***ผมชอบกินไก่ทอด!! เห้อ.. ทำไมไม่เลิกใช้น้ำมันทอดซ้ำไปเลย ...
ส่วนตัวผมนะครับ แพงขึ้นอีก 5 บาทก็ได้ แล้วเราได้ทานของที่ไม่มีความเสียงมาก...แค่กินไก่ก็เจอ โรค "เก๊า รักตัวเอง" พอแล้ว..
เห้อ หมดโลกหรือยัง? อาหารที่ธุรกิจจะดูแลลูกค้า ขอบคุณสโลแกน “I'm lovin' it”
-------------------------------------------
--
ศูนย์ทดสอบฉลาดซื้อ มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค เผยผลตรวจสอบ พบ ไก่ทอด มีสารโพลาร์ เกิน 25% เสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง มะเร็งลำไส้ แนะผู้บริโภคอย่ายึดติดยี่ห้อ หรือ หากทำอาหารกินเองไม่ควรใช้น้ำมันซ้ำเกิน 3 ครั้ง
ที่อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ-ภก.วรวิทย์ กิตติวงศ์สุนทร ผู้อำนวยการศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ที่ 7 อุบลราชธานี กล่าวว่า น้ำมันพืชจะมี 2 ประเภทคือประเภทที่ทนความร้อนสูงเหมาะแก่การนำมาทอดอาหาร เช่น น้ำมันปาล์ม แต่น้ำมันประเภทดังกล่าวจะมีไขมันอิ่มตัวสูงหากบริโภคเยอะจะเสี่ยงให้เกิดโรคหลอดเลือดและหัวใจ ส่วนน้ำมันอีกกลุ่มหนึ่งคือประเภทที่ไม่ทนความร้อนสูงเหมาะกับการทำอาหารประเภทผัด เช่นน้ำมันเมล็ดทานตะวัน น้ำมันรำข้าว หากนำน้ำมันกลุ่มนี้มาใช้ทอดอาหารจะทำให้สารโพลาคอมพาร์มากขึ้น และหากสารดังกล่าวมีปริมาณเกิน 25% จะทำให้ผู้บริโภคเสี่ยงเป็นโรคความดันโลหิตสูง ดังนั้นทั่วโลกโดยเฉพาะประเทศแถบยุโรปจะกำหนดเป็นค่ามาตรฐานว่าน้ำมันที่นำมาปรุงอาหารต้องมีค่าสารโพลาคอมพาร์ไม่เกิน 25%
ภก.วรวิทย์ กล่าวต่อว่า ในส่วนของประเทศไทยได้มีการตรวจวิเคราะห์เพิ่มเติม พบว่าเมื่อใดที่น้ำมันเสื่อมสภาพจะเกิดสารอีกกลุ่มหนึ่งควบคู่กันมาคือโพลีไซคลิค อะโรมาติก ไฮคาร์บอน หรือพาร์ (PAh) ซึ่งเป็นสารก่อมะเร็งเพราะฉะนั้นเมื่อใดก็ตามถ้ามีการใช้น้ำมันทอดซ้ำจะมีความเสี่ยงก่อให้เกิดโรคความดันโลหิตสูง และโรคมะเร็งลำไส้ ทั้งนี้ จากการตรวจวิเคราะห์ยังพบด้วยว่าเมื่อน้ำมันที่ใช้อยู่ใกล้จะเสื่อมสภาพหรือมีระดับสารโพล่าร์อยู่ที่ประมาณ 22-24% หากเติมน้ำมันใหม่ลงไปจะยิ่งเป็นการเร่งให้เกิดการเสื่อมสภาพของน้ำมันเร็วขึ้น
