เหตุผลข้อที่1.
เวลานี้ ทุกท่านจะเห็นว่าค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ
ทำให้มีผลกระทบต่อการส่งออกและการเติบโตทางเศรษฐกิจ ของประเทศเรา (แต่ตลาดหุ้นขึ้น)
เนื่องจาก เป็นภาวะปกติที่เป็นผลเนื่องมาจากดุลการค้าเกินดุล และภาวะอุตสาหกรรม
การกระตุ้นเศรษฐกิจในประเทศที่รัฐบาลกระตุ้นให้เติบโตในระดับสูง จึงทำให้มีเงินทุนไหลเข้ามา
ค่าเงินบาทจึงแข็ง ความโดดเด่นของประเทศไทย ที่เป็นตัวนำใน AEC เป็นที่จับตามองของนักลงทุนต่างประเทศและนักเก็งกำไร
เมื่อเขาเห็นโอกาสและเงื่อนไขต่างๆ เอื้ออำนวย พวกกลุ่มนักเก็งกำไร ก็จะทำโจมตีค่าเงินบาท
การโจมตีค่าเงิน (Currency attack) หมายถึงการที่นักลงทุน นักเก็งกำไร ทั้งในต่างประเทศ และในประเทศ
เข้ามาแสวงหากำ ไรจากการซื้อขายเงินตราของสกุลหนึ่งเพื่อทำ กำ ไรจากผลต่างระหว่างอัตราที่ซื้อและอัตราที่ขาย
เป็นวิธีการหารายได้รูปแบบหนึ่งของนักลงทุนระหว่างประเทศ มีความหมายคล้ายกันกับ
การเก็งกำ ไรค่าเงิน (Currency speculation) จะมีแนวทางเหมือนกัน แต่แตกต่างกันตรงที่
การโจมตีนั้นมุ่งหวังให้เกิดผลเสียหายตอระบบทุนและมีผลกระทบอย่างรุนแรง
ดังนั้นต้องใช้เงินจำนวนมาก ตอนนี้ก็เริ่มขนกันเข้ามาแล้วในรูปแบบต่างๆ
ก็ขอให้ท่านหน้าใหม่ หน้าเก่า และแมงเม่าทั้งหลายระวังตัวกันหน่อยนะจ้ะ
ขนาดของเม็ดเงินมหาศาลมาก เขาขยายเพดานได้ พิมพ์แบงก์ ออกมามากมายมหาศาล จากนั้นค่อยๆ
โยนเข้าไปในประเทศเป้าหมายตอนนี้คือไทย อาเบะ ก็รู้แล้ว จึงมาบอก เพราะถ้าไทยเจ๊ง
ญี่ปุ่นก็เจ๊งด้วย (ดูวิธีการของเขาได้จาก วีดีโอ)การเก็งกำไรจึงต้องมีเม็ดเงินจำนวนมากและกระทำ กระแทก ๆๆ
เป็นระลอกๆๆ อย่างต่อเนื่องจากนั้นแบงก์ชาติก็จะออกมาตอบโต้
เขาก็มีวิธีการ โต้กลับเหมือนกันโดยปกติการโจมตีค่าเงินในปีนี้ 2556
ยิ่งถ้าใช้ระบบอัตราแลกเปลี่ยนคงที่ (fixed exchange rate system) การกำหนดค่าเงินไว้สูงเกินไป (over value)
และมีสภาพแวดล้อมอื่นเอื้ออำนวย เช่นดุลบัญชีเดินสะพัดขาดดุลเรื้อรังหนี้ระยะสั้นสูงเมื่อเทียบกับทุนสำรอง เป็นต้น
ส่วนการเก็งกำ ไรค่าเงินมักจะกระทำ สำ หรับประเทศที่ใช้ระบบอัตราแลกเปลี่ยนลอยตัว
นักลงทุนที่โจมตีค่าเงินมักเป็นนักลงทุนขนาดใหญ่และเป็นนักลงทุนประเภทสถาบันที่ระดมทุนมาเก็งกำไรค่าเงิน
หรือโจมตีค่าเงินโดยตั้งเป็นกองทุน มีชื่อเรียกว่า Hedge Funds ตัวอย่างของกองทุนประเภทนี้คือ
ของพ่อมด George Soros เช่นกองทุน Quantum Fund ยังมีพวกธนาคารพาณิชย์ทั้งในไทยและต่างประเทศ และอีกหลายๆกลุ่มที่เข้ามาแสวงหากำไรจากอัตราแลกเปลี่ยน ส่วนมากมักจะเป็นรูปแบบของการเก็งกำ ไร
