หมอ มอ.คว้ารางวัลเครื่องมือแพทย์ เวิลด์ อินเวนเตอร์ อวอร์ด 2013

กระทู้ข่าว
วันนี้ ( 5 ก.พ.) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นพ.สุนทร วงษ์ศิริ ภาควิชาศัลยศาสตร์ออร์โธปิดิกส์และกายภาพบำบัด คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์(มอ.) ประสบความสำเร็จ ได้รับรางวัลเวิลด์ อินเวนเตอร์ อวอร์ด  2013 ณ กรุงโซล ประเทศเกาหลี ในการผลิตอุปกรณ์ช่วยถ่าง และส่องมองเนื้อเยื่อภายในสำหรับช่วยผ่าตัด ชื่อ PSU Carpal Tunnel Retractor เพื่อรักษาอาการมือชาที่เกิดจากโรคพังผืดรัดเส้นประสาทข้อมือ นพ.สุนทร กล่าวว่าการผลิตอุปกรณ์ช่วยถ่างและส่องมองเนื้อเยื่อภายในสำหรับช่วยผ่าตัดภายใต้ชื่อ PSU Carpal Tunnel Retractor เพื่อรักษาอาการมือชาในโรคพังผืดรัดเส้นประสาทข้อมือ ซึ่งมักพบในผู้ป่วยเพศหญิงมากกว่าเพศชาย 2-4 เท่า อายุที่พบบ่อยที่สุด คือ ประมาณอายุ 40 ปีขึ้นไป โดยเฉพาะในกลุ่มสตรีมีครรภ์ และหลังคลอดบุตร รวมทั้งผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัว เช่น โรคเบาหวาน โรคข้ออักเสบ โรคไทรอยด์เป็นพิษ โดยได้รับการสนับสนุนการทำวิจัยจากบริษัท เซอร์จิคอล อินโนเวชั่น เฮลธ์แคร์ จำกัด ในเครือบริษัท แปซิฟิก เฮลธ์แคร์ (ประเทศไทย) จำกัด


นพ.สุนทรกล่าวต่อว่า ที่มาของการทำวิจัยชิ้นนี้ หมอเห็นคนไข้ที่รอรับการผ่าตัด ต้องรอคิวผ่าตัดค่อนข้างนาน บางรายกลัวไม่กล้าผ่าเพราะแผลใหญ่ ยาว 3.5 ซม.ใช้เวลาผ่าตัด 60 นาที และหลังผ่าตัดผู้ป่วยยังต้องพักรักษาตัวที่โรงพยาบาลต่ออีก 1-2 วัน ต้องทนเจ็บแผลนานอีก 1-2 สัปดาห์ แต่สำหรับการใช้อุปกรณ์ช่วยถ่าง และส่องมองเนื้อเยื่อภายในสำหรับช่วยผ่าตัดที่ประดิษฐ์ขึ้น จะใช้เวลาผ่าตัดเพียง 8-15 นาทีต่อราย และมีบาดแผลจากการผ่าตัดเพียง 1.5-1.8 ซม.เท่านั้น โดยใช้การฉีดยาชาแทนการใช้ยาสลบ ผู้ป่วยเจ็บแผลน้อย ไม่ต้องนอนพักที่โรงพยาบาล และกลับไปทำงานได้ภายใน 1 สัปดาห์ เพราะอุปกรณ์ดังกล่าวจะช่วยให้แพทย์มองเห็นเนื้อเยื่อที่จะผ่าตัดได้ชัดเจน ทำให้การรักษาโรคมือชามีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ซึ่งจากการผ่าตัดรักษาเลาะพังผืดรัดข้อมือออกเพื่อรักษาผู้ป่วยในช่วงเดือน ก.ค.2551- ม.ค.2552 แล้ว 14 ราย พบว่ารักษาผู้ป่วยให้หายได้ครบทุกราย ไม่มีโรคแทรกซ้อน



“เครื่องมือนี้ได้จดสิทธิบัตรพีซีทีสำหรับประเทศสหรัฐอเมริกา, ญี่ปุ่น และยุโรป โดยได้รับความอนุเคราะห์จากบริษัทในเครือแปซิฟิก เฮลธ์แคร์ (ประเทศไทย) และสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ รวมทั้งทีมออกแบบของเอสซีจี เพื่อพัฒนางานออกแบบให้ออกมาสมบูรณ์แบบที่สุด ปัจจุบันเครื่องมือนี้มีใช้ที่รพ.มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และในอนาคตจะมีใช้ในโรงพยาบาลเอกชนชั้นนำ”.


http://www.dailynews.co.th/society/182767


ยินดีด้วยครับ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่