หากท่านลองศึกษากฎหมายครอบครัว คุณจะพบว่า
จุดประสงค์เกือบทั้งหมดของการจดทะเบียนสมรส
คือการสร้างทั้งสิทธิและหน้าที่ของคู่สมรส
"เพื่อรองรับการมีบุตร และเพื่อรับประกันสวัสดิภาพไม่ให้เกิดปัญหากับตัวบุตรในภายภาคหน้า
เป็นหลักเพื่อไม่ให้เกิดปัญหาสังคม"
นอกนั้นคือการรับประกันเรื่องสวัสดิภาพของคู่สมรสเช่นเรื่องของสินสมรส
มีสมาชิกบางท่าน บอกเอาไว้ว่าคู่สมรสเพศเดียวกันไม่สามารถมีบุตรได้อยู่แล้ว (บุตรที่ว่านี้คือบุตรที่เป็นสายเลือดของทั้งคู่โดยตรงไม่ใช่บุตรบุญธรรมหรือบุตรนอกกฎหมายที่บิดามารดาไม่ได้จดทะเบียนสมรสกันหรือเป็นบุตรที่ไม่ได้มีรับรองด้วยกฎหมายนะครับ) ดังนั้นนักกฎหมายบางท่านจึงไม่ค่อยเห็นด้วยกับการมีทะเบียนสมรสหรือทะเบียนคู่ชีวิตเพศเดียวกันเท่าไหร่ ซึ่งหากจะถามแล้วเขาก็มีเหตุผลของเขา
ที่ไม่ค่อยสนับสนุนกฎหมายทะเบียนสมรสเพศเดียวกัน
เพราะในกรณีที่เป็นเจ้าของร่วมคู่รักเพศเดียวกันก็สามารถทำได้
ไม่จำเป็นที่จะต้องมีทะเบียนสมรสเพื่อเป็นหลักประกันทางทรัพย์สิน
ผมเป็นเพศที่ 3 ครับ
เป็นเกย์
ดังนั้นจึงมีความคิดเห็นกว้างขวาง
เพราะศึกษากฎหมาย และเข้าใจวัตถุประสงค์
รวมถึง ประโยชน์และโทษของกฎหมาย
ซึ่งถ้าหากนักกฎหมายหลายท่าน จะมองว่าการมีทะเบียนสมรสนั้นมันสำคัญแค่การรับรองบุตรเท่านั้น
ท่านก็คงเป็นนักกฎหมายที่ไม่ได้เรื่อง
หรือไม่ก็ศึกษากฎหมายไม่ถ่องแท้
และไม่เข้าใจ ถึงมาตราตามข้อกฎหมาย ที่กฎหมายนั้นต้องใช้ในบรรดากรณีซึ่งต้องด้วยบทบัญญัติใดๆแห่งกฎหมายตามตัวอักษรหรือตามความมุ่งหมายของบทบัญญัตินั้นๆ
ทั้งนี้การตีความกฎหมายของนักกฎหมายในประเทศไทยก็ยังคลุมเครืออยู่มาก
เพราะอะไรรู้ไหมครับ
** เพราะนักกฎหมายหลายท่านยังมีการเหยียดเพศกันอยู่**
"จึงเกิดการเลือกปฏิบัติเกิดขึ้นในสังคมโดยที่ไม่สามารถแก้ไขหรือเปลี่ยนแปลงความคิดอันไร้ซึ่งมนุษยธรรมของคนเหล่านี้ได้เลย"
ทั้งนี้ด้วยความที่ผมเป็นนักกฎหมายผมจึงจะกล่าวถึงประเด็นเรื่องนี้ครับ
ในการมีทะเบียนสมรส
มันไม่ได้เป็นแค่หลักประกันในการรับรองบุตรเท่านั้น
แต่มันยังทำให้สามีภรรยาหรือคู่ชีวิตตามกฎหมายซึ่งมีกฎหมายรับรองใช้ยึดถือเป็นหลักประกัน
