ ระยะทาง 217 กิโลเมตร วงเงิน 5.9 หมื่นล้านบาท และโครงการรถไฟฟ้าสายสีแดงส่วนต่อขยายช่วงตลิ่งชัน-ศาลายา มูลค่า 1.9 หมื่นล้านบาทและโครงกาารรถไฟฟ้าสีแดงส่วนต่อขยาย ช่วงรังสิต-ธรรมศาสตร์ มูลค่า 7.5 พันล้านบาท จะเร่งเสนอครม.ภายในเดือน เม.ย.ก่อนเปิดประมูลภายในเดือน มิ.ย. เช่นเดียวกับโครงการรถไฟทางคู่ช่วงบ้านไผ่-นครพนม ระยะทาง 355 วงเงิน 6 หมื่นล้านบาท และรถไฟทางคู่ช่วงชุมทางถนนจิระ-อุบลราชธานี ระยะทาง 309 กิโลเมตรวงเงิน 3.5 หมื่นล้านบาท จะเร่งเสนอครม.ภายในพ.ค.นี้เริ่มทยอยประกวดราคาในช่วงเดือน มิ.ย.-ก.ค.
นายอาคม กล่าวต่อว่าสำหรับความคืบหน้าโครงการรถไฟความเร็วสูงไทย-จีน เฟส 1 ช่วงกรุงเทพ-นครราชสีมา วงเงิน 1.79 แสนล้านบาท ขณะนี้ฝ่ายจีนได้ส่งแบบตอนที่ 2 ช่วงปากช่อง - ขนานจิตร ระยะทาง 11 กม.มาแล้วคาดว่าจะสามารถเสนอเข้าครม.ใด้ภายในเดือนนี้ เปิดประมูลได้ภายในเดือนมิ.ย.นี้ ขณะที่แบบก่อสร้างสำหรับช่วงที่ 3 แก่งคอย-นครราชสีมา ระยะทาง 119.5 กม.และช่วงที่ 4 บางซื่อ-แก่งคอย ระยะทาง 119 กม. มีกำหนดส่งให้รัฐบาลไทยภายในกลางปีนี้เพื่อถอดแบบและกำหนดราคากลางในร่างเอกสารประกวดราคา(ทีโออาร์) ดังนั้นจึงมั่นใจว่าภายในปีนี้จะเปิดประมูลได้ครบทั้งเฟส 1
ขณะที่เส้นทางเชื่อมต่อช่วงแหนองคาย-เวียงจันทน์นั้นจะเป็นการลงทุนร่วมกันระหว่างสองประเทศ โดยจะเร่งหารือกับสปป.ลาวและจีนให้ได้ข้อสรุปภายใน 4 เดือนนี้ สำหรับโครงการรถไฟไทย-จีน เฟส 2 ช่วงนครราชสีมา-หนองคาย ระยะทาง 394 กม. นั้นกำหนดว่าฝ่ายจีนต้องส่งแบบรายละเอียดการก่อสร้างมาให้ไทยภายใน 8 เดือนนับจากนี้หรือช่วงปลายปีนี้
อย่างไรก็ตามโครงการรถไฟฟ้าความเร็วสูงกรุงเทพ-เชียงใหม่ ระยะทาง 672 กม. วงเงินราว 4 แสนล้านบาทตามแผนจะสามารถเสนอครม.ได้ภายในเดือนนี้
http://www.thaipost.net/main/detail/4559
มาดูอุบัติเหตุที่หวาดกลัวกันแต่ละประเทศค่ะ....👇👇👇👇👇
การเกิดอุบัติเหตุที่น่าสังเกตที่เกี่ยวข้องกับรถไฟความเร็วสูงรวมถึงต่อไปนี้
อุบัติเหตุ Eschede 1998
อุบัติเหตุรถไฟที่ Eschede
ในปี ค.ศ. 1998 , หลังจากกว่าสามสิบปีของการเดินรถไฟความเร็วสูงทั่วโลกโดยไม่เกิดอุบัติเหตุร้ายแรง, อุบัติเหตุ Eschede ได้เกิดขึ้นในประเทศเยอรมนี: การออกแบบที่ไม่ดีของล้อระบบ ICE 1 แตกออกที่ความเร็ว 200 กิโลเมตร/ชั่วโมง (124 ไมล์ต่อชั่วโมง) ใกล้เมือง Eschede, เป็นผลให้รถไฟตกรางและการเสียหายเกือบหมดทั้งชุด 16 ขบวนและยอดผู้เสียชีวิต 101 คน[ต้องการอ้างอิง].
