ปัญหาการก่อสร้างโรงพักและแฟลตตำรวจที่ฉาวโฉ่มาพักใหญ่
จะเข้าสู่ขั้นตอนของการสอบสวนผู้เกี่ยวข้อง
หลังจาก นายธาริต เพ็งดิษฐ์ ได้ใช้อำนาจอธิบดีกรมสอบสวน
คดีพิเศษ อนุมัติให้เป็นคดีพิเศษ
จากนี้ เป็นคิวการเข้าให้ปากคำของอดีต ผบ.ตร. 3 คน ได้แก่
พล.ต.อ.พัชรวาท วงษ์สุวรรณ, พล.ต.อ.ปทีป ตันประเสริฐ และ
พล.ต.อ.วิเชียร พจน์โพธิ์ศรี
ต่อด้วยบริษัทพีซีซี ดีเวลล็อปเม้นท์ แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด
ผู้รับเหมาก่อสร้าง
และมีชื่อของนายสุเทพ เทือกสุบรรณ อดีตรองนายกฯ อยู่ในบัญชี
ที่จะต้องเรียกมาสอบสวนด้วย
เป็นไปตามที่นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ อดีตนายกฯ กล่าวว่า
นายสุเทพพร้อมชี้แจง
โครงการก่อสร้างสถานีตำรวจ 396 หลัง วงเงิน 5,848 ล้านบาท
และโครงการก่อสร้างที่พักอาศัยข้าราชการตำรวจ (แฟลต) จำนวน
163 แห่ง จำนวนเงิน 3,709 ล้านบาท
นายธาริต เพ็งดิษฐ์ ชี้ว่ามีจุดผิดสังเกต 6 ประเด็นด้วยกัน คือ
1.ครม.อนุมัติงบประมาณก่อสร้างไว้ 6,672 ล้านบาท ราคากลาง
ตั้งไว้ 6,388 ล้านบาท
ปรากฏว่าบริษัทพีซีซีฯ ชนะการประกวดราคา 5,848 ล้านบาท
ต่ำที่สุดในจำนวนบริษัทที่เข้าประกวดราคา และต่ำกว่าราคากลาง
540 ล้านบาท
2.บริษัทสามประสิทธิ์ที่เข้าร่วมเสนอราคา เสนอราคาสู้ที่ 6,095 ล้านบาท
ต่ำกว่าราคากลางเพียง 293 ล้านบาท
บริษัทพีซีซีฯ จึงเสนอราคาต่ำกว่าบริษัทสามประสิทธิ์ถึง 247 ล้านบาท
เป็นตัวเลขที่ผิดปกติ เพราะตัวเลขไม่ควรจะห่างมากเท่านี้ ทั้งในมุมของ
ราคากลางและการชนะผู้ประมูล
3.เรื่องการยกเลิกสัญญารายภาคเปลี่ยนมาเป็นรวบสัญญา ทำให้บริษัทอื่น
ไม่มีสิทธิเข้ามาประมูลแข่ง หรือสู้ราคาได้ ทำให้บริษัทพีซีซีฯชนะการประมูล
ส่วนข้อสังเกตอีก 3 ข้อได้แก่
4 .เมื่อบริษัทพีซีซีฯได้โครงการแล้วมีการทำสัญญา โดยระบุให้จ่ายเงิน
ล่วงหน้า ในสัญญาแบบเต็มเพดานที่กำหนดคือ 15 เปอร์เซ็นต์ ทำให้
บริษัทพีซีซีฯได้เงินล่วงหน้าถึง 877.2 ล้านบาท
ปกติเรตของการอนุมัติจ่ายเงินล่วงหน้าทำได้ตั้งแต่ 1-15 เปอร์เซ็นต์
หลักทั่วไปก็ประมาณ 7-8 เปอร์เซ็นต์ ของมูลค่าโครงการ
5.เมื่อได้โครงการ บริษัทพีซีซีฯไม่ได้ลงมือสร้างเอง แต่จ้างช่วงโดยให้
ผู้รับเหมารายอื่น มารับงานและจ่ายเงินน้อยมากประมาณหลักแสนบาท
จากนั้นตั้งเบิกเงินงวดที่หนึ่ง จำนวน 656.6 ล้านบาท
6.คือการทิ้งงานทั้งหมด
ผลคือ โรงพัก 396 แห่ง สร้างไม่เสร็จแม้แต่แห่งเดียว ตามมาด้วยความ
เดือดร้อนของเจ้าหน้าที่ตำรวจ และประชาชนที่จะต้องไปใช้บริการ
นอกจากเข้าข่ายการกระทำความผิดตามกฎหมายฮั้วประมูล เนื่องจากมี
การกำหนดเงื่อนไข ให้มีเพียงบริษัทเดียวได้รับสัญญา ไม่มีการแข่งขันกัน
9 ภาค และเอื้อประโยชน์ให้บริษัทพีซีซีฯ
ดีเอสไอยังอนุมัติให้สืบสวนในเรื่องของการฉ้อโกงอีกข้อหาด้วย
เนื่องจากวิเคราะห์การกระทำ 6 ขั้นตอน บริษัทพีซีซีฯรู้อยู่
แล้วว่าสร้างไม่ได้ไม่เสร็จ
จึงสงสัยว่ามีเจตนาทุจริตมาตั้งแต่ต้น ไม่ใช่ทำสัญญาทางแพ่งตามปกติ
นอกจากนี้ ในหนังสือที่ นายพิบูลย์ อุดมสิทธิกุล ประธานกรรมการ
ผู้จัดการบริษัทพีซีซีฯ ชี้แจงถึง ผบ.ตร.