*** ในการรับรองว่าคนสองคนนี้ถือเป็นบุคคลคนเดียวกัน ***
ทั้งนี้มันยังมีอีกหลายประการ ที่ทะเบียนสมรส จะเป็นหลักประกันและเป็นหลักฐานซึ่งกฎหมายรับรองให้บางส่วน
ทั้งจะ เกิดประโยชน์ กับคู่รักที่ใช้ชีวิตร่วมกันมาแต่งานนมและได้สร้างหลักสร้างฐานชีวิตมา ด้วยกัน
ทั้งนี้ประโยชน์ของการมีทะเบียนสมรส ไม่ว่าจะในเพศเดียวกัน หรือ ทะเบียนสมรสต่างเพศ
จะสามารถควบคุมสวัสดิการต่างๆ ได้ด้วย
เช่น หากฝ่ายสามีหรือภรรยา หรือฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งของคู่ชีวิตเป็นข้าราชการ
****ก็จะมีสิทธิ์ ในการเบิกค่านักษาพยาบาลของคู่สมรส****
หมายเหตุ: แต่ในกรณีที่สองคนนี้รับบุตรบุญธรรมมาเลี้ยง
กฎหมายจะไม่รองรับบุตรบุญธรรมให้เบิกค่าเล่าเรียนหรือค่ารักษาพยาบาลนะครับ
คุณ อาจจะต้องใช้สิทธิ์บัตรทองแทน ซึ่งก็เป็นสิทธิและหลักประกันที่ดีอันรองรับสังคมในประเทศไทยที่กว้างขวาง
ทั้งนี้ ยังมีเรื่องของทรัพย์สิน ที่ถือเป็นสินสมรส ของทั้งคู่
ซึ่งหากเป็นคู่ชีวิตที่ไม่ได้จดทะเบียนสมรสกัน
ตามมาตราที่บัญญัติไว้ในเรื่องทายาทโดยธรรม ในการรับมรดก
ก็จะไม่รับรองให้คู่ชีวิต ที่ไม่ได้จดทะเบียนสมรสกัน หรือสามีภรรยานอกกฎหมาย จะไม่ได้สิทธิ์ในการรับมรดก เช่นกัน
ทั้งนี้หากคู่สมรสตาย ทรัพย์สินก็จะตกไปอยู่ กับทายาทโดยธรรม 6 ลำดับ ซึ่งบุคคลพวกนี้ ก็จะมาฉวยโอกาส เอาทรัพย์สิน ที่เขาสองคนสร้างมาด้วยกันไป ซึ่งบางที ในทรัพย์ส่วนตรงนี้ อาจจะใช้การเป็นเจ้าของร่วมได้
แต่ในเรื่องของเงินสด มันเป็นเจ้าของร่วมกันไม่ได้นะครับ ต้องเข้าใจ
ทั้งนี้ ด้วยความที่ผมเป็นเพศที่สาม ผมจึงอยากจะเสนอกฎหมายนี้ ให้ได้รับการรับรอง
เพื่อให้เพศที่ 3 หรือคนรักร่วมเพศ ได้มีหลักประกันทางสังคม
ในการใช้ชีวิตร่วมกันกับคู่รักของตน ซึ่งหากคนจะมองว่า
จะเรียกร้องกฎหมายเพื่อกลุ่มคนคนเดียวไปทำไม
ผมก็จะขอบอกว่า มันไม่ใช่การ เรียกร้องกฎหมายเพื่อกลุ่มคนเพียงกลุ่มคนเดียว
แต่มันเป็นการเรียกร้อง สิทธิตามกฎหมาย ซึ่งกฎหมายจะต้องรับรองและคุ้มครองให้ประชาชนทุกคน
อันเป็นความสามารถที่ทุกคนพึงได้รับตามรัฐธรรมนูญ
ทั้งนี้ หาใครจะค้านผม ผมไม่ถือโทษโกรธ คนเราคิดไม่เหมือนกัน
แต่ขอให้มีเหตุผลที่ดีมาแย้งผมด้วย อย่าพร่ำเป็นน้ำท่วมทุ่งนะครับ ขอบคุณ ที่เสวนากันจ้า
