จาก
http://tinyurl.com/aa8hkh9 ค่ะ
พยายามเลือกแท็กที่เข้าที่สุดเท่าที่คิดได้แล้วค่ะ ถ้าไม่เหมาะสมรบกวนกรุณาบอกด้วยนะคะ จะแก้ไขค่ะ
"ร่าง พรบ. การจดทะเบียนคู่ชีวิต" ก้าวใหม่ของประเทศไทย
ประเทศไทยกำลังเดินหน้าก้าวล้ำทุกประเทศในแถบเอเชีย ด้วยการร่างพระราชบัญญัติการ "จดทะเบียนคู่ชีวิต" สำหรับคู่รักที่มีเพศต้นกำเนิดเดียวกัน
ก่อนอื่นต้องขอร้องท่านผู้อ่านว่า ได้ยินว่า "คู่รักเพศเดียวกัน" ขอให้ท่านอย่าเพิ่งยี้ อย่าเพิ่งขยะแขยงและปิดไป แต่จะหนุนใจให้อ่านเรื่องนี้จนจบเสียก่อน การรู้จักเรื่องนี้ในแง่มุมที่ท่านไม่เคยคิดมาก่อน อาจเปลี่ยนมุมมองของท่านก็เป็นได้ ผู้เขียนจะพยายามเขียนให้กระชับ แม้ว่าอาจจะยังยาวไปบ้างก็ตาม
วันนี้ (15 กุมภาพันธ์ 2556 ) กรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ กระทรวงยุติธรรม ร่วมกับคณะกรรมาธิการกฎหมายการยุติธรรมและสิทธิมนุษยชน ได้จัดการเสวนาทางวิชาการเพื่อรับฟังความคิดเห็นเกี่ยวกับ(ร่าง)พระราชบัญญัติการจดทะเบียนคู่ชีวิต ที่ห้องประชุมคณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้มีผู้สนใจเข้าร่วมจำนวนหนึ่ง ผู้เสวนามีดังนี้
- พลตำรวจเอกวิรุฬห์ พื้นแสน ประธาณคณะกรรมาธิการกฏหมายการยุติธรรม และสิทธิมนุษยชน สภาผู้แทนราษฎร (ประธานการเสวนา)
- พันตำรวจเอก ดร.ณรัชต์ เศวตนันท์ อธิบดีกรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ
- นายวิรัตน์ กัลยาศิริ ประธานคณะทำงานพิจารณาศึกษาข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายเกี่ยวกับสิทธิของบุคคลผู้มีความหลากหลายทางเพศ
- คุณนัยนา สุภาพึ่ง อดีตกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ และผู้อำนวยการมูลนิธิธีรนาถ กาญจนอักษร
- นายนที ธีระโรจนพงษ์ ตัวแทนผู้มีความหลากหลายทางเทศ
[ทะเบียนคู่ชีวิตคืออะไร]
ก่อนอื่นคงต้องเริ่มที่ความหมายของที่มาของพระราชบัญญัติเสียก่อน "ทะเบียนคู่ชีวิต" ก็คือหลักฐานการสมรสที่มีผลทางกฎหมาย เพื่อให้คู่รักเพศเดียวกันที่จะทะเบียน มีสิทธิในการทำธุรกรรมหรือเซ็นยินยอมในเรื่องต่าง ๆ ให้แก่กัน เปรียบเสมืนทะเบียนสมรสของคู่รักชายหญิงนั่นเอง โดยคู่รักที่จดทะเบียนคู่ชีวิตจะมีสิทธิเท่าเทียมกับคู่รักที่จดทะเบียนสมรสทุกประการ
