สายสีเขียวจอง ถ.พหลโยธิน
เริ่ม จากรถไฟฟ้าสายสีเขียวช่วง "หมอชิต-สะพานใหม่-คูคต" ที่การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ต้องเร่งออก พ.ร.ฎ.เวนคืนก่อนประมูลก่อสร้างภายในเดือนกุมภาพันธ์นี้
ตามแนวเส้น ทางแม้จะสร้างบนเกาะกลางถนนพหลโยธินเป็นหลัก แต่มีสิ่งกีดขวางที่ต้องรื้อและสร้างใหม่ทดแทน ล่าสุด "รฟม." หารือกับ "กทม." รื้อสะพานข้ามแยก 3 แห่งคือ รัชโยธิน-เสนา-เกษตรศาสตร์ เพื่อไม่ให้โครงสร้างสะพานทับซ้อนกับรถไฟฟ้า โดย "แยกรัชโยธิน" ทุบสะพานทิ้งแล้วสร้างอุโมงค์
ส่วน "แยกเสนา-เกษตรศาสตร์" จะลดความยาวของสะพาน จะเวนคืนจุดที่ตั้งสถานีสร้างทางขึ้น-ลง ตลอดเส้นทาง จากจุดเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าบีทีเอสที่หมอชิต วิ่งตามแนวถนนพหลโยธิน ข้ามทางยกระดับดอนเมืองโทลล์เวย์บริเวณห้าแยกลาดพร้าว ผ่านแยกรัชโยธิน แยก ม.เกษตรศาสตร์ ถึงพหลโยธินซอย 66 แล้วเบี่ยงซ้ายถึงอนุสาวรีย์หลักสี่ สิ้นสุดที่สะพานใหม่ เลี้ยวขวาสุดเขตกองทัพอากาศ เข้าถนนลำลูกกาถึงคูคตบริเวณคลอง 2 ปลายทางจะเวนคืนใหญ่เพื่อสร้างศูนย์ซ่อมบำรุง (ดีโป) หลายร้อยไร่
แนวรถไฟฟ้าสายสีเขียว หมอชิต-สะพานใหม่-คูคต และจะสร้างศูนย์ซ่อมบำรุงแถวคูคต แสดงว่าจะไม่มีโครงการ ลำลูกกาถึงคลอง5 แล้ว?
เริ่ม จากรถไฟฟ้าสายสีเขียวช่วง "หมอชิต-สะพานใหม่-คูคต" ที่การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ต้องเร่งออก พ.ร.ฎ.เวนคืนก่อนประมูลก่อสร้างภายในเดือนกุมภาพันธ์นี้
ตามแนวเส้น ทางแม้จะสร้างบนเกาะกลางถนนพหลโยธินเป็นหลัก แต่มีสิ่งกีดขวางที่ต้องรื้อและสร้างใหม่ทดแทน ล่าสุด "รฟม." หารือกับ "กทม." รื้อสะพานข้ามแยก 3 แห่งคือ รัชโยธิน-เสนา-เกษตรศาสตร์ เพื่อไม่ให้โครงสร้างสะพานทับซ้อนกับรถไฟฟ้า โดย "แยกรัชโยธิน" ทุบสะพานทิ้งแล้วสร้างอุโมงค์
ส่วน "แยกเสนา-เกษตรศาสตร์" จะลดความยาวของสะพาน จะเวนคืนจุดที่ตั้งสถานีสร้างทางขึ้น-ลง ตลอดเส้นทาง จากจุดเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าบีทีเอสที่หมอชิต วิ่งตามแนวถนนพหลโยธิน ข้ามทางยกระดับดอนเมืองโทลล์เวย์บริเวณห้าแยกลาดพร้าว ผ่านแยกรัชโยธิน แยก ม.เกษตรศาสตร์ ถึงพหลโยธินซอย 66 แล้วเบี่ยงซ้ายถึงอนุสาวรีย์หลักสี่ สิ้นสุดที่สะพานใหม่ เลี้ยวขวาสุดเขตกองทัพอากาศ เข้าถนนลำลูกกาถึงคูคตบริเวณคลอง 2 ปลายทางจะเวนคืนใหญ่เพื่อสร้างศูนย์ซ่อมบำรุง (ดีโป) หลายร้อยไร่