“สารโพลาร์ ยังแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือกลุ่มที่มีน้ำหนักเบาตัวนี้จะระเหยไปกับไอน้ำ หากมีการสูดดมเข้าไปมากๆ ก็มีความเสี่ยงก่อให้เกิดมะเร็งปอดมากขึ้น ส่วนอีกกลุ่มหนึ่งคือที่ค่อนข้างมีน้ำหนักส่วนนี้ตกค้างอยู่ที่อาหาร เช่น ไก่ทอด กล้วยทอด โดยเฉพาะในช่วงที่ประเทศไทยน้ำมันพืชขาดตลาดจะพบว่าสารโพลาฯ ขึ้นสูงถึง 60% ปัจจุบันสถานการณ์เข้าสู่ปกติแล้วแต่คนก็ยังมีพฤติกรรมเหมือนเดิม หากไม่ทำอะไรกับเรื่องนี้เลยประเทศไทยก็ยังมีความเสี่ยงสูง” ภก.วรวิทย์ กล่าว
นอกจากผู้บริโภคจะมีความเสี่ยงได้รับสารโพลาร์ จากพ่อค้าแม่ค้าตามตลาดที่ใช้น้ำมันทอดซ้ำ และยังเติมน้ำมันใหม่ลงไป กับกลุ่มธุรกิจที่รับซื้อน้ำมันเก่ามาฟอกสี และบรรจุในถุงหรือขวดที่ดูน่าเชื่อถือเพื่อขายตามท้องตลาดอีกด้วย ดังนั้นกระทรวงสาธารณสุข องค์การปกครองส่วนท้องถิ่น และผู้บริโภคต้องช่วยกันให้ความรู้เรื่องอันตรายจากการใช้น้ำมันทอดซ้ำ และอาจจะมีกลุ่มรับซื้อน้ำมันเก่าไปผลิตเป็นน้ำมันไบโอดีเซลด้วย ส่วนของภาคธุรกิจควรร่วมมือกับบริษัทน้ำมันเช่น ปตท. รับซื้อน้ำมันพืชเก่าไปผลิตเป็นน้ำมันไบโลดีเซลเช่นกัน
ด้าน นายพชร แกล้วกล้า ผู้ประสานงานโครงการเสริมสร้างความเข้มแข็ง กลไกคุ้มครองผู้บริโภคด้านความปลอดภัยด้านอาหารภาคประชาชน มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค กล่าวว่า ได้ร่วมกับศูนย์ทดสอบฉลาดซื้อ เมื่อวันที่ 21-23 มกราคม 2556 ได้ทำการสุ่มตรวจไก่ทอดยี่ห้อแมคโดนัล สาขาห้างเซ็นเตอร์วัน ไก่ทอดหาดใหญ่ ตลาดปทุมธานี ไก่ทอดนายเอส โรงอาหารม.เกษตร ไก่ทอดอนงค์ ตลาด อตก. ไก่ทอดเจ๊กี ซ.โปโล ถ.พระราม 4 ไก่ทอดสมุนไพร หน้าอาคารถนนโยธินเพลส ไก่ทอดเดชา ปากซอยไมยราบ ถ.เกษตรนวมินทร์ ไก่ทอดเชสเตอร์กริล ห้างเซ็นเตอร์วัน ไก่ทอดจีระพันธ์ ตลาดหลังการบินไทย ไก่ทอดหาดใหญ่ ตลาดบางจาก และไก่ทอดเคเอฟซีห้างเซ็นเตอร์วัน และนำส่งไปทดสอบความปลอดภัยด้าน อาหารเพื่อวัดความเสื่อมสภาพจาการใช้น้ำมันทอดซ้ำ ที่ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ที่ 7 จังหวัดอุบลราชธานี
ผลการตรวจสอบพบว่ามีเพียงไก่ทอดยี่ห้อแมคนัลเท่านั้นที่มีสารโพลาฯ เกินค่ามาตรฐาน 25% เข้าข่ายการกระทำความผิดจำหน่ายอาหารผิดมาตรฐาน และมี 3 ตัวอย่างคือไก่ทอดหาดใหญ่ ไก่ทอดเจ๊กี และไก่ทอดจีระพันธ์ ที่พบสารโพลาร์เกือบเกินค่ามาตรฐาน ส่วนที่เหลือพบว่ามีค่าสารโพลาร์อยู่ที่ 9-20% เพราะฉะนั้นจึงอยากแนะนำผู้บริโภคว่าไม่ควรยึดติดที่ยี่ห้อของอาหาร หลีกเลี่ยงอาหารทอดจากร้านที่ใช้น้ำมันเหม็นหืน เหนียว สำดำคล้ำ ฟองมาก เหม็นไหม้ ทำรับประทานเอง และควรใช้นำมันทอดซ้ำไม่เกิน 3 ครั้ง
ข้อมูลตามนี้ครับ
http://www.facebook.com/fanchaladsue
อ่านมาจากลิงค์นี้ครับ