(อ่านประกอบได้ที่นี่
http://ilaw.or.th/node/1821 )
[ทำไมจึงให้ความสำคัญต่อผู้มีความหลากหลายทางเพศ]
อันที่จริงแล้ว ต้องย้อนถามว่า "ทำไมจึงรังเกียจผู้มีความหลากหลายทางเพศ" เสียมากกว่า มีหลักฐานมากมายซึ่งแสดงว่าการรักเพศเดียวกันนั้นเป็นเรื่องธรรมชาติ สัตว์หลายชนิดเลือกคู่ครองเพศเดียวกัน และใช้ชีวิตอยู่ด้วยกันอย่างรักใคร่ มนุษย์ในสมัยโบราณเองก็มีการจับคู่ ชาย/ชาย หรือ หญิง-หญิง กันเป็นปกติ เช่นในยุคกรีก-โรมัน การคบกันของคู่รักเพศเดียวกันนั้นมีกันอย่างเปิดเผย ยอมรับได้ ถือว่าเป็นธรรมชาติ นอกยิ่งกว่านั้นบางครั้งยังถือว่ารักร่วมเพศนั้นเป็นการแสดงความรักที่สูงส่งกว่าความรักธรรมดาด้วยซ้ำ ต่อมาในยุคคริสตศาสนาเฟื่องฟู ความหลากหลายทางเพศกลายเป็นเรื่องต้องห้ามและผิดจารีต ซึ่งเกิดจากการตีความพระคัมภีร์กันไปต่าง ๆ นานา ในยุคปัจจุบัน แม้แต่ในเขตศาสนาเคร่งครัดเช่นคาทอลิก พระสันตปาปาก็ยังได้ออกมายอมรับว่าการรักเพศเดียวกันไม่ใช่เรื่องผิดจารีตศีลธรรม
คุณนัยนาได้พูดไว้อย่างน่าฟังว่า จริง ๆ แล้วคนเราจำนวนหนึ่งอาจมีรสนิยมทางเพศที่หลากหลายกว่าหญิงชาย แต่ไม่สามารถดิ้นได้ จำต้องเดินตามสังคม ทำในสิ่งที่สังคมตั้งคำถาม (เช่น อายุมากแล้วนะ เมื่อไรจะแต่งงาน -- แต่งงานานแล้วนี่ เมื่อไรจะมีลูก ฯลฯ) แต่ไม่เคยตั้งคำถามกับตัวเองเลยว่าตัวเองเป็นใคร อยากทำอะไร แต่กลุ่มผู้มีความหลากหลายทางเพศนั้นรู้จักตัวตนของตนเอง รู้ว่าสิ่งที่ตนเองเป็นไม่ตรงกับสิ่งที่สังคมบังคับให้เป็น และกล้าที่จะแสดงจุดยืนของตนเองว่ามีอัตลักษณ์ทางเพศต่างจากคู่รักหญิง-ชายทั่วไปในสังคม
ดังนั้นคงไม่จำเป็นต้องรู้สึกขายหน้าที่มีลูกหลานเป็นเกย์หญิงเกย์ชาย
จะเห็นได้ว่าเราสามารถเปลี่ยนภาพลักษณ์และมุมมองต่อผู้มีความหลากหลายทางเพศได้ และสามารถพูดได้เต็มปากว่าการชี้ว่าผู้มีความหลากหลายทางเพศเป็นโรคทางจิต หรือมีความวิปริตที่ต้องรักษานั้น เป็นความคิดที่ผิด และเป็นการแบ่งชั้น ดูถูก และริดรอนความเป็นคนของคนเหล่านี้เป็นอย่างมาก เราควรทิ้งความเชื่อดั้งเดิมเหล่านั้นและเปิดใจให้กว้างขึ้นเพื่อรับด้านใหม่ ๆ ที่เป็นกลาง
