ความเข้าใจผิดในเรื่อง อนัตตา ของชาวพุทธทั่วไป เพราะเข้าใจ คุณสมบัติ ว่าเป็นเป็นตัวสิ่งของนั้น

ความเข้าใจผิดในเรื่อง "อนัตตา" ของชาวพุทธทั่วไป เพราะเข้าใจว่า คุณสมบัติ เป็นตัวของสิ่งนั้นๆ

    ตัวอย่างเช่น  ของเหลว เป็นคุณสมบัติหรือคุณลักษณะของวัตถุ อย่างหนึ่ง วัตถุที่เป็นของเหลว ก็ได้แก่  น้ำ, น้ำมัน, ปรอท
                      แต่ น้ำ, น้ำมัน และ ปรอท ไม่ใช่สิ่งเดียวกัน

     อีกตัวอย่างเช่น ของแข็ง เป็นคุณสมบัติหรือคุณลักษณะอย่างหนึ่งของวัดถุ  วัตถุที่เป็นของแข็ง ได้แก่  หิน, ทอง, เพชร ฯลฯ
                          แต่ หิน, ทอง หรือ เพชร  ไม่ใช่สิ่งเดียวกัน


      อนัตตา  ก็เช่นเดียวกัน เป็นคุณสัมบัติหรือลักษณะ ทางธรรม อย่างหนึ่งใน ไตรลักษณะ คือ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา

      อนัตตา มีคุณสมบัติคือ ไม่ใช่ตน ไม่ใช่ของตน ไม่ใช่ตัวตน  

      ซึ่งในพุทธศาสนานั้น กล่าวถึง ธรรม มี 2 อย่าง คือ  1.สังขตธรรม  2.อสังขตธรรม   ไม่มีมากไปกว่านี้แล้ว.

      1.สังขตธรรม คือธรรมชาติที่มีคุณสมบัติหรือลักษณะ ครบทั้ง ไตรลักษณะ  คือ  "อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา"  ได้แก่ รูป, จิต, เจตสิก
      2.อสังขตธรรม คือธรรมชาติทีมีคุณสมบัติหรือลักษณะ เพียงอย่างเดียว คือ "อนัตตา"  ได้แก่ "นิพพาน" หนึ่งเดียวเท่านั้น

       ดังนั้น นิพพาน มีคุณสัมบัติหรือลักษณะ เพียงอย่างเดียว คือ อนัตตา  หลุดพ้นจากหรือหมดสิ้นจาก ราคะ โทสะ โมหะ อย่างสิ้นเชิงนั้นเอง เป็น อสังขตธรรม พ้นไปจาก หรืออยู่คนละฝั่งกับ สังขตธรรม นั้นเอง.

        หมายเหตุ ให้พึ่งระวังอย่างหนึ่งก็คือผู้ปฏิบัติธรรมหรือศึกษาธรรม แล้วเกิดความเข้าใจผิด  ว่า นิพพาน ที่มีคุณสมบัติหรือคุณลักษณะเป็น อนัตตา แบบไม่มีอะไรเลย หรือ สูญสิ้นไปเสีย เพราะเข้าใจผิด เอาความหมายของคุณสมบัติหรือลักษณะ นั้นไปเป็นตัวธรรม หรือ นิพพาน ไปเสีย จนกลายเป็นเข้าใจผิดว่า สูญสิ้น,ไม่มีอะไรเลย, สาบสูญ ไปเสีย

          แต่ก็ยังมีผู้ที่เข้าใจผิดในทางตรงกันข้าม คือ นิพพาน เป็นอัตตาตัวตนอย่างเที่ยงแท้ไปเสีย ซึ่งมีอยู่มากเช่นเดีวยกันในบรรดาชาวพุทธ์
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่