http://goo.gl/Pg0aF
ศูนย์ทดสอบฉลาดซื้อ มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค เผยผลตรวจสอบ พบ ไก่ทอดแมคโดนัล มีสารโพลาร์ เกิน 25% ***
เห้อ หมดโลกหรือยัง? อาหารที่ธุรกิจจะดูแลลูกค้า ขอบคุณสโลแกน “I'm lovin' it”
---------------------------------------------
ศูนย์ทดสอบฉลาดซื้อ มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค เผยผลตรวจสอบ พบ ไก่ทอด มีสารโพลาร์ เกิน 25% เสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง มะเร็งลำไส้ แนะผู้บริโภคอย่ายึดติดยี่ห้อ หรือ หากทำอาหารกินเองไม่ควรใช้น้ำมันซ้ำเกิน 3 ครั้ง
ที่อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ-ภก.วรวิทย์ กิตติวงศ์สุนทร ผู้อำนวยการศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ที่ 7 อุบลราชธานี กล่าวว่า น้ำมันพืชจะมี 2 ประเภทคือประเภทที่ทนความร้อนสูงเหมาะแก่การนำมาทอดอาหาร เช่น น้ำมันปาล์ม แต่น้ำมันประเภทดังกล่าวจะมีไขมันอิ่มตัวสูงหากบริโภคเยอะจะเสี่ยงให้เกิดโรคหลอดเลือดและหัวใจ ส่วนน้ำมันอีกกลุ่มหนึ่งคือประเภทที่ไม่ทนความร้อนสูงเหมาะกับการทำอาหารประเภทผัด เช่นน้ำมันเมล็ดทานตะวัน น้ำมันรำข้าว หากนำน้ำมันกลุ่มนี้มาใช้ทอดอาหารจะทำให้สารโพลาคอมพาร์มากขึ้น และหากสารดังกล่าวมีปริมาณเกิน 25% จะทำให้ผู้บริโภคเสี่ยงเป็นโรคความดันโลหิตสูง ดังนั้นทั่วโลกโดยเฉพาะประเทศแถบยุโรปจะกำหนดเป็นค่ามาตรฐานว่าน้ำมันที่นำมาปรุงอาหารต้องมีค่าสารโพลาคอมพาร์ไม่เกิน 25%
ภก.วรวิทย์ กล่าวต่อว่า ในส่วนของประเทศไทยได้มีการตรวจวิเคราะห์เพิ่มเติม พบว่าเมื่อใดที่น้ำมันเสื่อมสภาพจะเกิดสารอีกกลุ่มหนึ่งควบคู่กันมาคือโพลีไซคลิค อะโรมาติก ไฮคาร์บอน หรือพาร์ (PAh) ซึ่งเป็นสารก่อมะเร็งเพราะฉะนั้นเมื่อใดก็ตามถ้ามีการใช้น้ำมันทอดซ้ำจะมีความเสี่ยงก่อให้เกิดโรคความดันโลหิตสูง และโรคมะเร็งลำไส้ ทั้งนี้ จากการตรวจวิเคราะห์ยังพบด้วยว่าเมื่อน้ำมันที่ใช้อยู่ใกล้จะเสื่อมสภาพหรือมีระดับสารโพล่าร์อยู่ที่ประมาณ 22-24% หากเติมน้ำมันใหม่ลงไปจะยิ่งเป็นการเร่งให้เกิดการเสื่อมสภาพของน้ำมันเร็วขึ้น
“สารโพลาร์ ยังแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือกลุ่มที่มีน้ำหนักเบาตัวนี้จะระเหยไปกับไอน้ำ หากมีการสูดดมเข้าไปมากๆ ก็มีความเสี่ยงก่อให้เกิดมะเร็งปอดมากขึ้น ส่วนอีกกลุ่มหนึ่งคือที่ค่อนข้างมีน้ำหนักส่วนนี้ตกค้างอยู่ที่อาหาร เช่น ไก่ทอด กล้วยทอด โดยเฉพาะในช่วงที่ประเทศไทยน้ำมันพืชขาดตลาดจะพบว่าสารโพลาฯ ขึ้นสูงถึง 60% ปัจจุบันสถานการณ์เข้าสู่ปกติแล้วแต่คนก็ยังมีพฤติกรรมเหมือนเดิม หากไม่ทำอะไรกับเรื่องนี้เลยประเทศไทยก็ยังมีความเสี่ยงสูง” ภก.วรวิทย์ กล่าว