"ทะเบียนคู่ชีวิตเพศเดียวกัน"ความหวังที่ดูเลือนลางในไทย เรามาลองดูประโยชน์และโทษของทะเบียนสมรสเพศเดียวกันดู by ทนายปภพ
จุดประสงค์เกือบทั้งหมดของการจดทะเบียนสมรส
คือการสร้างทั้งสิทธิและหน้าที่ของคู่สมรส
"เพื่อรองรับการมีบุตร และเพื่อรับประกันสวัสดิภาพไม่ให้เกิดปัญหากับตัวบุตรในภายภาคหน้า
เป็นหลักเพื่อไม่ให้เกิดปัญหาสังคม"
นอกนั้นคือการรับประกันเรื่องสวัสดิภาพของคู่สมรสเช่นเรื่องของสินสมรส
มีสมาชิกบางท่าน บอกเอาไว้ว่าคู่สมรสเพศเดียวกันไม่สามารถมีบุตรได้อยู่แล้ว (บุตรที่ว่านี้คือบุตรที่เป็นสายเลือดของทั้งคู่โดยตรงไม่ใช่บุตรบุญธรรมหรือบุตรนอกกฎหมายที่บิดามารดาไม่ได้จดทะเบียนสมรสกันหรือเป็นบุตรที่ไม่ได้มีรับรองด้วยกฎหมายนะครับ) ดังนั้นนักกฎหมายบางท่านจึงไม่ค่อยเห็นด้วยกับการมีทะเบียนสมรสหรือทะเบียนคู่ชีวิตเพศเดียวกันเท่าไหร่ ซึ่งหากจะถามแล้วเขาก็มีเหตุผลของเขา
ที่ไม่ค่อยสนับสนุนกฎหมายทะเบียนสมรสเพศเดียวกัน
เพราะในกรณีที่เป็นเจ้าของร่วมคู่รักเพศเดียวกันก็สามารถทำได้
ไม่จำเป็นที่จะต้องมีทะเบียนสมรสเพื่อเป็นหลักประกันทางทรัพย์สิน
ผมเป็นเพศที่ 3 ครับ
เป็นเกย์
ดังนั้นจึงมีความคิดเห็นกว้างขวาง
เพราะศึกษากฎหมาย และเข้าใจวัตถุประสงค์
รวมถึง ประโยชน์และโทษของกฎหมาย
ซึ่งถ้าหากนักกฎหมายหลายท่าน จะมองว่าการมีทะเบียนสมรสนั้นมันสำคัญแค่การรับรองบุตรเท่านั้น
ท่านก็คงเป็นนักกฎหมายที่ไม่ได้เรื่อง
หรือไม่ก็ศึกษากฎหมายไม่ถ่องแท้
และไม่เข้าใจ ถึงมาตราตามข้อกฎหมาย ที่กฎหมายนั้นต้องใช้ในบรรดากรณีซึ่งต้องด้วยบทบัญญัติใดๆแห่งกฎหมายตามตัวอักษรหรือตามความมุ่งหมายของบทบัญญัตินั้นๆ
ทั้งนี้การตีความกฎหมายของนักกฎหมายในประเทศไทยก็ยังคลุมเครืออยู่มาก
เพราะอะไรรู้ไหมครับ
** เพราะนักกฎหมายหลายท่านยังมีการเหยียดเพศกันอยู่**
"จึงเกิดการเลือกปฏิบัติเกิดขึ้นในสังคมโดยที่ไม่สามารถแก้ไขหรือเปลี่ยนแปลงความคิดอันไร้ซึ่งมนุษยธรรมของคนเหล่านี้ได้เลย"
ทั้งนี้ด้วยความที่ผมเป็นนักกฎหมายผมจึงจะกล่าวถึงประเด็นเรื่องนี้ครับ
ในการมีทะเบียนสมรส
มันไม่ได้เป็นแค่หลักประกันในการรับรองบุตรเท่านั้น
แต่มันยังทำให้สามีภรรยาหรือคู่ชีวิตตามกฎหมายซึ่งมีกฎหมายรับรองใช้ยึดถือเป็นหลักประกัน