[ที่มาของการร่างพระราชบัญญัติ]
จริง ๆ แล้วการพยายามผลักดันให้คู่รักเพศเดียวกันมีสิทธิถูกต้องนั้น หลายฝ่ายได้พยายามกันมานานแล้ว แต่ก็โป่งแฟบ โป่งแฟบ มีหลายคู่ยื่นขอจดทะเบียนสมรสแต่ก็ไม่เคยสำเร็จ ทั้งที่ประเทศไทยมีกฏว่าห้ามแบ่งแยกสิทธิด้วยเรื่องเพศ คุณนทีเองก็บอกว่าถ้าพบเรื่องที่ไม่เป็นธรรมสามารถยื่นฟ้องได้ (ยกตัวอย่างงานบุปผชาติที่เชียงใหม่ ห้ามกระเทยขึ้นขบวนรถบุปผชาติ และงานลอยกระทงที่ห้ามกระเทยขึ้นรถกระทงเช่นกัน เป็นคุณนทีที่ได้ยื่นฟ้องต่อศาล และศาลได้กรุณาตัดสินว่าไม่ถูกต้อง ให้แก้ไขกฎให้ผู้ที่มีความหลากหลายทางเพศเข้าร่วมด้วยได้ แต่ทั้งที่สามารถรับสิทธิ์ในฐานะผู้มีความหลากหลายทางเพศได้ในบางเรื่อง แต่ด้านการจดทะเบียนเพื่อใช้สิทธิ์ชีวิตคู่ก็ยังทำไม่ได้อยู่ดี
จนกระทั่งตัวคุณนทีเองได้ตัดสินใจพุ่งเข้าชน ร้องขอต่อหน่วยงานต่าง ๆ เพื่อให้มีการผลักดันให้เกิดร่างกฎหมายเพื่อสิทธิอันนี้ และได้มีหลายท่านเต็มใจให้ความร่วมมือ โดยเฉพาะท่านวิรัตน์ ที่ได้ช่วยให้ร่าง พรบ. เป็นรูปเป็นร่างอย่างรวดเร็ว
[ความจำเป็นที่ต้องมีการจดทะเบียนคู่ชีวิต]
เนื่องจากคู่รักเพศเดียวกันที่อาศัยอยู่ด้วยกัน ไม่ได้รับสิทธิพลเมืองอย่างที่ควรจะเป็น เพื่อให้เข้าใจง่าย กรุณาดูคลิปที่แนบมานี้
http://www.gaymedesign.com/samesexmarriage/
จะเห็นได้ว่าสิทธิและประโยชน์เหล่านี้เป็นสิ่งจำเป็นในการใช้ชีวิต โดยเฉพาะเมื่อคนสองคนตัดสินใจอยู่ร่วมกัน ไว้วางใจซึ่งกันและกันมากกว่าคนอื่น ๆ ในโลก ย่อมคาดหวังว่าจะฝากฝังให้อีกฝ่ายหนึ่งดูแลทรัพย์สินหรือชีวิตของตนได้ พรบ.การจดทะเบียนคู่ชีวิตจะให้สิทธิ์เหล่านี้แก่คู่รักที่มีความหลากหลายทางเพศ
[มุมมองอื่น ๆ ต่อการจดทะเบียนคู่ชีวิต]
จริง ๆ แล้วเรื่องนี้ไม่ใช่เรื่องใหม่ในโลก เพราะประเทศทางตะวันตกมากมายหลายประเทศได้ให้การยอมรับมานมนานแล้ว (ประเทศเดนมาร์ค ฝรั่งเศส เวอร์มอนด์ แคลิฟอร์เนีย เยอรมัน ใช้กฏหมายรับรองการใช้ชีวิตคู่ ลักษณะเดียวกับ พรบ. นี้ ส่วนประเทศแคนาดา เบลเยียม สเปน แอฟริกาใต้ นอร์เวย์ สวีเดน โปรตุเกส ไอร์แลนด์ อาร์เจนติน่า ได้แก้กฎหมายแพ่งพาณิชย์ลักษณะครอบครัว เพื่อให้มีการจดทะเบียนสมรสระหว่างคู่รักเพศเดียวกันได้) ทั่วโลกได้ให้การยอมรับมากขึ้น)
