อนุดิษฐ์เดินหน้าไม่ถอย!! สั่ง CAT TOT ยึดคลื่น 1800 900 ตาม พ.ร.บ.กสทช. 2553 ต้องกลับมาอยู่ในมือภาครัฐ

อนุดิษฐ์เดินหน้าไม่ถอย!! สั่ง CAT TOT ยึดคลื่น 1800 900 ตาม พ.ร.บ.กสทช. 2553 ต้องกลับมาอยู่ในมือภาครัฐ

ประเด็นหลัก

ก.ไอซีที เผยนโยบายสมาร์ทไทยแลนด์เป็นไปตามเป้าหลังได้ความร่วมมือกับกลุ่มทุนสื่อสารขยายเครือข่ายได้ถึง 121,838 จุด เผยงบประมาณปี 57 จะเชื่อมโยงหน่วยงานเพื่อลดต้นทุนในการลงทุนซ้ำซ้อน ส่วนคลื่นความถี่ของทีโอที&แคท ยึดตาม พ.ร.บ.กสทช. 2553 คลื่นความถี่ต่างๆ เป็นของประชาชนชาวไทย ไม่ใช่ของหน่วยงานใดๆ จะต้องกลับมาอยู่ในมือภาครัฐ



สำหรับปัญหาเรื่องสัมปทานคลื่นความถี่ของทั้งบริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) และบริษัท  กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) ที่คณะอนุกรรมาธิการ ให้ความสนใจ จะยึดตามหลักกฎหมาย ได้แก่พระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2553(พ.ร.บ.กสทช.2553) ที่ระบุว่า คลื่นความถี่ต่างๆ เป็นของประชาชนชาวไทย ไม่ใช่ของหน่วยงานใดๆ ดังนั้น เมื่อถึงวันหมดอายุสัมปทานในวันที่ 16 กันยายน 2556 คลื่นความถี่ดังกล่าวจะต้องกลับมาอยู่ในมือภาครัฐ และเข้าสู่กระบวนการออกใบอนุญาตใหม่ต่อไป  ซึ่งช่วงเวลาเปลี่ยนผ่านก็จะมีความคุ้มครองผู้บริโภคให้สามารถใช้งานได้อย่างไม่ติดขัด


______________________________





'อนุดิษฐ์'เสียงแข็งยื้อคลื่นความถี่แคท-ทีโอที

ก.ไอซีที เผยนโยบายสมาร์ทไทยแลนด์เป็นไปตามเป้าหลังได้ความร่วมมือกับกลุ่มทุนสื่อสารขยายเครือข่ายได้ถึง 121,838 จุด เผยงบประมาณปี 57 จะเชื่อมโยงหน่วยงานเพื่อลดต้นทุนในการลงทุนซ้ำซ้อน ส่วนคลื่นความถี่ของทีโอที&แคท ยึดตาม พ.ร.บ.กสทช. 2553 คลื่นความถี่ต่างๆ เป็นของประชาชนชาวไทย ไม่ใช่ของหน่วยงานใดๆ จะต้องกลับมาอยู่ในมือภาครัฐ

น.อ.อนุดิษฐ์ นาครทรรพ    น.อ.อนุดิษฐ์ นาครทรรพ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร  เปิดเผยภายหลังคณะอนุกรรมการธิการเทคโนโลยีสารนเทศและสื่อสาธารณะ ในคณะอนุกรรมาธิการการวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีการสื่อสารและโทรคมนาคม วุฒิสภา เข้ามาศึกษาและดูงานว่า สำหรับกรอบนโยบายที่สำคัญของกระทรวง คือการขับเคลื่อนนำพาประเทศไทยไปสู่สังคมอุดมปัญญา หรือ Smart Thailand ที่ต้องดำเนินการควบคู่กันทั้งภาครัฐและภาคเอกชน ซึ่งมีแนวทางในการดำเนินงานแบ่งเป็น 4 ส่วน คือ ส่วนแรก Smart Network เป็นการเร่งรัดพัฒนาโครงข่ายสื่อสารความเร็วสูงให้ครอบคลุมทั่วประเทศในราคาที่เหมาะสม และเป็นธรรมกับผู้บริโภค อาทิ โครงการ Wi-Fi ฟรี ในที่สาธารณะ ซึ่งกระทรวงได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดีจากทั้งหน่วยงานภาครัฐและเอกชนจนสามารถเพิ่มจุดให้บริการ Free Wi-Fi ได้ถึง 121,838 จุด