*** ในการรับรองว่าคนสองคนนี้ถือเป็นบุคคลคนเดียวกัน ***
ทั้งนี้มันยังมีอีกหลายประการ ที่ทะเบียนสมรส จะเป็นหลักประกันและเป็นหลักฐานซึ่งกฎหมายรับรองให้บางส่วน
ทั้งจะ เกิดประโยชน์ กับคู่รักที่ใช้ชีวิตร่วมกันมาแต่งานนมและได้สร้างหลักสร้างฐานชีวิตมา ด้วยกัน
ทั้งนี้ประโยชน์ของการมีทะเบียนสมรส ไม่ว่าจะในเพศเดียวกัน หรือ ทะเบียนสมรสต่างเพศ
จะสามารถควบคุมสวัสดิการต่างๆ ได้ด้วย
เช่น หากฝ่ายสามีหรือภรรยา หรือฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งของคู่ชีวิตเป็นข้าราชการ
****ก็จะมีสิทธิ์ ในการเบิกค่านักษาพยาบาลของคู่สมรส****
หมายเหตุ: แต่ในกรณีที่สองคนนี้รับบุตรบุญธรรมมาเลี้ยง
กฎหมายจะไม่รองรับบุตรบุญธรรมให้เบิกค่าเล่าเรียนหรือค่ารักษาพยาบาลนะครับ
คุณ อาจจะต้องใช้สิทธิ์บัตรทองแทน ซึ่งก็เป็นสิทธิและหลักประกันที่ดีอันรองรับสังคมในประเทศไทยที่กว้างขวาง
ทั้งนี้ ยังมีเรื่องของทรัพย์สิน ที่ถือเป็นสินสมรส ของทั้งคู่
ซึ่งหากเป็นคู่ชีวิตที่ไม่ได้จดทะเบียนสมรสกัน
ตามมาตราที่บัญญัติไว้ในเรื่องทายาทโดยธรรม ในการรับมรดก
ก็จะไม่รับรองให้คู่ชีวิต ที่ไม่ได้จดทะเบียนสมรสกัน หรือสามีภรรยานอกกฎหมาย จะไม่ได้สิทธิ์ในการรับมรดก เช่นกัน
ทั้งนี้หากคู่สมรสตาย ทรัพย์สินก็จะตกไปอยู่ กับทายาทโดยธรรม 6 ลำดับ ซึ่งบุคคลพวกนี้ ก็จะมาฉวยโอกาส เอาทรัพย์สิน ที่เขาสองคนสร้างมาด้วยกันไป ซึ่งบางที ในทรัพย์ส่วนตรงนี้ อาจจะใช้การเป็นเจ้าของร่วมได้
แต่ในเรื่องของเงินสด มันเป็นเจ้าของร่วมกันไม่ได้นะครับ ต้องเข้าใจ
ทั้งนี้ ด้วยความที่ผมเป็นเพศที่สาม ผมจึงอยากจะเสนอกฎหมายนี้ ให้ได้รับการรับรอง
เพื่อให้เพศที่ 3 หรือคนรักร่วมเพศ ได้มีหลักประกันทางสังคม
ในการใช้ชีวิตร่วมกันกับคู่รักของตน ซึ่งหากคนจะมองว่า
จะเรียกร้องกฎหมายเพื่อกลุ่มคนคนเดียวไปทำไม
ผมก็จะขอบอกว่า มันไม่ใช่การ เรียกร้องกฎหมายเพื่อกลุ่มคนเพียงกลุ่มคนเดียว
แต่มันเป็นการเรียกร้อง สิทธิตามกฎหมาย ซึ่งกฎหมายจะต้องรับรองและคุ้มครองให้ประชาชนทุกคน
อันเป็นความสามารถที่ทุกคนพึงได้รับตามรัฐธรรมนูญ
ทั้งนี้ หาใครจะค้านผม ผมไม่ถือโทษโกรธ คนเราคิดไม่เหมือนกัน
แต่ขอให้มีเหตุผลที่ดีมาแย้งผมด้วย อย่าพร่ำเป็นน้ำท่วมทุ่งนะครับ ขอบคุณ ที่เสวนากันจ้า