การเผยแผ่ของพระพุทธเจ้า
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงเที่ยวจาริกไป เพื่อประกาศพรหมจรรย์
อันงามในเบื้องต้น ท่ามกลาง และที่สุด เพื่อประโยชน์ เพื่อเกื้อกูล เพื่อความสุข
แก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เพื่ออนุเคราะห์ชาวโลก
ความหมายของการเผยแผ่ คือ การนำแบบอย่างการดำรงชีวิตอันประเสริฐที่เรียกว่าพรหมจรรย์ ออกไปเผยแผ่แก่ประชาชน
เป้าหมายของการเผยแผ่
พระพุทธเจ้าได้ประกาศนโยบายในการประกาศหรือเผยแผ่พระพุทธศาสนาไว้ว่า
ให้ออกเผยแผ่พระพุทธศาสนา โดยมีเป้าหมายคือ
- เพื่อประโยชน์
- เพื่อเกื้อกูล
- เพื่อความสุข
ทั้งแก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย
- เพื่ออนุเคราะห์แก่ชาวโลก
เป็นที่น่าสังเกตว่าพระพุทธเจ้าบอกว่าให้เผยแผ่ทั้งแก่เทวดาและมนุษย์ ไม่ใช่ว่าจะไปอ้อนวอนต่อเทวดา
หรือไปขอพึ่งเทวดา เพราะเทวดาที่เป็นมิจฉาทิฏฐิก็มี ดังนั้น พุทธศาสนาจึงเป็นศาสนาที่เป็นประโยชน์ทั้งแก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย
วิธีการเผยแผ่
วิธีการเผยแผ่พระพุทธศาสนา มีวิธีการมากมายหลายวิธี ทั้งวิธีการพูด วิธีการทำตัวอย่างให้ดู
วิธีการเขียน แต่ไม่ว่าจะเผยแผ่ด้วยวิธีการใดๆ ก็ตาม นักเผยแผ่ไม่ว่าจะเป็นพระภิกษุสงฆ์
หรือ อุบาสกอุบาสิกา จะต้องยึดหลักการไว้ดังนี้ คือ
๑. อนูปวาโท ไม่ว่าร้าย ไม่โจมตีใคร
๒. อนูปฆาโต ไม่ทำร้าย ไม่เบียดเบียนใคร
๓. ปาฏิโมกฺเข จ สํวโร ความสำรวมในศีล หรือข้อปฏิบัติอยู่ในกรอบ กติกา วินัย
๔. มตฺตญฺญุตา จ ภตฺตสฺมึ รู้จักประมาณในการบริโภคปัจจัยสี่
๕. ปตฺตนฺจสยนาสนํ รู้จักอยู่ในที่สงบ สงัด ไม่คลุกคลีด้วยหมู่คณะมากเกินไป
๖. อธิจิตฺเต จ อาโยโค หมั่นฝึกฝนจิตของตนให้มีคุณภาพสูงยิ่งๆ ขึ้น
พระพุทธองค์ได้ตรัสองค์แห่งธรรมกถึก ๕ ประการ คือ
๑. อนุปุพฺพิกถ กล่าวความไปตามลาดับ คือแสดงหลักธรรม หรือเนื้อหาวิชา
ตามลำดับความง่ายยากลุ่มลึก มีเหตุผลสัมพันธ์ต่อเนื่องกันไปโดยลำดับ
๒. ปริยายทสฺสาวี ชี้แจงยกเหตุผลมาแสดงให้เข้าใจ คือชี้แจงให้เข้าใจชัดในแต่ละแง่แต่ละประเด็น
โดยอธิบายขยายความ ยักเยื้องไปต่าง ๆ ตามแนวเหตุผล
๓. อนุทยต ปฏิจฺจ แสดงธรรมด้วยอาศัยเมตตา คือสอนเขาด้วยจิตเมตตา มุ่งจะให้เป็นประโยชน์แก่เขา
๔. น อามิสนฺตโร ไม่แสดงธรรมด้วยเห็นแก่อามิส คือสอนเขามิใช่เพราะมุ่งที่ตนจะได้ลาภ หรือผลประโยชน์ตอบแทน
๕. อตฺตานญฺจ ปรญฺจ อนุปหจฺจ แสดงธรรมไม่กระทบตนและผู้อื่น คือสอนตามหลักตามเนื้อหา
มุ่งแสดงอรรถ แสดงธรรม ไม่ยกตน ไม่เสียดสีข่มขี่ผู้อื่น
