🎉🏳️‍🌈🎊

กระทู้คำถาม
🌈 ความเคลื่อนไหวร่าง พ.ร.บ.คู่ชีวิต | รองโฆษกรัฐบาล เผย ครม. มีมติเห็นชอบให้เสนอร่าง พ.ร.บ.คู่ชีวิต และแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ เพื่อคุ้มครองบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศอย่างเท่าเทียม ดำรงชีวิตในสังคมอย่างมีศักดิ์ศรี >>>> #ยังไม่ได้เป็นกฎหมายนะแค่กระบวนการเริ่มต้นของการออกกฎหมาย
.
✅ สาระสำคัญ 9 ข้อของร่าง พ.ร.บ.คู่ชีวิต มีดังต่อไปนี้
.
1️⃣ คำว่า “คู่ชีวิต” หมายความว่า บุคคล 2 คน ซึ่งเป็นเพศเดียวกันโดยกำเนิด และได้จดทะเบียนคู่ชีวิตตาม พ.ร.บ.คู่ชีวิต
2️⃣ การกำหนดให้ศาลที่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีเยาวชนและครอบครัว มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีตาม พ.ร.บ.คู่ชีวิต
3️⃣ กำหนดให้การจดทะเบียนคู่ชีวิต จะทำได้ต่อเมื่อบุคคลทั้ง 2 ฝ่าย ยินยอม มีอายุ 17 ปีบริบูรณ์ และทั้ง 2 ฝ่ายมีสัญชาติไทย หรือฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมีสัญชาติไทย
4️⃣ กรณีที่ผู้เยาว์จะจดทะเบียนคู่ชีวิต จะต้องได้รับความยินยอมจากบิดาและมารดา ผู้รับบุตรบุญธรรม ผู้ปกครอง หรือ ศาล รวมทั้งกำหนดให้ผู้เยาว์ ย่อมบรรลุนิติภาวะเมื่อจดทะเบียนคู่ชีวิต
5️⃣ กำหนดให้คู่ชีวิตมีอำนาจจัดการแทนผู้เสียหายเช่นเดียวกับสามีหรือภรรยา และมีอำนาจดำเนินคดีต่างผู้ตายต่อไป เช่นเดียวกับสามีหรือภรรยา ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
6️⃣ กำหนดบทบัญญัติเกี่ยวกับทรัพย์สินระหว่างคู่ชีวิต โดยแบ่งเป็น สินส่วนตัว และสินทรัพย์ร่วมกัน
7️⃣ คู่ชีวิตสามารถรับบุตรบุญธรรมได้ รวมทั้งคู่ชีวิตฝ่ายหนึ่งจะจดทะเบียนรับผู้เยาว์ซึ่งเป็นบุตรบุญธรรมของคู่ชีวิตอีกฝ่ายหนึ่งมาเป็นบุตรบุญธรรมของตนเองได้
8️⃣ เมื่อคู่ชีวิตฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเสียชีวิต ให้คู่ชีวิตอีกฝ่ายหนึ่งมีสิทธิและหน้าที่เช่นเดียวกับคู่สมรสตามบทบัญญัติในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยมรดก
9️⃣ กำหนดให้นำบทบัญญัติในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยคู่สมรส ครอบครัว และบุตรบุญธรรม มาใช้บังคับแก่คู่ชีวิตได้โดยอนุโลม”
.
นอกจากนี้ ครม. ยังเห็นชอบให้กระทรวงยุติธรรม ดำเนินการจัดให้มีการประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมาย ตามมาตรา 77 ของรัฐธรรมนูญ ภายหลังจากมีการจัดทำร่างและทั้ง 2 ฉบับมีผลบังคับใช้ รวมถึงให้กระทรวงอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง พิจารณาศึกษาผลกระทบ และแนวทางที่จะแก้กฎหมายที่เกี่ยวข้อง แม้ว่า พ.ร.บ.ฉบับนี้ จะเป็นการรับรองสิทธิ์ในการก่อตั้งครอบครัวของคู่รักเพศเดียวกัน และเป็นเครื่องมือทางกฎหมายในการจัดการความสัมพันธ์ทางครอบครัว แต่ก็ยังไม่ครอบคลุมทุกสิทธิ์เช่นเดียวกับคู่สมรสต่างเพศ จึงทำให้การประเมินและติดตามการกฎหมายของ 2 ฉบับนี้หลังบังคับใช้จึงเป็นเรื่องสำคัญ และจะนำไปสู่การแก้ไขกฎหมายฉบับอื่นๆ ตามมา เพื่อเป็นการคุ้มครองสิทธิ์ของคู่สมรสเพศเดียวกัน.

#แก้ปพพ1448 #1448 #สิทธิในการสมรสคือสิทธิมนุษยชน #สมรสเท่าเทียม #Pridemonth #Pridemonth2020 #พรบคู่ชีวิต #เพจสนับสนุนพรบคู่ชีวิต #LGBT+ #LGBTthailand
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่