แต่ในเอเชีย ยังไม่มีประเทศใดให้การยอมรับเช่นนี้เลย (เวียดนามมีการผลักดันอยู่ช่วงหนึ่งแต่ก็ตกไป) ถ้าหากไทยผ่านร่าง พรบ. นี้ ก็จะเป็นประเทศแรกในเอเชีย ซึ่งนับว่าก้าวล้ำประเทศอื่น ๆ มาก จะเห็นได้ว่าประเทศที่ให้การยอมรับเรื่องดังกล่าวนี้ไม่มีประเทศใดด้อยพัฒนาเลย จึงไม่ใช่ว่าการยอมรับคู่รักเพศเดียวกันเป็นความคิดของอนารยะชน แต่เป็นการบอกถึงความก้าวล้ำด้านมุมมองและความเข้าอกเข้าใจในตัวเพื่อนมนุษย์ด้วยกัน
คนเรานั้นโตมาด้วยชุดแบบแผนความรู้ต่าง ๆ ที่ได้รับการถ่ายทอดจากรุ่นสู่รุ่น และแบบแผนความเข้าใจเรื่องเพศนั้นแบ่งแยกโดยทางร่างกาย คือชายและหญิง ไม่มีการคำนึงถึงความรู้สึกในสมองเลย การที่คิดว่า ถ้าไม่ได้เป็นชายหรือหญิงแท้ตามร่างกาย แปลว่ามีความผิดปกติทางจิตนั้น เป็นความคาดหวังที่เกิดจากการใช้ชุดความรู้ชุดเดียวที่ได้รับการปลูกฝังให้คิดอย่างนั้นมา แต่เมื่อมีการเปิดกว้างมากขึ้น เราก็ควรจะได้รับสิทธิ์ที่จะเลือกแบบแผนความเข้าใจของเราเอง ว่าทุกคนมีสิทธิ์ที่จะเลือกเพศและคู่ชีวิตของตนเองโดยไม่โดนบังคับ ทุกคนสามารถเปลี่ยนแปลงได้ ไม่เกี่ยวกับว่าอายุมากหรือน้อย เพียงแค่ยอมรับชุดความรู้ชุดใหม่ และยอมรับว่าเพื่อนมนุษย์นั้นมีความหลากหลายโดยไม่มีใครต่ำกว่าใคร เพียงเท่านี้ท่านก็จะเป็นส่วนหนึ่งของการสร้างสังคมใหม่ที่น่าอยู่ขึ้น ไม่มีคนที่ต้องรักกันอย่างหลบซ่อน ต้องทนต่อคำเสียดสีเหยียดหยามและการริดรอนสิทธิที่พึงมี เป็นส่วนหนึ่งของการสร้างสังคมที่ทุกคนเท่าเทียม เห็นอกเห็นใจเพื่อนมนุษย์ด้วยกัน และท่านยังสามารถช่วยลงชื่อเพื่อให้ พรบ. นี้ (ที่กำลังจะยื่นในอีกไม่นาน) ผ่านร่าง แม้ว่าท่านจะไม่ใช่ผู้ที่รักเพศเดียวกันเลย แต่ท่านก็สามารถร่วมลงชื่อได้ หรือถ้าจะให้พูดอย่างตรงไปตรงมา เสียงของพวกท่านที่ไม่ใช่ผู้รักเพศเดียวกันนี่แหละที่มีความหมายมากเหลือเกิน เป็นการบอกว่าสังคมยินดีอ้าแขนต้องรับผู้ที่แตกต่าง ไม่ใช่เพียงแต่ผู้ที่แตกต่างออกมาดึงดันกันเอง เบียดเบียนขอยืนในสังคม ถ้าหากท่านจะมีความกรุณาเปิดใจของท่าน เข้าร่วมการเปลี่ยนแปลงทางสังคมครั้งนี้ ก็ขอให้ท่านเตรียมตัวลงชื่อเห็นชอบด้วยนะคะ!