เช่น ที่ทำ กับประเทศไทยในช่วงปี 2539 - 2540
ช่องทางที่ 1 โจมตีผ่านช่องทางตลาดเงิน คือผ่านธนาคารพาณิชย์ในประเทศเริ่มจากนักเก็งกำไรกู้เงินบาทจากธนาคารพาณิชย์แล้วนำไปซื้อดอลลาร์ทันที ตอนนี้ก็เริ่มซื้อกันหนาตามากขึ้น จากนั้นธนาคารพาณิชย์จะนำ เงินบาทที่นักเก็งกำ ไรขอกู้ไปซื้อดอลลาร์จากธนาคารแห่งประเทศไทยเพื่อส่งมอบให้กับนักเก็งกำไร การโจมตีค่าเงินด้วยวิธีนี้ นักลงเก็งกำไรต้องเสียดอกเบี้ยเงินกู้เงินบาทให้กับธนาคารพาณิชย์ (จะเห็นว่าหุ้นกลุ่มธนาคารพานิชย์ตอนนี้สวิงมากและ เทรนด์จะเป็นขาขึ้น ทำกราฟสวยมาก)
เมื่อได้ดอลลาร์สหรัฐแล้วไปพักไว้ในบัญชีได้รับดอกเบี้ยเงินฝากดอลลาร์ซึ่งจะตํ่ากว่าดอกเบี้ยเงินกู้ (เงินบาท)
นั่นคือนักเก็งกำ ไรยอมรับภาระผลต่างของดอกเบี้ยทั้งสอง ซึ่งเป็นต้นทุนในการโจมตีค่าเงินด้วยช่องทางนี้
แต่หวังว่า เมื่อธนาคารแห่งประเทศไทยลดค่าเงินหรือลอยตัวค่าเงินก็จะนำ
ดอลลาร์ที่ถือไว้มาขายคืน เช่น ตอนเอาเงินบาทซื้อดอลลาร์สหรัฐที่ 25 บาท
แต่ตอนขายคืน ถ้าอัตราแลกเปลี่ยนลดค่าไปอยู่ที่ 30 บาท นักลงทุนต่างชาติก็จะได้กำไร 5 บาทต่อดอลลาร์
เมื่อหักดอกเบี้ยเงินกู้ให้กับธนาคารแล้วยังมีกำ ไรเหลือ
(หลังลอยตัวค่าเงินบาท ในปี 2540 อัตราแลกเปลี่ยนเฉลี่ย 31 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ )
การโจมตีด้วยวิธีนี้ค่อนข้างง่าย นักเก็งกำ ไรหลายกลุ่มทำพร้อม ๆ กันและต่อเนื่อง เงินดอลลาร์สหรัฐซึ่งเป็นทุนสำ รองของไทย ก็จะเหลือน้อยลง ถามว่าแบงก์ชาติทราบหรือไม่ว่าถูกโจมตีด้วยวิธีนี้ คำ ตอบคือ ทราบดี
คำถามต่อไปคือ แล้วทำไมแบงก์ชาติ จึงปล่อยให้ทำ
คำตอบคือแบงก์ชาติ มั่นใจว่าจะชนะ ถ้าแบงก์ชาติไม่ลดค่าเงิน นักเก็งกำไร มักจะกู้ในระยะเวลาสั้น ๆ เช่น 1 เดือน หรือ 3 เดือน เมื่อครบกำ หนดสัญญาต้องใช้คืนธนาคาร ถ้าอัตราแลกเปลี่ยนคงเดิม ก็จะขาดทุนเพราะต้องเสียดอกเบี้ยเงินกู้
อดีตการต่อสู้กันระหว่างแบงก์ชาติกับพวกเฮจฟันด์ และกลุ่มนักเก็งกำไรมี 2 รอบ
รอบแรก ปี 39- เมษายน 40 แบงก์ชาติเป็นฝ่ายชนะ ดวดไวน์ ซดเบียร์
ฉลองกันจนเมามาย ทำให้สมองโดนทำลาย คิดไรไม่ออก จากนั้น.............
รอบสอง เดือนพฤษภาคม 40 แบงก์ชาติเป็นฝ่ายแพ้ แบงก์ชาติห้ามธนาคารพาณิชย์ให้กู้เงินบาทกับต่างชาติเพื่อมาซื้อดอลลาร์สหรัฐ
ปิดช่องทางการโจมตีค่าเงินโดยผ่านตลาดเงินหรือผ่านธนาคารพาณิชย์
แต่ชาติไทยก็เละเทะ ทั้งประเทศ สถาบันการเงินเจ๊ง ปิดตัว ไทยต้องขอกู้เงินจาก IMF
มีสัญญาทาสเกิดขึ้นไทยเสียหาย แปดแสนล้านบาท แต่โทษคือ จำคุก 2 ปี รอลงอาญา 3 ปี เฮ้อ...
