รักร่วมเพศ – คลอด พรบ.คู่ชีวิต ยกระดับการคุ้มครองสิทธิมนุษยชน-ความเท่าเทียมทางเพศ ชายแต่งชาย หญิงแต่งหญิง ได้ ชาติแรกในเอเชีย
รักร่วมเพศ – เมื่อวันที่ 25 ธ.ค. นายณัฐพร จาตุศรีพิทักษ์ โฆษกประจำรองนายกรัฐมนตรี เผยว่า คณะรัฐมนตรี (ครม.) เห็นชอบร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) คู่ชีวิต เพื่อยกระดับการคุ้มครองสิทธิมนุษยชน
ซึ่งการผลักดันกฎหมายคู่ชีวิตครั้งนี้มี สาระสำคัญของร่างกฎหมายคือ ผู้จดทะเบียนได้ต้องมีอายุ 20 ปีบริบูรณ์ ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง หรือทั้ง 2 ฝ่ายต้องมีสัญชาติไทย โดยต้องคำร้องและแสดงความยินยอมต่อนายทะเบียน ส่วนหลักเกณฑ์การสิ้นสุดการเป็นคู่ชีวิตจะสิ้นสุดลงโดยความตาย สมัครใจเลิกกัน หรือศาลพิพากษาเพิกถอนการเป็นคู่ชีวิต
ส่วนการกำหนดความสัมพันธ์เรื่องทรัพย์สินและมรดก ให้นำประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาบังคับใช้โดยอนุโลม ลักษณะคล้ายการจดทะเบียนสมรส แต่มีข้อแตกต่างๆ อย่าง สวัสดิการของภาครัฐ เช่น ข้าราชการจะมีสวัสดิการครอบคลุมสามี ภรรยาด้วย อีกเรื่องคือสิทธิการลดหย่อนทางภาษีในแง่สามีภรรยา ส่วนเรื่องบุตรไม่อยู่ในกฎหมาย แต่ครอบคลุมอยู่ในเรื่องบุตรบุญธรรม สองคนมาอยู่ด้วยกันสามารถรับเลี้ยงบุตรบุญธรรมและมีกฎหมายรองรับอยู่แล้ว
“ร่างกฎหมายคู่ชีวิต ไทยถือเป็นประเทศแรกในเอเชียที่มีกฎหมายลักษณะนี้ ที่เปิดโอกาสให้ชายแต่งชาย และหญิงแต่งกับหญิง หรือจะเรียกว่ากฎหมายสีรุ้ง ไม่ได้จำกัดเฉพาะชายกับชายเท่านั้น”
นายณัฐพร เผยว่า หลังจาก ครม.เห็นชอบแล้วจะส่งให้ สนช.พิจารณารายละเอียด เมื่อเห็นชอบจึงจะประกาศในราชกิจจานุเบกษา และใช้ระยะ 120 วันก่อนที่จะมีผลบังคับใช้ ส่วนจะผ่านความเห็นชอบหรือไม่นั้นก็ไม่แนใจ อาจมีการแปรญัตติซึ่งต้องใช้เวลา และไม่ทราบว่าจะทัน สนช.ชุดนี้หรือไม่ เนื่องจากมีกฎหมายที่ผ่าน ครม.ส่งไป สนช.50 ฉบับ ซึ่งการพิจารณาจะเรียงลำดับตามความเหมาะสมเร่งด่วน
https://www.khaosod.co.th/special-stories/news_2003756
ไทยชาติแรกในเอเชีย! คลอดพรบ.คู่ชีวิต รักร่วมเพศ เลสเบี้ยน แต่งงานกันได้
รักร่วมเพศ – เมื่อวันที่ 25 ธ.ค. นายณัฐพร จาตุศรีพิทักษ์ โฆษกประจำรองนายกรัฐมนตรี เผยว่า คณะรัฐมนตรี (ครม.) เห็นชอบร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) คู่ชีวิต เพื่อยกระดับการคุ้มครองสิทธิมนุษยชน
ซึ่งการผลักดันกฎหมายคู่ชีวิตครั้งนี้มี สาระสำคัญของร่างกฎหมายคือ ผู้จดทะเบียนได้ต้องมีอายุ 20 ปีบริบูรณ์ ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง หรือทั้ง 2 ฝ่ายต้องมีสัญชาติไทย โดยต้องคำร้องและแสดงความยินยอมต่อนายทะเบียน ส่วนหลักเกณฑ์การสิ้นสุดการเป็นคู่ชีวิตจะสิ้นสุดลงโดยความตาย สมัครใจเลิกกัน หรือศาลพิพากษาเพิกถอนการเป็นคู่ชีวิต
ส่วนการกำหนดความสัมพันธ์เรื่องทรัพย์สินและมรดก ให้นำประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาบังคับใช้โดยอนุโลม ลักษณะคล้ายการจดทะเบียนสมรส แต่มีข้อแตกต่างๆ อย่าง สวัสดิการของภาครัฐ เช่น ข้าราชการจะมีสวัสดิการครอบคลุมสามี ภรรยาด้วย อีกเรื่องคือสิทธิการลดหย่อนทางภาษีในแง่สามีภรรยา ส่วนเรื่องบุตรไม่อยู่ในกฎหมาย แต่ครอบคลุมอยู่ในเรื่องบุตรบุญธรรม สองคนมาอยู่ด้วยกันสามารถรับเลี้ยงบุตรบุญธรรมและมีกฎหมายรองรับอยู่แล้ว
“ร่างกฎหมายคู่ชีวิต ไทยถือเป็นประเทศแรกในเอเชียที่มีกฎหมายลักษณะนี้ ที่เปิดโอกาสให้ชายแต่งชาย และหญิงแต่งกับหญิง หรือจะเรียกว่ากฎหมายสีรุ้ง ไม่ได้จำกัดเฉพาะชายกับชายเท่านั้น”
นายณัฐพร เผยว่า หลังจาก ครม.เห็นชอบแล้วจะส่งให้ สนช.พิจารณารายละเอียด เมื่อเห็นชอบจึงจะประกาศในราชกิจจานุเบกษา และใช้ระยะ 120 วันก่อนที่จะมีผลบังคับใช้ ส่วนจะผ่านความเห็นชอบหรือไม่นั้นก็ไม่แนใจ อาจมีการแปรญัตติซึ่งต้องใช้เวลา และไม่ทราบว่าจะทัน สนช.ชุดนี้หรือไม่ เนื่องจากมีกฎหมายที่ผ่าน ครม.ส่งไป สนช.50 ฉบับ ซึ่งการพิจารณาจะเรียงลำดับตามความเหมาะสมเร่งด่วน
https://www.khaosod.co.th/special-stories/news_2003756