การเสวนานี้จัดขึ้นทั้งหมดสี่ครั้ง ครั้งแรกที่มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทร์เกษม เมื่อวันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2556, ครั้งที่สองที่มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ วันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2556, ครั้งที่สามจะวันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2556 ที่มหาวิทยาลัยขอนแก่น, และครั้งที่สี่ที่มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (ผู้เขียนไม่แน่ใจข้อมูล ถ้าผิดพลาดต้องขออภัยด้วย แต่แน่ใจว่าเป็นภาคใต้ค่ะ) ในวันที่ 1 มีนาคม 2556 ผู้ที่สนใจสามารถไปร่วมฟังและเสวนากันได้ในพื้นที่ใกล้เคียงที่ท่านสะดวกนะคะ
ส่วนท่านที่ต้องการเป็นกำลัง เป็นหนึ่งในกรรมาธิการร่วม (ได้ทั้งท่านที่รักข้ามเพศ และรักเพศเดียวกันค่ะ) ก็สามารถอาสาได้ในที่เสวนาเลยนะคะ ทางผู้จัดยินดีต้อนรับทุกท่านจริง ๆ ค่ะ
"ร่าง พรบ. การจดทะเบียนคู่ชีวิต" ก้าวใหม่ของประเทศไทย
พยายามเลือกแท็กที่เข้าที่สุดเท่าที่คิดได้แล้วค่ะ ถ้าไม่เหมาะสมรบกวนกรุณาบอกด้วยนะคะ จะแก้ไขค่ะ
"ร่าง พรบ. การจดทะเบียนคู่ชีวิต" ก้าวใหม่ของประเทศไทย
ประเทศไทยกำลังเดินหน้าก้าวล้ำทุกประเทศในแถบเอเชีย ด้วยการร่างพระราชบัญญัติการ "จดทะเบียนคู่ชีวิต" สำหรับคู่รักที่มีเพศต้นกำเนิดเดียวกัน
ก่อนอื่นต้องขอร้องท่านผู้อ่านว่า ได้ยินว่า "คู่รักเพศเดียวกัน" ขอให้ท่านอย่าเพิ่งยี้ อย่าเพิ่งขยะแขยงและปิดไป แต่จะหนุนใจให้อ่านเรื่องนี้จนจบเสียก่อน การรู้จักเรื่องนี้ในแง่มุมที่ท่านไม่เคยคิดมาก่อน อาจเปลี่ยนมุมมองของท่านก็เป็นได้ ผู้เขียนจะพยายามเขียนให้กระชับ แม้ว่าอาจจะยังยาวไปบ้างก็ตาม
วันนี้ (15 กุมภาพันธ์ 2556 ) กรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ กระทรวงยุติธรรม ร่วมกับคณะกรรมาธิการกฎหมายการยุติธรรมและสิทธิมนุษยชน ได้จัดการเสวนาทางวิชาการเพื่อรับฟังความคิดเห็นเกี่ยวกับ(ร่าง)พระราชบัญญัติการจดทะเบียนคู่ชีวิต ที่ห้องประชุมคณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้มีผู้สนใจเข้าร่วมจำนวนหนึ่ง ผู้เสวนามีดังนี้
- พลตำรวจเอกวิรุฬห์ พื้นแสน ประธาณคณะกรรมาธิการกฏหมายการยุติธรรม และสิทธิมนุษยชน สภาผู้แทนราษฎร (ประธานการเสวนา)
- พันตำรวจเอก ดร.ณรัชต์ เศวตนันท์ อธิบดีกรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ
- นายวิรัตน์ กัลยาศิริ ประธานคณะทำงานพิจารณาศึกษาข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายเกี่ยวกับสิทธิของบุคคลผู้มีความหลากหลายทางเพศ
- คุณนัยนา สุภาพึ่ง อดีตกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ และผู้อำนวยการมูลนิธิธีรนาถ กาญจนอักษร