เป็นคดีความกันมาทุกวันนี้ จนเหลืออีก ร้อยกว่าวันจะหมดอายุความแล้ว
ท่านทั้งหลายที่กำลังค้าขายซื้อขายหุ้นอย่างเมามัน อย่าชะล่าใจนะจ้ะ
อย่าประมาท โดนคราวนี้ หนักกว่าปี 40 หลายร้อยเท่า...
เพราะ พวกนักโกงเมือง มันจะร่วมมือกับพวกนักเก็งกำไร เหมือนในอดีค เช่นเคย...
เหตุผลข้อที่.2
ค่าแรง 300 บาทต่อวัน และเงินเดือนปริญญาตรี 15,000 บาท มีผลกระทบอย่างมหาศาลกับตลาดแรงงานไทย
ทำให้ต้นทุนรายจ่ายของกลุ่มอุตสาหกรรมที่ใช้แรงงานสูงขึ้น กลุ่มสิ่งทอ เครื่องนุ่งห่ม อุตสาหกรรมการค้าและบริการจะค่อยๆเจ๊ง
เงินเฟ้อจะเพิ่มขึ้นได้ถึงร้อยละ 1 จากกรณีปกติ และจะลดความสามารถในการแข่งขันเนื่องจากต้นทุนเชิงเปรียบเทียบที่สูงขึ้นของไทย ทำให้ราคาสินค้าไทยสูงขึ้น
ภาระด้านต้นทุนค่าแรงงานของนายจ้างจะเพิ่มขึ้นประมาณ 1,000 ล้านบาทต่อวัน ส่งผลให้สัดส่วนการจ้างงานของธุรกิจขนาดกลางและเล็ก (เอสเอ็มอี) โดยเฉพาะภาคอุตสาหกรรมลดลงมากและเคลื่อนย้ายไปสู่เศรษฐกิจนอกระบบ (informal economy) นักการเมืองจะฉวยโอกาสนี้
การผลิตภาพแรงงานให้สูงขึ้นอีกร้อยละ 8 – 10 ไม่สามารถทำได้แน่นอน ทำให้การขยายตัวผลิตภัณฑ์มวลรวมของประเทศ (จีดีพี) ลดลงมากกว่าร้อยละ 1.7 จากกรณีปกติ
ผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจโดยรวม ทำให้หุ้นอาจจะตกทีเดียว 500 จุดอาจเป็นได้
อุตสาหกรรมที่จะได้รับผลกระทบต่อต้นทุนค่าจ้างรวมมากที่สุดคือ สาขาเกษตรกรรมซึ่งอาศัยแรงงานเป็นหลัก (labor intensive) นายจ้างต้องจ่ายค่าจ้างเพิ่มขึ้นจำนวน 2,125 – 2,936 ล้านบาทต่อเดือน คิดเป็นการเพิ่มร้อยละ 21.71 – 29.99 สาขากิจการโรงแรงและบริการด้านอาหาร ซึ่งนายจ้างจะต้องจ่ายค่าจ้างเพิ่มขึ้น 465 – 861 ล้านบาทต่อเดือน คิดเป็นต้นทุนที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.82 – 14.32
อันดับต่อมาคือสาขาก่อสร้าง โดยจ่ายเพิ่มขึ้น 836 – 1,308 ล้านบาท คิดเป็นค่าจ้างที่ต้องเพิ่มขึ้นร้อยละ 7.01 – 10.98
จะเห็นได้ว่า อุตสาหกรรมที่ได้รับผลกระทบมากที่สุดนั้นเป็นอุตสาหกรรมที่มีการใช้แรงงานเข้มข้น คือ พึ่งพาแรงงานที่ได้รับค่าจ้างขั้นต่ำในสัดส่วนสูงและอัตรากำไรสุทธิต่ำ
โดยสรุปแล้ว การปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำจะส่งผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจโดยรวมทั้งในระยะกลางและระยะยาว ทำให้หุ้นอาจขะตกทีเดียว 500 จุดได้ ถ้ามีการโยกเงินออกทันทีจากต่างชาติเกิด Panic เพราะความวิตกจาก