    ส่วนที่สอง Smart Business คือการสนับสนุนให้ประชาชนสามารถนำเทคโนโลยีและข้อมูลข่าวสาร ICT ไปประกอบธุรกิจ รวมทั้งการทำธุรกรรมประเภทต่างๆ ได้  ส่วนที่สาม Smart Government เป็นการเร่งรัดดำเนินการให้รัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์สัมฤทธิผล ด้วยการบูรณาการและการแลกเปลี่ยนข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ระหว่างหน่วยงานภาครัฐ อาทิ โครงการพัฒนาเครือข่ายสื่อสารข้อมูลเชื่อมโยงหน่วยงานภาครัฐ หรือ GIN และส่วนสุดท้าย Smart People เพื่อส่งเสริมการพัฒนาทุนมนุษย์ให้สามารถสร้างสรรค์ และใช้เทคโนโลยีอย่างมีประสิทธิภาพ พร้อมทั้งรู้เท่าทันข้อมูลข่าวสารจำนวนมากที่มีอยู่ ตลอดจนพัฒนาบุคลากร ICT ที่มีความรู้ความสามารถและความเชี่ยวชาญระดับมาตรฐานสากล อาทิ โครงการศูนย์การเรียนรู้ ICT ชุมชน โครงการจัดหาเครื่องคอมพิวเตอร์แท็บเลตให้แก่โรงเรียน และโครงการจัดตั้งศูนย์ปฏิบัติการความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ หรือ Cyber Security Operation Center (CSOC)

    นอกจากนี้ น.อ.อนุดิษฐ์ ยังให้ข้อมูลเพิ่มเติมแก่คณะอนุกรรมาธิการ อีกว่า ในปีงบประมาณ 2557 รัฐบาลมุ่งเน้นการบริหารงบลงทุนในแต่ละกระทรวง กรม หากการลงทุนใดที่ซ้ำซ้อนก็ให้บูรณาการโดยมีเจ้าภาพเดียวกัน เช่น การลงทุนด้านฮาร์ดแวร์ และซอฟต์แวร์ ซึ่งที่ผ่านมาแต่ละหน่วยงานจะแยกกันจัดซื้อ ต่อไปกระทรวงไอซีทีจะช่วยพิจารณาความจำเป็นในการใช้งาน เพื่อให้ประหยัดค่าใช้จ่ายในส่วนนี้ และสามารถนำงบประมาณในส่วนที่เหลือในแต่ละกระทรวง กรม ไปใช้งานให้เกิดประสิทธิภาพเพิ่มมากขึ้น  อีกทั้งยังได้จัดหาระบบ เซ็นเซอร์ในการตรวจจับคนร้ายเพื่อช่วยลดปัญหาเรื่องกล้อง CCTV  ซึ่งเมื่อเกิดเหตุร้ายแรงจะแจ้งเตือนได้ทันท่วงที

    สำหรับปัญหาเรื่องสัมปทานคลื่นความถี่ของทั้งบริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) และบริษัท  กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) ที่คณะอนุกรรมาธิการ ให้ความสนใจ จะยึดตามหลักกฎหมาย ได้แก่พระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2553(พ.ร.บ.กสทช.2553) ที่ระบุว่า คลื่นความถี่ต่างๆ เป็นของประชาชนชาวไทย ไม่ใช่ของหน่วยงานใดๆ ดังนั้น เมื่อถึงวันหมดอายุสัมปทานในวันที่ 16 กันยายน 2556 คลื่นความถี่ดังกล่าวจะต้องกลับมาอยู่ในมือภาครัฐ และเข้าสู่กระบวนการออกใบอนุญาตใหม่ต่อไป  ซึ่งช่วงเวลาเปลี่ยนผ่านก็จะมีความคุ้มครองผู้บริโภคให้สามารถใช้งานได้อย่างไม่ติดขัด

จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ
http://www.thanonline.com/index.php?option=com_content&view=article&id=169725:2013-02-19-07-50-30&catid=123:2009-02-08-11-44-33&Itemid=491
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่