- นายนที ธีระโรจนพงษ์ ตัวแทนผู้มีความหลากหลายทางเทศ
[ทะเบียนคู่ชีวิตคืออะไร]
ก่อนอื่นคงต้องเริ่มที่ความหมายของที่มาของพระราชบัญญัติเสียก่อน "ทะเบียนคู่ชีวิต" ก็คือหลักฐานการสมรสที่มีผลทางกฎหมาย เพื่อให้คู่รักเพศเดียวกันที่จะทะเบียน มีสิทธิในการทำธุรกรรมหรือเซ็นยินยอมในเรื่องต่าง ๆ ให้แก่กัน เปรียบเสมืนทะเบียนสมรสของคู่รักชายหญิงนั่นเอง โดยคู่รักที่จดทะเบียนคู่ชีวิตจะมีสิทธิเท่าเทียมกับคู่รักที่จดทะเบียนสมรสทุกประการ
(อ่านประกอบได้ที่นี่ http://ilaw.or.th/node/1821 )
[ทำไมจึงให้ความสำคัญต่อผู้มีความหลากหลายทางเพศ]
อันที่จริงแล้ว ต้องย้อนถามว่า "ทำไมจึงรังเกียจผู้มีความหลากหลายทางเพศ" เสียมากกว่า มีหลักฐานมากมายซึ่งแสดงว่าการรักเพศเดียวกันนั้นเป็นเรื่องธรรมชาติ สัตว์หลายชนิดเลือกคู่ครองเพศเดียวกัน และใช้ชีวิตอยู่ด้วยกันอย่างรักใคร่ มนุษย์ในสมัยโบราณเองก็มีการจับคู่ ชาย/ชาย หรือ หญิง-หญิง กันเป็นปกติ เช่นในยุคกรีก-โรมัน การคบกันของคู่รักเพศเดียวกันนั้นมีกันอย่างเปิดเผย ยอมรับได้ ถือว่าเป็นธรรมชาติ นอกยิ่งกว่านั้นบางครั้งยังถือว่ารักร่วมเพศนั้นเป็นการแสดงความรักที่สูงส่งกว่าความรักธรรมดาด้วยซ้ำ ต่อมาในยุคคริสตศาสนาเฟื่องฟู ความหลากหลายทางเพศกลายเป็นเรื่องต้องห้ามและผิดจารีต ซึ่งเกิดจากการตีความพระคัมภีร์กันไปต่าง ๆ นานา ในยุคปัจจุบัน แม้แต่ในเขตศาสนาเคร่งครัดเช่นคาทอลิก พระสันตปาปาก็ยังได้ออกมายอมรับว่าการรักเพศเดียวกันไม่ใช่เรื่องผิดจารีตศีลธรรม
คุณนัยนาได้พูดไว้อย่างน่าฟังว่า จริง ๆ แล้วคนเราจำนวนหนึ่งอาจมีรสนิยมทางเพศที่หลากหลายกว่าหญิงชาย แต่ไม่สามารถดิ้นได้ จำต้องเดินตามสังคม ทำในสิ่งที่สังคมตั้งคำถาม (เช่น อายุมากแล้วนะ เมื่อไรจะแต่งงาน -- แต่งงานานแล้วนี่ เมื่อไรจะมีลูก ฯลฯ) แต่ไม่เคยตั้งคำถามกับตัวเองเลยว่าตัวเองเป็นใคร อยากทำอะไร แต่กลุ่มผู้มีความหลากหลายทางเพศนั้นรู้จักตัวตนของตนเอง รู้ว่าสิ่งที่ตนเองเป็นไม่ตรงกับสิ่งที่สังคมบังคับให้เป็น และกล้าที่จะแสดงจุดยืนของตนเองว่ามีอัตลักษณ์ทางเพศต่างจากคู่รักหญิง-ชายทั่วไปในสังคม
ดังนั้นคงไม่จำเป็นต้องรู้สึกขายหน้าที่มีลูกหลานเป็นเกย์หญิงเกย์ชาย
จะเห็นได้ว่าเราสามารถเปลี่ยนภาพลักษณ์และมุมมองต่อผู้มีความหลากหลายทางเพศได้ และสามารถพูดได้เต็มปากว่าการชี้ว่าผู้มีความหลากหลายทางเพศเป็นโรคทางจิต หรือมีความวิปริตที่ต้องรักษานั้น เป็นความคิดที่ผิด และเป็นการแบ่งชั้น ดูถูก และริดรอนความเป็นคนของคนเหล่านี้เป็นอย่างมาก เราควรทิ้งความเชื่อดั้งเดิมเหล่านั้นและเปิดใจให้กว้างขึ้นเพื่อรับด้านใหม่ ๆ ที่เป็นกลาง