1 ผลกระทบด้านการส่งออก ภาคส่งออกของไทยมีมูลค่ากว่าร้อยละ 62-65 ของผลิตภัณฑ์มวลรวม (จีดีพี) และมีแรงงานอยู่ในระบบกว่า 5.5 ล้านคน ซึ่งอุตสาหกรรมใช้แรงงานเข้มข้น 15 กลุ่มในภาคส่งออกจะได้รับผลกระทบจากต้นทุนการผลิตที่สูงขึ้น เนื่องจากค่าจ้างแรงงานของไทยยังสูงกว่าค่าจ้างแรงงานของประเทศคู่แข่ง เช่น เวียดนาม อินโดนีเซีย อินเดีย บังคลาเทศ เป็นต้น ซึ่งจะทำให้ขีดความสามารถในการแข่งขันด้านการส่งออกของไทยลดลงและจะเป็นปัญหาโครงสร้างเศรษฐกิจระยะยาว
2 ผลกระทบทางด้านเงินเฟ้อ
การปรับค่าจ้างตามนโยบายจะมีผลกระทบต่อโครงสร้างอุตสาหกรรมเป็นลูกโซ่ทั้งแผง เนื่องจากสินค้ากว่าจะมาถึงผู้บริโภคได้ต้องผ่านห่วงโซ่อุปทานประมาณ 10 อุตสาหกรรม แต่ละช่วงต้องมีการผลักภาระค่าจ้างบางส่วนใส่เข้าไปในตัวสินค้า ทำให้สินค้าเมื่อถึงมือผู้บริโภคมีราคาสูงขึ้น เป็นต้นทุนของภาคการผลิต ซึ่งผู้บริโภคจะเป็นผู้รับค่าใช้จ่ายในส่วนนี้
3 การกระจายรายได้และการกระจุกตัว
การใช้ค่าจ้างขั้นต่ำ ในอัตราเดียวทั่วประเทศจะส่งผลให้อุตสาหกรรมกระจุกตัวอยู่ในเขตเมืองใหญ่ โดยเฉพาะในปริมณฑล เพราะไม่มีแรงจูงใจที่จะกระจายการผลิตไปในต่างจังหวัดซึ่งมีรัศมีระยะทางเกินกว่า 300 กิโลเมตร เนื่องจากระยะทางที่ยาวไกลจะส่งผลกระทบต่อต้นทุนการขนส่งที่สูงขึ้น ในระยะยาวจะเป็นการทำลายโครงสร้างค่าจ้างปัจจุบันที่เน้นให้อุตสาหกรรมขยายตัวไปในจังหวัดที่ห่างไกลเพื่อเป็นการกระจายรายได้และกันคนให้อยู่ในพื้นที่
4 ผลกระทบด้านการลงทุน
ไทยยังจำเป็นต้องพึ่งพาการลงทุนจากต่างประเทศ เนื่องจากไทยจำเป็นที่จะต้องขยายภาคการผลิตเข้ามารองรับแรงงานใหม่ในแต่ละปี หากค่าจ้างของไทยสูงกว่าประเทศเพื่อนบ้าน เช่น เวียดนามซึ่งอัตราค่าจ้างต่ำกว่าไทย 2.3 เท่า จะทำให้การลงทุนในประเทศมีการชะลอตัว ทั้งนี้ ในระยะสั้นและกลาง ภาคการผลิตของไทยจำเป็นต้องใช้การผลิตที่มีแรงงานเข้มข้นอยู่ในระบบการผลิตก่อนที่ไทยจะปรับตัวไปสู่อุตสาหกรรมที่ใช้ทักษะเทคโนโลยีและนวัตกรรม (Productive Industry) มากขึ้น
5 แรงงานผิดกฎหมายจะไหลเข้ามาสู่ระบบมากขึ้น
ค่าแรงที่สูงกว่าประเทศเพื่อนบ้านของไทยจะเป็นการกดดันให้มีแรงงานผิดกฎหมายไหลเข้าสู่ประเทศไทยมากขึ้นกว่าเดิม โดยตารางข้างล่างเปรียบเทียบค่าแรงไทยกับประเทศเพื่อนบ้าน ดังนี้
ทั้งหมดนี้จะทำให้ ตำนานจาก อุ๋ย ร้อยจุด มุ่งสู่ ประสาร ห้าร้อยจุด มีความเป็นไปได้สูง
สรรพสิ่งทั้งปวงเป็นทุกข์ ไม่เที่ยงแท้แน่นอน และไม่สามารถดำรงสภาพให้เหมือนเดิมได้
เป็นไปตามกฎไตรลักษณ์
เซียนหุ้น เม่า นายกองทั้งหลาย
จงยังกิจในการซื้อขายหุ้นของท่านด้วยความ ไม่ประมาทเถิด
จากอุ๋ยร้อยจุด สู่ประสาร 500 จุด เป้นไปได้สูง เพราะ
