ไอ้กะทิ หนุ่มน้อยคนรักของหนูแป้งไอ้กะทิ หนุ่มน้อยแห่งดงมะพร้าวเตี้ย แอบมีความรักกับ หนูแป้ง หนูแป้งสาวงามแห่งหมู่บ้านทุ่งมะพร้าวเตี้ยสาวสวยประจำหมู่บ้านซึ่งเป็นลูกสาวคนเดียวของผู้ใหญ่บ้าน ทั้งคู่เจอกันวันลอยกระทง และสัญญากันต่อหน้าพระจันทร์ ไม่ว่าข้างหน้าแม้จะมีอุปสรรคขวางกั้นเพียงใด ทั้งคู่ก็จะขอยึดมั่นความรักแท้ที่มีต่อกันชั่วฟ้าดินสลาย
ไอ้กะทิ ก้มหน้าก้มตาเก็บหอมรอมริบหาเงินเพื่อมาสู่ขอลูกสาวจากผู้ใหญ่บ้านฮะฮ่า..ข้านี่แหละผู้ใหญ่บ้านทุ่งมะพร้าวเตี้ย.. แต่กลับถูกปฏิเสธแถมยังโดนผู้ใหญ่ส่งชายฉกรรจ์พร้อมอาวุธครบมือมาลอบทำร้าย แต่ไอ้กะทิก็ไม่ว่ากระไร มันพาร่างอันสะบักสะบอมกลับไปบ้าน นอนหยอดน้ำข้าวต้มซะหลายวัน แต่ใจยังตั้งมั่นว่า วันหน้าจะมาสู่ขอหนูแป้งใหม่จนกว่าผู้ใหญ่จะใจอ่อน
แต่แล้วความฝันของไอ้กะทิ ก็พังพินาศเมื่อผู้ใหญ่ยก หนูแป้ง ลูกสาวคนสวยให้แต่งงานกับปลัดหนุ่มจากบางกอก ไอ้กะทิ รู้ข่าวจึงรีบกระเสือกกระสนหมายจะมายับยั้งการแต่งงานครั้งนี้ ซึ่งผู้ใหญ่บ้านก็วางแผนป้องกันไว้แล้ว โดยขุดหลุมพรางดักรอไว้ แต่แม่แป้งแอบได้ยินแผนร้ายเสียก่อน จึงลอบหนีออกมาหมายจะห้ามหนุ่มคนรักไม่ให้ตกหลุมพราง
คืนนั้นเป็นคืนเดือนแรม หนูแป้งวิ่งฝ่าความมืดออกมาเพื่อดักหน้าไอ้กะทิ ไอ้กะทิเห็นหนูแป้งวิ่งมาก็ดีใจทั้งคู่รีบวิ่งเข้าหากัน ฉับพลัน!!...ร่างของหนูแป้งก็ร่วงหล่นลงไปในหลุมพรางของผู้ใหญ่ฯผู้เป็นพ่อ ต่อหน้าต่อตาไอ้กะทิ อารามตกใจนายกะทิก็รีบกระโดดตามลงไปเพื่อช่วยเหลือหนูแป้ง อารามดีใจสมุนชายฉกรรจ์ของผู้ใหญ่บ้านซึ่งแอบซุ่มอยู่ ก็รีบเข้ามาโกยดินฝังกลบหลุมที่ทั้งคู่หล่นลงไป เพราะคิดว่าในหลุมมีเพียงไอ้กะทิผู้เดียว ...
รุ่งเช้าผู้ใหญ่บ้านสั่งให้ขุดหลุมเพื่อดูผลงาน แทบไม่เชื่อสายตาเบื้องล่างปรากฏร่างของ ไอ้กะทิตระกองกอดทับร่างหนูแป้งลูกสาวของตน ทั้งสองนอนตายคู่กันอย่างมีความสุข เมื่อรอยยิ้มถูกเปลี่ยนเป็นน้ำตา ผู้ใหญ่บ้านรำพึงต่อหน้าศพของลูกสาวว่า..
"พ่อไม่น่าคิดทำลายความรักของลูกเลย"
ตั้งแต่นั้นมาอนุสรณ์แห่งความรักที่กระทำสืบทอดกันมาจนเป็นประเพณี ทุกแรม ๖ ค่ำ เดือน ๖ ชาวบ้านที่ศรัทธาในความรักของไอ้กะทิ กับ แม่แป้ง ก็จะตื่นตั้งแต่เช้ามืด เข้าครัวเพื่อทำขนมที่หอมหวานปรุงจากแป้ง และกะทิ บรรจงหยอดลงหลุม พอสุกได้ที่ก็แคะจากหลุม แล้วนำมาวางคว่ำหน้าซ้อนกันเป็นสัญลักษณ์ว่า "จะได้อยู่ร่วมกันตลอดไป" ขนมนี้จึงถูกเรียกขานกันในนาม "ขนมแห่งความรัก" หรือ ขนม คน-รัก-กัน ต่อมาถูกเรียกย่อ ๆ ว่า 'ขนม ค-ร-ก' นั่นเอง
ขนม ค ร ก จึงเป็นขนมที่คนนิยมกินกันจนทุกวันนี้
ดัดแปลงและเรียบเรียงจาก... (นว.สส.)