[ที่มาของการร่างพระราชบัญญัติ]
จริง ๆ แล้วการพยายามผลักดันให้คู่รักเพศเดียวกันมีสิทธิถูกต้องนั้น หลายฝ่ายได้พยายามกันมานานแล้ว แต่ก็โป่งแฟบ โป่งแฟบ มีหลายคู่ยื่นขอจดทะเบียนสมรสแต่ก็ไม่เคยสำเร็จ ทั้งที่ประเทศไทยมีกฏว่าห้ามแบ่งแยกสิทธิด้วยเรื่องเพศ คุณนทีเองก็บอกว่าถ้าพบเรื่องที่ไม่เป็นธรรมสามารถยื่นฟ้องได้ (ยกตัวอย่างงานบุปผชาติที่เชียงใหม่ ห้ามกระเทยขึ้นขบวนรถบุปผชาติ และงานลอยกระทงที่ห้ามกระเทยขึ้นรถกระทงเช่นกัน เป็นคุณนทีที่ได้ยื่นฟ้องต่อศาล และศาลได้กรุณาตัดสินว่าไม่ถูกต้อง ให้แก้ไขกฎให้ผู้ที่มีความหลากหลายทางเพศเข้าร่วมด้วยได้ แต่ทั้งที่สามารถรับสิทธิ์ในฐานะผู้มีความหลากหลายทางเพศได้ในบางเรื่อง แต่ด้านการจดทะเบียนเพื่อใช้สิทธิ์ชีวิตคู่ก็ยังทำไม่ได้อยู่ดี
จนกระทั่งตัวคุณนทีเองได้ตัดสินใจพุ่งเข้าชน ร้องขอต่อหน่วยงานต่าง ๆ เพื่อให้มีการผลักดันให้เกิดร่างกฎหมายเพื่อสิทธิอันนี้ และได้มีหลายท่านเต็มใจให้ความร่วมมือ โดยเฉพาะท่านวิรัตน์ ที่ได้ช่วยให้ร่าง พรบ. เป็นรูปเป็นร่างอย่างรวดเร็ว
[ความจำเป็นที่ต้องมีการจดทะเบียนคู่ชีวิต]
เนื่องจากคู่รักเพศเดียวกันที่อาศัยอยู่ด้วยกัน ไม่ได้รับสิทธิพลเมืองอย่างที่ควรจะเป็น เพื่อให้เข้าใจง่าย กรุณาดูคลิปที่แนบมานี้ http://www.gaymedesign.com/samesexmarriage/
จะเห็นได้ว่าสิทธิและประโยชน์เหล่านี้เป็นสิ่งจำเป็นในการใช้ชีวิต โดยเฉพาะเมื่อคนสองคนตัดสินใจอยู่ร่วมกัน ไว้วางใจซึ่งกันและกันมากกว่าคนอื่น ๆ ในโลก ย่อมคาดหวังว่าจะฝากฝังให้อีกฝ่ายหนึ่งดูแลทรัพย์สินหรือชีวิตของตนได้ พรบ.การจดทะเบียนคู่ชีวิตจะให้สิทธิ์เหล่านี้แก่คู่รักที่มีความหลากหลายทางเพศ
[มุมมองอื่น ๆ ต่อการจดทะเบียนคู่ชีวิต]
จริง ๆ แล้วเรื่องนี้ไม่ใช่เรื่องใหม่ในโลก เพราะประเทศทางตะวันตกมากมายหลายประเทศได้ให้การยอมรับมานมนานแล้ว (ประเทศเดนมาร์ค ฝรั่งเศส เวอร์มอนด์ แคลิฟอร์เนีย เยอรมัน ใช้กฏหมายรับรองการใช้ชีวิตคู่ ลักษณะเดียวกับ พรบ. นี้ ส่วนประเทศแคนาดา เบลเยียม สเปน แอฟริกาใต้ นอร์เวย์ สวีเดน โปรตุเกส ไอร์แลนด์ อาร์เจนติน่า ได้แก้กฎหมายแพ่งพาณิชย์ลักษณะครอบครัว เพื่อให้มีการจดทะเบียนสมรสระหว่างคู่รักเพศเดียวกันได้) ทั่วโลกได้ให้การยอมรับมากขึ้น)
แต่ในเอเชีย ยังไม่มีประเทศใดให้การยอมรับเช่นนี้เลย (เวียดนามมีการผลักดันอยู่ช่วงหนึ่งแต่ก็ตกไป) ถ้าหากไทยผ่านร่าง พรบ. นี้ ก็จะเป็นประเทศแรกในเอเชีย ซึ่งนับว่าก้าวล้ำประเทศอื่น ๆ มาก จะเห็นได้ว่าประเทศที่ให้การยอมรับเรื่องดังกล่าวนี้ไม่มีประเทศใดด้อยพัฒนาเลย จึงไม่ใช่ว่าการยอมรับคู่รักเพศเดียวกันเป็นความคิดของอนารยะชน แต่เป็นการบอกถึงความก้าวล้ำด้านมุมมองและความเข้าอกเข้าใจในตัวเพื่อนมนุษย์ด้วยกัน