เวลานี้ ทุกท่านจะเห็นว่าค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ
ทำให้มีผลกระทบต่อการส่งออกและการเติบโตทางเศรษฐกิจ ของประเทศเรา (แต่ตลาดหุ้นขึ้น)
เนื่องจาก เป็นภาวะปกติที่เป็นผลเนื่องมาจากดุลการค้าเกินดุล และภาวะอุตสาหกรรม
การกระตุ้นเศรษฐกิจในประเทศที่รัฐบาลกระตุ้นให้เติบโตในระดับสูง จึงทำให้มีเงินทุนไหลเข้ามา
ค่าเงินบาทจึงแข็ง ความโดดเด่นของประเทศไทย ที่เป็นตัวนำใน AEC เป็นที่จับตามองของนักลงทุนต่างประเทศและนักเก็งกำไร
เมื่อเขาเห็นโอกาสและเงื่อนไขต่างๆ เอื้ออำนวย พวกกลุ่มนักเก็งกำไร ก็จะทำโจมตีค่าเงินบาท
การโจมตีค่าเงิน (Currency attack) หมายถึงการที่นักลงทุน นักเก็งกำไร ทั้งในต่างประเทศ และในประเทศ
เข้ามาแสวงหากำ ไรจากการซื้อขายเงินตราของสกุลหนึ่งเพื่อทำ กำ ไรจากผลต่างระหว่างอัตราที่ซื้อและอัตราที่ขาย
เป็นวิธีการหารายได้รูปแบบหนึ่งของนักลงทุนระหว่างประเทศ มีความหมายคล้ายกันกับ
การเก็งกำ ไรค่าเงิน (Currency speculation) จะมีแนวทางเหมือนกัน แต่แตกต่างกันตรงที่
การโจมตีนั้นมุ่งหวังให้เกิดผลเสียหายตอระบบทุนและมีผลกระทบอย่างรุนแรง
ดังนั้นต้องใช้เงินจำนวนมาก ตอนนี้ก็เริ่มขนกันเข้ามาแล้วในรูปแบบต่างๆ
ก็ขอให้ท่านหน้าใหม่ หน้าเก่า และแมงเม่าทั้งหลายระวังตัวกันหน่อยนะจ้ะ
ขนาดของเม็ดเงินมหาศาลมาก เขาขยายเพดานได้ พิมพ์แบงก์ ออกมามากมายมหาศาล จากนั้นค่อยๆ
โยนเข้าไปในประเทศเป้าหมายตอนนี้คือไทย อาเบะ ก็รู้แล้ว จึงมาบอก เพราะถ้าไทยเจ๊ง
ญี่ปุ่นก็เจ๊งด้วย (ดูวิธีการของเขาได้จาก วีดีโอ)การเก็งกำไรจึงต้องมีเม็ดเงินจำนวนมากและกระทำ กระแทก ๆๆ
เป็นระลอกๆๆ อย่างต่อเนื่องจากนั้นแบงก์ชาติก็จะออกมาตอบโต้
เขาก็มีวิธีการ โต้กลับเหมือนกันโดยปกติการโจมตีค่าเงินในปีนี้ 2556
ยิ่งถ้าใช้ระบบอัตราแลกเปลี่ยนคงที่ (fixed exchange rate system) การกำหนดค่าเงินไว้สูงเกินไป (over value)
และมีสภาพแวดล้อมอื่นเอื้ออำนวย เช่นดุลบัญชีเดินสะพัดขาดดุลเรื้อรังหนี้ระยะสั้นสูงเมื่อเทียบกับทุนสำรอง เป็นต้น
ส่วนการเก็งกำ ไรค่าเงินมักจะกระทำ สำ หรับประเทศที่ใช้ระบบอัตราแลกเปลี่ยนลอยตัว
นักลงทุนที่โจมตีค่าเงินมักเป็นนักลงทุนขนาดใหญ่และเป็นนักลงทุนประเภทสถาบันที่ระดมทุนมาเก็งกำไรค่าเงิน
หรือโจมตีค่าเงินโดยตั้งเป็นกองทุน มีชื่อเรียกว่า Hedge Funds ตัวอย่างของกองทุนประเภทนี้คือ
ของพ่อมด George Soros เช่นกองทุน Quantum Fund ยังมีพวกธนาคารพาณิชย์ทั้งในไทยและต่างประเทศ และอีกหลายๆกลุ่มที่เข้ามาแสวงหากำไรจากอัตราแลกเปลี่ยน ส่วนมากมักจะเป็นรูปแบบของการเก็งกำ ไร
