เมื่อวันที่ 15 ธันวาคม พ.ศ.2555 ที่ผ่านมา ณ ประเทศเกาหลี คนเก่งของประเทศไทยได้มีโอกาสแสดงศักยภาพด้านนวัตกรรมให้คนต่างประเทศได้รับรู้ เมื่อเครื่องมือ PSU - Carpal Tunnel Retractor หรือ อุปกรณ์ช่วยผ่าตัดโรคพังผืดกดรัดเส้นประสาทข้อมือ "สงขลานครินทร์" ของผู้ช่วยศาสตราจารย์นายแพทย์สุนทร วงษ์ศิริ จากคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ได้รับรางวัล World Innovation Order of Merit ในงาน World Inventor Award Festival ซึ่งเป็นงานที่จัดขึ้นเพื่อมอบรางวัลเชิดชูเกียรติสำหรับนักประดิษฐ์ที่คิดค้นและเครื่องมือ ที่เป็นประโยชน์ให้กับสังคม โดยมีผู้ได้รับคัดเลือกทั้งหมด จาก 20 ประเทศ 135 ชิ้นงาน ซึ่งแต่ละชิ้นงานนั้นต้องได้รับรางวัลระดับประเทศมาก่อน
นายแพทย์สุนทร นั้นเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านกระดูกและข้อ ที่มีผลงานโดดเด่นมาแล้วหลายอย่าง อาทิ หนึ่งในทีมแพทย์ผ่าตัดต่อมือให้กับ พล.ต.ต.นพดล เผือกโสมณ ตำรวจผู้ได้รับบาดเจ็บจากเหตุการณ์คนร้ายลอบวางระเบิดใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ อีกกรณีคือ การช่วยเหลือคุณลุงท่านหนึ่ง ที่มือทั้ง 2 ข้างถูกฟันขาดออกจากกัน แต่นายแพทย์สุนทรและทีมแพทย์ ได้ผ่าตัดต่อมือของลุง จนสามารถกลับมาใช้งานได้อีกครั้ง
จากประสบการณ์การทำงานด้านกระดูกและข้อ ทำให้นายแพทย์สุนทร พยายามค้นคว้าหาวิธีที่จะพัฒนาการรักษา โดยเฉพาะการรักษาผู้ป่วยโรคพังผืดกดรัดเส้นประสาท ซึ่งโรคนี้ จะทำให้ผู้ป่วยมีอาการมือชา และเกิดขึ้นในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย เมื่ออายุ 40 - 45 ปี และสัมพันธ์กับการใช้งาน รวมทั้งอาจเกิดขึ้นในผู้ป่วยที่เป็นโรคเบาหวานหรือโรคไทรอยด์อีกด้วย
จุดเริ่มต้นของการคิดค้น
นายแพทย์สุนทรกล่าวว่า "สิ่งประดิษฐ์ชิ้นนี้เริ่มต้นมาจากการดูแลคนไข้ เนื่องจากคนไข้ส่วนใหญ่จะกลัวการผ่าตัด ซึ่งยังเป็นแผลใหญ่ ทำให้การฟื้นตัวช้า การดูแลแผลยาก ทำให้แผลติดเชื้อและเกิดอักเสบ มีความทุกข์ทรมาน ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของผมในการหาสิ่งที่ทำให้คนไข้ได้รับความรู้สึกที่ดี การรักษาที่ดี ผมจึงคิดว่า ถ้าในการรักษาเราสามารถลดขั้นตอนหรือลดอุปกรณ์อะไรที่ไม่จำเป็นได้ แล้วทำอะไรให้มันเรียบง่ายเหมาะสมกับการใช้งานมากขึ้น น่าจะเป็นสิ่งที่ดี ดังนั้นผมจึงคิดค้น PSU - Carpal Tunnel Retractor ขึ้น เพื่อให้เป็นอุปกรณ์ที่เรียบง่ายที่สุด ใช้งานง่ายที่สุด แต่ให้มีประสิทธิภาพสูงสุด และจะเห็นได้ว่าผมจะไม่ได้ใส่อุปกรณ์อะไรที่สลับซับซ้อน หรือเน้นไปทางเทคโนโลยีมากเกินไป เพราะบางครั้งความซับซ้อนของเทคโนโลยีอาจทำให้เสียเวลา และเสียค่าใช้จ่ายเพิ่มมากขึ้น แต่ขณะเดียวกันที่เราใช้เครื่องมือที่เรียบง่าย ประหยัดต้นทุนมากขึ้น การผ่าตัดได้ผลดีกว่าด้วยซ้ำ มันทำให้เกิดคุณค่าต่อสังคม มนุษย์ และทรัพยากร"