อุบัติเหตุที่ Wenzhou 2011
รถไฟชนกันที่ Wenzhou
เมื่อวันที่ 23 กรกฎาคม 2011, 13 ปีหลังจากอุบัติเหตุรถไฟที่ Eschede, CRH2 ของจีนเดินทางที่ 100 กิโลเมตร/ชั่วโมง (62 ไมล์ต่อชั่วโมง) ชนกับ CRH1 ที่หยุดบนสะพานในเขตชานเมืองของเวินโจวมณฑลเจ้อเจียงประเทศจีน. รถไฟสองขบวนตกรางและรถยนต์สี่คันตกจากสะพาน, 40 คนตาย, อย่างน้อย 192 คนได้รับบาดเจ็บ, 12 คนในจำนวนนั้นได้รับบาดเจ็บสาหัส[25].
ภัยพิบัตินำไปสู่การเปลี่ยนแปลงหลายอย่างในการบริหารจัดการและการใช้ประโยชน์ของรถไฟความเร็วสูงในประเทศจีน. แม้จะมีความจริงที่ว่าความเร็วที่สูงไม่ได้เป็นปัจจัยในการเกิดอุบัติเหตุ, หนึ่งในการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญคือการลดลง 50 กิโลเมตร/ชั่วโมง (31 ไมล์ต่อชั่วโมง)ของทุกความเร็วสูงสุดในระบบ HSTของจีน, 350 กิโลเมตร/ชั่วโมง (217 ไมล์ต่อชั่วโมง) กลายเป็น 300, 250 กิโลเมตร/ชั่วโมง (155 ไมล์ต่อชั่วโมง) กลายเป็น 200 และ 150 กิโลเมตร/ชั่วโมง (124 ไมล์ต่อชั่วโมง) กลายเป็น 160[26][27].
อุบัติเหตุ Santiago de Compostela ในปี 2013
อุบัติเหตุรถไฟ Santiago de Compostela ตกราง
ในเดือนกรกฎาคม 2013, รถไฟความเร็วสูงในประเทศสเปนพยายามที่จะวิ่งอ้อมโค้งที่จำกัดความเร็วแค่ 80 กิโลเมตรต่อชั่วโมง (50 ไมล์ต่อชั่วโมง) ด้วยความเร็วถึง 190 กิโลเมตรต่อชั่วโมง (120 ไมล์ต่อชั่วโมง), นำไปสู่การเสียชีวิต 78 คน[28]. ปกติ รถไฟความเร็วสูงจะมีการจำกัดความเร็วอัตโนมัติ, แต่ส่วนนี้ของรางเป็นส่วนของรางธรรมดาทั่วไปและในกรณีนี้การจำกัด ความเร็วอัตโนมัติถูกปิดใช้งานหลายกิโลเมตรก่อนที่สถานี. สองวันหลังจากอุบัติเหตุ, คนขับรถไฟถูกตั้งข้อหาฆาตกรรมชั่วคราวโดยประมาท. นี้เป็นอุบัติเหตุครั้งแรกที่เกิดขึ้นกับรถไฟความเร็วสูงของสเปน แต่มันเกิดขึ้นในส่วนที่ไม่ได้เป็นความเร็วสูง[29].
https://en.m.wikipedia.org/wiki/Amagasaki_rail_crash
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
ญี่ปุ่นเสียชีวิต 107 คน
ขออนุญาตนำความคิดเห็นของคุณคห.128ในกระทู้นี้มาเพิ่มเติมนะคะ...👇👇👇👇👇
https://ppantip.com/topic/37440893
ความคิดเห็นที่ 128
ขอบคุณค่ะ....🌹🌹🌹🌹🌹🌹🌹
ใกล้ความจริงเข้าไปทุกทีแล้วค่ะ.....ความฝันของคนไทย...👍👍👍👍👍👍