หลักการเผยแผ่ธรรม
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงเที่ยวจาริกไป เพื่อประกาศพรหมจรรย์
อันงามในเบื้องต้น ท่ามกลาง และที่สุด เพื่อประโยชน์ เพื่อเกื้อกูล เพื่อความสุข
แก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เพื่ออนุเคราะห์ชาวโลก
ความหมายของการเผยแผ่ คือ การนำแบบอย่างการดำรงชีวิตอันประเสริฐที่เรียกว่าพรหมจรรย์ ออกไปเผยแผ่แก่ประชาชน
เป้าหมายของการเผยแผ่
พระพุทธเจ้าได้ประกาศนโยบายในการประกาศหรือเผยแผ่พระพุทธศาสนาไว้ว่า
ให้ออกเผยแผ่พระพุทธศาสนา โดยมีเป้าหมายคือ
- เพื่อประโยชน์
- เพื่อเกื้อกูล
- เพื่อความสุข
ทั้งแก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย
- เพื่ออนุเคราะห์แก่ชาวโลก
เป็นที่น่าสังเกตว่าพระพุทธเจ้าบอกว่าให้เผยแผ่ทั้งแก่เทวดาและมนุษย์ ไม่ใช่ว่าจะไปอ้อนวอนต่อเทวดา
หรือไปขอพึ่งเทวดา เพราะเทวดาที่เป็นมิจฉาทิฏฐิก็มี ดังนั้น พุทธศาสนาจึงเป็นศาสนาที่เป็นประโยชน์ทั้งแก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย
วิธีการเผยแผ่
วิธีการเผยแผ่พระพุทธศาสนา มีวิธีการมากมายหลายวิธี ทั้งวิธีการพูด วิธีการทำตัวอย่างให้ดู
วิธีการเขียน แต่ไม่ว่าจะเผยแผ่ด้วยวิธีการใดๆ ก็ตาม นักเผยแผ่ไม่ว่าจะเป็นพระภิกษุสงฆ์
หรือ อุบาสกอุบาสิกา จะต้องยึดหลักการไว้ดังนี้ คือ
๑. อนูปวาโท ไม่ว่าร้าย ไม่โจมตีใคร
๒. อนูปฆาโต ไม่ทำร้าย ไม่เบียดเบียนใคร
๓. ปาฏิโมกฺเข จ สํวโร ความสำรวมในศีล หรือข้อปฏิบัติอยู่ในกรอบ กติกา วินัย
๔. มตฺตญฺญุตา จ ภตฺตสฺมึ รู้จักประมาณในการบริโภคปัจจัยสี่
๕. ปตฺตนฺจสยนาสนํ รู้จักอยู่ในที่สงบ สงัด ไม่คลุกคลีด้วยหมู่คณะมากเกินไป
๖. อธิจิตฺเต จ อาโยโค หมั่นฝึกฝนจิตของตนให้มีคุณภาพสูงยิ่งๆ ขึ้น
พระพุทธองค์ได้ตรัสองค์แห่งธรรมกถึก ๕ ประการ คือ
๑. อนุปุพฺพิกถ กล่าวความไปตามลาดับ คือแสดงหลักธรรม หรือเนื้อหาวิชา
ตามลำดับความง่ายยากลุ่มลึก มีเหตุผลสัมพันธ์ต่อเนื่องกันไปโดยลำดับ
๒. ปริยายทสฺสาวี ชี้แจงยกเหตุผลมาแสดงให้เข้าใจ คือชี้แจงให้เข้าใจชัดในแต่ละแง่แต่ละประเด็น
โดยอธิบายขยายความ ยักเยื้องไปต่าง ๆ ตามแนวเหตุผล
๓. อนุทยต ปฏิจฺจ แสดงธรรมด้วยอาศัยเมตตา คือสอนเขาด้วยจิตเมตตา มุ่งจะให้เป็นประโยชน์แก่เขา
๔. น อามิสนฺตโร ไม่แสดงธรรมด้วยเห็นแก่อามิส คือสอนเขามิใช่เพราะมุ่งที่ตนจะได้ลาภ หรือผลประโยชน์ตอบแทน
๕. อตฺตานญฺจ ปรญฺจ อนุปหจฺจ แสดงธรรมไม่กระทบตนและผู้อื่น คือสอนตามหลักตามเนื้อหา
มุ่งแสดงอรรถ แสดงธรรม ไม่ยกตน ไม่เสียดสีข่มขี่ผู้อื่น