ข้อดีสำหรับผู้ป่วย และแพทย์ผู้ใช้งาน
ในด้านของ ผู้ป่วย วิธีใหม่นี้ลดระยะเวลาการผ่าตัดลงเหลือเพียง 10 นาทีต่อผู้ป่วย 1 ราย และแผลผ่าตัดเล็กลงเหลือเพียง 1.5 - 1.8 เซนติเมตร ซึ่งทำให้ผู้ป่วยฟื้นตัวและกลับไปทำงานได้เร็วขึ้น ประหยัดค่าใช้จ่าย รวมทั้งลดภาวะแทรกซ้อน และได้ผลการรักษาที่ดีด้วย เมื่อเทียบกับการผ่าตัดแบบเก่าที่ต้องใช้เวลาเกือบครึ่งชั่วโมง ที่มีทั้งการดมยา และแผลที่มีขนาดใหญ่กว่า
ในด้านของ แพทย์ เครื่องมือชิ้นนี้สามารถทำการผ่าตัดได้ง่ายและรวดเร็ว ให้ผลการรักษาที่ดีขึ้น ลดการซื้อวัสดุอุปกรณ์จากต่างประเทศ ทำให้ประหยัดงบประมาณการรักษาทั้งประเทศ อีกทั้งมีโอกาสในการพัฒนาผลิตเพื่อจำหน่ายในเชิงพาณิชย์ได้อีกด้วย
ข้อคิดดีๆ
"ผมคิดว่าเมื่อไหร่ก็ตามที่มีการพัฒนา เราก็สามารถช่วยคนไข้ได้มากขึ้น ได้ดีขึ้น แต่เมื่อไหร่ก็ตามที่เราหยุดพัฒนา อนาคตก็หยุด ไม่ใช่เพียงเพราะว่าเราเป็นคนไทย หรือประเทศโลกที่ 3 แต่ผมเชื่อว่า จริงๆคนไทยหลายคนมีความสามารถที่จะทำอะไรได้ดีกว่าต่างชาติด้วยซ้ำไป ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับว่า เราได้คิดและมีโอกาสได้ไปนำเสนอสิ่งที่คิดหรือไม่ สำหรับผมโชคดีที่ได้อยู่ในมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์แห่งนี้ ได้อยู่ในสถาบันที่คอยสนับสนุนนักวิจัยดี คอยผลักดันให้มีผลงานวิจัยที่เป็นประโยชน์ต่อสังคมออกไปอย่างมากมาย ซึ่งเป็นอีกแรงจูงใจที่สามารถทำให้เราก้าวต่อไปข้างหน้าได้อย่างมั่นใจมากยิ่งขึ้น" นายแพทย์สุนทรกล่าว
คมชัดลึก
'แพทย์ม.อ.' คว้ารางวัลนวัตกรรมโลกที่เกาหลี
นายแพทย์สุนทร นั้นเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านกระดูกและข้อ ที่มีผลงานโดดเด่นมาแล้วหลายอย่าง อาทิ หนึ่งในทีมแพทย์ผ่าตัดต่อมือให้กับ พล.ต.ต.นพดล เผือกโสมณ ตำรวจผู้ได้รับบาดเจ็บจากเหตุการณ์คนร้ายลอบวางระเบิดใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ อีกกรณีคือ การช่วยเหลือคุณลุงท่านหนึ่ง ที่มือทั้ง 2 ข้างถูกฟันขาดออกจากกัน แต่นายแพทย์สุนทรและทีมแพทย์ ได้ผ่าตัดต่อมือของลุง จนสามารถกลับมาใช้งานได้อีกครั้ง
จากประสบการณ์การทำงานด้านกระดูกและข้อ ทำให้นายแพทย์สุนทร พยายามค้นคว้าหาวิธีที่จะพัฒนาการรักษา โดยเฉพาะการรักษาผู้ป่วยโรคพังผืดกดรัดเส้นประสาท ซึ่งโรคนี้ จะทำให้ผู้ป่วยมีอาการมือชา และเกิดขึ้นในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย เมื่ออายุ 40 - 45 ปี และสัมพันธ์กับการใช้งาน รวมทั้งอาจเกิดขึ้นในผู้ป่วยที่เป็นโรคเบาหวานหรือโรคไทรอยด์อีกด้วย