คนเรานั้นโตมาด้วยชุดแบบแผนความรู้ต่าง ๆ ที่ได้รับการถ่ายทอดจากรุ่นสู่รุ่น และแบบแผนความเข้าใจเรื่องเพศนั้นแบ่งแยกโดยทางร่างกาย คือชายและหญิง ไม่มีการคำนึงถึงความรู้สึกในสมองเลย การที่คิดว่า ถ้าไม่ได้เป็นชายหรือหญิงแท้ตามร่างกาย แปลว่ามีความผิดปกติทางจิตนั้น เป็นความคาดหวังที่เกิดจากการใช้ชุดความรู้ชุดเดียวที่ได้รับการปลูกฝังให้คิดอย่างนั้นมา แต่เมื่อมีการเปิดกว้างมากขึ้น เราก็ควรจะได้รับสิทธิ์ที่จะเลือกแบบแผนความเข้าใจของเราเอง ว่าทุกคนมีสิทธิ์ที่จะเลือกเพศและคู่ชีวิตของตนเองโดยไม่โดนบังคับ ทุกคนสามารถเปลี่ยนแปลงได้ ไม่เกี่ยวกับว่าอายุมากหรือน้อย เพียงแค่ยอมรับชุดความรู้ชุดใหม่ และยอมรับว่าเพื่อนมนุษย์นั้นมีความหลากหลายโดยไม่มีใครต่ำกว่าใคร เพียงเท่านี้ท่านก็จะเป็นส่วนหนึ่งของการสร้างสังคมใหม่ที่น่าอยู่ขึ้น ไม่มีคนที่ต้องรักกันอย่างหลบซ่อน ต้องทนต่อคำเสียดสีเหยียดหยามและการริดรอนสิทธิที่พึงมี เป็นส่วนหนึ่งของการสร้างสังคมที่ทุกคนเท่าเทียม เห็นอกเห็นใจเพื่อนมนุษย์ด้วยกัน และท่านยังสามารถช่วยลงชื่อเพื่อให้ พรบ. นี้ (ที่กำลังจะยื่นในอีกไม่นาน) ผ่านร่าง แม้ว่าท่านจะไม่ใช่ผู้ที่รักเพศเดียวกันเลย แต่ท่านก็สามารถร่วมลงชื่อได้ หรือถ้าจะให้พูดอย่างตรงไปตรงมา เสียงของพวกท่านที่ไม่ใช่ผู้รักเพศเดียวกันนี่แหละที่มีความหมายมากเหลือเกิน เป็นการบอกว่าสังคมยินดีอ้าแขนต้องรับผู้ที่แตกต่าง ไม่ใช่เพียงแต่ผู้ที่แตกต่างออกมาดึงดันกันเอง เบียดเบียนขอยืนในสังคม ถ้าหากท่านจะมีความกรุณาเปิดใจของท่าน เข้าร่วมการเปลี่ยนแปลงทางสังคมครั้งนี้ ก็ขอให้ท่านเตรียมตัวลงชื่อเห็นชอบด้วยนะคะ!
การเสวนานี้จัดขึ้นทั้งหมดสี่ครั้ง ครั้งแรกที่มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทร์เกษม เมื่อวันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2556, ครั้งที่สองที่มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ วันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2556, ครั้งที่สามจะวันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2556 ที่มหาวิทยาลัยขอนแก่น, และครั้งที่สี่ที่มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (ผู้เขียนไม่แน่ใจข้อมูล ถ้าผิดพลาดต้องขออภัยด้วย แต่แน่ใจว่าเป็นภาคใต้ค่ะ) ในวันที่ 1 มีนาคม 2556 ผู้ที่สนใจสามารถไปร่วมฟังและเสวนากันได้ในพื้นที่ใกล้เคียงที่ท่านสะดวกนะคะ
ส่วนท่านที่ต้องการเป็นกำลัง เป็นหนึ่งในกรรมาธิการร่วม (ได้ทั้งท่านที่รักข้ามเพศ และรักเพศเดียวกันค่ะ) ก็สามารถอาสาได้ในที่เสวนาเลยนะคะ ทางผู้จัดยินดีต้อนรับทุกท่านจริง ๆ ค่ะ