ยังระบุตอนหนึ่งว่า บริษัทเองไม่เห็นด้วยกับการประมูลโดยรวมสัญญาทั้งประเทศ
และมีหนังสือลงวันที่ 13 พ.ย.2552 ถึงนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ
และนายสุเทพ เทือกสุบรรณ ขอให้แยกประมูลเป็นรายภาค ทั้งโรงพัก
และแฟลตตำรวจ ตามที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติได้ประกาศ
"ทีโออาร์" ไว้ในเว็บไซต์เแล้ว
นั่นคือลำดับขั้นตอนการประมูล การเซ็นสัญญา และการปฏิบัติตามสัญญา
ซึ่งก่อให้เกิดความเสียหายต่อราชการและประชาชนแล้ว
คำถามสำคัญยังคงเป็น..แล้วใครจะรับผิดชอบต่อความเสียหายที่เกิดขึ้น
http://www.matichon.co.th/daily/view_news.php?newsid=01col01060256§ionid=0116&selday=2013-02-06
เพราะบันทัดสุดท้ายของ "มติชน" ก็เลยมีคำตอบ เป็นคำแถลงจาก ปชป.
ที่กระจายไปทุกสื่อ ... ค่ะ
หึ หึ ...คุณม่วงคัน ดีใจมากค่ะ ที่ปชป.แถลงซะที ..
บอกแล้วไง ...ไม่ผิดระเบียบ ผิดตรงไหน ....กัน เห็นมะ...
ใครบอกว่าผิด...จะฟ้องนะ
396 โรงพักค้างเติ่ง ปากคำจาก"พีซีซี" คำถามถึง"นักการเมือง" ...... วิเคราะห์ ...มติชนออนไลน์
จะเข้าสู่ขั้นตอนของการสอบสวนผู้เกี่ยวข้อง
หลังจาก นายธาริต เพ็งดิษฐ์ ได้ใช้อำนาจอธิบดีกรมสอบสวน
คดีพิเศษ อนุมัติให้เป็นคดีพิเศษ
จากนี้ เป็นคิวการเข้าให้ปากคำของอดีต ผบ.ตร. 3 คน ได้แก่
พล.ต.อ.พัชรวาท วงษ์สุวรรณ, พล.ต.อ.ปทีป ตันประเสริฐ และ
พล.ต.อ.วิเชียร พจน์โพธิ์ศรี
ต่อด้วยบริษัทพีซีซี ดีเวลล็อปเม้นท์ แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด
ผู้รับเหมาก่อสร้าง
และมีชื่อของนายสุเทพ เทือกสุบรรณ อดีตรองนายกฯ อยู่ในบัญชี
ที่จะต้องเรียกมาสอบสวนด้วย
เป็นไปตามที่นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ อดีตนายกฯ กล่าวว่า
นายสุเทพพร้อมชี้แจง
โครงการก่อสร้างสถานีตำรวจ 396 หลัง วงเงิน 5,848 ล้านบาท
และโครงการก่อสร้างที่พักอาศัยข้าราชการตำรวจ (แฟลต) จำนวน
163 แห่ง จำนวนเงิน 3,709 ล้านบาท
นายธาริต เพ็งดิษฐ์ ชี้ว่ามีจุดผิดสังเกต 6 ประเด็นด้วยกัน คือ
1.ครม.อนุมัติงบประมาณก่อสร้างไว้ 6,672 ล้านบาท ราคากลาง
ตั้งไว้ 6,388 ล้านบาท
ปรากฏว่าบริษัทพีซีซีฯ ชนะการประกวดราคา 5,848 ล้านบาท
ต่ำที่สุดในจำนวนบริษัทที่เข้าประกวดราคา และต่ำกว่าราคากลาง
540 ล้านบาท
2.บริษัทสามประสิทธิ์ที่เข้าร่วมเสนอราคา เสนอราคาสู้ที่ 6,095 ล้านบาท
ต่ำกว่าราคากลางเพียง 293 ล้านบาท
บริษัทพีซีซีฯ จึงเสนอราคาต่ำกว่าบริษัทสามประสิทธิ์ถึง 247 ล้านบาท
เป็นตัวเลขที่ผิดปกติ เพราะตัวเลขไม่ควรจะห่างมากเท่านี้ ทั้งในมุมของ