วาเลนไทน์...ให้ขนมครก "มาอ่านตำนานขนมครกกัน"
ไอ้กะทิ หนุ่มน้อยคนรักของหนูแป้งไอ้กะทิ หนุ่มน้อยแห่งดงมะพร้าวเตี้ย แอบมีความรักกับ หนูแป้ง หนูแป้งสาวงามแห่งหมู่บ้านทุ่งมะพร้าวเตี้ยสาวสวยประจำหมู่บ้านซึ่งเป็นลูกสาวคนเดียวของผู้ใหญ่บ้าน ทั้งคู่เจอกันวันลอยกระทง และสัญญากันต่อหน้าพระจันทร์ ไม่ว่าข้างหน้าแม้จะมีอุปสรรคขวางกั้นเพียงใด ทั้งคู่ก็จะขอยึดมั่นความรักแท้ที่มีต่อกันชั่วฟ้าดินสลาย
ไอ้กะทิ ก้มหน้าก้มตาเก็บหอมรอมริบหาเงินเพื่อมาสู่ขอลูกสาวจากผู้ใหญ่บ้านฮะฮ่า..ข้านี่แหละผู้ใหญ่บ้านทุ่งมะพร้าวเตี้ย.. แต่กลับถูกปฏิเสธแถมยังโดนผู้ใหญ่ส่งชายฉกรรจ์พร้อมอาวุธครบมือมาลอบทำร้าย แต่ไอ้กะทิก็ไม่ว่ากระไร มันพาร่างอันสะบักสะบอมกลับไปบ้าน นอนหยอดน้ำข้าวต้มซะหลายวัน แต่ใจยังตั้งมั่นว่า วันหน้าจะมาสู่ขอหนูแป้งใหม่จนกว่าผู้ใหญ่จะใจอ่อน
แต่แล้วความฝันของไอ้กะทิ ก็พังพินาศเมื่อผู้ใหญ่ยก หนูแป้ง ลูกสาวคนสวยให้แต่งงานกับปลัดหนุ่มจากบางกอก ไอ้กะทิ รู้ข่าวจึงรีบกระเสือกกระสนหมายจะมายับยั้งการแต่งงานครั้งนี้ ซึ่งผู้ใหญ่บ้านก็วางแผนป้องกันไว้แล้ว โดยขุดหลุมพรางดักรอไว้ แต่แม่แป้งแอบได้ยินแผนร้ายเสียก่อน จึงลอบหนีออกมาหมายจะห้ามหนุ่มคนรักไม่ให้ตกหลุมพราง
คืนนั้นเป็นคืนเดือนแรม หนูแป้งวิ่งฝ่าความมืดออกมาเพื่อดักหน้าไอ้กะทิ ไอ้กะทิเห็นหนูแป้งวิ่งมาก็ดีใจทั้งคู่รีบวิ่งเข้าหากัน ฉับพลัน!!...ร่างของหนูแป้งก็ร่วงหล่นลงไปในหลุมพรางของผู้ใหญ่ฯผู้เป็นพ่อ ต่อหน้าต่อตาไอ้กะทิ อารามตกใจนายกะทิก็รีบกระโดดตามลงไปเพื่อช่วยเหลือหนูแป้ง อารามดีใจสมุนชายฉกรรจ์ของผู้ใหญ่บ้านซึ่งแอบซุ่มอยู่ ก็รีบเข้ามาโกยดินฝังกลบหลุมที่ทั้งคู่หล่นลงไป เพราะคิดว่าในหลุมมีเพียงไอ้กะทิผู้เดียว ...
รุ่งเช้าผู้ใหญ่บ้านสั่งให้ขุดหลุมเพื่อดูผลงาน แทบไม่เชื่อสายตาเบื้องล่างปรากฏร่างของ ไอ้กะทิตระกองกอดทับร่างหนูแป้งลูกสาวของตน ทั้งสองนอนตายคู่กันอย่างมีความสุข เมื่อรอยยิ้มถูกเปลี่ยนเป็นน้ำตา ผู้ใหญ่บ้านรำพึงต่อหน้าศพของลูกสาวว่า..
"พ่อไม่น่าคิดทำลายความรักของลูกเลย"
ตั้งแต่นั้นมาอนุสรณ์แห่งความรักที่กระทำสืบทอดกันมาจนเป็นประเพณี ทุกแรม ๖ ค่ำ เดือน ๖ ชาวบ้านที่ศรัทธาในความรักของไอ้กะทิ กับ แม่แป้ง ก็จะตื่นตั้งแต่เช้ามืด เข้าครัวเพื่อทำขนมที่หอมหวานปรุงจากแป้ง และกะทิ บรรจงหยอดลงหลุม พอสุกได้ที่ก็แคะจากหลุม แล้วนำมาวางคว่ำหน้าซ้อนกันเป็นสัญลักษณ์ว่า "จะได้อยู่ร่วมกันตลอดไป" ขนมนี้จึงถูกเรียกขานกันในนาม "ขนมแห่งความรัก" หรือ ขนม คน-รัก-กัน ต่อมาถูกเรียกย่อ ๆ ว่า 'ขนม ค-ร-ก' นั่นเอง
ขนม ค ร ก จึงเป็นขนมที่คนนิยมกินกันจนทุกวันนี้
ดัดแปลงและเรียบเรียงจาก... (นว.สส.)