เช่น ที่ทำ กับประเทศไทยในช่วงปี 2539 - 2540
ช่องทางที่ 1 โจมตีผ่านช่องทางตลาดเงิน คือผ่านธนาคารพาณิชย์ในประเทศเริ่มจากนักเก็งกำไรกู้เงินบาทจากธนาคารพาณิชย์แล้วนำไปซื้อดอลลาร์ทันที ตอนนี้ก็เริ่มซื้อกันหนาตามากขึ้น จากนั้นธนาคารพาณิชย์จะนำ เงินบาทที่นักเก็งกำ ไรขอกู้ไปซื้อดอลลาร์จากธนาคารแห่งประเทศไทยเพื่อส่งมอบให้กับนักเก็งกำไร การโจมตีค่าเงินด้วยวิธีนี้ นักลงเก็งกำไรต้องเสียดอกเบี้ยเงินกู้เงินบาทให้กับธนาคารพาณิชย์ (จะเห็นว่าหุ้นกลุ่มธนาคารพานิชย์ตอนนี้สวิงมากและ เทรนด์จะเป็นขาขึ้น ทำกราฟสวยมาก)
เมื่อได้ดอลลาร์สหรัฐแล้วไปพักไว้ในบัญชีได้รับดอกเบี้ยเงินฝากดอลลาร์ซึ่งจะตํ่ากว่าดอกเบี้ยเงินกู้ (เงินบาท)
นั่นคือนักเก็งกำ ไรยอมรับภาระผลต่างของดอกเบี้ยทั้งสอง ซึ่งเป็นต้นทุนในการโจมตีค่าเงินด้วยช่องทางนี้
แต่หวังว่า เมื่อธนาคารแห่งประเทศไทยลดค่าเงินหรือลอยตัวค่าเงินก็จะนำ
ดอลลาร์ที่ถือไว้มาขายคืน เช่น ตอนเอาเงินบาทซื้อดอลลาร์สหรัฐที่ 25 บาท
แต่ตอนขายคืน ถ้าอัตราแลกเปลี่ยนลดค่าไปอยู่ที่ 30 บาท นักลงทุนต่างชาติก็จะได้กำไร 5 บาทต่อดอลลาร์
เมื่อหักดอกเบี้ยเงินกู้ให้กับธนาคารแล้วยังมีกำ ไรเหลือ
(หลังลอยตัวค่าเงินบาท ในปี 2540 อัตราแลกเปลี่ยนเฉลี่ย 31 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ )
การโจมตีด้วยวิธีนี้ค่อนข้างง่าย นักเก็งกำ ไรหลายกลุ่มทำพร้อม ๆ กันและต่อเนื่อง เงินดอลลาร์สหรัฐซึ่งเป็นทุนสำ รองของไทย ก็จะเหลือน้อยลง ถามว่าแบงก์ชาติทราบหรือไม่ว่าถูกโจมตีด้วยวิธีนี้ คำ ตอบคือ ทราบดี
คำถามต่อไปคือ แล้วทำไมแบงก์ชาติ จึงปล่อยให้ทำ
คำตอบคือแบงก์ชาติ มั่นใจว่าจะชนะ ถ้าแบงก์ชาติไม่ลดค่าเงิน นักเก็งกำไร มักจะกู้ในระยะเวลาสั้น ๆ เช่น 1 เดือน หรือ 3 เดือน เมื่อครบกำ หนดสัญญาต้องใช้คืนธนาคาร ถ้าอัตราแลกเปลี่ยนคงเดิม ก็จะขาดทุนเพราะต้องเสียดอกเบี้ยเงินกู้
อดีตการต่อสู้กันระหว่างแบงก์ชาติกับพวกเฮจฟันด์ และกลุ่มนักเก็งกำไรมี 2 รอบ
รอบแรก ปี 39- เมษายน 40 แบงก์ชาติเป็นฝ่ายชนะ ดวดไวน์ ซดเบียร์
ฉลองกันจนเมามาย ทำให้สมองโดนทำลาย คิดไรไม่ออก จากนั้น.............
รอบสอง เดือนพฤษภาคม 40 แบงก์ชาติเป็นฝ่ายแพ้ แบงก์ชาติห้ามธนาคารพาณิชย์ให้กู้เงินบาทกับต่างชาติเพื่อมาซื้อดอลลาร์สหรัฐ
ปิดช่องทางการโจมตีค่าเงินโดยผ่านตลาดเงินหรือผ่านธนาคารพาณิชย์
แต่ชาติไทยก็เละเทะ ทั้งประเทศ สถาบันการเงินเจ๊ง ปิดตัว ไทยต้องขอกู้เงินจาก IMF
มีสัญญาทาสเกิดขึ้นไทยเสียหาย แปดแสนล้านบาท แต่โทษคือ จำคุก 2 ปี รอลงอาญา 3 ปี เฮ้อ...