นอกจากผู้บริโภคจะมีความเสี่ยงได้รับสารโพลาร์ จากพ่อค้าแม่ค้าตามตลาดที่ใช้น้ำมันทอดซ้ำ และยังเติมน้ำมันใหม่ลงไป กับกลุ่มธุรกิจที่รับซื้อน้ำมันเก่ามาฟอกสี และบรรจุในถุงหรือขวดที่ดูน่าเชื่อถือเพื่อขายตามท้องตลาดอีกด้วย ดังนั้นกระทรวงสาธารณสุข องค์การปกครองส่วนท้องถิ่น และผู้บริโภคต้องช่วยกันให้ความรู้เรื่องอันตรายจากการใช้น้ำมันทอดซ้ำ และอาจจะมีกลุ่มรับซื้อน้ำมันเก่าไปผลิตเป็นน้ำมันไบโอดีเซลด้วย ส่วนของภาคธุรกิจควรร่วมมือกับบริษัทน้ำมันเช่น ปตท. รับซื้อน้ำมันพืชเก่าไปผลิตเป็นน้ำมันไบโลดีเซลเช่นกัน
ด้าน นายพชร แกล้วกล้า ผู้ประสานงานโครงการเสริมสร้างความเข้มแข็ง กลไกคุ้มครองผู้บริโภคด้านความปลอดภัยด้านอาหารภาคประชาชน มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค กล่าวว่า ได้ร่วมกับศูนย์ทดสอบฉลาดซื้อ เมื่อวันที่ 21-23 มกราคม 2556 ได้ทำการสุ่มตรวจไก่ทอดยี่ห้อแมคโดนัล สาขาห้างเซ็นเตอร์วัน ไก่ทอดหาดใหญ่ ตลาดปทุมธานี ไก่ทอดนายเอส โรงอาหารม.เกษตร ไก่ทอดอนงค์ ตลาด อตก. ไก่ทอดเจ๊กี ซ.โปโล ถ.พระราม 4 ไก่ทอดสมุนไพร หน้าอาคารถนนโยธินเพลส ไก่ทอดเดชา ปากซอยไมยราบ ถ.เกษตรนวมินทร์ ไก่ทอดเชสเตอร์กริล ห้างเซ็นเตอร์วัน ไก่ทอดจีระพันธ์ ตลาดหลังการบินไทย ไก่ทอดหาดใหญ่ ตลาดบางจาก และไก่ทอดเคเอฟซีห้างเซ็นเตอร์วัน และนำส่งไปทดสอบความปลอดภัยด้าน อาหารเพื่อวัดความเสื่อมสภาพจาการใช้น้ำมันทอดซ้ำ ที่ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ที่ 7 จังหวัดอุบลราชธานี
ผลการตรวจสอบพบว่ามีเพียงไก่ทอดยี่ห้อแมคนัลเท่านั้นที่มีสารโพลาฯ เกินค่ามาตรฐาน 25% เข้าข่ายการกระทำความผิดจำหน่ายอาหารผิดมาตรฐาน และมี 3 ตัวอย่างคือไก่ทอดหาดใหญ่ ไก่ทอดเจ๊กี และไก่ทอดจีระพันธ์ ที่พบสารโพลาร์เกือบเกินค่ามาตรฐาน ส่วนที่เหลือพบว่ามีค่าสารโพลาร์อยู่ที่ 9-20% เพราะฉะนั้นจึงอยากแนะนำผู้บริโภคว่าไม่ควรยึดติดที่ยี่ห้อของอาหาร หลีกเลี่ยงอาหารทอดจากร้านที่ใช้น้ำมันเหม็นหืน เหนียว สำดำคล้ำ ฟองมาก เหม็นไหม้ ทำรับประทานเอง และควรใช้นำมันทอดซ้ำไม่เกิน 3 ครั้ง
ข้อมูลตามนี้ครับ http://www.facebook.com/fanchaladsue
อ่านมาจากลิงค์นี้ครับ http://goo.gl/Pg0aF