จุดเริ่มต้นของการคิดค้น
นายแพทย์สุนทรกล่าวว่า "สิ่งประดิษฐ์ชิ้นนี้เริ่มต้นมาจากการดูแลคนไข้ เนื่องจากคนไข้ส่วนใหญ่จะกลัวการผ่าตัด ซึ่งยังเป็นแผลใหญ่ ทำให้การฟื้นตัวช้า การดูแลแผลยาก ทำให้แผลติดเชื้อและเกิดอักเสบ มีความทุกข์ทรมาน ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของผมในการหาสิ่งที่ทำให้คนไข้ได้รับความรู้สึกที่ดี การรักษาที่ดี ผมจึงคิดว่า ถ้าในการรักษาเราสามารถลดขั้นตอนหรือลดอุปกรณ์อะไรที่ไม่จำเป็นได้ แล้วทำอะไรให้มันเรียบง่ายเหมาะสมกับการใช้งานมากขึ้น น่าจะเป็นสิ่งที่ดี ดังนั้นผมจึงคิดค้น PSU - Carpal Tunnel Retractor ขึ้น เพื่อให้เป็นอุปกรณ์ที่เรียบง่ายที่สุด ใช้งานง่ายที่สุด แต่ให้มีประสิทธิภาพสูงสุด และจะเห็นได้ว่าผมจะไม่ได้ใส่อุปกรณ์อะไรที่สลับซับซ้อน หรือเน้นไปทางเทคโนโลยีมากเกินไป เพราะบางครั้งความซับซ้อนของเทคโนโลยีอาจทำให้เสียเวลา และเสียค่าใช้จ่ายเพิ่มมากขึ้น แต่ขณะเดียวกันที่เราใช้เครื่องมือที่เรียบง่าย ประหยัดต้นทุนมากขึ้น การผ่าตัดได้ผลดีกว่าด้วยซ้ำ มันทำให้เกิดคุณค่าต่อสังคม มนุษย์ และทรัพยากร"
ข้อดีสำหรับผู้ป่วย และแพทย์ผู้ใช้งาน
ในด้านของ ผู้ป่วย วิธีใหม่นี้ลดระยะเวลาการผ่าตัดลงเหลือเพียง 10 นาทีต่อผู้ป่วย 1 ราย และแผลผ่าตัดเล็กลงเหลือเพียง 1.5 - 1.8 เซนติเมตร ซึ่งทำให้ผู้ป่วยฟื้นตัวและกลับไปทำงานได้เร็วขึ้น ประหยัดค่าใช้จ่าย รวมทั้งลดภาวะแทรกซ้อน และได้ผลการรักษาที่ดีด้วย เมื่อเทียบกับการผ่าตัดแบบเก่าที่ต้องใช้เวลาเกือบครึ่งชั่วโมง ที่มีทั้งการดมยา และแผลที่มีขนาดใหญ่กว่า
ในด้านของ แพทย์ เครื่องมือชิ้นนี้สามารถทำการผ่าตัดได้ง่ายและรวดเร็ว ให้ผลการรักษาที่ดีขึ้น ลดการซื้อวัสดุอุปกรณ์จากต่างประเทศ ทำให้ประหยัดงบประมาณการรักษาทั้งประเทศ อีกทั้งมีโอกาสในการพัฒนาผลิตเพื่อจำหน่ายในเชิงพาณิชย์ได้อีกด้วย
ข้อคิดดีๆ
"ผมคิดว่าเมื่อไหร่ก็ตามที่มีการพัฒนา เราก็สามารถช่วยคนไข้ได้มากขึ้น ได้ดีขึ้น แต่เมื่อไหร่ก็ตามที่เราหยุดพัฒนา อนาคตก็หยุด ไม่ใช่เพียงเพราะว่าเราเป็นคนไทย หรือประเทศโลกที่ 3 แต่ผมเชื่อว่า จริงๆคนไทยหลายคนมีความสามารถที่จะทำอะไรได้ดีกว่าต่างชาติด้วยซ้ำไป ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับว่า เราได้คิดและมีโอกาสได้ไปนำเสนอสิ่งที่คิดหรือไม่ สำหรับผมโชคดีที่ได้อยู่ในมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์แห่งนี้ ได้อยู่ในสถาบันที่คอยสนับสนุนนักวิจัยดี คอยผลักดันให้มีผลงานวิจัยที่เป็นประโยชน์ต่อสังคมออกไปอย่างมากมาย ซึ่งเป็นอีกแรงจูงใจที่สามารถทำให้เราก้าวต่อไปข้างหน้าได้อย่างมั่นใจมากยิ่งขึ้น" นายแพทย์สุนทรกล่าว
คมชัดลึก