เป็นคดีความกันมาทุกวันนี้ จนเหลืออีก ร้อยกว่าวันจะหมดอายุความแล้ว
ท่านทั้งหลายที่กำลังค้าขายซื้อขายหุ้นอย่างเมามัน อย่าชะล่าใจนะจ้ะ
อย่าประมาท โดนคราวนี้ หนักกว่าปี 40 หลายร้อยเท่า...
เพราะ พวกนักโกงเมือง มันจะร่วมมือกับพวกนักเก็งกำไร เหมือนในอดีค เช่นเคย...
เหตุผลข้อที่.2
ค่าแรง 300 บาทต่อวัน และเงินเดือนปริญญาตรี 15,000 บาท มีผลกระทบอย่างมหาศาลกับตลาดแรงงานไทย
ทำให้ต้นทุนรายจ่ายของกลุ่มอุตสาหกรรมที่ใช้แรงงานสูงขึ้น กลุ่มสิ่งทอ เครื่องนุ่งห่ม อุตสาหกรรมการค้าและบริการจะค่อยๆเจ๊ง
เงินเฟ้อจะเพิ่มขึ้นได้ถึงร้อยละ 1 จากกรณีปกติ และจะลดความสามารถในการแข่งขันเนื่องจากต้นทุนเชิงเปรียบเทียบที่สูงขึ้นของไทย ทำให้ราคาสินค้าไทยสูงขึ้น
ภาระด้านต้นทุนค่าแรงงานของนายจ้างจะเพิ่มขึ้นประมาณ 1,000 ล้านบาทต่อวัน ส่งผลให้สัดส่วนการจ้างงานของธุรกิจขนาดกลางและเล็ก (เอสเอ็มอี) โดยเฉพาะภาคอุตสาหกรรมลดลงมากและเคลื่อนย้ายไปสู่เศรษฐกิจนอกระบบ (informal economy) นักการเมืองจะฉวยโอกาสนี้
การผลิตภาพแรงงานให้สูงขึ้นอีกร้อยละ 8 – 10 ไม่สามารถทำได้แน่นอน ทำให้การขยายตัวผลิตภัณฑ์มวลรวมของประเทศ (จีดีพี) ลดลงมากกว่าร้อยละ 1.7 จากกรณีปกติ
ผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจโดยรวม ทำให้หุ้นอาจจะตกทีเดียว 500 จุดอาจเป็นได้
อุตสาหกรรมที่จะได้รับผลกระทบต่อต้นทุนค่าจ้างรวมมากที่สุดคือ สาขาเกษตรกรรมซึ่งอาศัยแรงงานเป็นหลัก (labor intensive) นายจ้างต้องจ่ายค่าจ้างเพิ่มขึ้นจำนวน 2,125 – 2,936 ล้านบาทต่อเดือน คิดเป็นการเพิ่มร้อยละ 21.71 – 29.99 สาขากิจการโรงแรงและบริการด้านอาหาร ซึ่งนายจ้างจะต้องจ่ายค่าจ้างเพิ่มขึ้น 465 – 861 ล้านบาทต่อเดือน คิดเป็นต้นทุนที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.82 – 14.32
อันดับต่อมาคือสาขาก่อสร้าง โดยจ่ายเพิ่มขึ้น 836 – 1,308 ล้านบาท คิดเป็นค่าจ้างที่ต้องเพิ่มขึ้นร้อยละ 7.01 – 10.98
จะเห็นได้ว่า อุตสาหกรรมที่ได้รับผลกระทบมากที่สุดนั้นเป็นอุตสาหกรรมที่มีการใช้แรงงานเข้มข้น คือ พึ่งพาแรงงานที่ได้รับค่าจ้างขั้นต่ำในสัดส่วนสูงและอัตรากำไรสุทธิต่ำ
โดยสรุปแล้ว การปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำจะส่งผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจโดยรวมทั้งในระยะกลางและระยะยาว ทำให้หุ้นอาจขะตกทีเดียว 500 จุดได้ ถ้ามีการโยกเงินออกทันทีจากต่างชาติเกิด Panic เพราะความวิตกจาก