ราคากลางและการชนะผู้ประมูล
3.เรื่องการยกเลิกสัญญารายภาคเปลี่ยนมาเป็นรวบสัญญา ทำให้บริษัทอื่น
ไม่มีสิทธิเข้ามาประมูลแข่ง หรือสู้ราคาได้ ทำให้บริษัทพีซีซีฯชนะการประมูล
ส่วนข้อสังเกตอีก 3 ข้อได้แก่
4 .เมื่อบริษัทพีซีซีฯได้โครงการแล้วมีการทำสัญญา โดยระบุให้จ่ายเงิน
ล่วงหน้า ในสัญญาแบบเต็มเพดานที่กำหนดคือ 15 เปอร์เซ็นต์ ทำให้
บริษัทพีซีซีฯได้เงินล่วงหน้าถึง 877.2 ล้านบาท
ปกติเรตของการอนุมัติจ่ายเงินล่วงหน้าทำได้ตั้งแต่ 1-15 เปอร์เซ็นต์
หลักทั่วไปก็ประมาณ 7-8 เปอร์เซ็นต์ ของมูลค่าโครงการ
5.เมื่อได้โครงการ บริษัทพีซีซีฯไม่ได้ลงมือสร้างเอง แต่จ้างช่วงโดยให้
ผู้รับเหมารายอื่น มารับงานและจ่ายเงินน้อยมากประมาณหลักแสนบาท
จากนั้นตั้งเบิกเงินงวดที่หนึ่ง จำนวน 656.6 ล้านบาท
6.คือการทิ้งงานทั้งหมด
ผลคือ โรงพัก 396 แห่ง สร้างไม่เสร็จแม้แต่แห่งเดียว ตามมาด้วยความ
เดือดร้อนของเจ้าหน้าที่ตำรวจ และประชาชนที่จะต้องไปใช้บริการ
นอกจากเข้าข่ายการกระทำความผิดตามกฎหมายฮั้วประมูล เนื่องจากมี
การกำหนดเงื่อนไข ให้มีเพียงบริษัทเดียวได้รับสัญญา ไม่มีการแข่งขันกัน
9 ภาค และเอื้อประโยชน์ให้บริษัทพีซีซีฯ
ดีเอสไอยังอนุมัติให้สืบสวนในเรื่องของการฉ้อโกงอีกข้อหาด้วย
เนื่องจากวิเคราะห์การกระทำ 6 ขั้นตอน บริษัทพีซีซีฯรู้อยู่
แล้วว่าสร้างไม่ได้ไม่เสร็จ
จึงสงสัยว่ามีเจตนาทุจริตมาตั้งแต่ต้น ไม่ใช่ทำสัญญาทางแพ่งตามปกติ
นอกจากนี้ ในหนังสือที่ นายพิบูลย์ อุดมสิทธิกุล ประธานกรรมการ
ผู้จัดการบริษัทพีซีซีฯ ชี้แจงถึง ผบ.ตร.
ยังระบุตอนหนึ่งว่า บริษัทเองไม่เห็นด้วยกับการประมูลโดยรวมสัญญาทั้งประเทศ
และมีหนังสือลงวันที่ 13 พ.ย.2552 ถึงนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ
และนายสุเทพ เทือกสุบรรณ ขอให้แยกประมูลเป็นรายภาค ทั้งโรงพัก
และแฟลตตำรวจ ตามที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติได้ประกาศ
"ทีโออาร์" ไว้ในเว็บไซต์เแล้ว
นั่นคือลำดับขั้นตอนการประมูล การเซ็นสัญญา และการปฏิบัติตามสัญญา
ซึ่งก่อให้เกิดความเสียหายต่อราชการและประชาชนแล้ว
คำถามสำคัญยังคงเป็น..แล้วใครจะรับผิดชอบต่อความเสียหายที่เกิดขึ้น
http://www.matichon.co.th/daily/view_news.php?newsid=01col01060256§ionid=0116&selday=2013-02-06
เพราะบันทัดสุดท้ายของ "มติชน" ก็เลยมีคำตอบ เป็นคำแถลงจาก ปชป.
ที่กระจายไปทุกสื่อ ... ค่ะ
หึ หึ ...คุณม่วงคัน ดีใจมากค่ะ ที่ปชป.แถลงซะที ..
บอกแล้วไง ...ไม่ผิดระเบียบ ผิดตรงไหน ....กัน เห็นมะ...
ใครบอกว่าผิด...จะฟ้องนะ