ขอปรึกษาเรื่องข้อกฏหมาย กรณีอดีตนายจ้างจะฟ้องข้อหาไม่ส่งมอบงานก่อนลาออก

เรียนปรึกษานักกฏหมายในห้องนี้ค่ะ

ขอเล่าเรื่องให้ฟังเลยนะคะ
เนื่องจากสามีลาออกจากที่ทำงานเก่าโดยยื่นใบลาออกและ effective ณ วันนั้นเลย
สาเหตมาจากโดนกลั่นแกล้งจากหัวหน้างานค่ะ โดยถูกเรียกไปเซ็นชื่อในบันทึกสอบสวนเรื่องวินัยให้ยอมรับผิด
แต่ข้อหาที่กล่าวหามาไม่มีในคู่มือพนักงานค่ะ (เช่น ไม่รับสายหัวหน้างาน)

แต่เราไม่ยอมเซ็นค่ะ เนื่องจากเราไม่ผิด และไม่อยู่กฏระเบียบบริษัีทด้วย
ฝ่ายบุคคลก็แจ้งว่า คุณไม่เซ็นก็ต้องยอมรับนะ ว่าต่อไปนี้่จะอยู่ยาก ในบริษัทนี้
วันรุ่งขึ้นเลยตัดสินใจลาออกค่ะ ฝ่ายบุคคลก็ไม่คัดค้านอะไรให้ออกแต่โดยดี (ยินดีด้วยซ้ำ )

ก่อนออกสามีรู้ตัวว่าจะโดนแบบนี้มาซักพักแล้ว จึงได้ทำการถ่ายทอดงานให้ลูกน้องไว้หมดแล้วค่ะ ทำเป็นเอกสารคู่มือไว้ให้เลยค่ะ
แต่ด้วยงานที่ทำเป็นงานยาก เฉพาะทาง หลัีงจากลาออกมา จึงไม่มีใครทำได้ แม้จะทำตามคู่มือ
คนที่ยังอยู่ก็โทษว่าเป็นความผิดที่เราไม่ได้ส่งมอบงาน

ตอนนี้บริษัทเลยจะทำการฟ้องว่าสามีทำให้บริษัทเสียหายเนื่องจากไม่ส่งมอบงาน
แบบนี้เราจะทำอย่างไรได้บ้างคะ

ขอบคุณค่ะ
แก้ไขข้อความเมื่อ
คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 8
การลาออก กับ การบอกกล่าวล่วงหน้า  

กรณีสัญญาจ้างไม่มีกำหนดระยะเวลา เมื่อต้องการเลิกจ้าง กฎหมายกำหนดให้นายจ้างมี 2 ทางเลือก คือ 1. บอกกล่าวล่วงหน้าให้ลูกจ้างรู้ตัวไม่น้อยกว่าหนึ่งงวดการจ่ายค่าจ้าง หรือ 2. จ่ายค่าจ้างตามจำนวนที่ต้องจ่ายจนถึงเวลาเลิกสัญญาตามกำหนดที่บอกกล่าวไว้และให้ลูกจ้างออกจากงานทันที หากนายจ้างไม่เลือกทั้ง 2 ทาง นายจ้างต้องรับผิดในสินจ้างหรือค่าจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า โดยจำนวนสินจ้างที่ต้องรับผิดก็เท่ากับจำนวนระยะเวลาที่มิได้บอกกล่าวล่วงหน้าซึ่งไม่น้อยไปกว่าหนึ่งงวดค่าจ้างนั้นเอง การบอกเลิกจ้างนั้น หากไม่ชอบด้วยข้อสัญญาหรือข้อกฎหมายอื่นใดอีกและเป็นเหตุให้ลูกจ้างได้รับความเสียหาย นายจ้างย่อมต้องรับผิดในค่าเสียหายอีกต่างหากเป็นคนละกรณีกัน นายจ้างจึงต้องรับผิด 2 เด้ง
ย้อนมาดูฝ่ายลูกจ้างกันบ้าง เมื่อต้องการลาออกจากงาน กฎหมายกำหนดให้ลูกจ้างมี 1 ทางเลือกเท่านั้น คือ ต้องบอกกล่าวให้นายจ้างรู้ตัวไม่น้อยกว่าหนึ่งงวดการจ่ายค่าจ้าง หากลูกจ้างลาออกจากงานโดยไม่บอกกล่าวล่วงหน้าย่อมไม่ชอบด้วยกฎหมาย มีข้อสงสัยว่า ลูกจ้างต้องรับผิดในสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าเหมือนนายจ้าง หรือไม่ ?
กรณีนี้ ลูกจ้างไม่ต้องรับผิดในสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าเหมือนอย่างนายจ้าง เพราะกฎหมายมิได้กำหนดหน้าที่เช่นนั้นไว้ แต่การกระทำของลูกจ้างที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายเช่นนี้ หากเป็นเหตุให้นายจ้างได้รับความเสียหาย กฎหมายกำหนดให้สิทธินายจ้างเรียกค่าเสียหายาจากลูกจ้างได้ ลูกจ้างจึงรับผิดเพียง 1 เด้งเท่านั้น แต่ 1 เด้งที่ลูกจ้างต้องรับผิดนี้เมื่อเทียบกับสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าที่นายจ้างต้องรับผิดในกรณีนายจ้างเป็นฝ่ายบอกเลิกสัญญาแล้ว อาจมากกว่าหรือน้อยกว่าก็เป็นได้ ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับข้อเท็จจริงเป็นเรื่องๆไป โดยเฉพาะลูกจ้างที่มีตำแหน่งหน้าที่การงานสูงอาจสร้างความเสียหายให้นายจ้างได้มาก จึงต้องระมัดระวังเป็นพิเศษ หากลาออกโดยไม่บอกกล่าวล่วงหน้าอาจต้องรับผิดในค่าเสียหายจำนวนมากได้เช่นกัน
                    ..................................................... สมบัติ ลีกัล  ต.ค. 55 (refresh)
     ผมว่าเพื่อเป็นการไม่ประมาท อยากให้ไปปรึกษากรมสวัสดิการ และคุ้มครองแงงาน หรือไม่ก็ทนายที่มี่ความรู้เรื่องแรงงาน เพราะดูแล้วเค้าฟ้องคุณแน่ ก่อนไปเตรียมหลักฐาน และลำดับเหตุการณ์ให้ละเอียด
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่