1 ผลกระทบด้านการส่งออก ภาคส่งออกของไทยมีมูลค่ากว่าร้อยละ 62-65 ของผลิตภัณฑ์มวลรวม (จีดีพี) และมีแรงงานอยู่ในระบบกว่า 5.5 ล้านคน ซึ่งอุตสาหกรรมใช้แรงงานเข้มข้น 15 กลุ่มในภาคส่งออกจะได้รับผลกระทบจากต้นทุนการผลิตที่สูงขึ้น เนื่องจากค่าจ้างแรงงานของไทยยังสูงกว่าค่าจ้างแรงงานของประเทศคู่แข่ง เช่น เวียดนาม อินโดนีเซีย อินเดีย บังคลาเทศ เป็นต้น ซึ่งจะทำให้ขีดความสามารถในการแข่งขันด้านการส่งออกของไทยลดลงและจะเป็นปัญหาโครงสร้างเศรษฐกิจระยะยาว
2 ผลกระทบทางด้านเงินเฟ้อ
การปรับค่าจ้างตามนโยบายจะมีผลกระทบต่อโครงสร้างอุตสาหกรรมเป็นลูกโซ่ทั้งแผง เนื่องจากสินค้ากว่าจะมาถึงผู้บริโภคได้ต้องผ่านห่วงโซ่อุปทานประมาณ 10 อุตสาหกรรม แต่ละช่วงต้องมีการผลักภาระค่าจ้างบางส่วนใส่เข้าไปในตัวสินค้า ทำให้สินค้าเมื่อถึงมือผู้บริโภคมีราคาสูงขึ้น เป็นต้นทุนของภาคการผลิต ซึ่งผู้บริโภคจะเป็นผู้รับค่าใช้จ่ายในส่วนนี้
3 การกระจายรายได้และการกระจุกตัว
การใช้ค่าจ้างขั้นต่ำ ในอัตราเดียวทั่วประเทศจะส่งผลให้อุตสาหกรรมกระจุกตัวอยู่ในเขตเมืองใหญ่ โดยเฉพาะในปริมณฑล เพราะไม่มีแรงจูงใจที่จะกระจายการผลิตไปในต่างจังหวัดซึ่งมีรัศมีระยะทางเกินกว่า 300 กิโลเมตร เนื่องจากระยะทางที่ยาวไกลจะส่งผลกระทบต่อต้นทุนการขนส่งที่สูงขึ้น ในระยะยาวจะเป็นการทำลายโครงสร้างค่าจ้างปัจจุบันที่เน้นให้อุตสาหกรรมขยายตัวไปในจังหวัดที่ห่างไกลเพื่อเป็นการกระจายรายได้และกันคนให้อยู่ในพื้นที่
4 ผลกระทบด้านการลงทุน
ไทยยังจำเป็นต้องพึ่งพาการลงทุนจากต่างประเทศ เนื่องจากไทยจำเป็นที่จะต้องขยายภาคการผลิตเข้ามารองรับแรงงานใหม่ในแต่ละปี หากค่าจ้างของไทยสูงกว่าประเทศเพื่อนบ้าน เช่น เวียดนามซึ่งอัตราค่าจ้างต่ำกว่าไทย 2.3 เท่า จะทำให้การลงทุนในประเทศมีการชะลอตัว ทั้งนี้ ในระยะสั้นและกลาง ภาคการผลิตของไทยจำเป็นต้องใช้การผลิตที่มีแรงงานเข้มข้นอยู่ในระบบการผลิตก่อนที่ไทยจะปรับตัวไปสู่อุตสาหกรรมที่ใช้ทักษะเทคโนโลยีและนวัตกรรม (Productive Industry) มากขึ้น
5 แรงงานผิดกฎหมายจะไหลเข้ามาสู่ระบบมากขึ้น
ค่าแรงที่สูงกว่าประเทศเพื่อนบ้านของไทยจะเป็นการกดดันให้มีแรงงานผิดกฎหมายไหลเข้าสู่ประเทศไทยมากขึ้นกว่าเดิม โดยตารางข้างล่างเปรียบเทียบค่าแรงไทยกับประเทศเพื่อนบ้าน ดังนี้
ทั้งหมดนี้จะทำให้ ตำนานจาก อุ๋ย ร้อยจุด มุ่งสู่ ประสาร ห้าร้อยจุด มีความเป็นไปได้สูง
สรรพสิ่งทั้งปวงเป็นทุกข์ ไม่เที่ยงแท้แน่นอน และไม่สามารถดำรงสภาพให้เหมือนเดิมได้
เป็นไปตามกฎไตรลักษณ์
เซียนหุ้น เม่า นายกองทั้งหลาย
จงยังกิจในการซื้อขายหุ้นของท่านด้วยความ ไม่ประมาทเถิด